เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 18
  พิมพ์  
อ่าน: 70400 คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 08 ส.ค. 11, 13:47

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงสนทนากับสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย (Queeen Victoria) เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๑๘๙๗ (พ.ศ. ๒๔๔๐)

เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก

เพิ่มเติม - คัดลอกจากคำโฆษณาหนังสือเก่า http://www.digitalrarebook.com

รายละเอียดย่อ :

This is a historical journal published from a manuscript of nai Kram, by Kanahem. The manuscript was given by nai Payom Boonyasastra, nai Kram’s grandchild.

Nai Kram is one of 19 Thai musicians who performed Thai music in England, in 1884-1885 according to the invitation of British government at the reign of Queen Victoria. The Thai musicians were considered 2nd diplomatic corps who contacted to England after Mom Rahothai, at the reign of King Rama IV. The historical journal presented the voyage by Hegcuba boat, from Bangkok, Singapore, Sri Lanka to England. Nai Kram talked about British civilization through Thai people points of view interestingly. If you read the Voyage to London by Mom Rachothai, this journal won’t be missed as well.

There’re also 2 music notes published: Tai Yoi Nok (เพลงทะยอยนอก), Churd Chin (เพลงเชิดจีน). Both of them are available at Siam Brannakom. They will be on site soon or call 0870048833.

รายละเอียดทั้งหมด :

     นี่คือจดหมายเหตุรายวัน ซึ่งพิมพ์ตามต้นฉบับลายมือเขียนของ นายคร้าม โดยคณะเหม ซึ่งได้ต้นฉบับมาจากนายโพยม บุณยะศาสตร์ ผู้เป็นหลานตาของนายคร้ามเอง

     นายคร้าม ผู้เป็นหนึ่งในคณะนักดนตรีไทยทั้ง 19 คน ที่เดินทางไปแสดงดนตรีไทยในประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2427 - 2428 โดยคำเชิญของรัฐบาลอังกฤษ สมัยพระราชินีนาถวิกตอเรีย นักดนตรีคณะนี้นับเป็นคณะฑูตทางศิลปวัฒนธรรมที่ได้เดินทางไปเจริญพระราชไมตรีกับอังกฤษเป็นครั้งที่ 2 หลังจากคณะของ หม่อมราโชทัย ในสมัยรัชกาลที่ 4 เรื่องราวในจดหมายเหตุนี้ ค่อนข้างละเอียดละออ เริ่มจากออกเดินทางโดยเรือเฮกคูบา ออกจากกรุงเทพฯ สิงคโปร์ ศรีลังกา ไปถึงอังกฤษ นายคร้ามได้เล่าเรื่องราวการพบปะผู้คน บ้านเมือง ตลอดจนวัฒนธรรม ประเพณีของคนอังกฤษตามสายตาของชาวสยามได้อย่างน่าขบคิด น่าติดตาม หากท่านชอบ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย แล้วก็ไม่ควรพลาด จดหมายเหตุ ฉบับราษฐ์ นอกสาระบบ เล่มนี้

     ในการแสดงคราวนี้ ฝ่ายไทยได้นำโน๊ตเพลงไทยจำนวน 2 เพลง (เท่าที่ค้นพบ) คือ เพลงทะยอยนอก(Tai Yoi Nok) และ เพลงเชิดจีน(Churd Chin) ประพันธ์โดยหลวงวาทิตบรเทศ มี Joseph Romano เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน ซึ่งพิมพ์เผยแพร่และจำหน่ายในอังกฤษอีกด้วย จากหลักฐานดังกล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่าโน๊ตเพลงทั้ง 2 น่าจะเป็นเพลงไทยที่บันทึกด้วยโน๊ตสากลชิ้นแรก ๆ ที่มีการตีพิมพ์และจำหน่าย อย่างเป็นทางการก็ว่าได้ ปกของหนังสือเล่มนี้คาดว่าน่าจะออกแบบและเขียนโดย ครูเหม เวชกร ผู้เป็นเสมือนบิดาบุญธรรมของ นายโพยม บุณยะศาสตร์ 




บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 08 ส.ค. 11, 13:55

ภาพลายเส้นงานเลี้ยงทีสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย (Queen Victoria) จัดถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก

เพิ่มเติม - หลวงวาทิตบรเทศ

เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๑๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดตั้งกองแตรวงขึ้นในบริเวณสวนกุหลาบในพระบรมมหาราชวัง ทรงมอบหมายให้พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าสุขสวัสดิ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้บังคับกองร้อยทหารราบที่ ๕ ในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ปกครองบังคับบัญชา ต่อมาพระองค์ทรงตั้งให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ( พลโทพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระดำรงค์ราชานุภาพ )  ซึ่งในครั้งนั้นมียศเป็นร้อยตรี  เป็นผู้บังคับการกองแตรวง และทรงเห็นว่า  ม.ร.ว.ชิต  เสนีวงศ์  ณ  กรุงเทพ  เป็นผู้รู้วิชาแตรเป็นอย่างดี เป็นนายวงดนตรีมียศเป็นจ่านายสิบ ซึ่งต่อมา ม.ร.ว.ชิต  เสนีวงศ์ ณ กรุงเทพ ได้เป็นผู้บังคับการกองแตรวง และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรยศเป็น  พระวาทิตบรเทศ  ซึ่งต่อมาก็ได้เป็นผู้บังคับการกองแตรวง  และได้รับพระทานยศเป็นพันตรี พระวาทิตบรเทศ  เช่นเดียวกัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 08 ส.ค. 11, 20:20

พระรูปควีนวิคตอเรีย ทรงฉายในปี 2440


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 08 ส.ค. 11, 20:27

ควีนวิคตอเรียกับพระราชโอรส   ปรินซ์ออฟเวลส์และเจ้าหญิงอเลกซานดราพระชายา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 08 ส.ค. 11, 20:42

อ้างถึง
จากนั้นในวันศุกร์เวลาย่ำรุ่ง  มาพร้อมกันที่ท่าไปรษณีย์กรุงเทพ  ลงเรือพร้อมกันเวลา บ่าย ๔ โมง ๒๐ นาที  ชื่อเรือ "เหกคูบา"
เรือออกจากท่ากำปะนี  เวลา ๕ โมง ๑๕ นาที

น่าสังเกตว่าการเตรียมตัวลงเรือใช้เวลาหลายชั่วโมงทีเดียว  คงต้องเผื่อขนสัมภาระลงไปด้วย    นัดมาเจอกันย่ำรุ่ง แต่ว่าจะลงเรือก็เข้าไปบ่ายสี่โมงกว่า เกือบจะเย็นแล้ว  และอีกหนึ่งชั่วโมงเรือถึงจะออกจากท่า

เรือเหกคูบา หรือฮีกิวบา  ลำใหญ่และหน้าตาโก้เอาการ   แล่นออกปากอ่าวไปถึงสมุทรปราการเมื่อสองทุ่ม ๑๕ นาที  ต้องจอดรอให้ผู้รักษาเมืองตรวจตราตามธรรมเนียม   แล้วก็จอดสมอรอน้ำขึ้น   จนสามทุ่มถึง"ถอนสมอเปิดจักร" ออกเรือ
คืนนั้นเรือแล่นทั้งคืน มาถึงสีชังเอาตอนเจ็ดโมงครึ่ง   ถึงเวลารับประทานอาหารเช้า   พวกนักดนตรีแต่งตัวโอ่โถงพากันมาที่ห้องดินเนอร์  พบว่ากินอาหารไม่ลงกันเลย คงจะเป็นอาหารฝรั่ง  ก็ต้องแข็งใจกินแก้หิว แล้วกลับไปกินของกินที่นำมาจากบ้าน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 08 ส.ค. 11, 20:51

ในบันทึกบอกว่าเรือเหกคูบาทอดสมอที่สีชัง รับข้าวกล้องขึ้นเรือ จนบ่ายสามโมงจึงออกเดินทางต่อ   ย่ำค่ำก็มาถึงเกาะล้าน
วันนั้นบังเอิญฝนตก   นักดนตรีก็พากันหนาวสั่นลำบากลำบนกันอยู่ในเรือ  จนวันอาทิตย์  ตั้งแต่เช้าเรือแล่นมาจนเที่ยงเศษ  นายคร้ามออกมายืนชมวิวอยู่หน้าเรือ  เกิดอาการเป็นทุกข์  ไม่ได้บอกว่าเกิดจากร้อนหนาว   ว้าเหว่คิดถึงบ้าน หรือกลัวทะเลกันแน่   เพราะบรรยายสั้นๆว่า

"เกิดความร้อนใจต่างๆ   พวกดนตรีเวลานั้น ต่างคนต่างยกมือไหว้เทพารักษ์ที่อยู่ในที่นั้น    และขอเดชะพระบารมีของพระเจ้าแผ่นดิน ก็หาอันตรายมิได้"

ทุ่มเศษ เรือมาถึงปากอ่าวหน้าเมืองสิงคโปร์   ทอดสมอ ๙ ทุ่ม ๖ นาที  เพื่อหยุดนอนพัก
คำบรรยายเวลาในที่นี้ใช้ภาษาในสมัยรัชกาลที่ ๕   เลยไม่แน่ใจว่า ๙ ทุ่มที่ว่านี้หมายถึง ๓ ทุ่มหรือตีสาม  แต่ขยายความว่าพักนอนอยู่สามชั่วทุ่มก็สว่าง จึงคิดว่าเป็นตีสาม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 09 ส.ค. 11, 21:32

นายคร้ามตื่นแต่เช้า  ไปเดินบนดาดฟ้าชมหน้าเมืองสิงคโปร์เท่าที่จะเห็นจากเรือ   ด้วยความเป็นคนช่างเล่า  ก็บรรยายเอาไว้ละเอียดลออพอใช้ ว่าสิงคโปร์เป็นเมืองกว้างขวาง น่าสบาย  การค้าก็ดูคึกคักดี
เขาบรรยายลักษณะเมืองไว้ว่า
หน้าเมืองเหมือนคันธนู  ตามคุ้มตามแหลมมีป้อม  แลมีหอคอยรายตลอด  มีเกาะเล็กแซกแซมดูสนุกมาก    ที่หน้าเมืองนั้น มีเรือจ้างสำหรับคนขึ้นลงตามอัธยาศัย   มีอยู่ประมาณสองร้อยสามร้อยเศษ  ค่าจ้างไม่มีอัตราแน่นอนตามคนมากคนน้อย   มีทั้งแขกและเจ๊ก   และเรือขนมต่างๆแต่เป็นแขกทั้งสิ้น

นายคร้ามยังเล่าด้วยว่าเกิดไฟไหม้ขึ้นที่เรือเมล์ลำหนึ่ง   พอรู้ว่าไฟไหม้เรือ ป้อมในเมืองก็ยิงปืนเป็นสัญญาณดังสนั่น   เรือเล็กเรือใหญ่รวมเรือรบก็มาช่วยดับไฟกัน   คนบนบกก็มายืนดูกันแออัด     บรรดาเรือต่างๆก็วิตกทุกข์ร้อนกลัวว่าจะลามมาถึงเรือตน  นายคร้ามเองก็ตกใจมาก แต่เดชะบุญ เรือไหม้จนจมไปก็จริงแต่ไม่มีใครได้รับอันตราย
จากนั้นนายคร้ามก็แต่งตัว เข้ากลุุ่มกัน ๗-๘  คน ลงเรือจ้างไปเที่ยวในเมือง   เล่าว่าในเมืองมีทั้งแขก ฝรั่งและจีน ซึ่งในหนังสือเรียกว่าเจ๊ก
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 10 ส.ค. 11, 08:44

ผลงานชิ้นสำคัญของนายคร้ามและสกุลวงศ์ที่มีให้เห็นจนทุกวันนี้คือรูปปั้นยักษ์วัดแจ้ง หรือวัดอรุณราชวราราม 
โดยเฉพาะตัวทศกัณฐ์ และสหัสเดชะ  ที่หน้าโบสถ์
ช่างปั้นในสกุลสืบเชื้อสายกันมา ๓ ชั่วคนคือ ปู่ พ่อ และนายคร้ามเอง
ยักษ์สองตัวนั้น ของเดิมปั้นโดยหลวงปรนัยฯ   ต่อมาหักพังลงมาหลังจากหลวงปรนัยฯถึงแก่กรรม   
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ลูกหลานในสกุลของหลวงปรนัยฯ เป็นผู้ซ่อมแซมเอง 
นายคร้ามจึงได้ทำหน้าที่นี้ 
แต่รูปปั้นเดิมทรุดโทรมจนซ่อมไม่ไหว  นายคร้ามต้องรื้อใหม่ จนเหลือแต่โครง และปั้นขึ้นมาใหม่     
งานชิ้นนี้นายคร้ามได้ทำเมื่อเดินทางกลับจากอังกฤษแล้ว


หลวงปรนัยฯ  ซึ่งบรรดาศักดิ์บิดาของนายคร้าม  น่าจะจดจำมาคลาดเคลื่อน
ราชทินนามที่ขึ้นต้นว่า ปรนัย  ไม่เคยปรากฏว่าเคยมี
สันนิษฐานว่า  หลวงปรนัยฯ ในที่นี้  น่าจะหมายถึง  หลวงกรมัยนฤมิตร์
ตำแหน่งเจ้ากรมช่างปั้น (ขวาหรือซ้าย จำไม่ได้) ในสังกัดกรมช่างสิบหมู่

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีคุณหลวงกรมัยนฤมิตร์ (บางแห่งเขียน  หลวงกลมัยนฤมิตร์) คนหนึ่ง ชื่อ รอด
บ้านอยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษม ข้างสะพานยศเส  คงจะไม่ใช่บิดานายคร้าม

ส่วนยักษ์สองตนที่ตรงซุ้มประตูทรงมงกุฎเข้าพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามนั้น
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  เคยมีรับสั่งไว้ว่า
เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓  อาจจะเป็นเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียง
กับการปั้นยักษ์โดยรอบวัดพระแก้ว  เล่ากันต่อมา  เป็นฝีมือหลวงเทพกัน
ซึ่งคงหมายถึง  หลวงเทพรจนา  ชื่อตัวว่า กัน  เป็นช่างปั้นมีฝีมือในสมัยรัชกาลที่ ๓

ยักษ์สองตนนี้ผ่านการบูรณะและปั้นใหม่หลายครั้ง  เคยถูกฟ้าผ่าครั้งหนึ่งทำให้ยักษ์แขนหัก
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 10 ส.ค. 11, 08:48

นายคร้ามตื่นแต่เช้า  ไปเดินบนดาดฟ้าชมหน้าเมืองสิงคโปร์เท่าที่จะเห็นจากเรือ   ด้วยความเป็นคนช่างเล่า  ก็บรรยายเอาไว้ละเอียดลออพอใช้ ว่าสิงคโปร์เป็นเมืองกว้างขวาง น่าสบาย  การค้าก็ดูคึกคักดี
เขาบรรยายลักษณะเมืองไว้ว่า
หน้าเมืองเหมือนคันธนู  ตามคุ้มตามแหลมมีป้อม  แลมีหอคอยรายตลอด  มีเกาะเล็กแซกแซมดูสนุกมาก    ที่หน้าเมืองนั้น มีเรือจ้างสำหรับคนขึ้นลงตามอัธยาศัย   มีอยู่ประมาณสองร้อยสามร้อยเศษ  ค่าจ้างไม่มีอัตราแน่นอนตามคนมากคนน้อย   มีทั้งแขกและเจ๊ก   และเรือขนมต่างๆแต่เป็นแขกทั้งสิ้น

ภาพถ่ายเก่าเกาะสิงคโปร์ ที่ระยะก่อนการมาถึงของนายคร้ามไม่นาน ด้วยเกาะนี้อังกฤษได้ยึดเป็นที่ตั้งสำหรับขนถ่ายสินค้า แลกเปลี่ยนสินค้าทำให้มีความเจริญมั่งคั่ง ผู้คนมากมายต่างพากันมาแสวงหาความฝัน ทั้งจากมาเลย์ จากจีน จากอินเดีย ร่วมทำการค้ากันอย่างดี เป็น Little London ที่สยามต้องมาดูเป็นตัวอย่างไว้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 10 ส.ค. 11, 08:59

"หน้าเมืองเหมือนคันธนู  ตามคุ้มตามแหลมมีป้อม  แลมีหอคอยรายตลอด  มีเกาะเล็กแซกแซมดูสนุกมาก    ที่หน้าเมืองนั้น มีเรือจ้างสำหรับคนขึ้นลงตามอัธยาศัย   มีอยู่ประมาณสองร้อยสามร้อยเศษ  ค่าจ้างไม่มีอัตราแน่นอนตามคนมากคนน้อย   มีทั้งแขกและเจ๊ก   และเรือขนมต่างๆแต่เป็นแขกทั้งสิ้น"

ที่นายคร้ามเห็นภาพเมืองสิงคโปร์ คงตื่นตาตื่นใจไม่น้อยทีเดียว ที่เห็นมีป้อม คงเป็นป้อมป้องกันข้าศึกที่ตั้งบนยอดเขา Plamer ซึ่งเป็นที่ตั้งของป้อม CORNWALL

ส่วน "หอคอยรายตลอด" คงจะเป็นสิ่งก่อสร้างแบบยุโรปที่ก่อสร้างสูงขึ้นไป ตลอดรายทาง และถ้าในสมัยนายคร้ามไปช่วง ค.ศ. 1884-1885 ท่าเรือที่รับการเดินทางมาถึง คงเป็น Johnson's Peir ที่มั่งคั่งด้วยเรือสินค้าและการเดินทาง เป็น Town ศูนย์กลางทางการค้าของสิงคโปร์

จึงนำภาพมาเปรียบเทียบให้ดูถึงกรุงสยาม กับ กรุงสิงคโปร์ ว่างดงามตื่นตาตื่นใจอย่างไร


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 10 ส.ค. 11, 09:07

ชุมชนชาวจีนในสิงคโปร์


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 10 ส.ค. 11, 09:17

บรรยากาศที่ท่าเรือ Johnson ศูนย์กลางทางการค้าและเศรษฐกิจ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 10 ส.ค. 11, 09:26

จากภาพประกอบในความเห็นที่ ๑๕ ของลุงไก่ ที่คัดลอกมาจากเวปแห่งหนึ่ง พบว่ามีข้อผิดพลาดอย่างแรง (คงจะเพราะหมูแพง จึงเผลอปล่อยไก่ออกจากเล้าแทบหมด)
เมื่อมาพบว่าคำบรรยายภาพไม่ถูกต้อง เมื่อมาพบคำบรรยายภาพในหนังสือ "จดหมายเหตุเสด็จประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๑๖" ของ พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วอริยศิริ) ครั้งที่ยังเป็นพระสฤษดิ์พจนกร ในคราวตามเสด็จฯ ประพาสยุโรปในตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "เสด็จพระราชดำเนินพบปรินสบิสมากที่เฟรดริคสรูห์ เยอรมนี ในวันที่ ๒ กันยายน ร,ศ. ๑๑๖

บันทึกตอนหนึ่งในจดหมายเหตุฯ กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า "... รถพระที่นั่งถึงสเตชั่นฟรีดริคสะรูห์ เคานต์รันเซาบุตรเขยปรินซ์บิสะมาครับเสด็จพระราชดำเนินที่สเตชั่น นำเสด็จพระราชดำเนินไปยังวังที่ปรินซ์บิสะมากอยู่ ปรินซบิสะมากกับบุตรสาวชื่อมารีอิสะเบิคยีน และมิสเกิตส์หลานสาว คอยรับเสด้จพระราชดำเนินอยู่หน้าบ้านโดยความยินดีทีได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมนั้นเป็นอันมาก ..."

จึงขออภัยมา ณ ที่นี้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 10 ส.ค. 11, 10:35

เรื่องยักษ์ล้ม

จากบันทึกเรื่องยักษ์ล้มของท่านเจ้าคุณพระเทพมุนี (เจียร ปภสฺสโร) ความว่า

"เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ตรงกับ ๑ ฯ ๑๐ ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช ๑๒๙๒ กลางคืนฝนตกหนัก อสุนีบาตถูกยักษ์หน้าพระอุโบสถด้านเหนือ (สหัสเดชะ) พังลงมาต้องสร้างใหม่ เวลาที่รูปยักษ์ล้มนี้ พระพิมลธรรม (นาค) เป็นเจ้าอาวาส

ความจริงยักษ์คู่นี้ เคยซ่อมมาหลายครั้งแล้ว ดังปรากฎในรายการมรรคทายก เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๕ ก็มีรายการซ่อม และ พ.ศ. ๒๔๕๖ ก็ซ่อมแขนยักษ์อีกส่วนที่สร้างใหม่นี้ สืบไม่ได้ว่าใครเป็นผู้ซ่อม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 10 ส.ค. 11, 10:56

ดีจริง   กระทู้เริ่มคึกคัก  ยิ้มกว้างๆ

นายคร้ามเดินเที่ยวซื้อของบริโภค เอากลับมากินในเรือ    ไม่ได้บรรยายว่าซื้ออะไรบ้าง แต่แสดงว่าอาหารในเรือคงจะเต็มกลืนสำหรับลิ้นคนไทย  เล่าด้วยว่า ชาวบ้านไม่เคยเห็นนักดนตรี(ไทย) ก็พากัน "ออกมาดูเรียดทางไปทั้งสิ้น"  แปลว่าพวกนี้เดินไปทางไหน ชาวบ้านคงแห่มาดูกันด้วยเห็นประหลาด    แต่ว่าประหลาดเรื่องอะไรไม่ได้บอก  เดาว่าคงเป็นการแต่งกาย  เพราะหน้าตาคนไทยก็ไม่ไกลจากจีนหรือแขกสิงคโปร์นัก
ร้านขายของในสิงคโปร์  นายคร้ามเปรียบเทียบว่าเหมือนห้าง  แถวสำเพ็งหน้าวัดเกาะ
จนบ่ายสี่โมงเย็นก็กลับเรือ
วันรุ่งขึ้น วันพฤหัส ก็ยังอยู่ที่สิงคโปร์
วันศุกร์  ลงจากเรือเก่ามาขึ้นเรือใหม่ที่หลังเมืองสิงคโปร์ ชื่อเรือ " เวตีนนา"  คำนี้ยังนึกไม่ออกว่าอังกฤษสะกดอย่างไร    เป็นเรือมีกลาสีประจำราว 50 คนเศษ

นายคร้ามบรรยายภาพด้านหลังเมืองสิงคโปร์เอาไว้ว่า
"ข้าพเจ้าดูบ้านเรือนราษฎรที่ตั้งอยู่หลังเมืองสิงคโปร์นั้น    ดูน่าสนุกสนานพอเหมาะดี    และดูชัยภูมิที่วางท่าทางนั้นพอแก่ราชการได้    บ้างก็ตั้งอยู่บนเนินเขาบ้าง   อยู่ตามชายเขาบ้าง   ที่มุมด้วยจากก็อยู่พวกหนึ่ง  มุงด้วยกระเบื้องพวกหนึ่ง  มุงด้วยสังกะสีพวกหนึ่ง  ไม่ปะปนกันอย่างเมืองไทย    แต่ที่มุมด้วยจากนั้นห่างเมืองกว่าเขา   และลักษณะท่าทางที่เขาพวกนั้นจะทำเหย้าเรือน  และโรงทำการต่างๆ  แลที่นั่งเล่นเดินเล่นเปลี่ยนบรรยากาศนั้นจะไปติเตียนเขาไม่ได้เลย"
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 18
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง