เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 70221 คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 13 ส.ค. 11, 22:21

ขอแหย่ ๆ ภาพระนาดเอก ที่นายคร้ามเคยเล่น  ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์

เมื่อ อ.เทาชมพูเล่าถึงการแสดงของคณะดนตรีจากสยามนี้ จะนำเครื่องดนตรีไทย เผยโฉมให้ชม รวมทั้งซอสามสายที่แสดงต่อหน้าพระพักตร์ควีนวิคตอเรีย และค่อยนำสู่ภาพนายคร้ามต่อไป

จากภาพระนาดเอก

๑. ระนาดรางนี้สวยมากครับ ฝังมุกอย่างงดงาม เดินคิ้ว (น่าจะเป็นงาช้าง) ตรงกลางเป็นสัญลักษณ์ตราเกี่ยวเนื่องใน ร.๕

๒. ผืน เป็นไม้ไผ่อย่างดี

๓. ใช้ไม้นวมตีเสียด้วย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 13 ส.ค. 11, 22:25

อยากเห็นภาพนายคร้ามค่ะ
และอยากรู้ประวัติต่อไปด้วยว่า นามสกุลอะไร   หลังจากกลับจากอังกฤษแล้วท่านได้บรรดาศักดิ์หรือไม่   
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 13 ส.ค. 11, 22:32

รอชมเครื่องดนตรีที่แสดงต่อหน้าพระพักตร์ควีนวิคตอเรียค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
อยากเห็นภาพถ่าย ที่ไม่ใช่ภาพวาดค่ะ...
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 14 ส.ค. 11, 07:09

" เมื่อออกจากปอตเสตเวลาย่ำค่ำ   จะมาโดยสองวันสองคืน เมื่อเช้าเวลาตีสิบ จึงเห็นกระโจมไฟเป็นเขตแดนของเมืองเสปญ"

๑. ได้ความกระจ่างว่าจาก Port Said ถึงเขนแดนสเปนใช้เวลา ๒ วัน ๒ คืน

๒. แต่กลับมาสงสัยต่อว่า "เวลาตีสิบ" หมายถึงเวลาอะไร

ในภาษาใต้ ถ้าเป็น "ตีสิบ" ของคุณวิทวัส ตอนกลางคืน ก็เท่ากับ "สี่ทุ่ม"  ถ้าตอนเช้า "ตีสิบ" ก็เท่ากับ "สิบโมงเช้า"

นายคร้ามใช้ภาษาใต้บอกเวลาฉะนั้นฤๅ  

ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 15 ส.ค. 11, 14:56

ข้อมูลการเดินทางออกจากสยามของนายคร้ามและคุณหลวงไม่ตรงกัน

นายคร้ามว่าไว้อย่างนี้

นายคร้ามน่าจะเป็นคนมีการศึกษาดี เขียนอ่านได้คล่อง และมีนิสัยแปลกกว่าคนไทยร่วมสมัย คือชอบจดชอบจำ    จึงเขียนจดหมายเหตุ บันทึกไว้ละเอียดลออ ให้เราได้อ่านกันในวันนี้
ท่านบอกไว้ว่า ออกเดินทางจากสยามตั้งแต่วันศุกร์ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีวอก ฉกศก  จ.ศ. ๑๒๔๖

นักดนตรี ๑๙ คนได้เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลาพระเจ้าอยู่หัว ออกไปรับราชการดนตรี ตั้งแต่วันพุธ ขึ้น ๑๒ ค่ำ  จากนั้นในวันศุกร์เวลาย่ำรุ่ง  มาพร้อมกันที่ท่าไปรษณีย์กรุงเทพ  ลงเรือพร้อมกันเวลา บ่าย ๔ โมง ๒๐ นาที  ชื่อเรือ "เหกคูบา"
เรือออกจากท่ากำปะนี  เวลา ๕ โมง ๑๕ นาที


คุณหลวงค้นมาเป็นอย่างนี้

เรือฮีกิวบา  สัญชาติอังกฤษ  เป็นเรือกลไฟ  ขนาด ๕๙๐ ตัน
กัปตันเรือชื่อ นายไวต์  เดินทางมาจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่  ๒๑  กุมภาพันธ์  ๑๘๘๕
เข้ามาถึงบางกอก  เมื่อวันพุธ  เดือนสี่  ขึ้น ๑๒ ค่ำ  ปีวอกฉศก  ๑๒๔๖
เวลาเช้า  ๓ โมง  ๓๐  นาที  (๐๙.๓๐ น.)
เดินทางออกจากบางกอกไปยังสิงคโปร์ เมื่อวันเสาร์  เดือนสี่  ขึ้น  ๑๕ ค่ำ
ปีวอกฉศก  ๑๒๔๖  เวลาเช้า  ๓ โมง  ๓๐  นาที

จะเชื่อใครดีหนอ

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 15 ส.ค. 11, 16:49

คงจะต้องขอแรงให้ตรวจสอบกันเอง

ตีสิบ คงหมายถึงสิบโมงเช้า   ทุกวันนี้เรายังใช้คำว่า ตีสาม ตีสี่ ตีห้า แต่พอถัดไปแทนที่จะเป็นตีหกก็กลายเป็นหกโมงเช้า เจ็ดโมง แปดโมง ตามลำดับ

เรื่องพิพิธภัณฑ์ที่เมืองวิมบลีย์   ดิฉันเจอแต่สเตเดียมหรือสนามกีฬา ไม่เจอมิวเซียม   ขอสันนิษฐานไว้ 3 ทาง
๑  พิพิธภัณฑ์ในเมืองนั้นเคยมีในสมัยนายคร้ามไปอังกฤษ  แต่ล้มเลิกกิจการไปหลังจากนั้น  นานหลายสิบปีแล้ว   จึงไม่มีหลักฐานให้ค้นได้ในกูเกิ้ล 
๒  บันทึกผิด   เช่น เป็นพิพิธภัณฑ์ในเมืองอื่น ไม่ใช่เวมบลีย์  หรือไปแสดงที่ไหนสักแห่งในเวมบลีย์แต่ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์
๓  บันทึกไม่ผิด  แต่มาถึงตอนตีพิมพ์ เกิดพิมพ์ผิดขึ้นมา
 
ช่วงนี้มีงานด่วนเข้ามา  กระทู้คงไปได้ช้า ต้องขออภัยด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 15 ส.ค. 11, 21:39

ข้อมูลจากหนังสือ  "จดหมายเหตุดนตรี ๕ รัชกาล"



มีการบรรยายสรรพคุณของหนังสือเล่มนี้ว่า "มีข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้ค้นคว้า เรียบเรียง ตรวจสอบอย่างพิถีพิถัน โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ น.พ.พูนพิศ อมาตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีวิทยา และประวัติศาสตร์ดนตรี และคณะ ประกอบไปด้วย นายอานันท์ นาคคง นายอัษฎาวุธ สาคริก ทายาทของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และ นายเสถียร ดวงจันทร์ทิพย์ นักวิชาการดนตรี จากมหาวิทยาลัยมหิดล"

มีการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่คณะของนายคร้ามเดินทางไปอังกฤษดังนี้

๒๗ พฤษภาคม ๒๕๔๘ คณะพิณพาทย์สยามเดินทางถึงลอนดอนโดยมีนักดนตรีไทยทั้งหมด ๑๙ คน เดินทางออกจากประเทศสยามเมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๒๘ ไปถึงประเทศอังกฤษและได้เข้าเฝ้ากรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ ราชทูตไทยที่ลอนดอน เพื่อเข้าร่วมงานมหกรรมแสดงสินค้าและดนตรีในครั้งนั้น และต่อมาคณะพิณพาทย์สยามได้ถวายการบรรเลงหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๔๒๘ และจากนั้นเดินทางกลับถึงพระนคร วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๒๘

วันที่เดินทางออกจากสยามไม่ใกล้เคียงกับข้างบนเลย  แต่ชื่องานที่เข้าร่วมใกล้เคียงกับ International  Inventions  Exhibition เข้ามาหน่อย

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 15 ส.ค. 11, 22:41

เข้าไปค้นหาหนังสือพิมพ์ของอังกฤษ ฉบับวันเสาร์ ที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1885 ได้ใจความว่า นักดนตรีไทยไปร่วมงานที่ Royal Albert Hall งาน INTERNATIONAL INVENTIONS EXHIBITION 1885 แน่นอนครับ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 15 ส.ค. 11, 22:56

เหอะ ... เหอะ ...





คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 14:00


คนไทยที่ตกลงไปด้วยกันมี 16 คน  ก็เลยลงชื่อให้อ่านกัน
1    นายตาด                  2   จางวางทองดี              3  ครูยิ้ม            4  ครูเปีย          5      นายชุ่ม
6    นายสิน                    7   นายสาย                   8   นายนวล        9  นายเนตร       10     นายต่อม
11  นายช่าง                  12  นายคร้าม                  13  นายแปลก     14  นายเหม        15 นายเมจี                  
16  เพื่อนนายเมจี


ในแหล่งข่าวหนังสือพิมพ์ของอังกฤษ ระบุว่า  "นายทองดี" หรือ "จางวางทองดี" เป็นคนควบคุมวงในการแสดงดนตรี


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 14:53

เห็นชาวเรือนไทยมารอรับนายคร้ามกันสลอนที่ลอนดอน  หอบระนาด พิณพาทย์ลาดตระโพนมารออยู่แล้ว   ก็จะรีบเร่งเรือให้เดินทางเร็วๆ
ขอรวบรัดว่า เรือนายคร้ามผ่านแหลมฟินนิสเตอร์   เข้าอ่าวบิสเกย์    จนวันพุธขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖  เวลาสี่โมงสิบสองนาที  เรือก็มาถึงประภาคารอันเป็นเขตแดนลอนดอน แล้วเข้าปากน้ำอังกฤษ    ท่านบรรยายว่ามีภูเขาสองฟาก  และมีป้อมอยู่บนยอดเขา  มีปืนใหญ่อยู่บนป้อมเป็นอันมาก    ทางเข้าเป็นช่องเขา
ไม่ชำนาญภูมิประเทศของอังกฤษ   ขอถามว่าหมายถึงช่องแคบ Dover  หรือเปล่าคะ

นายเมเยอร์( น่าจะเป็นคนเดียวกับนายเมจีละมัง) มาแจ้งข่าวว่าเอกอัครราชทูตไทย กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ (พระยศทรงกรมในขณะนั้น) ทรงแจ้งมาว่าให้ขึ้นฝั่งที่ปอร์ตแลนด์แล้วเดินทางบก ขึ้นรถไฟต่อไปยังลอนดอน    ซึ่งถึงเร็วกว่าจะเดินทางเรือ  ถ้าไปทางเรือก็อีก ๓ วันกว่าจะถึง
ไม่ต้องสงสัยว่านักดนตรี ๑๙ คนที่รอนแรมเห็นน้ำกับฟ้ามาเป็นเดือนจะดีใจขนาดไหน  รีบเก็บข้าวของลงหีบ  อยากขึ้นบกพ้นเรือเสียรู้แล้วรู้รอด
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 15:03


คนไทยที่ตกลงไปด้วยกันมี 16 คน  ก็เลยลงชื่อให้อ่านกัน
1    นายตาด                  2   จางวางทองดี              3  ครูยิ้ม            4  ครูเปีย          5      นายชุ่ม
6    นายสิน                    7   นายสาย                   8   นายนวล        9  นายเนตร       10     นายต่อม
11  นายช่าง                  12  นายคร้าม                  13  นายแปลก     14  นายเหม        15 นายเมจี                  
16  เพื่อนนายเมจี


ในแหล่งข่าวหนังสือพิมพ์ของอังกฤษ ระบุว่า  "นายทองดี" หรือ "จางวางทองดี" เป็นคนควบคุมวงในการแสดงดนตรี

ลองสืบหาตัวนักดนตรีไทยชุดนี้ ก็พอจะหาได้บ้าง

จางวางทองดี - ทองดี ชูสัตย์ ( ประมาณ ๒๓๘๕ - ประมาณ ๒๔๗๐) เป็นครูใหญ่ของสำนักบ้านพิณพาทย์วัดกัลยา มีลูกศิษย์ อาทิ จางวางทั่ว พาทยโกศล
หลวงประสานดุริยางค์(สุทธิ์ ศรีชยา) ฯลฯ ในปี ๒๔๖๗ กรมมหรสพหลวงทำพิธีไหว้ครูครั้งใหญ่ รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าให้ครูทองดี ชูสัตย์ เป็นผู้บอกเพลงหน้าพาทย์สูงสุดแก่นักดนตรี ๖ คนด้วยกัน
ได้แก่ พระยาเสนาะดุริยางค์ พระเพลงไพเราะ หลวงบำรุงจิตรเจริญ หลวงสร้อยสำเนียงสนธิ์ หมื่นคนธรรพประสิทธิสาร และนาย มนตรี ตราโมท
ภาพ - ครูทองดี ชูสัตย์


นายสิน - ครูสิน สินธุสาคร (พ.ศ.2375-2457) นักระนาดเอกคนที่ 3

ครูสิน สินธุสาคร เป็นนักดนตรีสำนักบ้านขมิ้นเรียนดนตรีจากบ้านตัวเองซึ่งเป็นตระกูลดนตรีและ โขนละครกันมานาน แต่จะได้เรียนจากครูอื่นเพิ่มเติมบ้างหรือไม่ไม่อาจทราบได้พอเข้าวัยหนุ่ม ต้องเป็นไพร่สมประจำการที่วังบ้านหม้อของกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ ได้ทำหน้าที่เป็นคนระนาดมานานและเป็นครูสอนนักร้องนักดนตรีในวังนี้มาจนถึง พ.ศ. 2448 จึงให้นายเถา (ขุนสมาน เสียงประจักษ์) บุตรชายมาทำหน้าที่แทน ส่วนตัวเองกลับไปผักผ่อนที่บ้าน

ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2450 ได้ไปเป็นครูควบคุมวงปี่พาทย์ประจำวังของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ที่นางเลิ้งตลอดมา จนถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. 2457 รวมอายุได้ 82 ปี ขณะที่เป็นหัวหน้าวงดนตรีในวังของเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯนั้น ครูสินได้นำวงดนตรีออกประชันกับวงอื่นๆอยู่เสมอเช่น วงวังบูรพาภิรมย์ วงวังบางขุนพรหม (ยุคนักดนตรีตระกูลนิลวงศ์) วงของกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม วงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (รัชกาลที่ 6) ท่านได้แต่งเพลงไว้หลายเพลง แต่เมื่อเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯเลิกทรงปี่พาทย์ นักดนตรีจึงกระจัดกระจายกันไป เพลงของท่านจึงกระจัดกระจายเสื่อมสูญไปด้วย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 15:06

นายเมเยอร์ เห็นทีจะเป็นชื่อมากกว่าตำแหน่ง  อ่านบทบาทในหนังสือแล้วทำตัวคล้ายๆพี่เลี้ยงของนักดนตรีไทย   มีหน้าที่ติดต่อประสานงาน ตลอดจนพาไปโน่นมานี่ตามประสงค์    
ตอนนักดนตรีขึ้นจากเรือเดินทางไปลอนดอน   เขาก็เป็นคนพาจากเรือไปส่งที่สถานี   ผ่านด่านตรวจภาษีหรือต.ม. ก็กระซิบบอกว่าเขาเข้มงวดแต่บุหรี่  ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องห่วงว่าจะต้องเสียภาษี
ผ่านด่านไปได้ ไปแวะโฺฮเต็ล แกก็ซื้อขนมให้คนไทยกินกันจนอิ่มหนำสำราญ   เหมือนเลี้ยงเด็กไม่มีผิด    เสร็จแล้วก็พาไปส่งสถานีรถไฟ  เดินทางไปสถานเอกอัครราชทูตไทย

ถึงสถานเอกอัครราชทูต วันพฤหัสบดีขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา สัปตศก(พ.ศ. ๒๔๒๘)
นายคร้ามเล่าว่ามีเจ้านายเสด็จมาเยี่ยมสองพระองค์ คือพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์โส และพระองค์สวัสดิ์
พระองค์โสที่นายคร้ามเรียกสั้นๆ  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา  เลขาธิการฝ่ายต่างประเทศ   ส่วนพระองค์สวัสดิ์คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
มีหม่อมเจ้าและหม่อมราชวงศ์กับนักเรียนไทยอีกหลายคน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 15:21

เห็นชาวเรือนไทยมารอรับนายคร้ามกันสลอนที่ลอนดอน  หอบระนาด พิณพาทย์ลาดตระโพนมารออยู่แล้ว   ก็จะรีบเร่งเรือให้เดินทางเร็วๆ
ขอรวบรัดว่า เรือนายคร้ามผ่านแหลมฟินนิสเตอร์   เข้าอ่าวบิสเกย์    จนวันพุธขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖  เวลาสี่โมงสิบสองนาที  เรือก็มาถึงประภาคารอันเป็นเขตแดนลอนดอน แล้วเข้าปากน้ำอังกฤษ    ท่านบรรยายว่ามีภูเขาสองฟาก  และมีป้อมอยู่บนยอดเขา  มีปืนใหญ่อยู่บนป้อมเป็นอันมาก    ทางเข้าเป็นช่องเขา
ไม่ชำนาญภูมิประเทศของอังกฤษ   ขอถามว่าหมายถึงช่องแคบ Dover  หรือเปล่าคะ

นายเมเยอร์( น่าจะเป็นคนเดียวกับนายเมจีละมัง) มาแจ้งข่าวว่าเอกอัครราชทูตไทย กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ (พระยศทรงกรมในขณะนั้น) ทรงแจ้งมาว่าให้ขึ้นฝั่งที่ปอร์ตแลนด์แล้วเดินทางบก ขึ้นรถไฟต่อไปยังลอนดอน    ซึ่งถึงเร็วกว่าจะเดินทางเรือ  ถ้าไปทางเรือก็อีก ๓ วันกว่าจะถึง
ไม่ต้องสงสัยว่านักดนตรี ๑๙ คนที่รอนแรมเห็นน้ำกับฟ้ามาเป็นเดือนจะดีใจขนาดไหน  รีบเก็บข้าวของลงหีบ  อยากขึ้นบกพ้นเรือเสียรู้แล้วรู้รอด

เรือเทียบท่าที่ Portland อยู่ท้ายเกาะอังกฤษ ครับผม



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 16:02

เข้าอ่าวบิสเกย์    จนวันพุธขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๖  เวลาสี่โมงสิบสองนาที  เรือก็มาถึงประภาคารอันเป็นเขตแดนลอนดอน แล้วเข้าปากน้ำอังกฤษ    ท่านบรรยายว่ามีภูเขาสองฟาก  และมีป้อมอยู่บนยอดเขา  มีปืนใหญ่อยู่บนป้อมเป็นอันมาก    ทางเข้าเป็นช่องเขา ไม่ชำนาญภูมิประเทศของอังกฤษ   ขอถามว่าหมายถึงช่องแคบ Dover  หรือเปล่าคะ


ป้อมบนยอดเขา น่าจะหมายถึงป้อมที่เมือง Plymount ก่อนจะถึงท่าเรือที่เมือง Portland


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 20 คำสั่ง