siamese
|
ความคิดเห็นที่ 150 เมื่อ 18 ส.ค. 11, 14:34
|
|
^ ชัด แจ่ม แจ้ง  มาดูตัวอย่างรายการที่ได้รางวัลกันครับ เป็นที่หนีบหนังสือพิมพ์ และเป็นราวสำหรับวางหนังสือพิมพ์ ก็เข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์นี้ ได้รางวัลด้วยนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 151 เมื่อ 18 ส.ค. 11, 14:36
|
|
บรรยากาศการจัดแสดงในสวนด้านนอก จัดวางสิ่งประดิษฐ์ และสินค้าต่าง ๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 152 เมื่อ 18 ส.ค. 11, 14:38
|
|
บริเวณสวน (เห็น Royal Albert Hall) ด้านหลัง มีน้ำพุขนาดใหญ่ ในภาพเป็นการแสดงพลุ ดอกไม้ไฟ ที่แสนสวยงาม
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 153 เมื่อ 18 ส.ค. 11, 15:54
|
|
... and a larger instrument on the same principle used in the Lao States of Siam is there called Phan. In nearly all instances it is retained as a solo instrument. The Siamese musicians, whom H.M. the King of Siam very generously sent at his own expense to the London Inventions Exhibition, and who performed there, in the music room and in the Royal Albert Hall, had among them a Phan player, who always played alone. จาก Musical instruments : historic, rare and unique หน้า XVIII What is a Phan ? 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 154 เมื่อ 18 ส.ค. 11, 16:03
|
|
ในนี้บอกว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นกันในภาคอีสาน ( the Lao States of Siam) แล้วเล่นเดี่ยวเสียด้วย ไม่ได้เข้าวงมโหรี ดิฉันนึกออกอย่างเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 155 เมื่อ 18 ส.ค. 11, 21:01
|
|
มีภาพเครื่องดนตรีไทยที่นำมาเล่นในงานนี้พร้อมคำบรรยายอยู่ใน หนังสือเล่มข้างบน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 156 เมื่อ 18 ส.ค. 11, 21:05
|
|
อีกชุดหนึ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 157 เมื่อ 18 ส.ค. 11, 21:11
|
|
What is a Phan ?  มีคำอธิบายเพิ่มเติม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 158 เมื่อ 18 ส.ค. 11, 21:17
|
|
reed instrument called phan reed = ต้นอ้อ หรือต้นกก ถ้าเป็นต้นกก น่าจะทอเป็นเสื่อมากกว่าเครื่องดนตรี อ้อ ขลุ่ยไม้อ้อ ปี่อ้อ  เป็นเครื่องดนตรีอีสานหรือคะ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 159 เมื่อ 18 ส.ค. 11, 21:19
|
|
Phan = แพน = แคน ฝรั่งพูดถึงวงลาวแพน แต่เข้าใจผิดว่าเป็นของทางเหนือ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 160 เมื่อ 18 ส.ค. 11, 21:35
|
|
ลาวแพน เพลงลาวแพนสองชั้นสำเนียงลาว เพลงสำหรับเดี่ยวปี่และจะเข้ นิยมมาแต่โบราณโดยใช้เดี่ยวและบรรเลงออกด้วยเพลงสำเนียงลาวต่าง ๆ เช่น ลาวสมเด็จ ลาวแพนน้อย เป็นต้น ตอนท้ายจบด้วยเพลงซุ้ม เพลงลาวแพนนี้เมื่อนำไปประกอบลีลาท่ารำเรียกฟ้อนลาวแพน เนื่องจากเป็นเพลงที่มีความไพเราะ ท่วงทำนองและจังหวะรุกเร้าสนุกสนาน จึงมีนักดนตรีนำทำนองไปแต่งเป็นทางเดี่ยวหลายทางด้วยกันคือ เดี่ยวทางระนาดเอก หลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) แต่งทางหนึ่ง นายสอน วงฆ้อง แต่งทางหนึ่งโดยแต่งตามคำแนะนำของพระยาเสนาะดุริยางค์(แช่ม สุนทรวาทิน) โดยเป็นเพลงเดี่ยวทางระนาดเอกเพลงแรกที่แต่งขึ้น ส่วนเดี่ยวทางฆ้องวงใหญ่ พระยาเสนาะดุริยางค์(แช่ม สุนทรวาทิน) แต่งทางหนึ่ง และจางวางทั่ว พาทยโกศล แต่งขึ้นอีกทางหนึ่ง ฯลฯ เพลงนี้สันนิษฐานว่าเดิมคงชื่อ “ ลาวแคน ” หรือเพลงที่เป่าแคนต่อมาจึงเรียกเพี้ยนเป็น “ ลาวแพน ” ในสมัยโบราณมีการฟ้อนรำชนิดหนึ่งเรียกว่า ” รำแพน ” หรือ “ ฟ้อนแพน ” ซึ่งอาจจะมาจากเพลงสำหรับฟ้อนชนิดนี้ก็ได้ แต่เพลงลาวแพนสำหรับเดี่ยวนี้ท่านโบราณาจารย์ได้นำเพลงลาวต่าง ๆ เข้ามาติดต่อเป็นเรื่องด้วยหลายเพลง เช่น ลาวสมเด็จ ลาวแพนน้อย สำหรับเดี่ยวลาวแพน มีลีลาอารมณ์เพลงทั้งอ่อนหวาน เร้าใจและสนุกสนาน เครื่องดนตรีที่นิยมนำมาบรรเลงเดี่ยวกันมากคือ ขิม จะเข้ และ ระนาด เพลงนี้เป็นการบรรเลงนำโดยขิม เคยมีบริษัทเบียร์ของไทยได้นำเพลงนี้มาใช้ประกอบการภาพยนตร์โฆษนา ในเพลงที่บรรเลงชุดนี้บรรเลงได้พลิ้วหวานมาก พอช่วงจังหวะเร่งเร้าก็บรรเลงเร้าใจมาก เพลงนี้ คุณ สมศักดิ์ เทพานนท์ นำมาใส่เนื้อร้อง ในชื่อเพลง “ บ้านนา ” ขับร้องโดย คุณวินัย จุลละบุษปะ กับ คุณ วรนุช อารีย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 161 เมื่อ 19 ส.ค. 11, 08:35
|
|
มาอ้างเอกสารต่างประเทศกันต่อ เรื่องนายคร้ามไปแสดงดนตรีที่ The Royal Alber Hall
"On Monday the Court Band of the King of Siam gave their first public performance in ... the music room of the Inventions Exhibition at South Kensington. The Players are 17 in mumber, and the name of their conductor is Nai Tong Dee. Their instruments are of great externial beauty and considerable value. In the centre of the group formed by the band stood their player of the Khong, and instrument which is semicircualr in shape, being .... orangewood inlaid with ivory, ..."
จัดความได้ว่า
ในวันจันทร์ได้มีคณะดนตรีจากพระมหากษัตริย์แห่งสยามได้ทำการแสดงเป็นครั้งแรกที่ห้องดนตรี ในงานแสดงผลงางสิ่งประดิษฐ์ที่เซาท์เคนซิงตัน ประกอบด้วยนักดนตรี ๑๗ ท่าน และมีผู้ควบคุมวงโดย นายทองดี เหล่าเครื่องดนตรีนั้นแสดงถึงความสวยงามของรูปลักษณ์ภายนอกที่สวยงามและมีราคา ในกลางวงกลุ่มผู้แสดงประกอบด้วย "ฆ้อง" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีครึ่งวงกลม ทำด้วยไม้ออกสีส้มและมีงาช้างผสม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 162 เมื่อ 19 ส.ค. 11, 08:48
|
|
การบรรยายความนี้อธิบายเครื่องดนตรีเกือบทุกชิ้น ในหนังสือพิมพ์ แสดงว่า นักข่าวอังกฤษนั้นให้ความสนใจกับเหล่านักดนตรีและเครื่องคนตรีเหล่านี้มาก อาจจะเป็นของเอเซียตะวันออกไกล ซึ่งน้อยคนจะได้เห็น จะได้ฟังเสียง (ทั้งนี้ไม่ใช่มีเพียงสยามเท่านั้น ยังมีเครื่องดนตรี จีน ญี่ปุ่น เข้าร่วมการแสดงด้วย)
การบรรยายตรงนี้อธิบายถึงแพน ที่ทางคณะดนตรีได้จัดเตรียมไป
"ข้อความอ่านไม่ออกควรบรรยายถึง Pipe, of seven bamboo pipes of vary lengths, with a collective mouthpiece in centre of them. The Violins, called ..... "Saw," are very far removed from the rough instruments ordinary found in the East. One in particular has the stick handle of ebony in laid with ivory, the sounding box of craved ...... of exceptional size having been .... keys for tightening the string.."
จัดความได้ว่า
ท่อยาวประกอบกอบด้วยไม้ไผ่ที่มีความยาวต่างกัน ๗ ท่อ และเป่าเข้าที่ตรงกลาง ส่วนไวโอลิน (เครื่องสี) เรียกว่า "ซอ" ซึ่งเป็นเครื่องสีที่สามารถพบได้เห็นได้ทั่วไปในซีกโลกตะวันออก โดยที่คันถือเป็นแท่งยาว และประกอบด้วยงาช้าง ...และบรรยายด้วยว่า การเกิดเสียงต่าง ๆ เกิดได้ด้วยการขึงเส้นเสียงให้ตึง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 163 เมื่อ 19 ส.ค. 11, 09:01
|
|
ดังเครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงนั้น จะเห็นได้ว่า เป็นเครื่องดนตรีไทยที่มีความงดงามมาก โดยชิ้นที่เด่นที่สุดคงหนีไม่พ้น "ระนาดเอก" จำนวน ๒๑ ลูกอย่างโบราณ ตัวผืนเป็นไม้ไผ่ชั้นดี ส่วนรางก็ฝังมุกตราพระราชสัญลักษณ์ พร้อมฉัตรกระหนาบ ส่วนเครื่องดนตรีอื่น ๆ ล้วนทำด้วยเครื่องงาทั้งสิ้น แต่การวาดนี้คงนำมาลงในหนังสือเพียงชิ้นเด่น ๆ แต่ เครื่องหนัง (กลองทัด ตะโพน) ฉิ่ง แพน ไม่เห็นนำมาลงอธิบายไว้
นำภาพตัวอย่างการจัดวงดนตรีไทย พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) เป่าปี่ หลวงบำรุงจิตรเจริญ (ธูป สาตรวิสัย) ฆ้องวง หมื่นคนธรรพประสิทธิสาร (แตะ กาญจนผลิน) กลองทัต พระพาทย์บรรเลงรมย์ (พิมพ์ พิมพวาทิน) ตะโพน และ สองหน้า พระเพลงไพเราะ (โสม สุดวาทิน) ระนาด หมื่นขับคำหวาน (เจิม นาคมาลัย) กรับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 164 เมื่อ 19 ส.ค. 11, 11:12
|
|
เครื่องแคน ยาว ๆ แบบนี้ที่ได้ร่วมไปเป่าโชว์ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|