เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 70235 คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 12 ส.ค. 11, 10:59

เคยได้ยินแต่เขต Wembley ทางตอนเหนือของลอนดอนครับ
คำนี้เป็นคำอังกฤษแท้ จะเห็นได้ว่ามีหลายเขตที่ลงท้ายด้วน -ley
ภาษาไทยน่าจะ quote ผิด หรือพิมพ์เกิน ต้องถามนักเรียนไทย
ภาคพื้นอังกฤษสมัยหลังสงครามโลก คงมีท่านที่ทราบบ้างครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 12 ส.ค. 11, 12:18

เจอย่างคุณ hobo ว่า มีแต่ Wembly  แต่ที่นั่นไม่เคยได้ยินว่ามีพิพิธภัณฑ์  มีแต่สนามกีฬาหรือสเตเดี้ยม

ก็เลยไปหารายชื่อพิพิธภัณฑ์ในอังกฤษมาลงไว้  เผื่อคุณเพ็ญชมพูจะหาเจอ


รายชื่อพิพิธภัณฑ์ในประเทศอังกฤษ A-Z
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 12 ส.ค. 11, 13:19

ต้นตอของเรื่องนี้อาจจะมาจากบทความ Queen Victoria and Classical Thai Music ของคุณอยุทธ์ สยามไชยา ในหนังสือe-Lang  No.8 February 2007

ชื่อพิพิธภัณฑ์ในบทความนี้เป็นอีกชื่อหนึ่ง

Maestro Plaeg once traveled to England to participate in the celebration of the centenary of the Rimbly Museum.

แต่หา Rimbly Museum โดยอินทรเนตรไม่พบ

 ฮืม
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 12 ส.ค. 11, 13:57

อย่างนี้น่าจะเป็น Ripley's museum หรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 12 ส.ค. 11, 14:28

ยี่ห้อ Ripley ยังอายุไม่ครบร้อยปีเลย

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 12 ส.ค. 11, 15:35

ต้นตอของเรื่องนี้อาจจะมาจากบทความ Queen Victoria and Classical Thai Music ของคุณอยุทธ์ สยามไชยา ในหนังสือe-Lang  No.8 February 2007

ชื่อพิพิธภัณฑ์ในบทความนี้เป็นอีกชื่อหนึ่ง

Maestro Plaeg once traveled to England to participate in the celebration of the centenary of the Rimbly Museum.

แต่หา Rimbly Museum โดยอินทรเนตรไม่พบ

 ฮืม


ค้นหาใน Oxford English Dictionary ก็ยังไม่พบคำว่า Rimbly  เลยครับ

 ลังเล

 ร้องไห้
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 12 ส.ค. 11, 18:21

"... ในสมัยรัชกาลที่ ๕  ราว พ.ศ. ๒๔๒๘  ขณะนั้นท่านมีอายุราว ๒๕ ปี  รัฐบาลอังกฤษได้มีหนังสือเชิญมายังรัฐบาลไทยให้ส่งนาฏศิลป์และดนตรีไทยไปแสดง ณ ประเทศอังกฤษและยุโรป  ในครั้งนี้ทางวังบูรพาภิรมย์เป็นผู้จัดส่งไป  นักดนตรีได้ไปแสดงในครั้งนั้น  ก็ได้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์  เป่าปี่ใน  ครูคร้าม ตีระนาด  เป็นต้น  ผลงานการบรรเลงเดี่ยวของพระยาประสานฯ เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นที่ยิ่ง ถึงกับทรงรับสั่งขอฟังการเป่าขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์อีกครั้งในพระราชวังบัคกิ้งแฮม การบรรเลงครั้งหลังนี้ สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียทรงลุกจากพี่ประทับ และใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯ พร้อมทั้งมีรับสั่งถามว่าเวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดหายแม้ชั่วขณะ เป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่ง นับเป็นเกียรติประวัติอย่างสูงแก่วงการดุริยางค์ไทย .."

ประวัติพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)

www.thaiclassic.net


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 12 ส.ค. 11, 20:49

ภาพถ่ายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช (สมเด็จวังบูรพา) กับ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)

เหตุการณ์นี้สมเด็จวังบูรพา ได้รวมนักดนตรีในราชการ และนอกราชการ ซึ่งสมเด็จวังบูรพาทรงขึ้นชื่อในเรื่องการแสวงหานักดนตรีฝีมือเก่ง ๆ มาชุบเลี้ยงในวังบูรพา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 12 ส.ค. 11, 21:00

ยังหาชื่อพิพิธภัณฑ์ไม่ได้จนแล้วจนรอดว่า "อวิมปลีย์"  สะกดยังไง   หรือว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เลิกไปเสียนานแล้วก็ไม่รู้ซีคะ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาช่วยนายคร้ามกันคนละไม้คนละมือ

นายคร้ามเล่าต่อว่า รถไฟในลังกาที่แล่นตามเส้นทางไปสู่วัดพระเขี้ยวแก้ว แล่นเร็วมาก  เร็วกว่านกบิน จนดูสองข้างทางไม่ทัน  เห็นแต่ว่าผลไม้ที่ปลูกกันมีมะพร้าว  ริมทางบางแห่งก็มืด บางแห่งสว่าง บางแห่งแคบ บางแห่งกว้าง  บางทีก็แล่นไปกลางภูเขา  บางแห่งมีคลองมีสะพาน  บางแห่งสองข้างทางก็เป็นศิลาแลง
ดูจากคำบรรยาย  รถไฟลังกาเมื่อหนึ่งร้อยปีก่อน เห็นจะเจริญก้าวหน้าและมีมากกว่ารถไฟสยามในตอนนั้น  อังกฤษคงจะมาวางเส้นทางคมนาคมเอาไว้ดี

รถไฟหยุดตามสถานีต่างๆ ทำให้นายคร้ามพอมีโอกาสเห็นบ้านช่องบ้าง   บอกว่าถ้าเป็นบ้านคนรวยก็ถือปูน  ถ้าเป็นคนจนก็ทำด้วยดิน
อย่างหลังนี้เห็นทีจะคล้ายๆอินเดีย   ของไทยเราไม่ต้องใช้ดิน เพราะไม้มีอยู่มากมาย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 12 ส.ค. 11, 21:07

ทางรถไฟ ตัดเข้าไปในป่า  คงเหมือนทางรถไฟสายเหนือของเราสมัยสมาชิกเรือนไทยทุกคนยังไม่เกิด   นายคร้ามบอกว่าหลังสถานีเป็นป่าเป็นเขา  ได้ยินเสียงนกป่าร้องกันเซ็งแซ่    
คนไทยสมัยนายคร้ามคงใกล้ชิดธรรมชาติมากกว่าสมัยนี้หลายร้อยเท่า  ท่านจึงจำเสียงนกมาฝากคุณเพ็ญชมพูได้ 2 ชนิดคือ เสียงนกโพระดก และระวังไพร  แสดงว่านกสองอย่างนี้มีอยู่ชุกชุมในกรุงเทพสมัยนั้น
นอกจากนี้ยังมีเสียงจักจั่นลองไน เซ็งแซ่     ปกติในเมืองไทย ใครอยู่ต่างจังหวัดมักได้ยินเสียงแมลงพวกนี้ตอนค่ำๆ  แต่ในสมัยป่ายังครองเนื้อที่มากกว่าเมือง   คงจะร้องกันได้ไม่เลือกเวลา
นึกภาพตามไปว่ารถไฟวิ่งเข้าไปในป่ามืดครึ้ม   มีสถานีเป็นระยะ  ตลาดและร้านชำคั่นอยู่เล็กน้อย    ก็นึกวังเวงไปด้วยตามคำบรรยายของนายคร้าม

รถไฟผ่านทุ่งนา  นายคร้ามบันทึกว่าเป็นนาข้าวสาลี  ริมนาปลูกกล้วย    ท่านคงสายตาดีมาก  มองออกว่ากล้วยที่ออกลูกนั้นเหมือนกล้วยจังนวน
ไม่เคยได้ยินชื่อกล้วยจังนวน  แต่ผู้เรียบเรียงหนังสือบอกว่าเป็นกล้วยน้ำว้าชนิดหนึ่งมีไส้สีแดง       สงสัยว่ากล้วยชนิดนี้ยังปลูกอยู่ในบ้านเราหรือเปล่า  ทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 12 ส.ค. 11, 21:18



นายคร้ามคงเคยมายืนดูวัดในยุคที่เป็นอย่างในรูปนี้     จึงบรรยายไว้ว่าเป็นที่วิเวกสงัดเยือกเย็น  มีอุโบสถ กุฏิและศาลาสองสามหลัง  มีพระอยู่สิบกว่ารูป   
มีพระพุทธรูปศิลาขาวอยู่ 2 องค์  หน้าตักสองศอกองค์หนึ่ง   ศอกคืบองค์หนึ่ง   และพระสำริดหน้าตักกำมาหนึ่ง

คำว่า "กำมาหนึ่ง" ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร  แต่ไม่ได้ค้นกูเกิ้ล  ทิ้งการบ้านไว้ให้สมาชิกกระทู้นี้ทำ เพราะรู้ว่าตอบได้
ท่านผู้เรียบเรียงบอกไว้ในวงเล็บว่า ศอกตูม คือศอกที่กำนิ้วมือ      แต่ในหนังสือไม่ยักมีคำว่าศอกตูม  เลยต้องถูตะเกียงอีกทีว่ามันคืออะไรกันแน่
ในวัดนี้  นายคร้ามบอกว่า "พระธาตุมีบ้าง พระธรรมมีเล็กน้อย  พระเจดีย์แก้วองค์หนึ่ง  โตสามกำเศษ สูงศอกเศษ"
พระสงฆ์เป็นชาวลังกา ครองผ้าอย่างพระธรรมยุตติ์   ท่านออกมาต้อนรับพาชมวัด  และให้ลูกศิษย์ไปปีนเก็บมะพร้าวมาเลี้ยง   การเจรจากันนั้นพูดกันรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง
จางวางทองดีอาราธนาศีล ท่านก็สวดมนตร์ให้ศีล 5  พรมน้ำมนต์
ชื่อวัดที่นายคร้ามจดลงไว้คือ วัดอาบินนะวา   ส่วนชื่อหมู่บ้านชื่อบ้านคาเม

นายคร้ามไม่เห็นพูดถึงพระเขี้ยวแก้ว ว่าอยู่ที่ไหนในวัด
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 12 ส.ค. 11, 21:31

มีพระพุทธรูปศิลาขาวอยู่ 2 องค์  หน้าตักสองศอกองค์หนึ่ง   ศอกคืบองค์หนึ่ง   และพระสำริดหน้าตักกำมาหนึ่ง

นายคร้ามบอกว่า "พระธาตุมีบ้าง พระธรรมมีเล็กน้อย  พระเจดีย์แก้วองค์หนึ่ง  โตสามกำเศษ สูงศอกเศษ"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 12 ส.ค. 11, 21:33

ต้นหมากรากไม้ต่างๆของลังกาเหมือนในสยาม   เมื่อผ่านบ้านก็มองเห็นว่าระหว่างบ้านนั้นปลูกผลไม้  คงเป็นบ้านเรือนปนสวนอย่างในภาพเก่าของกรุงเทพสมัยรัชกาลที่ ๕    บ้านชาวบ้านมีวัวมีเกวียนไว้ใช้สอยตามอัตภาพ   ส่วนคนจนก็อาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ ปลูกพอซุกหัวนอน
นายคร้ามเห็นว่า "ถ้าเทียบกับคนขัดสนในสยามแล้ว   ก็ไม่แย่เหมือนในประเทศนั้นเป็นแน่"
ประโยคนี้ตีความว่าคนจนของลังกา เห็นทีสภาพที่อยู่อาศัยจะย่ำแย่กว่าในคนจนในสยาม

จากนั้น เดินทางออกจากลังกามาอีก ๗ วัน จึงมาถึงเกาะใหญ่อีกแห่งหนึ่ง   เกาะนี้คำบรรยายราวกับอยู่ในนิยายกลาสีซินแบด คือฝรั่งบนเรือเล่าว่า เป็นเกาะน้ำตื้น   พวกชาวเกาะเป็นแขกดำดุร้าย มักทำอันตรายชาวเรือที่ผ่านไปอยู่เนืองๆ
เรือลำไหนพลัดเข้าไปติดน้ำตื้น ก็ถูกชาวเกาะจับฆ่าบ้าง ขับไล่บ้าง   พวกนี้ไม่มีบ้านช่อง แต่อยู่ในรู    เห็นจะเป็นโพรงดินละมัง?
ชื่อเกาะไม่คุ้นหูเลยค่ะ  ชื่อเกาะสโฟร์

จากเกาะสโฟร์  ผ่านเกาะมนุษย์กินคนอีกเกาะ ชื่อเกาะกาดิบ  เคยจับฝรั่งกินมาก่อนหน้านี้แล้ว จนอังกฤษเคยมารบที่เกาะนี้   พวกนี้ไม่นุ่งผ้า นุ่งแต่ใบไม้
เรือไม่ได้แวะ  แต่ผ่านไปแค่มองเห็นไกลๆ เป็นเกาะใหญ่โต มองเห็นเหมือนเมฆลอยอยู่ติดขอบฟ้า
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 12 ส.ค. 11, 21:58

"กำมา" ในอักขราภิธานศรับท์ อธิบายไว้ว่า กำมือเข้า แล้ววัดลงมาถึงข้อศอก
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 13 ส.ค. 11, 07:29

กำมา ใน นิทานชาวไร่ ของนาวาเอกสวัสดิ์ จันทนี บอกว่า "พระองค์เล็ก (หน้าตัก) ๑ กำมา (ราว ๒๒ นิ้วฟุต), พระองค์ใหญ่ (หน้าตัก) ๑ ศอกคืบ (ราว ๒๘ นิ้วฟุต)"

ความหมายคือการบอกขนาดของพระพุทธรูป มักจะบอกด้วยความกว้างของหน้าตักองค์พระ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง