เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 210 เมื่อ 04 ต.ค. 11, 21:21
|
|
ทิวทัศน์บน Isle of Wight หมู่บ้านที่นั่นน่ารักมาก หน้าตาเป็นแบบนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 211 เมื่อ 04 ต.ค. 11, 21:29
|
|
Osborne House อยู่ตอนเหนือของเกาะ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 213 เมื่อ 05 ต.ค. 11, 16:00
|
|
ตามเข้ามารอฟังนายคร้าม เล่นดนตรีต่อหน้าพระพักตร์ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 214 เมื่อ 05 ต.ค. 11, 17:24
|
|
"... ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ราว พ.ศ. ๒๔๒๘ ขณะนั้นท่านมีอายุราว ๒๕ ปี รัฐบาลอังกฤษได้มีหนังสือเชิญมายังรัฐบาลไทยให้ส่งนาฏศิลป์และดนตรีไทยไปแสดง ณ ประเทศอังกฤษและยุโรป ในครั้งนี้ทางวังบูรพาภิรมย์เป็นผู้จัดส่งไป นักดนตรีได้ไปแสดงในครั้งนั้น ก็ได้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์ เป่าปี่ใน ครูคร้าม ตีระนาด เป็นต้น ผลงานการบรรเลงเดี่ยวของพระยาประสานฯ เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นที่ยิ่ง ถึงกับทรงรับสั่งขอฟังการเป่าขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์อีกครั้งในพระราชวังบัคกิ้งแฮม การบรรเลงครั้งหลังนี้ สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียทรงลุกจากพี่ประทับ และใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯ พร้อมทั้งมีรับสั่งถามว่าเวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดหายแม้ชั่วขณะ เป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่ง นับเป็นเกียรติประวัติอย่างสูงแก่วงการดุริยางค์ไทย .."
ประวัติพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
www.thaiclassic.net ถึงกับทรงรับสั่งขอฟังการเป่าขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์อีกครั้งในพระราชวังบัคกิ้งแฮม ในบันทึกของนายคร้าม มีการเข้าไปแสดงในพระราชวังบัคกิ้งแฮมหรือไม่ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 215 เมื่อ 07 ต.ค. 11, 16:36
|
|
ดิฉันไม่ทราบว่าเข้าเฝ้าปรินซ์ออฟเวลส์ที่พระราชวังไหน แต่เข้าเฝ้าควีนวิกตอเรียที่วังออสบอร์นครั้งเดียว ขออภัยที่ต้องทิ้งนายคร้ามกับสหายไว้ในอังกฤษชั่วคราว ยังไม่มีเวลามากพอที่จะมาต่อเรื่องนี้ค่ะ ถ้าคุณเพ็ญมีข้อมูลเรื่องนี้ เชิญนำทางไปก่อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 216 เมื่อ 10 ต.ค. 11, 16:21
|
|
วันนี้ มีเวลาแวะเข้ามาแล้วค่ะ
นายคร้ามเก็บรายละเอียดได้ดีพอใช้ ทางวังเขาเลี้ยงอาหารนักดนตรี ท่านก็บันทึกไว้ด้วยว่าได้กินอะไรบ้าง ส่วนใหญ่น่าจะเป็นเนื้อสัตว์ คือ หมู ไก่ เนื้อ(วัว) แกะ เนื้อไก่ฟ้า ไก่งวง และห่าน ถึงรายชื่ออาหารพวกนี้ ทำให้คิดว่าคุณ(นาย)ตั้งในกระทู้โน้นคงจะได้กินมาทุกอย่างแล้ว น่าแปลกที่ในวังเลี้ยงแขกด้วยเนื้อไก่งวง ในวาระธรรมดาไม่ใช่คริสต์มาส และมีห่านอีกด้วย เพราะในคริสต์มาส ไก่งวงเป็นอาหารฉลองของคนรวย ส่วนห่านเป็นของคนจน อาหารที่กินนี้แยกเนื้อสัตว์และผักออกไปเป็นคนละจาน ตามแบบดินเนอร์ของฝรั่ง นายคร้ามบอกว่ามีทั้งผักสุกและผักดิบ ผักสุกเห็นจะเป็นพวกผักต้มหรือซุป ผักดิบน่าจะเป็นสลัด มีขนมของหวานแบบฝรั่ง เขาเสิฟน้ำส้มระคนกับน้ำมะเน็ด สำหรับล้างคอไม่ให้เหม็นคาว?
นายคร้ามบอกว่าภาชนะบนโต๊ะก็ดูใกล้เคียงกับที่เคยกินในสยาม แสดงว่าอาหารฝรั่งในบางกอกยุคนั้นหรูหราเอาการทีเดียว แตกต่างกันก็คือมารยาทของบริกรที่ท่านเรียกว่า บ๋อย มหาดเล็กเดินโต๊ะของวังออสบอร์นกิริยาเรียบร้อยมีระเบียบ ไม่เหมือน "บ๋อยเปรต" ในบางกอก อย่างหลังนี้นายคร้ามคงเคยเจอมาเวลาไปกินในภัตตาคารหรืองานเลี้ยงที่ไหนสักแห่ง ไม่แน่ใจว่าบ๋อยที่นายคร้ามเก็บเอามาค่อนขอดถึงอังกฤษนี้ เป็นคนจีนในเมืองไทยหรือเปล่า
จากนั้น กินเสร็จก็ไปรอรับเสด็จควีน แล้วดนตรีไทยก็ทำเพลง God Save the Queen ไม่น้อยหน้าที่เคยบรรเลง God Save Prince of Wales มาแล้ว เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 217 เมื่อ 10 ต.ค. 11, 16:30
|
|
ลงภาพนายคร้ามให้ อ.เทาชมพูครับผม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 218 เมื่อ 10 ต.ค. 11, 16:43
|
|
^ ยอดเยี่ยมค่ะ นายคร้ามเป็นหนุ่มน้อย หน้าตาดีกว่าที่คิดไว้
ขอลงพระรูปควีนวิกตอเรียในยุคนั้นให้ดูบ้าง นายคร้ามบรรยายถึงพระองค์ท่านว่า "ข้าพเจ้าพิจารณาดูพระนางเจ้าวิกตอเรียนในเวลานั้นอย่างเต็มตา เห็นว่าสมกับเป็นผู้มีบุญญาจริง ประกอบด้วยลักษณะพร้อมทั้งผิวพรรณบริบูรณ์ทุกอย่าง พระวรกายไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก แต่พระชันษานั้นอยู่ในราว ๗๐ ปีเศษ แม้พระชันษาถึงเท่านี้ก็ยังกระปรี้กระเปร่า ยังวัฒนาไม่บกพร่องเลยอย่างที่เล่ามาก่อน... และพระนางเจ้าวิคตอเรียนั้นประกอบด้วยท่วงทีเรียบร้อยงามสง่า สมเป็นหญิงที่มีบุญในยุโรปนั้น และมีอายุมาก สมควรที่ข้าพเจ้าจะต้องเคารพนบน้อมท่านในวันนั้น"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 219 เมื่อ 12 ต.ค. 11, 16:40
|
|
นายคร้ามเล่าต่อไปว่า สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียสนพระทัยเครื่องดนตรีไทยมาก เสด็จพระราชดำเนินเข้ามาใกล้เมื่อบรรเลงถวายจบแล้ว โปรดให้เป่าแคนถวาย แยกเป็นพิเศษจากการบรรเลงทั้งวง มิสเตอร์ลอปตัสผู้เป็นล่ามก็ให้ครูเปียและครูสินเป่าถวาย เป็นเพลงเทพบรรทม และเพลงภิรมย์สุรางค์ เมื่อประทับฟังแคน ก็รับสั่งให้เจ้าชายเฟรดเดอริควิลเลียมแห่งปรัสเซีย (เป็นพระราชสวามีของปรินเซสรอแยลพระราชธิดาพระองค์ใหญ่) ยืมซอสามสายไปทอดพระเนตร รับสั่งว่าไพเราะกว่าดนตรีจากประเทศอื่นๆ เมื่อเสด็จขึ้น นักดนตรีถวายคำนับ ก็ทรงคำนับตอบ จากนั้นก็ให้เจ้าพนักงานเอาบุหรี่มาให้นักดนตรี เป็นรางวัลพระราชทาน
นักดนตรีเดินทางกลับลอนดอน จบไฮไลต์ของเรื่องแค่นี้ค่ะ
ตอบคุณเพ็ญชมพู นายคร้ามบันทึกการเข้าเฝ้าไว้หนเดียว ไม่ได้ไปที่พระราชวังบัคกิงแฮม หรือถ้าไปก็ไม่ได้บันทึกไว้
จากนั้นก็เป็นบันทึกเล่าถึงเรื่องราวของบ้านเมืองและผู้คน เป็นรายละเอียดแล้วแต่นายคร้ามท่านจะสะดุดตาสะดุดใจอะไรขึ้นมาบ้าง อ่านจากที่บันทึก นายคร้ามก็ช่างสังเกตและจดจำเอามาประเมินผลได้เก่งเอาการ อย่าลืมว่าในสมัยนั้น อังกฤษเป็นประเทศไกลสุดหล้าฟ้าเขียวจากความรู้ความเข้าใจของสยาม นายคร้ามจะต้องบันทึกชื่อคน ชื่อสถานที่ ซึ่งแปลกหูแปลกตาไปเสียทุกเรื่อง ดังนั้นท่านจำได้บ้างไม่ได้บ้างในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ก็น่าเห็นใจ แต่รวมความแล้วถือว่าสติปัญญาและความจำของนายคร้ามเข้าขั้นดีเยี่ยมทีเดียว
นายคร้ามออกจะมีนิสัยช่างวิเคราะห์วิจารณ์ สนใจอยากรู้เรื่องวัฒนธรรมของคนอังกฤษอยู่มาก ไม่ได้สนใจเฉพาะสิ่งที่ตาเห็นเท่านั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 220 เมื่อ 12 ต.ค. 11, 16:53
|
|
นายคร้ามพูดถึงการพักผ่อนของคนอังกฤษ ซึ่งคงน่าแปลกสำหรับชาวสยาม เพราะชาวบ้านในสมัยนายคร้าม ไม่มีธรรมเนียมไปตากอากาศต่างเมืองหรือตากอากาศชายทะเลอย่างคนอังกฤษ ถ้าเรานึกย้อนไปถึงนิราศเมืองแกลงของสุนทรภู่ จะเห็นว่าหนุ่มเมืองหลวงอย่างสุนทรภู่บ่นเสียแทบตายเรื่องเดินทางไประยอง เห็นแต่ความลำบากลำบน ไม่ได้มีจิตอภิรมย์กับได้ไปเห็นอะไรใหม่ๆแปลกๆในเมืองชายทะเล เฝ้าแต่อยากกลับบ้านท่าเดียว
ผิดกับคนอังกฤษ นายคร้ามเล่าว่าพอถึงฤดูร้อน ในเดือนเจ็ดถึงเดือนเก้า ชาวอังกฤษชอบไปเล่นเรือ ถ้าฐานะปานกลางก็โดยสารเรือใบ ถ้าคนรวยก็นั่งเรือไฟออกทะเลไปเที่ยว แม้ว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่าย เพราะอังกฤษไม่มีอะไรฟรี คนก็ยังแห่กันไปเนืองแน่น เห็นกันแน่นขนัดตามเมืองท่าเรือ การออกจากเมืองในหมอกอย่างลอนดอน และเมืองใหญ่อื่นๆไปเที่ยวทะเล เป็นการท่องเที่ยวยอดนิยมในสมัยนั้น ไม่ใช่แต่เที่ยวทะเลรอบเกาะ แต่ชาววิคตอเรียนไปกันทั่วโลก ทุกดินแดนที่อังกฤษแผ่แสนยานุภาพไปถึง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 221 เมื่อ 14 ต.ค. 11, 20:53
|
|
นายคร้ามก็เช่นเดียวกับคนในวัยหนุ่มสาวทั้งหลาย คือสนใจคนวัยเดียวกันอยู่มาก มาอยู่อังกฤษไม่นานก็เริ่มสังเกตเรื่องหนุ่มๆสาวๆ หรือเจาะจงลงไปน่าจะเป็นเรื่องของสาวมากกว่าหนุ่ม นายคร้ามสรุปเรื่องความรักและการสมรสของหนุ่มสาวอังกฤษเท่าที่เห็นว่า หญิงสาวอังกฤษไม่ได้เลือกสามีที่รูปร่างหน้าตาว่าต้องหล่อเหลาหรือไม่ ผู้ชายที่สาวๆเมินไม่มองมี ๓ ข้อ ก็คือ ๑ เป็นคน "ต่ำชาติต่ำตระกูล" ในที่นี้เห็นจะหมายถึงสาวๆชนชั้นกลาง ไม่เลือกผู้ชายชั้นกรรมกร หรือพวกค็อกนีย์ คือคนไร้การศึกษาในลอนดอน ตัวอย่างค็อกนีย์ที่คนไทยรู้จักในหนัง ก็คือนางเอกเรื่อง My Fair Lady อีไลซ่า ดูลิตเติ้ล ตอนยังไม่ได้ถอดรูปออกมาเป็นเจ้าหญิง ๒ เป็นคน"ขัดขวาง" คำนี้เคยอ่านพบในอิเหนา ที่ระเด่นมนตรีชมบุษบายามลงสรงว่า "งามจริงพริ้งพร้อมทั้งสรรพางค์ ไม่ขัดขวางเสียทรงที่ตรงไหน" ยังไม่ชัดเจนว่านายคร้ามหมายถึงอะไร หันไปพึ่งรอยอิน ท่านก็ให้คำตอบมาว่า ทําให้ไม่สะดวก, ทําให้ติดขัด. เป็นอันว่าไม่ได้เรื่อง ๓ เป็นคนพิการ ทำให้หาเลี้ยงภรรยาไม่ได้ ทีแรกนึกว่าขัดขวางน่าจะแปลว่าร่างกายไม่สมประกอบ อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่พอเจอข้อ ๓ ว่าพิการ ก็แสดงว่าขัดขวางเป็นคนละอย่างกับพิการ ทิ้งไว้ให้ผู้รู้ในเรือนไทยมาอธิบายดีกว่า นายคร้ามบอกว่าผู้ชายอังกฤษต่อให้แก่คราวปู่คราวตา แต่ถ้ามีทรัพย์สินและมีปัญญา สาวๆไม่รังเกียจเลย ข้อนี้เราคงเคยอ่านพบในนิยายหรือดูในหนังก็คงผ่านตาบ้าง ว่าท่านลอร์ดท่านเอิร์ลแก่ๆ บางทีก็มีภรรยาสาวคราวลูกหลาน ไม่เห็นเป็นเรื่องประหลาดในสังคม
ผู้หญิงอังกฤษในยุคนั้น มีอาชีพหลักคือเป็นภรรยา น้อยคนมีอาชีพทำงานนอกบ้าน เพราะฉะนั้น จึงต้องให้สามีหาเลี้ยง ผู้ชายที่ดูแล้วแน่ใจว่าเลี้ยงครอบครัวได้จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 222 เมื่อ 14 ต.ค. 11, 21:28
|
|
นายคร้ามเล่าเรื่องธรรมเนียมสามีภรรยาเอาไว้หลายตอนด้วยกัน ตามประสาคนซอกแซกช่างสังเกต บางเรื่องที่คนอังกฤษเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ท่านก็เห็นเป็นเรื่องแปลก ข้อนี้ก็พอเข้าใจได้ เพราะในสยามไม่มีธรรมเนียมแบบนี้ เรื่องเล็กๆอย่างหนึ่งที่นายคร้ามสังเกตก็คือเรื่องร่ม ใครเคยไปอังกฤษคงนึกออกว่าฝนเจ้ากรรมตกได้ตลอดเวลา เดี๋ยวแดดออก เดี๋ยวฝนตก คนอังกฤษจึงต้องมีร่มติดตัวไปไหนมาไหนเสมอ แต่นายคร้ามก็ซอกแซกสังเกตได้ว่าร่มของผู้ชายกับผู้หญิงใช้ไม่เหมือนกัน ผู้หญิงอังกฤษกางร่ม เป็นของปกติ เดินออกจากบ้านไปไหนมาไหน กางร่มได้ตลอดเวลา แดดออกก็กันแดด ฝนตกก็กันฝน แต่ผู้ชายต่อให้แดดจ้าแค่ไหนก็ไม่มีวันที่ผู้ชายอังกฤษคนไหนกางร่มเพื่อบังแดดให้ตัวเอง ร่มของผู้ชายมักถือติดมือแทนไม้เท้า จะกางร่มได้ก็ต่อเมื่อฝนตกเท่านั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 223 เมื่อ 14 ต.ค. 11, 21:29
|
|
ผู้ชายกางร่มเพื่อกันฝนเท่านั้น ผู้หญิงกางร่มทั้งเพื่อความสวยงาม กันแดด และกันฝน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 224 เมื่อ 15 ต.ค. 11, 08:29
|
|
เป็นความงามแห่งแฟชั่น และอาจจะเป็นไปได้ว่าอากาศของประเทศอังกฤษนั้น อากาศไม่แน่นอนฝนจะตกได้ทุกเมื่อ ถ้าตกแล้วก็อาจจะทำให้เสื้อผ้า ผมที่จัดไว้เสียรูปทรง แฟชั่นถือร่มจึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งมีร่มเล็ก ร่มใหญ่ ร่มลูกไม้ซึ่งเกือบจะกันอะไรไม่ได้เลยก็มี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|