เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 70228 คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 20:21

Plymouth citadel  ป้อมนี้หรือเปล่าที่นายคร้ามบรรยายไว้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 22:21

นายคร้ามไม่ได้บรรยายหน้าตาสถานเอกอัครราชทูตไทยว่าเป็นอย่างไร    แต่เล่าเกี่ยวกับงานเท่านั้น เรื่องแรกคือต้องตัดเสื้อผ้าใหม่   กรมหมื่นนเรศวร์ทรงเรียกช่างมาวัดตัวตัดเสื้อ    นายคร้ามแจกแจงไว้ละเอียดลออว่า

" ได้รับพระราชทานเสื้อเชิ้ตขาวกาว  เชิ้ตสักหลาดอ่อนสามตัว  เสื้อยืดสามตัว  กางเกงยืดสามตัว  อีฟนิ่งสำรับหนึ่ง  มอร์นิ่งสำรับหนึ่ง  เสื้อในยูนิฟอร์มหนึ่ง  กางเกงขาสั้นสำรับหนึ่ง  แต่ยูนิฟอร์มนั้นสำหรับทำดนตรี  โอเวอร์โค้ตหนึ่ง  ถุงเท้าเจ็ดคู่  รองเท้าสามคู่"

นอกจากนี้ยังได้รับเงินเดือนด้วย คือเดือนละปอนด์ครึ่ง  เฉลี่ยเป็นวัน วันละหนึ่งชิลลิง    ความเป็นอยู่ก็โอ่อ่าดี คือมีบ๋อยประจำห้องพัก ๓ คน  ทำหน้าที่ปูที่นอน จัดโต๊ะ และแปรงรองเท้าให้นักดนตรี ๑๙ คน    ถ้าอยากไปไหนก็มีคนไทยที่พูดอังกฤษได้พาเที่ยว  แยกกันไปเป็นกลุ่มละ ๓-๔ คน

นายคร้ามเริ่มเล่าถึงกรุงลอนดอนว่าเป็นเมืองใหญ่ สถานทูตทั้งหลายอยู่ในเมืองเหมือนกรุงเทพ      ห้างร้านก็มีมากมาย แต่ว่าแต่ละร้านขายสินค้าอย่างเดียว ไม่ปนกันอย่างร้านคนไทย
นายคร้ามหมายความว่า  ร้านไหนขายรองเท้าก็ขายรองเท้าอย่างเดียว   ร้านไหนขายผลไม้ก็ผลไม้ ร้านไหนรับตัดเสื้อก็มีแต่เสื้อ     คงจะเป็นร้านเล็กๆในละแวกของสถานทูตที่นายคร้ามเดินเที่ยว

ต่อไป นายคร้ามก็ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์มาดามตูโซ   ไกด์กิตติมศักดิ์คือพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสณบัณฑิต  กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา  มีเพื่อนนักดนตรีไปด้วยอีกคนคือนายสิน    ค่าผ่านประตูคนละ ๑ ชิลลิง  
เจ้านายทรงออกค่าผ่านประตูให้     นับเป็นโชคดีของนายคร้าม  ไม่งั้นเบี้ยเลี้ยงวันนั้นคงหมดไปเลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 22:27

Madame Tussaud's  wax museum


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 23:26

อ้างถึงประวัติของพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งของมาดามทูสโซเป็นชาวฝรั่งเศส เดิมก่อตั้งไม่ได้ตั้งอยู่ที่ตรงนี้

1835: With her sons, Madame Tussaud establishes a base in London at ‘The Baker Street Bazaar.’
1846: Punch Magazine coins the name Chamber Of Horrors for Madame Tussaud’s ‘Separate Room’, where gruesome relics of the French Revolution are displayed.
1850: Madame Tussaud dies.
1884: Marie’s grandsons move the attraction to its current site on Marylebone Road

ดังนั้นนายคร้ามไปชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ได้ย้ายมาอยู่ที่ใหม่ได้เพียงปีเดียวเท่านั้น ซึ่งอยู่ยืนมาถึงทุกวันนี้

www.madametussauds.com/London/About/History/200YearsofFame/BakerStreet/Default.aspx

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 07:59

นายคร้ามไม่ได้บรรยายหน้าตาสถานเอกอัครราชทูตไทยว่าเป็นอย่างไร    แต่เล่าเกี่ยวกับงานเท่านั้น เรื่องแรกคือต้องตัดเสื้อผ้าใหม่   กรมหมื่นนเรศวร์ทรงเรียกช่างมาวัดตัวตัดเสื้อ    นายคร้ามแจกแจงไว้ละเอียดลออว่า

" ได้รับพระราชทานเสื้อเชิ้ตขาวกาว  เชิ้ตสักหลาดอ่อนสามตัว  เสื้อยืดสามตัว  กางเกงยืดสามตัว  อีฟนิ่งสำรับหนึ่ง  มอร์นิ่งสำรับหนึ่ง  เสื้อในยูนิฟอร์มหนึ่ง  กางเกงขาสั้นสำรับหนึ่ง  แต่ยูนิฟอร์มนั้นสำหรับทำดนตรี  โอเวอร์โค้ตหนึ่ง  ถุงเท้าเจ็ดคู่  รองเท้าสามคู่"

นอกจากนี้ยังได้รับเงินเดือนด้วย คือเดือนละปอนด์ครึ่ง  เฉลี่ยเป็นวัน วันละหนึ่งชิลลิง    ความเป็นอยู่ก็โอ่อ่าดี คือมีบ๋อยประจำห้องพัก ๓ คน  ทำหน้าที่ปูที่นอน จัดโต๊ะ และแปรงรองเท้าให้นักดนตรี ๑๙ คน    ถ้าอยากไปไหนก็มีคนไทยที่พูดอังกฤษได้พาเที่ยว  แยกกันไปเป็นกลุ่มละ ๓-๔ คน

ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร บรรยายไว้ในหนังสือ ราชทูตแห่งกรุงสยาม ประสบการณ์ของอดีตนักการทูตไทย ในยุคบุกเบิก พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๒๙ ว่า



"หน้าที่สถานทูตดูแลจัดหาเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ทั้งชุดใหญ่และชุดเล็กให้แก่นักดนตรี ตลอดจน ประทานค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่นักดนตรีทั้ง ๑๙ นายด้วย"

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 08:20

มีภาพภายในสถานทูตสยามในเวลานั้นให้ชม

ภาพจากหนังสือพิมพ์  ‘Illustrated London’ ฉบับวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ (ต่อมาคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ ต้นราชสกุล กฤดากร ณ อยุธยา) นำตราสุพรรณบัตรพระราชทาน และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สถาปนาหม่อมเจ้าปฤษฏางค์ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ที่สถานทูตสยามในลอนดอน  (พ.ศ. ๒๔๒๖)



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 10:59

เห็นการแต่งกายของคนไทยในภาพข้างบนนี้ ก็พอจะนึกออกว่านักดนตรี ๑๙ คนแต่งตัวแบบไหนเมื่อลงเรือ   และทำไมตอนขึ้นไปเที่ยวบนฝั่ง ชาวเมืองถึงออกมาดูกันเป็นทิวแถว
พวกนั้นคงไม่เคยเห็นเสื้อราชปะแตนกับโจงกระเบน
เมื่อมาถึงลอนดอน เจ้านายถึงประทานเสื้อผ้าใหม่ให้ทั้งหมด    ไม่งั้นออกไปไหนมาไหน คงเป็นตัวประหลาด   เด็กเล็กคงวิ่งตามดูกันเกรียว

นายคร้ามดูๆก็ตื่นตาตื่นใจกับพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งพอสมควร    พยายามหาว่าท่านเรียกหุ่นขี้ผึ้งว่าอะไร  ก็พบแต่ว่าเรียกว่า "รูป" ทุกคำ  ไม่มีคำขยาย
เช่นคำว่า รูปพระเจ้าแผ่นดิน  รูปนายทหาร
คำว่า "รูป" ในสมัยรัชกาลที่ ๕ คงไม่ได้หมายถึงรูปอย่างในปัจจุบัน    เดี๋ยวนี้พอเอ่ยถึงรูป เราเข้าใจว่าหมายถึง picture  แต่สมัยโน้น รูปน่าจะหมายถึงรูปร่างของคำที่นำมาประกอบ   อย่างคำว่า รูปปั้น รูปถ่าย  รูปวาด     
นายคร้ามจะทราบหรือไม่ว่าเป็นขี้ผึ้ง   ก็ไม่รู้เหมือนกัน     แต่ท่านเรียก "รูป" เฉยๆ

นายคร้ามเข้าไปชมห้องดังของพิพิธภัณฑ์ด้วย คือห้อง Chamber of Horrors      ท่านเล่าว่ามีเครื่องมือประหารชีวิตหลายอย่าง   อย่างหนึ่งในนั้นคงจะเป็นกีโยตีน
ถ้าอยากดูรูปในกูเกิ้ล ก็มีให้ดูมากมายค่ะ

รูปในห้องสยองขวัญในพิพิธภัณฑ์มาดามทุสโซด์
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 12:43

หนังสือพิมพ์เก่าสมัยรัชกาลที่ ๕ เล่มหนึ่ง  ออกในปี ร,ศ, ๑๐๓
ลงข้อความข่าวว่า

                      ราชทูตสยาม

@ ในประเทศอิงแลนด         ขยายไปอยู่ในตึกใหม่
เลขนำเบอ  ๒๓  ณะ  ตำบลมีชื่อว่า  แอชเบอนเปลซะ  ที่
นี้จัดแจงเรียบร้อยสำหรับราชทูตแลพวกของท่านด้วย
เครื่องประดับต่างๆ นั้นแมเยอรเสนห  คนหนึ่งสำหรับ
พวกราชทูตนั้น  ได้จัดเครื่องประดับโคมระย้านั้น
เรียบงาม  แลคนทั้งปวงชมสรรเสริญปัญาท่านผู้จัด
การนั้นด้วย                                                    ฯฯ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 13:59

แอชเบอนเปลซะ = Ashburn Place


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 13:59

      ราชทูตสยาม

@ ในประเทศอิงแลนด         ขยายไปอยู่ในตึกใหม่
เลขนำเบอ  ๒๓  ณะ  ตำบลมีชื่อว่า  แอชเบอนเปลซะ   
ที่
นี้จัดแจงเรียบร้อยสำหรับราชทูตแลพวกของท่านด้วย
เครื่องประดับต่างๆ นั้นแมเยอรเสนห  คนหนึ่งสำหรับ
พวกราชทูตนั้น  ได้จัดเครื่องประดับโคมระย้านั้น
เรียบงาม  แลคนทั้งปวงชมสรรเสริญปัญาท่านผู้จัด
การนั้นด้วย                                                    ฯฯ

สถานอัครราชทูตสยาม เลขที่ ๒๓ ถนนแอชเบิร์นเพลส ลอนดอน เอส ดับบลิว ๗ (ปัจจุบันถูกรื้อ สร้างใหม่เป็นโรงแรมไปแล้ว)

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 14:10

สำหรับสภาพภายในของตึกเลขที่ ๒๓ แอชเบิร์นเพลสนี้ ยิ่งไม่มีอะไรโดดเด่นขึ้นไปอีก ไม่เหมือนกับคฤหาสน์หรูหราของสถานทูตของประเทศสาธารณรัฐใหม่ ๆ ในปัจจุบัน แต่ออกจะดูซอมซ่อ และทึม ๆ ทำให้ดูราวกับว่า เป็นสถานกงสุลของประเทศเล็ก ๆ ที่สมมติขึ้นในนวนิยายที่เรียกกันว่า ประเทศรูริเทเนีย  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงใช้เวลาประทับอยู่ที่นั่นหลายปี และได้ทรงนิพนธ์ไว้ใน The Twain Have Met ว่า

“ตึกนี้มีอยู่หลายชั้นและมีห้องนอนจำนวนมากมาย แต่ไม่มีลิฟต์ ตรงบานประตูแต่ละห้องนอนมีตัวอักษรในภาษาอังกฤษติดกำกับไว้ และเพียงแต่เดินผ่านห้องโถงใหญ่ ซึ่งมีกระจกสีประดับอยู่ ก็จะรู้สึกหดหู่ใจเป็นอย่างยิ่งแล้ว”

ที่ดูสง่างามกว่าอย่างแน่นอน ได้แก่ ป้ายที่มีรูปพระยาครุฑไทยประดับอยู่เหนือทางเข้า มีถ้อยคำว่า “สถานอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรสยาม” ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษจารึกลงไว้ ทั้งในส่วนบนและส่วนล่างของสัญลักษณ์ที่มีลักษณะรูปไข่ ตราครุฑนี้เป็นที่ยกย่องเชิดชูและเคารพนับถือสำหรับคนไทยไม่ว่าอยู่ที่ไหน แม้แต่ทุกวันนี้

จากหนังสือ ถิ่นที่แห่งชีวิต   บันทึกความทรงจำของชาวสยามในประเทศอังกฤษระหว่างสงครามและในยุโรปกับสยามประเทศภายหลังสงคราม โดย สภา ปาลเสถียร แปลโดย งามพรรณ เวชชาชีวะ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 14:11

เห็นจะต้องป่าวร้องขอแรงให้ช่วยแกะรอยสถานที่ใหม่ในลอนดอนอีกแล้ว

วันอาทิตย์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๗   กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ทรงให้ฝรั่งชื่อมิส(เตอร์)ลอปตัท  พานายคร้ามไปดู "แกลเลอรี่"  หรือท่านเรียกว่า "แควเรียม"
แกลเลอรี่ที่ท่านบรรยาย  เป็นโรงใหญ่โตกว่าโรงละครในกรุงเทพ   มีการเต้นรำและงานรับรองต่างๆ  นอกจากนั้นก็ยังมีการแสดงและการละเล่น  เช่นรำและร้องเป็นคู่ๆ สีซอ  และรำพัด
การแสดงที่นายคร้ามเล่า ฟังคล้ายการแสดงห้อยโหนในละครสัตว์ หรือไม่ก็คล้ายการแสดงสยามนิรมิตในบ้านเรา   เล่าว่ามีคนโหนชิงช้าซึ่งแขวนไว้สูงมาก   คนหนึ่งห้อยศีรษะลงมา อีกคนก็คาบเอากลางตัว   คนแรกก็ปล่อยมือและเท้าจากชิงช้า โค้งตัวให้กลม  คนที่คาบก็หมุนอีกคนเหมือนกังหัน  ลงมาร้องเพลงต่างๆ  มีพิณพาทย์ฝรั่งรับ
พิณพาทย์ฝรั่งที่ว่ามีแตรสั้นสองอันทั้งเล็กและใหญ่  กลองเล็กหนึ่งใหญ่หนึ่ง และซอสิบสองคัน

รายการแสดงอีกอย่างคือมีผู้หญิงเดินมาบนร่างแห  ร้องและรำ จากนั้นรอกก็ชักให้สูงขึ้น   เธอก็โดดลงมาบนร่างแห ได้จังหวะกับกลองตีตูมใหญ่รับเข้าพอดี
ยังนึกไม่ออกว่าโรงมหรสพ "แกลเลอรี่" หรือ "แควเรียม" ที่ว่านี้คืออะไรตรงไหน ในลอนดอน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 14:42


วันอาทิตย์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๗   กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ทรงให้ฝรั่งชื่อมิส(เตอร์)ลอปตัท  พานายคร้ามไปดู "แกลเลอรี่"  หรือท่านเรียกว่า "แควเรียม"
แกลเลอรี่ที่ท่านบรรยาย  เป็นโรงใหญ่โตกว่าโรงละครในกรุงเทพ    มีการเต้นรำและงานรับรองต่างๆ  นอกจากนั้นก็ยังมีการแสดงและการละเล่น  เช่นรำและ


แล้วกรุงสยาม สมัย พ.ศ. ๒๔๒๘ มีโรงละครในกรุงเทพฯ ทำให้นึกถึงโรงละครของพระยามหินทร ฯ กับโรงละครปรีดาลัย

และเมื่อในสายตาของนักดนตรีที่สัมผัสกับการไปร่วมงานตีระนาด ตามงานต่าง ๆ ในโรงละคร ในโรงพิธีไหว้ครู ก็ย่อมตื่นเต้นไม่น้อยทีเดียว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 14:51

The Royal Aquarium, and Imperial Theatre, Westminster, London


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 14:58

The Royal Aquarium, and Imperial Theatre ก่อตั้งเมื่อ 22 มกราคม ค.ศ. 1876 ถนน Tothill ในเขตเวสมินสเตอร์ (อยู่แถว ๆ วิหารเวสมินสเตอร์ และรัฐสภาอังกฤษ - หอนาฬิกาบิกเบน)

สิ่งหนึ่งซึ่งตื่นเต้นกันมากคือ การแสดงด้วยคนลงไปในปืนใหญ่ แล้วยิงออกมาพร้อมคน

Royal Aquarium


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 20 คำสั่ง