siamese
|
ความคิดเห็นที่ 180 เมื่อ 24 ส.ค. 11, 20:59
|
|
การมาร่วมแสดงดนตรีในครั้งนี้ รัฐบาลสยาม ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมแสดงดนตรีใน Royal Albert Hall ซึ่งใช้สำหรับร่วมจัดงาน International Invention Exhibition and Musical Instrument 1885
คือ การจัดประกวดสิ่งประดิษฐ์ที่ทันสมัย หรือสิ่งอำนวยความสะดวกแบบใหม่ให้กับชีวิตประจำวัน ในส่วนเครื่องดนตรีก็เน้นว่าสิ่งประดิษฐ์ทางด้านคนตรีชิ้นไหนที่ล้ำเลิศ และมีการมอบรางวัลเป็นเหรียญทอง เงิน บรอนซ์ ให้กับการประกวดด้วย
ภาพ Prince of Wales (พระเจ้ายอร์ชที่ 6) กล่าวสุนทรพจน์ในการเปิดงาน International Invention Exhibition and Musical Instrument
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 182 เมื่อ 25 ส.ค. 11, 09:03
|
|
ซุ้มที่จัดแสดงเครื่องกระสุน ปืนใหญ่ และตอร์ปิโด ที่นายคร้ามได้ไปเห็น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 183 เมื่อ 25 ส.ค. 11, 09:08
|
|
ภาพอีกมุมหนึ่งจะเห็นปืนใหญ่ขวามือ และในแถวหลังภาพ เป็นสายพานสำหรับเดินเครื่องจักรไอน้ำ ส่วนภาพหลักเห็นจะวาดภาพซุ้ม มีคนหมุนกงล้อ คล้ายเครื่องปั่นฝ้ายจัดแสดงอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 184 เมื่อ 27 ส.ค. 11, 21:07
|
|
นายคร้าม นอกจากจะสังเกตข้าวของต่างๆแล้ว ยังชอบสังเกตคนอีกด้วย ถึงกับบันทึกไว้ว่า "คนเลวอังกฤษอยู่ข้างสันดานหยาบ" ราคาเข้าชมแตกต่างกันไปไม่เท่ากันในแต่ละวัน วันพุธกับวันเสาร์ค่าเข้าชมแพงหน่อย คือสองชิลลิงครึ่ง วันอื่นๆแค่ ๑ ชิลลิง ด้วยเหตุนี้พวกผู้ดีจึงมากันในวันที่ค่าตั๋วแพง เพราะจะได้ไม่ต้องปะปนกับคนระดับล่าง แต่ถึงอย่างนั้นคนก็แน่นอยู่เสมอไม่ว่าวันไหน นายคร้ามบอกว่าผู้ดีแต่งกายผิดกับไพร่ โต๊ะที่นั่งรับประทานอาหารก็ไม่เหมือนกัน โต๊ะผู้ดี จานชามอาหารและบ๋อยดูหน้าตาหมดจด กิริยาเรียบร้อย ท่านไม่ได้เล่าว่าโต๊ะอาหารแบบไพร่เป็นอย่างไร เดาว่าคงเป็นอาหารพื้นๆราคาถูก คนเดินโต๊ะก็คงจะไม่สุภาพเรียบร้อยเท่าบ๋อยของผู้ดี
เรื่องผู้ดีไพร่ในอัลเบิร์ตฮอล มีผลกระทบต่อนักดนตรีไทยเหมือนกัน เพราะไพร่อังกฤษไม่สำรวมกิริยา ถ้าคนไทยแต่งกายไม่เรียบร้อยถูกต้อง หรือทำกิริยาอาการอะไรไม่เหมาะสม พวกนี้จะส่งเสียงโห่ฮา (หรือนายคร้ามเรียกว่า "เฮ") ไม่มีใครห้ามปรามเสียด้วย ส่วนคนไทย ๑๙ คน เข้าออกได้สะดวกเพราะมีตั๋วซึ่งท่านเรียกว่าติ้กเก้ท และใบอนุญาต จะขับถ่ายก็สะดวกเพราะมีที่ถ่ายปัสสาวะจัดไว้ให้ทุกประตูเข้าออก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 185 เมื่อ 27 ส.ค. 11, 21:14
|
|
นักดนตรีไทย ๑๙ คนนี้ ส่วนมากคงเป็นหนุ่มคะนอง จึงทำอะไรทะลึ่งอยู่บ้าง นายคร้ามเล่าอย่างซุกซนตามประสาคนหนุ่มว่าเมื่อถึงเวลาเลิกงาน คนออกกันมาเนืองแน่น เบียดเสียดกันเป็นธรรมดาเพราะชายหญิงชาวอังกฤษเขาไม่ถือ ก็เป็นโอกาสที่หนุ่มไทยจะถือโอกาสกับสาวอังกฤษอยู่บ้างนิดๆหน่อยๆ แอบมองลอดข้อศอกเข้าไปบ้าง ไหล่บ้าง บางทีก็แกล้งเดินชนให้ด้านหน้าชนกันบ้าง เพื่อจะชนอะไรคงไม่ต้องอธิบาย บางทีก็คลำกระโปรงสัมผัสข้างในเสื้อดูบ้าง ทำกันแบบนี้จนสาวอังกฤษรู้ตัว ต้องคอยระวังหนุ่มไทยมือไว
นายคร้ามออกตัวว่าทีแรกก็ไม่คิดจะทำ แต่เมื่อเพื่อนๆทำหนักเข้า ก็นึกอยากลองดูบ้าง แต่ไม่ได้ทำอะไรมากแค่สัมผัสพอให้รู้ว่าอ่อนๆนุ่มๆ แล้วก็คงจะอาย จึงตัดบทไปเลยไม่บรรยายมากกว่านี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 186 เมื่อ 27 ส.ค. 11, 22:05
|
|
การแต่งกายแบบผู้ดีอังกฤษ ปี ค.ศ. 1885
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 187 เมื่อ 29 ส.ค. 11, 10:14
|
|
สภาพความเป็นอยู่ของคนจนหรือไพร่ - ที่อยู่อาศัยสลัม ในมหานครลอนดอน ใยยุคของ Queen Victoria
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 188 เมื่อ 29 ส.ค. 11, 22:39
|
|
ในอังกฤษสมัยนั้น การแบ่งชนชั้นเห็นได้ชัดมาก ไม่เฉพาะแต่การแต่งกาย แม้แต่ถนน และตลาด ก็เป็นแหล่งเฉพาะของคนจน ซึ่งผู้ดีเงินจะไม่เฉียดเข้ามา พสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัตน์วิศิษฎ์ หรือในตอนนั้นนายคร้ามเรียกว่าพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ ก็ทรงออกปากเช่นนี้ เมื่อทรงพานายคร้ามและพรรคพวกไปเที่ยวริมแม่น้ำเธมส์ ทรงพาไปทางถนนคนจนซึ่งปกติไม่เสด็จมา ผู้ดีในลอนดอนที่จะเดินทางไปริมแม่น้ำเธมส์ก็จะเลือกเส้นทางอื่น แต่ทรงเลือกเส้นทางนี้เพื่อให้นายคร้ามและเพื่อนๆได้ดูว่าคนจนเขาอยู่กันอย่างไร ในสายตานายคร้าม คนจนหรือไพร่ในลอนดอนก็ดูมีความสุข อย่างน้อยที่อยู่อาศัยก็เป็นตึก ในสายตาคนไทยซึ่งชินกับกระท่อมและเพิงของชาวบ้าน ตึกคงจะเป็นอาคารที่โอ่อ่าเอาการ ไม่ว่าจะรกรุงรังหรือซอมซ่อขนาดไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 189 เมื่อ 30 ส.ค. 11, 11:27
|
|
ถนน Baker เป็ยถนนสำคัญในชุมชนแออัดของลอนดอน มีผู้คนอพยพเข้ามาอาศัยจำนวนมาก เนื่องจากมีการใช้แรงงานในเมืองสูง ไม่รู้ว่านายคร้ามจะเข้ามาถนนนี้บ้างหรือไม่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 190 เมื่อ 07 ก.ย. 11, 15:13
|
|
กำลังลุ้นว่า เมื่อไรนายคร้ามจะได้แสดงดนตรีถวายต่อหน้าพระที่นั่งควีนวิคอตเรีย 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 191 เมื่อ 07 ก.ย. 11, 15:29
|
|
ขออนุญาตคุณเทาชมพูเดินหน้าไปเล็กน้อย ตามความต้องการของคุณหนุ่ม คณะดนตรีไทยได้เปิดการแสดงที่อัลเบิรต์ ฮอลล์ ในกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๔๒๘ ซึ่งเป็น การเปิดการแสดงด้วยวงมโหรี คณะดนตรีไทยได้บรรเลงอยู่ที่นั่นประมาณ ๓ เดือนสัปดาห์ละ ๓-๔ ครั้ง และ ในวันว่างก็ได้รับงานไปบรรเลงนอกสถานที่ ในระหว่างนั้นทางราชสำนักอังกฤษก็ได้ขอให้คณะดนตรีไทย ไปบรรเลงถวายปรินซ์ ออฟ เวลส์ มกุฎราชกุมาร (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ ๗) ครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๒๘ และต่อมาในวันที่ ๕ กรกฎาคม ก็ได้ไปบรรเลงถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย ณ พราะราชวังฟดูร้อยชายทะเลในขณะที่ทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่นั่นคุณเทาชมพูกลับมาเมื่อไร บรรยายตอนนี้ต่อได้เลย 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 192 เมื่อ 08 ก.ย. 11, 09:31
|
|
ในระหว่างนั้นทางราชสำนักอังกฤษก็ได้ขอให้คณะดนตรีไทย ไปบรรเลงถวายปรินซ์ ออฟ เวลส์ มกุฎราชกุมาร (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ ๗) ครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๒๘ และต่อมาในวันที่ ๕ กรกฎาคม ก็ได้ไปบรรเลงถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย ณ พราะราชวังฟดูร้อยชายทะเลในขณะที่ทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่นั่น
พราะราชวังฟดูร้อยชายทะเล แก้ไขเป็น พระราชวังฤดูร้อนชายทะเล แห่งนี้ละมั้ง Osborne House 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 193 เมื่อ 08 ก.ย. 11, 16:16
|
|
ไม่ได้เอาหนังสือมาด้วย. กระทู้นี้ต้องรออีกหลายวันกว่าจะมาต่อด้วยตัวเองได้. ถ้าใครมีหนังสือเชิญบรรเลงไปก่อนนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 194 เมื่อ 09 ก.ย. 11, 13:12
|
|
ภาพลายเส้นงานเลี้ยงทีสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย (Queen Victoria) จัดถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก งานเลี้ยงพระกระยาหารกลางวันนี้จัดขึ้นที่พระราชวังออสบอร์น (Osborne House) เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศอังกฤษ พ.ศ. ๒๔๔๐
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|