เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 16 17 [18]
  พิมพ์  
อ่าน: 70223 คนไทยในราชสำนักอังกฤษ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 255  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 20:49

ในเมื่อนายคร้ามอยู่ยาวจนถึงฤดูหนาว  จึงได้ฉลองวันคริสต์มาสด้วย   ท่านเล่าว่าหยุดติดต่อกัน 3 วัน ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์  วันที่หนึ่งของการฉลอง ร้านรวงต่างๆหยุดหมด  ฉลองกันในบ้านอย่างโอ่โถง   บ้านท่านราชทูตสยามก็ฉลองเหมือนกัน    ส่วนคนรับใช้ก็แยกกันไปฉลองที่โต๊ะของพวกเขา
นักดนตรีอย่างนายคร้ามไม่ได้ไปร่วมโต๊ะเสวยของเจ้านาย    แต่ได้รับเชิญจากนายบุตเสมียนสถานทูตไปนั่งร่วมโต๊ะเดียวกัน  มีนายสิน นายฉ่าง และนายสมบุญ ไปร่วมด้วย  กินอาหารกันไป กินเหล้ากันไปก็ครึกครื้นกันขึ้นทุกที

ที่ว่าครึกครื้นนั้นคือประเพณีอย่างหนึ่งของอังกฤษ  นายคร้ามเล่าว่ามีใบไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า "มัชโต" ที่จริงคือ มิสเซิลโท (mistletoe)  เป็นพวงใบไม้ที่แขวนไว้เหนือประตูหน้าต่าง หรือเหนือโต๊ะอาหาร     ถ้าผู้ชายผู้หญิงคนไหนเด็ดใบมาชูหน้าใครอีกคน  จะสามารถจูบคนนั้นได้ตามสบาย  คนถูกจูบจะถือสาไม่ได้

พวกที่ร่วมโต๊ะกินอาหารกันพอดื่มกันได้ที่ ก็เด็ดใบมิสเซิลโทมาชูกันให้ขวักไขว่  นายคร้ามในตอนแรกก็คงกระอักกระอ่วน  แต่หนักเข้าก็เลยตามเลย



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 256  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 21:07

ในที่สุดก็ถึงเวลาเดินทางกลับสยาม  ในเดือน 3 ปีระกา  นักดนตรีเหลือ 17 คน เสียชีวิตไปคนหนึ่งคือครูจีน  คนที่ 18 เป็นล่ามชื่อนายสมบุญ   นายคร้ามได้บรรยายความเศร้าเสียดายที่ต้องจากลอนดอน   เสียดายสถานที่ต่างๆที่เคยพาเพื่อนชาวอังกฤษมาเดินเล่นชมสถานที่อยู่เสมอ
" เพื่อนชาวอังกฤษ" ที่นายคร้ามพาเดินชมโน่นชมนี่ เห็นทีจะเป็นเพื่อนสาว ไม่ต้องสงสัย     ถึงได้อาลัยอาวรณ์นัก

นายคร้ามเดินทางออกจากลอนดอนตอนเก้าโมงเศษ วันอาทิตย์ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา     โดยสารเรือลำใหญ่กว่าขามา เป็นเรือสินค้าไม่ใช่เรือเมล์    ห้องหับดีเป็นของผู้โดยสารชั้นหนึ่ง แต่ว่าอาหารที่กิน เป็นอัตราชั้นสาม  เพราะจะหนึ่งทั้งสองอย่างก็เปลืองเงินมากไป  นายคร้ามจึงบ่นอุบๆอิบๆเรื่องอาหารการกินที่กินไม่ลง อยู่ในบันทึก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 257  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 21:23

สิบห้าวันจากลอนดอนมาถึงเมืองปอตเสด  จากนั้นก็เดินทางเข้าคลองสุเอซ    กลับมาทางลังกาในเส้นทางเดิม  นายคร้ามบ่นว่าเมาคลื่นสะบักสะบอม
พ้นเขตลังกาเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 เวลา 5 ทุ่ม   
นายคร้ามจบบันทึกไว้ห้วนๆ ว่า "อาหารรับไม่ได้ ดูช่างโซและโทรมเหลือประมาณทีเดียว กว่าจะลุถึงสยามบ้านเกิดเมืองนอน" 

ไม่มีบันทึกต่อไปว่าเมื่อกลับถึงกรุงเทพแล้วรู้สึกอย่างไร   พ่อแม่พี่น้องมารับดีอกดีใจกันแค่ไหน จากนั้นได้เข้าเฝ้าฯ หรือไม่     จากนั้นชีวิตนายคร้ามเป็นอย่างไรต่อไป ได้รับราชการมีบรรดาศักดิ์หรือไม่ ก็ไม่ได้บอกไว้ในหนังสือเล่มที่ดิฉันเก็บความมา

พบจากอินทรเนตรว่ามีการทำเป็นซีดีรอมแล้ว   อาจจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่านี้อีก   ท่านสมาชิกผู้ใดทราบโปรดช่วยขยายความด้วย ขอขอบพระคุณ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 258  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 21:35

ในที่สุดก็ถึงเวลาเดินทางกลับสยาม  ในเดือน 3 ปีระกา  นักดนตรีเหลือ 17 คน เสียชีวิตไปคนหนึ่งคือครูจีน

ครูจีนชื่อเต็มคือครูสังจีน

ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร บรรยายไว้ในหนังสือ ราชทูตแห่งกรุงสยาม ประสบการณ์ของอดีตนักการทูตไทย ในยุคบุกเบิก พ.ศ. ๒๔๒๔-๒๔๒๙ ว่า

"หน้าที่สถานทูตดูแลจัดหาเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ทั้งชุดใหญ่และชุดเล็กให้แก่นักดนตรี ตลอดจน ประทานค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่นักดนตรีทั้ง ๑๙ นายด้วย"

คณะดนตรีไทยได้เปิดการแสดงที่อัลเบิรต์ ฮอลล์ ในกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๔๒๘ ซึ่งเป็น การเปิดการแสดงด้วยวงมโหรี คณะดนตรีไทยได้บรรเลงอยู่ที่นั่นประมาณ ๓ เดือนสัปดาห์ละ ๓-๔ ครั้ง และ ในวันว่างก็ได้รับงานไปบรรเลงนอกสถานที่

ในระหว่างนั้นทางราชสำนักอังกฤษก็ได้ขอให้คณะดนตรีไทย ไปบรรเลงถวายปรินซ์ ออฟ เวลส์ มกุฎราชกุมาร (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ ๗) ครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๒๘ และต่อมาในวันที่ ๕ กรกฎาคม ก็ได้ไปบรรเลงถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย ณ พราะราชวังฤดูร้อนชายทะเลในขณะที่ทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่นั่น

เมื่องานแสดงมหกรรมได้สิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคมของปีนั้นแล้ว คณะดนตรีไทยก็ได้ตระเวนไป แสดงตามเมืองต่าง ๆ และได้ออกเดินทางกลับเมืองไทยในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๒๘ ในระหว่างที่อยู่ใน อังกฤษ นักดนตรีไทยคนหนึ่งได้ป่วยลงและเสียชีวิตที่นั่นชื่อว่านายสังจีน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 259  เมื่อ 23 ต.ค. 11, 19:27

ควันความเรื่องโน้ตเพลงไทย

จากนั้น เมื่อนักดนตรีไทยเอาโน้ตเพลงที่ทำไว้ไปให้ดู   นักดนตรีอังกฤษก็เล่นได้ทันที   แสดงว่าในสมัยนั้น มีการทำโน้ตดนตรีไทยแบบสากลแล้ว  ไม่ได้จำเอาเหมือนเมื่อก่อนจากนั้น ต่างคนต่างก็เล่นเพลงเดียวกัน  ด้วยเครื่องดนตรีของตัวเอง   จนห้าทุ่ม งานจึงเลิก

คงบรรเลงเพลงใดเพลงหนึ่ง หรือไม่ก็ทั้งสองเพลงข้างล่าง

     ในการแสดงคราวนี้ ฝ่ายไทยได้นำโน๊ตเพลงไทยจำนวน 2 เพลง (เท่าที่ค้นพบ) คือ เพลงทะยอยนอก(Tai Yoi Nok) และ เพลงเชิดจีน(Churd Chin) ประพันธ์โดยหลวงวาทิตบรเทศ มี Joseph Romano เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน ซึ่งพิมพ์เผยแพร่และจำหน่ายในอังกฤษอีกด้วย จากหลักฐานดังกล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่าโน๊ตเพลงทั้ง 2 น่าจะเป็นเพลงไทยที่บันทึกด้วยโน๊ตสากลชิ้นแรก ๆ ที่มีการตีพิมพ์และจำหน่าย อย่างเป็นทางการก็ว่าได้

เห็นในโฆษณาหนังสือเขาว่า โน้ตเพลงดังกล่าวมีอยู่ที่สยามบรรณาคม และจะนำมาแสดงใน เว็บไซต์ เร็ว ๆ นี้

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 260  เมื่อ 24 ต.ค. 11, 09:46

เก่งมากค่ะ คุณเพ็ญชมพู

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 261  เมื่อ 24 ต.ค. 11, 09:51

.
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 262  เมื่อ 10 ธ.ค. 11, 10:48

จบเรื่องของนายคร้ามแล้ว ก็ขอต่อเรื่องของนายบุศย์มหินทร์ ผู้นำวงมโหรีไทยไปแสดงในงาน นิทรรศการนานาชาติ 1900 (World Exhibition 1900) ที่กรุงปารีส และได้เดินทางไปแสดงในหลายประเทศในยุโรป

และเป็นโศกนาฎกรรมครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของวงมโหรีไทยในสมัยนั้น มาให้ชาวเรือนไทยได้มาต่อเติมเรื่องกันต่อไป

จากเรื่อง กระบอกเสียงนายบุศย์มหินทร์

http://www.t-h-a-i-l-a-n-d.org/talkingmachine/boosra_mahin/pluethipol.html

งานนิทรรศการนานาชาติ 1900 ที่กรุงปารีส

http://www.paris-in-photos.com/old-paris-1900-exhibition.htm

เพิ่มเติม - เกร็ดประวัติศาสตร์จากนาเอกสวัสดิ์ จันทนี


ในหนังสือนิทานชาวไร่ ของนาวาเอกสวัสดิ์ จันทนี ตอนที่ ๗๒ ตอนหนึ่งท่านกล่าวไว้ว่า (ท่านบันทึกเรื่องที่คุณหลวงวภักดิ์ภูบาลเล่าให้ฟัง) ...

“คุยไปคุยมาเลยคุยถึงจางวางสอนแห่งวังบูรพา วังเจ้าทุกวังต้องมีจางวางสำหรับเป็นทนายหน้าหอหรือหัวหน้าคนรับใช้ ถ้าเจ้านายทรงกลมก็มีเจ้ากรมปลัดกรมและสมุหบัญชีเพิ่มขึ้น ส่วนจางวางคงมีตามเคย

ด้วยฝีมือดนตรีไทยอันเลอเลิศของจางวางสอน ฝรั่งมาพบเข้าก็เห็นว่าเป็นของแปลก ถึงคิดกับจะนำไปถวายให้พระนางวิคตอเรียได้ทอดพระเนตรและได้ทรงฟัง ทุนทรัพย์ที่เดินทางหอบคนทั้งงและเครื่องดนตรีนานาชนิดไปนั้น คุณหลวงไม่ทราบว่าใครออกเงิน ปรากฎว่าพระนางวิคตอเรียได้เห็นจางวางสอนตีระนาดถวาย ส่วนจะเข้ใครจะดีดไม่ทราบ ปรากฎว่าพระนางชอบเสียงของมันยิ่งนัก ถึงกับรับสั่งให้เอาไม้โอ๊คมาแกะให้มีขนาดและความหนาเท่าแบบเปี๊ยบ ครั้นประกอบแล้วดีดก็ไม่กังวาล ต้องสั่งเอาไม้ขนุนไปแกะ นั่นแหละเสียงจึงกังวานอย่างแบบ จะเข้นี้จะมีเฉพาะดนตรีไทยหรืออย่างไร ข้าพเจ้าก็ไม่มีความรู้ แต่เคยดูจากภาพก็ไม่เห็นชาติพม่าหรืออินโดนีเซียมีเหมือนเรา

สำหรับจางวางทั่วแห่งวังบางขุนพรหมนั้น ไม่ปรากฎว่าได้ไปต่างประเทศ”

จางวางสอน หมายถึง หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

จางวางทั่ว หมายถึง ทั่ว พาทยโกศล







บันทึกการเข้า
ศุศศิ
อสุรผัด
*
ตอบ: 32


ความคิดเห็นที่ 263  เมื่อ 21 ก.พ. 12, 16:48

ชอบมากเกร็ดประวัติศาสตร์ จากมุมมองของคนสามัญ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 16 17 [18]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง