เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 19148 เราจะเห็นอะไรจากพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 17 ส.ค. 11, 13:20

เรียนสมาชิกเรียนไทย

เนื่องด้วยวันแม่ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้พามารดาไปเที่ยวพระราชวังบางปะอินเนื่องจากใกล้บ้านที่ซื้อไว้เผื่อให้สัมผัสบรรยากาศชนบท (สมใจมาก เพราะตั้งอยู่กลางทุ่ง เต็มไปด้วย นก โค เรื่อยไปจนกระบือ)

ณ พระราชวังบางปะอิน มีพระที่นั่งแห่งหนึ่ง คือพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ

พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นพระที่นั่งสองชั้น สถาปัตยกรรมแบบจีน ตั้งอยู่ภายในพระราชวังบางปะอิน สร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2432 พระที่นั่งองค์นี้มีนามในภาษาจีนว่า เทียน เม่ง เต้ย (天明殿 อ่านแบบจีนกลางว่า เทียน หมิง เตี้ยน) แปลเป็นไทยว่า พระที่นั่งฟ้าสว่าง (เทียน แปลว่า เวหา , เม่ง แปลว่า จำรูญ , เต้ย แปลว่า พระที่นั่ง) ใช้เวลาในการสร้าง 14 ปี และเป็นพระที่นั่งองค์สุดท้ายที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5

พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นของถวายของข้าราชการกรมท่าซ้าย คือ พ่อค้าใหญ่ชาวจีน โดยมีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฟัก โชติกสวัสดิ์) เป็นนายงาน หลวงสาทรราชายุกต์ (ยม พิศลยบุตร) และ หลวงโภคานุกุล (จื๋ว) เป็นผู้ควบคุมในการก่อสร้าง และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถม กรมหมื่นสรรพศาสตร์ศุภกิจ เป็นผู้ควบคุมดูแล

เมื่อพระที่นั่งสร้างเสร็จ รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ จัดให้มีพระราชพิธีเฉลิมขึ้นพระที่นั่งตามแบบจีน เมื่อวันที่ 27 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2432



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 13:22

ภายในพระที่นั่งประกอบด้วยห้องดังนี้

ชั้นล่างของพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญนั้น ใช้เป็นห้องพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะอยู่ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่ง และใช้เป็นท้องพระโรง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ท้องพระโรงล่าง และท้องพระโรงบน โดยบริเวณทางขึ้นท้องพระโรงบนนั้นมีแผ่นหินอ่อนเป็นตราสัญลักษณ์ลัทธิเต๋าของจีน รูปหยินหยางประดับไว้ มีพระราชอาสน์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่ตรงกลาง นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ ให้คัดลอกแผ่นป้ายคำโคลงสรรเสริญข้าราชการที่ทำคุณความดี 9 บท 17 แผ่นป้าย มาประดับไว้ด้วย ส่วนท้องพระโรงบนนั้น เป็นห้องประชุมเสนาบดี และใช้เป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 5

ห้องชั้นบนของพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ ประกอบด้วย 4 ห้องใหญ่ ได้แก่ ห้องบรรทมสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ห้องบรรทมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ห้องทรงพระอักษร และห้องพระป้าย

ห้องพระป้ายติดกับห้องทรงพระอักษรเป็นที่ประดิษฐานพระวิมาน 3 องค์ติดต่อกัน เรียงจากทิศตะวันตก ไปตะวันออก ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายต่าง ๆ ลงรักปิดสีทองอร่าม

ช่องตะวันตกเป็นสถานที่ประดิษฐานพระป้ายจารึก (อักษรจีน) พระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี สมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 4 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2433
ช่องกลางเป็นสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป ในการประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย
ช่องตะวันออกเป็นสถานที่ประดิษฐานพระป้ายจารึก(อักษรจีน) พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระนามาภิไธย สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%8D
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 13:52

แต่สาระของเรื่องที่เขียนนี้หาใช่พูดถึงการแบ่งส่วนต่างหรือประวัติขององค์พระที่นั่งไม่ แต่จะมาเล่าสู่กันฟังถึงสถาปัตยกรรมจีนและตะวันตกที่เผยแพร่ในช่องแคบมะละกา ซึ่งสุดท้ายได้ส่งมายังประเทศไทย

องค์พระที่นั่งแห่งนี้ใช้สถาปัตยกรรมที่ไปหาวังที่ไหนในจีนก็ไม่เจอ และไปหาในบ้านเศรษฐีคนไหนคงเจอคล้ายๆแต่ไม่ใช่ ประการแรก พระราชวังในประเทศจีนสร้างโดยใช้สถาปัตยกรรมทางตอนเหนือ ซึ่งค่อนข้างเรียบงาย ไม่ได้ประดับประดาอย่างหรูหรา จนบางทีออกจะล้นไปบ้างแบบทางใต้ ใครนึกไม่ออกลองหาบทความเก่าๆของข้าพเจ้ามาอ่านดู เขียนว่า "สัตว์...บนหลังคาจีน" อยู่ในเรือนไทยนี้แหละ รูปพร้อมอะไรพร้อม

เนื่องพระที่นั่งองค์นี้สร้างโดยกลุ่มพ่อค้าจีนซึ่งบางท่านมีเชื้อสายแต้จิ๋วบ้าง อะไรบ้างมาช่วย ตัวช่างแม้ไม่ได้บอกที่มา (ถ้าจำไม่ผิดคือมาจากแต้จิ๋ว) แต่ศิลปะก็บอกอยู่ว่ามาจากทางหมินหนาน คือ เป็นสกุลช่างแถบแต้จิ๋ว และฮกเกี้ยน คงเดาได้ว่าไม่น่าจะพ้นช่างเชื้อสายข้างต้น

แต่ว่าส่วนนี้ไม่ใช่ส่วนที่ข้าพเจ้าจะเล่าสู่กันฟังในตอนนี้ ไม่ใช่ส่วนสถาปัตยกรรมแบบหมินหนาน แต่เป็นส่วนสถาปัตยกรรมที่ผสมกันระหว่างจีนและมาเลย์ เจือๆยุโรปในเมืองแถบมลายูที่ปรากฎในองค์พระที่นั่ง

กล่าวคือ แต่ดั้งแต่เดิมมาในจีนนั้นอาคาร โดยเฉพาะศาลเจ้านี้นิยมสร้างชั้นเดียว การตบแต่งก็ตามแบบของท้องถิ่น หากเป็นทางใต้ก็จะเยอะหน่อย คือ นิยมใช้แบบมังกร หงส์ กิเลน กวาง ฯลฯ อะไรก็ตามที่เป็นสัตว์หรือไม้มงคลมาประดับ หากเป็นแถบแต้จิ๋วนิยมตัดแล้วแปะกระเบื้อง (ภาษาจีนว่าอย่างไรแล้วจะบอกภายหลัง อยู่สำนักงานของแม่ ไม่กล้าเปลี่ยนภาษาเดี๋ยวพนักงานจะบ่นเอา แล้วเราจะถูกแม่ดุอีกทอด)

ศาลเจ้าแบบนี้อยู่ในแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แรกๆก็คงสภาพเดิมไว้ แต่นานๆไปก็ได้รับอิทธิพลอาคารแบบบังกะโลของแถบมลายูเข้าไป

แล้วอาคารแบบบังกะโลคืออะไร bungalow นี้หนาคือบ้านของชนพื้นเมืองแถบนั้นที่มาการยกพื้นขึ้น ที่ผสานกับอาคารแบบอังกฤษ กลายเป็นบังกะโลแบบ แองโกลมาเลย์ (บางคนเขาว่าแองโกลอินเดียน) ซึ่งลักษณะพิเศษอีกอย่าง คือ จะมีโถงทางเข้ายื่นเป็นมุขออกมา ช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชคนไทยมีบรรดาศักดิ์ก็นิยมบ้านแบบมีมุขอยู่เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 14:00

อย่างไรก็ตาม หลังจากผสมๆกันไป จากอาคารแบบจีนเดิมๆ แบบนี้


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 14:05

ผสมกันไปกันมา จากบังกะโลยกพื้นมีมุขทางเข้า ผสมกับอาคารศาลเจ้าที่มีโถงบวงสรวงในด้านหน้าชั้นเดียว เลยได้กลายเป็นศาลเจ้าที่มีโถงทางเข้าและยกพื้น


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 14:10

นี้คือภาพโครงสร้างและการวางผังภายในอาคาร ซึ่งใช้หลักตามการวางผังศาลเจ้าทั่วไป





บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 14:15

นี้คือภาพอาคารของจริง

จากภาพท่านเห็นอะไรที่คล้ายคลึงกับพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญบ้าง

เรื่องราวเป็นอย่างไรโปรดติดตามด้วยใจจดจ่อ อย่าพึ่งท้อละกัน

(ใครมีรูปงามๆจะเอามาลงก็ได้เป็นการดีเหลือแสน)



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 14:16

เนื้อความเกี่ยวกับศาลเจ้าในมลายูนี้นำตัวอย่างมาจากศาลบรรพชนของแซ่คูในปีนัง

ดูเพิ่มเติมได้จากเว็ปไซด์นี้

http://www.khookongsi.com.my/tour_ar-developm.html
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 14:18

งดงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีนผสม มากครับ (ขออนุญาตแทรกเล็กน้อย ก่อนที่จะสรรหาบรรยากาศด้านบนพระที่นั่งให้ชมต่อไป)

สิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าเห็นจากพระที่นั่งนี้คือ

๑. ความกตัญญูของคนจีนในแผ่นดินไทย ที่มอบให้แก่องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ปกครองไพร่ฟ้าอย่างร่มเย็นเป็นสุข

๒. ความกตัญญูแห่งคุณบิดาและมารดา ซึ่งได้นำพระป้ายวิญญาณมาประดิษฐานและบวงสรวงสังเวยทุกปี

๓. การก่อสร้างที่จะให้พระที่นั่งนี้มีลิฟท์

และที่ชอบที่สุดคืออักษรที่หน้าพระป้ายเสาด้านหน้าพระวิมานได้แขวนป้ายอักษรจีนไว้

เบื้องซ้ายแปลได้ว่า “ในหมู่ชน จะหาสามัคคีธรรมเสมอพี่น้องได้ยาก”

เบื้องขวาแปลได้ว่า “ในใต้หล้า จะหาความผิดในพ่อแม่ไม่มี”


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 14:23

จากเว็ปไซด์นี้คือภาพพระที่นั่งก่อนและหลังบูรณะ (และเปลี่ยนแปลงไปอีกบ้างหลายส่วน)

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=dingtech&month=18-08-2010&group=13&gblog=1

ท่านใดมีเวลาจะนำภาพมาลงก็ได้ ตอนนี้ขอตัวไปช่วยงานแม่ก่อนแล้ว

สวัสดี


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 14:34

เอารูปปัจจุบันมาฝากครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 15:25

ภาพงามสมัยรัชกาลที่ ๕


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 20:58

ลูกเล่นของหลังคา ทำเป็นปลาพ่นน้ำ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 21:06

ลองถามถึงความเห็นคุณหาญ สักหน่อยว่า คติที่นำสัญลักษณ์ หยิน-หยาง มาประดับไว้ เป็นทำนองคติลัทธิแบบเต๋า หรือเปล่าครับ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 18 ส.ค. 11, 10:38

หลังจากมีผู้นำภาพภายนอกส่วนต่างๆมาให้ชมแล้ว ผู้เขียนขอนำภาพศาลเจ้าจากไต้หวั่นมาให้เปรียบเทียบ เพราะเป็นศิลปะแบบหมินหนาน (闽南) เหมือนกัน และสร้างในยุคใกล้ๆกัน ชื่อวัด "ฉินเทียนกง" (秦天宫: qin tian gong)(ศาลเจ้าแม่ทับทิมกับองค์อื่นๆอีกหลายองค์นะ)

จากภาพแผนผังโดยเฉพาะส่วนของศาลประธาน (正殿: zheng dian) และหอบวงสรวง (拜亭: bai ting)รวมถึงอาคารด้านหลังที่เชื่อมกัน เรียกว่า ศาลด้านหลัง (后殿: hou dian) ถือว่ามีส่วนคล้ายคลึงกับการวางแผนผังขององค์พระที่นั่งพอดู


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง