เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18
  พิมพ์  
อ่าน: 70244 คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 09:06

คุณ siamese กลับขึ้นเรือนไทยแล้ว    เก็บของขึ้นชั้นสองเสร็จแล้วหรือคะ   ยิงฟันยิ้ม

จริงอย่างที่คุณ siamese บอกค่ะ  ผู้หญิงวิคตอเรียนนิยมผิวขาวผ่อง ไม่คล้ำแดด  ร่มจึงมีความหมายมาก  
แม้ว่าบางครั้งร่มแฟชั่น   แทบจะกันแดดไม่ได้  อย่างร่มผ้าลูกไม้ข้างล่างนี่  ก็ยังต้องถือเอาไว้
แม้แต่หนูน้อยก็ยังมีแฟชั่นร่ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 09:43

ผู้หญิงอังกฤษกางร่ม เป็นของปกติ    เดินออกจากบ้านไปไหนมาไหน กางร่มได้ตลอดเวลา แดดออกก็กันแดด  ฝนตกก็กันฝน    
แต่ผู้ชายต่อให้แดดจ้าแค่ไหนก็ไม่มีวันที่ผู้ชายอังกฤษคนไหนกางร่มเพื่อบังแดดให้ตัวเอง   ร่มของผู้ชายมักถือติดมือแทนไม้เท้า     จะกางร่มได้ก็ต่อเมื่อฝนตกเท่านั้น

ก่อนหน้า ค.ศ. ๑๗๕๐ ตามธรรมเนียมของชาวลอนดอน ผู้ชายไม่มีสิทธิ์ถือร่ม แม้แต่เพื่อบังฝน เพราะเป็นการแสดงถึงความอ่อนแอ ผู้หญิงเท่านั้นที่มีสิทธิ์ถือร่ม

ผู้ชายคนแรกที่แหวกม่านประเพณีนี้คือ Jonas Hanway  เขาจะถือร่มติดมือตลอดเวลาไม่ว่าจะไปทำธุระที่ไหน ตอนแรกมีแต่คนล้อเลียนเยาะเย้ยการกระทำผ่าประเพณีสังคมของเขา เพื่อน ๆ คิดว่าเขาเป็นกะเทย เด็กวัยรุ่นจะตะโกนล้อเลียนเวลาเขาเดินผ่าน



ส่วนคนขับรถเกลียดโจนาสมาก เพราะถ้าชาวอังกฤษทำตามเขา พากันถือร่มออกมาเดินเวลาฝนตกกันหมด คนที่เช่ารถม้าเพื่อหลบฝนก็จะน้อยลง คนขับรถม้าก็จะขาดรายได้ไปด้วย



ถึงจะถูกเย้ยหยันแต่โจนาสก็ยังยืนหยัดต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ต่อไป จนในที่สุดผู้ชายคนอื่น ๆ ก็เริ่มเอาอย่าง และเริ่มเห็นว่าการลงทุนซื้อร่มเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะในกรุงลอนดอนฝนตกสลับกับแดดออกตลอดวัน พอถือร่มแล้วก็ไม่ต้องเรียกรถม้าทุกครั้งที่ฝนตกอีก ทำให้ประหยัดเงินได้มากทุกคนเลยหันมานิยมถือร่มตามโจนาสและร่มก็กลายเป็นของใช้ของคนทุกเพศมาจนถึงทุกวันนี้

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 11:11

ถ้านาย Jonas Hanway  แหวกแนวแพลงกิ้ง คงเนาะ... ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 11:36

คุณ siamese กลับขึ้นเรือนไทยแล้ว    เก็บของขึ้นชั้นสองเสร็จแล้วหรือคะ   ยิงฟันยิ้ม


เรียบร้อยครับ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 21:41

สิ่งที่นายคร้ามแสดงความชื่นชมอีกอย่างก็คือชีวิตครอบครัวของชาวอังกฤษ  คิดว่านายคร้ามคงได้รับเชิญไปรับประทานอาหารในบ้านของชาวอังกฤษบางคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานทูต  หรือเป็นเจ้าภาพให้นักดนตรีไปเล่น     ท่านจึงมีโอกาสเข้าไปเห็นบ้านช่องของคนอังกฤษพอจะมาวิจารณ์ได้
ท่านชมว่าภายในบ้านเรือนของชาวอังกฤษ สวยงาม สบายตา  มีระเบียบเรียบร้อย    ภรรยาชาวอังกฤษพิถีพิถันในเรื่องดูแลบ้านช่องมาก  ข้าวของก็จัดเป็นระเบียบ ภรรยาดูแลทั้งอาหารการกินของตนเองและสามี
ฝ่ายสามีชาวอังกฤษก็ดูแลเอาใจใส่ภรรยาเป็นอย่างดี   ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน  ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน    นอกจากมีระเบียบแล้วยังตรงต่อเวลาอีกด้วย    ห้องหับและข้าวของ(คงรวมอาหารการกินด้วย) ก็ไม่ปล่อยให้รกหรือเลอะเทอะเปรอะเปื้อน
มีมารยาทอย่างหนึ่งคือเวลาสนทนากัน  ภรรยาจะเอ่ยนำเรื่องก่อนไม่ได้  ต้องให้สามีเป็นผู้นำการสนทนา   ภรรยาก็จะยกย่องสามีว่ามีสติปัญญา และให้เกียรติสามี
ส่วนผู้ชายนั้นก่อนแต่งงานแล้วจะเที่ยวสนุกสนานตามสบายอย่างใดก็ได้  แต่แต่งงานแล้วต้องเลิกหมด  หันมาเอาใจใส่ครอบครัวเป็นอันดับหนึ่ง    ภรรยาก็เหมือนกัน เห็นครอบครัวสำคัญที่สุด
ท่านบอกว่าไพร่ผู้ดีก็ทำแบบเดียวกัน   นายคร้ามคงเคยไปเห็นครอบครัวในหลายระดับ   

ข้างล่างนี้เป็นภาพห้องในบ้านคนอังกฤษชั้นกลางในสมัยนั้น   ถ้านายคร้ามได้ไปเห็นก็คงเป็นบ้านประมาณนี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 21:51

ถ้าได้รับเชิญไปรับประทานอาหาร  ห้องที่เห็นก็น่าจะเป็นแบบอย่างรูปแรก   ส่วนรูปที่สอง  เป็นห้องรับประทานอาหารบ้านเศรษฐี



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 20:32

นายคร้ามเล่าถึง "ถนนใต้ดิน"   ดิฉันยังนึกไม่ออกว่าเป็นส่วนไหนของลอนดอน   เข้าใจว่าต่อมาคงจะเป็นรถไฟใต้ดินหรือ underground กระมัง   
ท่านเล่าว่าท่านไปเดินเล่นที่ถนนใต้ดิน   บอกด้วยว่าน้ำไม่ท่วม   คงหมายถึงอยู่ลึกลงไปใต้ดินก็ไม่มีน้ำท่วมพื้นเป็นปูนอย่างหินชนวน  ผนังเป็นกระเบื้องมีโครงเหล็กข้างใน  มีช่องวางโคมแกซให้แสงสว่างไม่ว่ากลางวันกลางคืน เพราะถนนใต้ดินนั้นมืดตลอด ๒๔ ช.ม. ต้องจุดไฟ
แต่เมื่อเดินลงไปต้องจ่ายเงิน ราคาหนึ่งเพ็นนี   ถนนยาวสี่สิบเส้น  ริมทางเดินมีม้านั่งยาวตั้งไว้เป็นระยะ  และมีร้านขายขนมเล็กน้อย
ถนนใต้ดินนี้ เป็นเส้นทางทอดไปโดยมีทางขึ้นไปสู่ "โรงแสดงสรรพสิ่งของ"  หมายถึงมิวเซียมละมัง

นายคร้ามไม่ได้พูดถึงรถไฟใต้ดินในลอนดอนเลย   ไม่รู้ว่าในยุคนั้นสร้างกันหรือยัง   แต่รถไฟตามเมืองต่างๆมีแล้ว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 21:46

นายคร้ามเล่าถึง "ถนนใต้ดิน"   ดิฉันยังนึกไม่ออกว่าเป็นส่วนไหนของลอนดอน   เข้าใจว่าต่อมาคงจะเป็นรถไฟใต้ดินหรือ underground กระมัง   
ท่านเล่าว่าท่านไปเดินเล่นที่ถนนใต้ดิน   บอกด้วยว่าน้ำไม่ท่วม   คงหมายถึงอยู่ลึกลงไปใต้ดินก็ไม่มีน้ำท่วมพื้นเป็นปูนอย่างหินชนวน  ผนังเป็นกระเบื้องมีโครงเหล็กข้างใน  มีช่องวางโคมแกซให้แสงสว่างไม่ว่ากลางวันกลางคืน เพราะถนนใต้ดินนั้นมืดตลอด ๒๔ ช.ม. ต้องจุดไฟ
แต่เมื่อเดินลงไปต้องจ่ายเงิน ราคาหนึ่งเพ็นนี   ถนนยาวสี่สิบเส้น  ริมทางเดินมีม้านั่งยาวตั้งไว้เป็นระยะ  และมีร้านขายขนมเล็กน้อย
ถนนใต้ดินนี้ เป็นเส้นทางทอดไปโดยมีทางขึ้นไปสู่ "โรงแสดงสรรพสิ่งของ"  หมายถึงมิวเซียมละมัง

นายคร้ามไม่ได้พูดถึงรถไฟใต้ดินในลอนดอนเลย   ไม่รู้ว่าในยุคนั้นสร้างกันหรือยัง   แต่รถไฟตามเมืองต่างๆมีแล้ว

คงเป็นเส้นทางใต้ดินเพื่อเดินไปสู่สถานีรถไฟใต้ดินกระมังครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 22:01

น่าจะใช่   เพราะถ้านายคร้ามเดินลงไปใต้ดิน ในลอนดอนก็มีแต่ underground เท่านั้น   ไม่มีถนนอะไรซ้อนอยู่ข้างใต้ลอนดอน
แต่แปลกใจว่านายคร้ามไม่รู้เลยหรือว่ามีรถไฟใต้ดิน  หรือว่าสมัยนั้นยังไม่มีกัน
ต้องขอแรงผู้รู้ช่วยเช็คให้หน่อยว่ารถใต้ดินเริ่มมีตั้งแต่ค.ศ.ไหนค่ะ
บันทึกการเข้า
mayom
อสุรผัด
*
ตอบ: 23

วิศวกรตกยาก


ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 04:34

มีแล้วค่ะ ยิ้ม
มี Underground  ตั้งแต่ 10.01.1863 ค่ะ
http://en.wikipedia.org/wiki/London_Underground
บันทึกการเข้า
mayom
อสุรผัด
*
ตอบ: 23

วิศวกรตกยาก


ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 04:43

 อายจัง
Picture from year 1870:

from link->
http://www.ltmcollection.org/resources/index.html?IXglossary=Public+transport+in+Victorian+London%3A+Part+Two%3A+Underground



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 09:32

ถนนใต้ดินของนายคร้ามคือ  อุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเทมส์





 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 09:55

ไม่ได้นึกถึงอุโมงค์ลอดแม่น้ำเทมส์   เพราะนายคร้ามไม่ได้พูดสักคำเกี่ยวกับแม่น้ำ  จึงนึกถึง underground แต่ก็แปลกใจว่าทำไมจะต้องจ่ายเงิน 1 เพ็นนีลงไปเดินด้วย

นายคร้ามเปรียบเทียบหมอไทยกับหมออังกฤษ ว่า นอกจากเรื่องรักษาบาดแผลแล้ว เป็นรองหมอไทยในการวินิจฉัยโรค    ถ้าคนไข้บาดเจ็บมีบาดแผล หมอฝรั่งจะเย็บแผลและผ่าเก่ง เพราะเครื่องไม้เครื่องมือดี   แต่ถ้าเป็นโรคที่ไม่มีแผล  หมอฝรั่งจะหาว่าเป็นโรคเกี่ยวกับปอดไปเสียหมด   ผิดกับหมอไทยที่วิเคราะห์โรคได้หลากหลายกว่า

ส่วนนิสัยคนอังกฤษ  นายคร้ามแทรกไว้เป็นระยะ  อย่างหนึ่งที่ท่านเห็นก็คือ คนอังกฤษเป็นคนสุขุมกว่าคนไทย   คงจะหมายความว่าเป็นคนนิ่งๆ เก็บกิริยาอาการมากกว่า
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 10:00

ไม่ได้นึกถึงอุโมงค์ลอดแม่น้ำเทมส์   เพราะนายคร้ามไม่ได้พูดสักคำเกี่ยวกับแม่น้ำ  จึงนึกถึง underground แต่ก็แปลกใจว่าทำไมจะต้องจ่ายเงิน 1 เพ็นนีลงไปเดินด้วย

ก็เพราะเขาเก็บค่าผ่านประตู

คุณวิกกี้ อธิบายว่า

Pedestrian usage

Although it was a triumph of civil engineering, the Thames Tunnel was not a financial success. It had cost a fortune to build—£454,000 to dig and another £180,000 to fit out—far exceeding its initial cost estimates.  Proposals to extend the entrance to accommodate wheeled vehicles failed owing to cost, and it was only used by pedestrians. It became a major tourist attraction, attracting about two million people a year, each paying a penny to pass through, and became the subject of popular songs. The American traveller William Allen Drew commented that "No one goes to London without visiting the Tunnel" and described it as the "eighth wonder of the world". When he saw it for himself in 1851, he pronounced himself "somewhat disappointed in it" but still left a vivid description of its interior, which was more like an underground marketplace than a transport artery.

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 10:07

คุณเพ็ญฯ ลองหาแผนที่ Royal Albert Hall ดูซิครับว่าตั้งอยู่ติดกับไฮด์ปาร์ก ไกลแม่น้ำเทมส์มากนะครับ

ส่วนผมก็ได้แนบ Thames Tunnel ให้ชมเป็นอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเทมส์ที่คุณเพ็ญฯ กล่าวถึง ไม่ใกล้ Royal Albert Hall นะขอรับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 20 คำสั่ง