เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 8792 อยากทราบเกี่ยวกับยศราชทินนามบรรดาศักดิ์ข้าราชการในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้และทางอีศา
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


 เมื่อ 06 ส.ค. 11, 13:11

1.อยากทราบเกี่ยวกับการเเบ่งชั้นยศว่าเหมือนกับทางราชการที่เมืองหลวงหรือไม่ เช่น ขุน หลวง พระ พระยา
2.เครื่องแต่งกายของข้าราชการหัวเมืองประเทศราชต่างๆเหมือนเมืองหลวงหรือไม่
3.อยากทราบตัวอย่างบรรดาศักดิ์ของแต่ละแคว้นด้วยครับ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 ส.ค. 11, 06:22

ทราบแต่เพียงบรรดาศักดิ์ล้านนาที่แบ่งเป็น พญา แสน ท้าว
ส่วนเรื่องเครื่องแต่งกาย  น่าจะนุ่งผ้าแต่ไม่สวมเสื้อเหมือนขุนนางสยามครับ
บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 ส.ค. 11, 12:46

โครงสร้างทางการปกครองของเมืองเชียงใหม่และล้านนา แต่ละเมืองมีตำแหน่งทางการเมืองระดับสูง คือ "เจ้าขัน 5 ใบ" ได้แก่เจ้าเมือง และผู้ช่วยในการปกครองอี 4 ตำแหน่ง
นอกจากตำแหน่งเจ้าขัน 5 ใบแล้ว ในการบริหารบ้านเมืองยังมี "เก๊าสนามหลวง" เป็นคณะกรรมการจำนวน 32 คน ซึ่งล้วนเป็นเหล้าขุนนางชั้นสูง
ด้วยอำนาจของสำนักหลวงสยามมีมากกว่า การแต่งตั้งตำแหน่งเจ้าขัน 5 ใบ พระมหากษัตริย์จะพระราชทานตำแหน่งให้ โดยบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งใหม่ จะต้องเข้าเฝ้าที่กรุงเทพฯทุกครั้งเพื่อรับตราตั้งและเครื่องยศ และเครื่องยศทุกชิ้นจะต้องส่งคืนเมื่อถึงแก่กรรม
ด้วยตำแหน่งของเจ้าขัน 5 ใบ นับจากตำแหน่งเจ้าอุราชลงมา ทุกตำแหน่งมีโอกาสได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเกือบเท่าๆกัน

(1) เจ้าหลวง
(2) เจ้าอุปราช
(3) เจ้าราชวงศ์
(4) เจ้าราชบุตร
(5) เจ้าบุรีรัตน์

รูปเจ้าขัน 5 ใบ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 08 ส.ค. 11, 12:49

บรรดาศักดิ์ของเมืองเชียงใหม่

บรรดาศักดิ์เจ้านายฝ่ายเหนือของเมืองเชียงใหม่ แบ่งออกเป็น 17 ชั้น ได้แก่

บรรดาศักดิ์ดั้งเดิม 5 ชั้น เรียกว่าเจ้าขันธ์ทั้ง 5 หรือเจ้าขันธ์ 5 ใบก็เรียก

    เจ้าหลวง
    เจ้าอุปราช
    เจ้าราชวงศ์
    เจ้าราชบุตร
    เจ้าบุรีรัตน์

สถาปนาในรัชกาลที่ 4 ตรงกับสมัยเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์

    เจ้าราชภาคินัย
    เจ้าอุตรการโกศล
    เจ้าไชยสงคราม

สถาปนาในรัชกาลที่ 5 ครั้งที่ 1 ตรงกับสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์

    เจ้าราชภาติกวงษ์
    เจ้าราชสัมพันธวงศ์
    เจ้าสุริยวงศ์

สถาปนาในรัชกาลที่ 5 เพิ่มเติมครั้งที่ 2 ตรงกับสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์

    เจ้าทักษิณนิเกตน์
    เจ้านิเวศอุดร

สถาปนาในรัชกาลที่ 5 เพิ่มเติมครั้งที่ 3 ตรงกับสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์

    เจ้าประพันธพงศ์
    เจ้าวรญาติ
    เจ้าราชญาติ
    เจ้าไชยวรเชษฐ์

บรรดาศักดิ์ดังกล่าว ไม่ได้มีการสถาปนาครบทั้งหมดเสมอไป ในบางบรรดาศักดิ์มีกาสถาปนาเพียงพระองค์เดียวแล้วถูกยกเลิกไปก็มี
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 ส.ค. 11, 15:30

โครงสร้างทางการปกครองของเมืองเชียงใหม่และล้านนา แต่ละเมืองมีตำแหน่งทางการเมืองระดับสูง คือ "เจ้าขัน 5 ใบ" ได้แก่เจ้าเมือง และผู้ช่วยในการปกครองอี 4 ตำแหน่ง
นอกจากตำแหน่งเจ้าขัน 5 ใบแล้ว ในการบริหารบ้านเมืองยังมี "เก๊าสนามหลวง" เป็นคณะกรรมการจำนวน 32 คน ซึ่งล้วนเป็นเหล้าขุนนางชั้นสูง
ด้วยอำนาจของสำนักหลวงสยามมีมากกว่า การแต่งตั้งตำแหน่งเจ้าขัน 5 ใบ พระมหากษัตริย์จะพระราชทานตำแหน่งให้ โดยบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งตำแหน่งใหม่ จะต้องเข้าเฝ้าที่กรุงเทพฯทุกครั้งเพื่อรับตราตั้งและเครื่องยศ และเครื่องยศทุกชิ้นจะต้องส่งคืนเมื่อถึงแก่กรรม
ด้วยตำแหน่งของเจ้าขัน 5 ใบ นับจากตำแหน่งเจ้าอุปราชลงมา ทุกตำแหน่งมีโอกาสได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเกือบเท่าๆกัน

(1) เจ้าหลวง
(2) เจ้าอุปราช
(3) เจ้าราชวงศ์
(4) เจ้าราชบุตร
(5) เจ้าบุรีรัตน์

รูปเจ้าขัน 5 ใบ
บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 08 ส.ค. 11, 17:35

ตำแหน่งยศเจ้าทั้ง ๑๗ ตำแหน่งเป็นบรรดาศักดิ์ของเจ้านายล้านนา  หาใช่บรรดาศักดิ์ขุนนางครับ
ตำแหน่งเจ้านายล้านนาเมื่อแรกสวามิภักดิ์รัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ ๑ นั้น  มีกำหนดเพียง ๓ ตำแหน่งคือ พระยานคร  พระยาอุปราช  และพระยาราชวงศ์  แต่เมืองเชียงใหม่เรียกพระยาเมืองแก้ว  ต่อมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มตำแหน่งพระยาราชบุตร และเปลี่ยนชื่อพระยาเมืองแก้วเป็นพระยาบุรีรัตน ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเชื้อวงศ์เจ้าเจ็ดตยเมืองนครเชียงใหม่  นครลำปาง และนครลำพูน  กับวงศ์เมืองน่านขึ้นเป็น "เจ้า"  ตำแหน่งยศทั้งห้านั้นจึงเปลี่ยนเป็นเจ้าทั้งสี่หัวเมือง  เว้นเมืองแพร่ที่มิได้ยก  เพิ่งมายกพระยาพิริยเทพวงศ์ เจ้าเมืองแพร่ขึ้นเป็นเจ้าเฉพาะตัวก็เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒  ก่อนกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ไม่นาน

เนื่องจากเมื่อตำแหน่งพระยานครหรือเจ้านครว่างลง  ผู้ที่ดำรงตำแหน่งอุปราชจะได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้านครแทนตามลำดับ  แต่ในบางกรณีที่อุปราชเกิดเสียชีวิตลงก่อนที่จะได้เลื่อนเป็นเจ้านคร  ก็จะเลื่อนผู้ที่อยู่ในลำดับถัดไปขึ้นมาแทน  ดังเช่นเมื่อคราวพระเจ้ามโหตรประเทศถึงพิราลัย  อุปราชได้รักษาการในจำแหน่งเจ้านคร  แต่ก็ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะได้รับสถาปนาเป็นเจ้านครเชียงใหม่  เจ้าบุรีรัตนซึ่งมีบรรดาศักดิ์ลำดับถัดลงไป (เวลานั้นไม่มีตัวเจ้าราชวงศ์ และเจ้าราชบุตร) จึงได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์แล้วเป็นพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ตามลำดับ  นี่จึงเป็นที่มาของความเชื่อที่ว่า เฉพาะเจ้าขันธฺทั้งห้าจึงจะอยู่ในลำดับที่จะเลื่อนขึ้นเป็นเจ้านคร

ส่วนบรรดาศักดิ์ของล้านนานั้นแบ่ง พญา  แสน  ท้าว  โดยมีตำแหน่งพญาเค้าสนามซึ่งมีอยู่ณะเมืองนครเชียงใหม่ ๔ ตำแหน่ง คือ พญาหลวงจ่าแสน ๑  พญาสามล้านศิริราชโยธา ๑  พญาจ่าบ้าน ๑  พญาเด็กชาย ๑  ผู้เปนตำแหน่งพญาเค้าสนามทั้ง ๔ นี้  มักจะเปนคนสำคัญในพวกที่ไม่ใช่เจ้า  อย่างว่าเปนขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งเจ้าผู้ครองเมืองตั้งแต่งเปนธรรมเนียมมา...”   ในขณะที่เมืองน่านนั้นก็มี “พญาปื้น” หรือพญาเค้าสนาม ๔ ตำแหน่งเช่นเดียวกับที่เมืองนครเชียงใหม่  แต่มีชื่อเรียกต่างกัน คือ พญาหลวงจ่าแสนราชาไชยอภัยนันทวรปัญญาวิสุทธิมงคล ๑  พญาหลวงอามาตย์ ๑  พญาหลวงมนตรี ๑  พญาหลวงราชธรรมดุลย์ ๑  “...ส่วนพญาท้าวแสนซึ่งเค้าสนามเคยตั้งมานั้น...”   คงเป็นตำแหน่งชั้นรองลงไปจากพญาเค้าสนามผู้ใหญ่ดังกล่าว

ตำแหน่งพญาเค้าสนามทั้ง ๔ ตำแหน่งนั้นดูเหมือนว่าจะรับอิทธิพลมาจากหลุดดอหรือเสนาบดีจตุสดมภ์ของพม่า  แต่ดูไปก็คล้ายจตุสดมภ์ของไทยเราเหมือนกัน  หากแต่ไทยเราจัดเป็น ๖ ตำแหน่ง  คือมีสมุหนายกและสมุหพระกลาโหมเพิ่มขึ้นมา  ในสมัยที่ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เสด็จกรมหลวงพิชิตปรีชากรขึ้นไปจัดราชการเมืองเชียงใหม่เพื่อเตรียมรับกงสุลอังกฤษในปี พ.ศ. ๒๔๒๖  เสด็จในกรมฯ ก็ได้นำระบบจตุสดมภ์แบบที่ใช้กันในกรุงเทพฯ ไปตั้งเป็นเสนาหกตำแหน่งที่หัวเมืองล้านนา

ตำแหน่งพญาเค้าสนามของเมืองเชียงใหม่นั้น  เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ว่า ขุนนางล้านนาใฝ่ใจที่จะรับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นขุนนางสยามจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ดำหนดบรรดาศักดิ์สำหรับพญาเค้าสนามทั้ง ๔ ตำแหน่งของเมืองเชียงใหม่เป็น
หลวงราชนายกเสนี        ที่พญาหลวงจ่าแสน
หลวงศรีพยุหสงคราม        ที่พญาสามล้านศิริราชโยธา
หลวงนิคมคามเชษฐสกล    ที่พญาจ่าบ้าน
หลวงดรุณพลพิทักษ์        ที่พญาเด็กชาย

แล้วได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้ “...พญาสามล้านศิริราชโยธา เปนหลวงศรีพยุหสงคราม  ตำแหน่งพญาสามล้านศิริราชโยธา  เมืองนครเชียงใหม่  ถือศักดินา ๘๐๐...”  เป็นลำดับแรกเมื่อวันที่  ๑๕ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๔๓  ครั้นพญาหลวงจ่าแสนบดีศรีรัษฎามาตย์   ซึ่งเป็นปฐมอรรคมหาเสนาบดีของเมืองนครเชียงใหม่ลงมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในปีต่อมา  จึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้ “...พญาหลวงจ่าแสนบดี ศรีรัษฎามาตย์ เปนพระราชนายกเสนี  ตำแหน่งพญาหลวงจ่าแสน  เมืองนครเชียงใหม่  ถือศักดินา ๘๐๐...”  เมื่อวันที่ ๑๑  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๔๔  และเมื่อพระราชนายกเสนีคนเดิมถึงแก่กรรมลงแล้ว  ก็ได้โปรดกล้าฯ เลื่อน “...หลวงศรีพยุหสงคราม เปนพระราชนายกเสนี  ตำแหน่งพญาหลวงจ่าแสน  เมืองนครเชียงใหม่  ถือศักดินา ๘๐๐...”   เมื่อวันที่  ๑๑ มกราคม  พ.ศ. ๒๔๕๑  ส่วนบรรดาศักดิ์หลวงนิคมคามเชษฐสกล  ที่พญาจ่าบ้าน  และหลวงดรุณพลพิทักษ์  ที่พญาเด็กชายนั้น  ไม่พบหลักฐานการพระราชทานสัญญาบัตรแก่พญาจ่าบ้านรัษฎาโยนัคราช (ก้อนแก้ว  อินทวิวัฒน์)  และพญาเด็กชาย (เสือ  วุฒิเดช) แต่อย่างใด  ทั้งไม่พบหลักฐานว่าได้โปรดพระราชทานสัญญาบัตรให้พญาท้าวแสนในล้านนาตนอื่นมีบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางในกรุงเทพฯ อีกด้วย
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 ส.ค. 11, 17:50

นอกจากพญาเค้าสนามสี่ตำแหน่งดังกล่าวแล้ว  ยังพบรายชื่อขุนนางเมืองนครเชียงใหม่ในบัญชีแจกเบี้ยหวัดแก่เจ้านาย พระยา ท้าว แสน ประจำปี รัตนโกสินทร ศก ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒) ดังนี้
พญาทะนันไชย   ผู้รักษาเส้นบาญชีสำมะโนครัวคนชายหญิงทั้งแผ่นดิน
พญาพรหมปัญญา    ผู้รักษาเส้นบาญชีสำมะโนครัวคนชายหญิงทั้งแผ่นดินที่ ๒
พญาสุนทร      ผู้รักษาป้อมคู เขื่อนเหมือง ห้วยน้ำลำคลอง  ถนนหนทาง  แลก่อสร้างซึ่งเปนของสำหรับแผ่นดิน
ท้าวเตชะ      ผู้รักษาเส้นช้าง ม้า ทั้งแผ่นดิน  ที่ ๑
ท้าวเชื่อม      ผู้รักษาเส้นช้าง ม้า ทั้งแผ่นดิน  ที่ ๒
พญาสามล้าน   หัวหน้าในสนามแลสำหรับเรียกท้าวพญามาประชุมปฤกษาราชการ
พญาวังใน      ผู้ถือพระอัยการแลเปนทนายว่าความแผ่นดินและราษฎรหาที่พึ่งมิได้
พญาทนุ      ผู้รับแลลงโทษแก่ผู้ผิด
พญาภาร      เจ้าพนักงานว่าที่ขุนเมืองได้บังคับกองตระเวนรักษาโจรผู้ร้ายที่กระทำเบียดเบียนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
หนานหมุย      เจ้าพนักงานกองตระเวนรักษาด่านชั้นในแลตรวจตราผู้ร้ายทั้งปวง
แสนไชยอาญา   ผู้รักษานักโทษ
นายจันทราชา   ผู้ว่าการหัวเมืองด่าน แลด่านชั้นนอก
เสมียนเทศ      ผู้รักษาใบบอก แลศุภอักษร ท้องตรา อันว่าด้วยการทัพศึกแลแผนที่ทางบ้านเมืองซึ่งเรียกว่าเมืองเจ้ามิตร แลแผนที่ของเมืองปัจจามิตรทั้งปวง
พญาขันแก้ว   ผู้รักษาเส้นบาญชีอาวุธต่างๆ  แลกระสุนดินดำของสำหรับแผ่นดิน แลอาวุธเฉลยศักดิ์ในบ้านเมือง  แลเป็นเจ้าพนักงานซื้อขายอาวุธในเมือง
พญาสุร      ผู้รักษาบาญชีคนล่ำฉกรรจ์ แลคนกล้าแขงในบ้านในเมือง
ท้าวเสมอใจ      ผู้รักษาเส้นบาญชีอาวุธต่างๆ แลกระสุนดินดำของสำหรับแผ่นดิน
หนานศุก      ผู้รักษาเส้นบาญชีอาวุธเข้าออกเมือง  แลอนุญาตให้ราษฎร ซื้อ/ขาย แก่กัน
พญาอินตะโกษา   ผู้เรียกเก็บภาษากรทั้งปวง  ให้เสร็จเรียบร้อยตามงวด ตามปี
นายจอมจัน      ผู้สำหรับได้รับเงินแต่บันดาที่ได้ส่งเข้ามาลงบาญชี  แลทำฎีกาใบเสร็จให้แก่ผู้ที่นำเงินมาส่ง
นายคง      ผู้จ่ายเงินใช้สอยราชการตามกำหนดแบบอย่างโดยเสมอ
นายทองศุก      ผู้รวบรวมสอบตรวจบาญชีเงินอันได้ อันจ่าย แลคงในปีนำถวายแลบอกส่งกรุงเทพฯ ทุกๆ ปี
พญาเทพนรา   ผู้ได้ชำระว่ากล่าวคลังหลวงที่จะเกิดวิวาทด้วยการภาษีอากรทั้งปวง
นายหนานจอมคำ   ผู้รักษาของในพระองค์
หนานปัญญา      ผู้รักษาของในพระองค์ ที่ ๒
พญาอินต์นุรักษา   ผู้ว่ากล่าวคดีความในคุ้ม
น้อยดี      ผู้ถือเส้นเจ้านายเชื้อวงษ์ราชตระกูล  แลเส้นคนต่างเมือง  นอกจากคนในบังคับที่มีหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี
แสนสุพรรณเลิศ   ผู้รักษาบาญชีฎีกา แลเบิกจ่ายเสบียงเลี้ยงแขกเมืองมา
พญาไชยวุฒิ   ผู้รักษาบาญชีฎีกา แลเบิกจ่ายเสบียงเลี้ยงแขกเมืองมา  ที่ ๒
พญาไชยวัง      ผู้จัดการพระราชพิธี  แลรักษาเครื่องบริโภคทั้งปวง 
แม่นางกัลยารักษ์   ผู้ว่าการข้างในเบ็จเสร็จ
ท้าวไชยวุฒิ      ผู้รักษาเส้นบาญชีโค กระบือ
น้อยสิทธิ      เจ้าพนักงานจ่ายเสบียงอาหาร”
อนึ่ง ในบัญชีแจกเบี้ยหวัดแก่เจ้านาย พญา ท้าว แสน ประจำปี รัตนโกสินทร ศก ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖)  ยังได้พบนามพญา แสน ท้าว ในตำแหน่งต่างๆ เพิ่มเติม ดังนี้
พญาแสนหลวงรัศดามาต   ผู้รับคำสั่งเสนามหาดไทย
พญาธรรมริพโนดม   ผู้ว่าการแคว้นแขวงแก่บ้านทั้งปวงฝ่ายหัวเมืองชั้นใน ชั้นนอก
พญาสิทธิ      ผู้รักษาห้วยน้ำลำคลองป้อมคูเขื่อนเมืองถนนหนทาง  ที่ ๑
แสนอุตมะ      ผู้รักษาห้วยน้ำลำคลองป้อมคูเขื่อนเมืองถนนหนทาง  ที่ ๒
แสนอุ่นเมือง   ผู้ว่ากล่าวพระภิกขุสามเณร
พญาเทพมงคล   ผู้รักษาเส้นช้างม้าทั้งแผ่นดิน  ที่ ๑
ท้าวเขื่อนคำ      ผู้รักษาเส้นช้างม้าทั้งแผ่นดิน  ที่ ๒
แสนราชโยธา   พนักงานสำหรับเรียกเจ้านายมาประชุม
พญาประเสริฐอักษร   ผู้รับหนังสือแลปฤกษาราชการซึ่งข้าหลวงจะขอทำที่ชอบด้วยราชการ
เจ้าน้อยตุ้ย      ผู้ว่าการหัวเมืองด่านชั้นนอก
พญาขันแก้ว   ผู้รักษาบาญชีคนล่ำฉกัน
พญาอินทยศ   ผู้ว่าการหัวเมืองน่าด่านชั้นนอก
พญาจัก      ผู้รักษาบาญชีคนล่ำฉกันที่ ๒
ท้าวเทพอักษร   ผู้รักษาใบบอกศุภอักษร
ท้าวเสมอใจ      ผู้รักษาเส้นอาวุธ
หนานสุก      ผู้รักษาเส้นอาวุธกระสุนดินดำ
เจ้าหนานก้อนแก้ว   พนักงารตำดินดำที่ ๑
นายอินทจัก      พนักงารตำดินดำที่ ๑
คำอ้าย      พนักงารตำดินดำ
พญาวังใน      ผู้ถือพอัยการแลเปนทนายว่าความแผ่นดินแลราษฎรหาที่พึ่งมิได้
พญาทนุ      เปนผู้ปรับแลลงโทษแก่ผู้ผิด
พญาเด็กชาย   ตุลาการที่ ๑
ท้าวมุนินทเสน   ตุลาการที่ ๒
พญาพรม      พนักงานขุนเมืองได้บังคับกองตระเวรรักษาโจรผู้ร้ายที่กระทำเบียดเบียนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน  ต้องคิดจับโจรผู้ร้ายมากระทำโทษ   
ท้าวอินทยศ      พนักงานโปลิศระวังรักษาโจรผู้ร้าย ที่ ๑
แสนนาชะ      พนักงานโปลิศระวังรักษาโจรผู้ร้าย ที่ ๒
นายหนานสิง   พนักงานโปลิศระวังรักษาโจรผู้ร้าย ที่ ๒
ท้าวคำมงคล   พนักงานกองตระเวรรักษาด่านชั้นในและตรวจโจรผู้ร้ายทั้งปวง
แสนไชยอาษา   นายคอก
เจ้าหนานจอมคำ   รักษาของพระองค์ที่ ๑
พญานะรินราชเสนา   รักษาของพระองค์ที่ ๒
พญาสามล้าน   รักษาบาญชีคนต่างเมืองนอกจากคนมหามิศ  และรับคำสั่งพระเจ้านครเชียงใหม่แต่งหนังสือโต้ตอบไปมา
พญาสิทธิมงคล   ถือเส้นช้างม้าในคุ้ม
ท้าวไชยมงคล   ถือเส้นเจ้านายเชื้อวงษตระกูล
แสนสาบรรณเลิศ   เปนผู้รับจ่ายเสบียงอาหารเลี้ยงแขกในเมืองนอกเมือง
พญาไชยวุฒิมงคล   เปนผู้รับจ่ายเสบียงอาหารเลี้ยงแขกในเมืองนอกเมือง ที่ ๒
พญาไชยวัง      ผู้จัดการพระราชพิธีแลเครื่องปริโภกทั้งปวง
พญาพิทักษเทวี
น้อยหล้า      เสมียนข้างใน
แสนตำวัง      จัดการในคุ้ม
พญาจ่าบ้านบุราวาศ   พญารองกรมคลัง
นายน้อยเมืองชื่น   พนักงานกองบาญชีกลาง
พญาพิบูลย์สมบัติบดี   พนักงานกองงบประมาณ
หนานดวงคำ   พนักงานจ่ายเงิน
เจ้าจอมจัน      พนักงานรับเงิน
นายเก๊า      พนักงานค่าตอไม้
นายเกิด      ผู้รักษาบาญชีค่าตอไม้
พญาเทพนรา   พนักงานกองคดี  กรมคลัง
หนานจู      ตุลาการรอง
หนานโอฐ      พนักงานเก็บเงิน
นายน้อยคำตัน   ผู้ว่าการพญารองกรมนา
นายจิตร      เสมียนพนักงานบาญชี
หนานคำ      เสมียนพนักงานบาญชี
พญาเทพวะนิษร   พนักงานรักษาป่าไม้ผู้ใหญ่สำหรับเมือง  และถือเส้นไร่นากระบือทั้งปวง ที่ ๑
พญาจรพนมเขตร    พนักงานรักษาป่าไม้ผู้ใหญ่สำหรับเมือง  และถือเส้นไร่นากระบือทั้งปวง ที่ ๒
ท้าวไชยวุฒิ      พนักงานออกใบอนุญาตที่ดินให้ราษฎรทำไร่นาแหละอนุญาตเก็บของในป่า
พญาพิภากบดีกิจ   พนักงานสารภากรทั้งปวงแลทำการตามแบบอย่างในการน้ำฝนต้นเข้า
พญาทัณญะโกช   พนักงานรักษาเสบียงเมืองและซื้อจ่ายกะเกณฑ์ผ่อนผันเสบียงอาหารทั้งเวลาที่มีศึกหรือบ้านเมืองเรียบร้อย
ท้าวโพชนสาลี   พนักงานรักษาเสบียงเมืองและซื้อจ่ายกะเกณฑ์ผ่อนผันเสบียงอาหารทั้งเวลาที่มีศึกหรือบ้านเมืองเรียบร้อย ที่ ๒
นายหนานธิ      ตุลาการ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง