เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 49990 อาณาจักรริวกิว
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 07 ส.ค. 11, 19:08

อย่างที่คุณวันดีว่า ปลาหวานชั้นดีต้องทำมาจากปลาริวกิว



นำมาแล่เป็นแผ่นแล้วเชื่อมน้ำตาลตากแดดให้แห้ง เนื้อปลาหวานที่ได้จากปลาริวกิวจะมีลักษณะขรุขระไม่เป็นแผ่นเรียบ แผ่นปลาค่อนข้างหนาและมีความโปร่งแสงน้อย มีความมันเยิ้มของน้ำตาล



แต่เนื่องจากปลาริวกิวหายาก ไม่พอกับความต้องการของตลาด จึงมีการนำปลาชนิดอื่น ๆ มาทำเป็นปลาหวาน ได้แก่ ปลาฉลามและปลากระเบน เนื้อปลาที่ได้มีผิวค่อนข้างเรียบ แผ่นปลาค่อนข้างบางและโปร่งแสงมากกว่า ความมันเยิ้มของน้ำตาลจะมีน้อย มีกลิ่นคาวจัด

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 07 ส.ค. 11, 22:26

เป็นจริงกระมังครับ ที่ปลาริวกิวในปัจจุบันนี้หายาก ดูแต่ไข่ปลาริวกิวที่เคยมีอยู่ในตลาดสด เป็นพวงใหญ่ลูกเขื่องๆขนาดประมาณเม็ดบัว ที่เขาเอามาต้มกะทิกินกันยังหายไปเลย ไม่เห็นมานานมากๆแล้ว

ขอวกกลับไปเรื่องเกาะริวกิวอีกสักหน่อย
เรื่องราวประวัติก็คงได้ทราบละเอียดแล้วจากคุณ Siamese นะครับ ก็เป็นเช่นนั้น
 
ผมไปอ่านป้ายข้อมูลในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของโอกินาวา เขาบอกว่าการเดินเรือจากแหลมไทยไปริวกิวนั้น จะเป็นช่วงที่กระแสลมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เรือแล่นไปถึงริวกิวได้สะดวก และขากลับจะเป็นช่วงเวลาของลมตะวันออกเฉียงเหนือ เรือก็จะแล่นจากริวกิวเข้าฝั่ง แล้วก็แล่นเลาะชายฝั่งกลับมายังแหลมไืทย หรือจะไปฟิลิปปินส์ก็แล้วแต่
เคยอ่านเจอด้วยว่ามีเอกสารในสมัยราชวงค์หมิง บอกว่ามีรายงานจากเจ้าเมืองชายทะเลของจีนว่า มีเรือจากไทยไปแตกในพื้นที่ของเขา เขาช่วยซ่อมแซมให้ ใช้เวลาประมาณ 2 ปี แล้วก็ให้น้ำและอาหารเพื่อเดินทางต่อไปยังริวกิว แสดงว่าไทยมีกองเรือพอสมควร
แล้วก็ทราบจากคนโอกินาวาว่า ริวกิวนี้เป็นที่เพาะเลี้ยงม้าเพื่อส่งให้กับจีน นอกเหนือจากการเป็นแหล่งโกดังของจากบริเวณแหลมไทยเพื่อส่งต่อให้จีน
และจำได้ว่า อ่านเจอว่าริวกิวส่งเรือมาอยุธยาถึงประมาณ 60 ลำ และไปที่ท่าปัตตานีประมาณ 10 ลำ

ด้วยความสนุกและขาดซึ่งพื้นฐานที่ดีด้านประวัติศาสตร์ ผมเลยมีความคะนองเอาข้อมูลเหล่านี้มาคลุกกันแล้วเดาภาพเหตุการประวัติศาสตร์ในยุคนั้นว่า
เมื่อไทยอยุธยาเริ่มผนวกสุโขทัยนั้น เป็นช่วงต้นของราชวงค์หมิงซึ่งอิทธิพลของราชวงค์หยวน (มองโกล) เพิ่งหมดไป มองโกลเข้าพม่าเมื่อยุคสุโขทัย ดังนั้นเมื่ออยุธยาเข้าควบสุโขทัยเลยต้องส่งเจ้านายคนหนึ่งไปเมืองจีนเพื่อบอกกล่าวว่าเปลี่ยนแล้วนะ ไม่ใช่ใครอื่นไกลก็คนไทยกันเองนี้แหละ จากนั้นก็อีกประมาณ 20 ปีเราก็ส่งคนไปจีนอีกเพื่อเริ่มการค้าขายกับจีนอย่างป็นทางการ จีนก็ส่งกองเรือมาเยี่ยมเยียนอยุธยาหลังจากนั้นอีกประมาณ 10 ปี แล้วการค้านั้นก็เิกิดขึ้นเป็นกิจลักษณะในอีกประมาณ 10 ปีต่อมาโดยผ่านริวกิว จึงมีเรือริวกิวมาถึงอยุธยาถึงประมาณ 60 ลำ เรือไทยไปกี่ลำผมจำไม่ได้ ในช่วงระหว่างนี้เองปอร์ตุเกตก็สามารถเดินทางมาถึงแหลมไทยได้ แล้วก็คงด้วยความที่เห็นว่าทำใมใครๆก็ติดต่ออยุธยา จึงเดินเรือตามเข้ามายังอยุธยา แล้วก็ตามต่อเรื่อยไปจนถึงญี่ปุ่น เริ่มติดต่การค้ากับญี่ปุ่นด้วย แต่ญี่ปุ่นระวังมาก จึงให้มีสถานีการค้าอยู่บนเกาะนอกชายฝั่งนางาซากิ แล้วก็เป็นเช่นนั้นมานาน เมืองใต้สุดของเกาะกิวชิวของญี่ปุ่นจึงเป็นจุดเริ่มของการต่อเรือสมัยใหม่และการเริ่มอุตสาหกรรมแบบตะวันตกของญี่ปุ่น และยังมีหลักฐานปูมการเดินเรือของญี่ปุ่นที่เป็นทางการสำหรับการเดินเรือระหว่างญี่ปุ่นกับไทย (ใบอนุญาตหรือใบรับรอง) ผมไม่เคยเห็นหนังสือตัวจริง ถึงเห็นก็คงอ่านไม่ออก แต่เจ้าหน้าที่ราชการของญี่ปุ่นของเมืองนี้ได้ไปค้นคว้ามาแล้วบอกผม 

พัฒนาการของความสัมพันธ์คงมีมาอย่างดี ญี่ปุ่นจึงได้ส่งทูต ?? มาประจำอยู่อยุธยาครั้งละ 2 คน คาบระระเวลาครั้งละ 10 ปี ตังแต่ ค.ศ. 1600 หากจำไม่ผิด พอหมดชุดที่สามเริ่มชุดที่สี่ ญี่ปุ่นก็เริ่มคิดปิดประเทศ และส่งทูตสองคนสุดท้ายที่มีชื่อเป็นปอร์ตุเกต ไม่ทราบว่ากลับไปหรืออยู่อยุธยาเมื่อญี่ปุ่นปิดประเทศแล้ว แต่ขนมทองหยิบฝอยทองก็เข้ามาช่วงนี้ โดยการสอนของภรรยาชาวญี่ปุ่นของคนปอร์ตุเกต ออกญาเสนาภิมุขก็เดินทางเข้ามาอยุธยาในช่วงนี้ เคยไปศาลเจ้าของออกญาฯมนญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นเขายังเอาแผ่นไม้ที่เขียนข่าวของออกญาฯเพื่อส่งกลับบ้านมาให้ดู ไม่ทราบว่าของแท้หรือเปล่า แต่ทำให้เห็นภาพได้ว่าการส่งข่าวนั้น นอกจากจะเป็นคำพูดฝากแล้ว เป็นกระดาษแล้ว ยังเป็นแผ่นไม้อีกด้วย

ประเด็นน่าสนใจของผมมี 4 เรื่อง
แรก คือ อะไรทำให้อยุธยายิ่งใหญ่ได้ขนาดนั้น กลายเป็นจุด East meet West สามารถมีกองกำลังทหารอาสาต่างด้าวได้
สอง คือ สังคโลกไทยต้องเป็นที่นิยมจริงๆ อันนี้แน่นอน รู้กันอยู่ แต่คงไม่ใช่สำหรับการใช้ของคนชั้นล่าง ต้องเป็นของคนชั้นสูงในจีน มิฉะนั้นมันคงไม่มีเรือมาถึง 60 ลำ และคงจะต้องมีของตกหล่นคงเหลืออยู่ในโอกินาวาค่อนข้างมาก เท่าที่ทราบและเห็นกับตามีอยู่ชิ้นหนึ่งที่สมบูรณ์ อยู่ที่สมาคมผู้ประกอบการเหล้าอาวาโมริ และที่ไม่เคยเห็นแต่ทราบว่าพบอยู่ในเกาะกิวชิว 6 หรือ 7 ชิ้น ญี่ปุ่นเองก็มีแหล่งผลิตเครื้่องปั้นดินเผาชั้นยอดอยู่ จำได้ว่า 7 แห่ง ผมเคยไป 2 แห่ง คือที่ Sato ใกล้เมืองโอซากา และที่ Mashiko ใกล้เมืองนิโก้ที่คนไทยชอบไปเที่ยวกัน แล้วก็มี Collection จากเมืองในแถบนางาซากิ โดยเฉพาะที่นางาซากินี้ ก็ส่งออกไปจีนตลอดมาช้านาน นอกจากนั้นแล้ว แม้ว่าจะมีเตาเผาโบราณมากมายตลอกชายฝั่งเวียดนาม และในฟิลิปินส์ เครื่องเผาเหล่านี้ก็ไม่โด่งดังเช่นของไทย น่าจะแสดงว่าสังคโลกไทยนั้นสุดยอดจริงๆ   
สาม คือ เรือ 60  ลำที่มาและบรรทุกสินค้านั้น มีหนังกวาง ซึ่งเคยอ่านพบว่าหนังกวางไทยนั้นใช้ทำเกราะได้ดีมาก เป็นที่ต้องการของจีนและญี่ปุ่น ก็แสดงว่าป่าของไทยในภาคกลางต้องเป็นป่าละเมาะจึงมีสัตว์ประเภทนี้มาก และมากๆกว่าที่อื่นๆ
เรื่องที่สี่ คือ เรื่องวัฒนธรรมและการกินที่เผยแพร่สู่ญี่ปุ่น และเรื่องที่ห้า คือ นัยที่แ้ท้จริงของบริบทที่เราเรียกว่าส่วยและบรรณาการ (พอดีดึกมากแล้วและผมจะหายไปต่างจังหวัดประมาณหนึ่งอาทิตย์ครับ)

ที่จริงแล้ว ผมเห็นว่าเครื่องปั้นดินเผาน่าจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่อาจจะแยกเป็นกระทู้นำมาสนทนากันครับ     
   
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 07 ส.ค. 11, 22:52

ในยุคนั้นว่า


ประเด็นน่าสนใจของผมมี 4 เรื่อง
แรก คือ อะไรทำให้อยุธยายิ่งใหญ่ได้ขนาดนั้น กลายเป็นจุด East meet West สามารถมีกองกำลังทหารอาสาต่างด้าวได้

    
   

เป็นไปได้ว่า กรุงศรีอยุธยานั้นเป็นดินแดนในฝัน และดินแดนแห่งนักแสวงโชค ดินแดนนี้เป็นเหมือน Hub ทางการค้า เป็นดินแดนที่แลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน จากจีนสามารถขนถ่ายเครื่องเทศ ผ้าไหม และหาซื้อ ส่งผ่านสินค้าไปยังพ่อค้าอาหรับ และพ่อค้ายุโรป

และสิ่งที่ทำให้พ่อค้าสนใจคือ ของถูกและสามารถหากำไรได้ถึง ๒๐ เท่าได้ แบบนี้ใคร ๆ ก็ต้องมา
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 07 ส.ค. 11, 22:56


ประเด็นน่าสนใจของผมมี 4 เรื่อง

สอง คือ สังคโลกไทยต้องเป็นที่นิยมจริงๆ อันนี้แน่นอน รู้กันอยู่ แต่คงไม่ใช่สำหรับการใช้ของคนชั้นล่าง ต้องเป็นของคนชั้นสูงในจีน มิฉะนั้นมันคงไม่มีเรือมาถึง 60 ลำ และคงจะต้องมีของตกหล่นคงเหลืออยู่ในโอกินาวาค่อนข้างมาก เท่าที่ทราบและเห็นกับตามีอยู่ชิ้นหนึ่งที่สมบูรณ์ อยู่ที่สมาคมผู้ประกอบการเหล้าอาวาโมริ และที่ไม่เคยเห็นแต่ทราบว่าพบอยู่ในเกาะกิวชิว 6 หรือ 7 ชิ้น ญี่ปุ่นเองก็มีแหล่งผลิตเครื้่องปั้นดินเผาชั้นยอดอยู่ จำได้ว่า 7 แห่ง ผมเคยไป 2 แห่ง คือที่ Sato ใกล้เมืองโอซากา และที่ Mashiko ใกล้เมืองนิโก้ที่คนไทยชอบไปเที่ยวกัน แล้วก็มี Collection จากเมืองในแถบนางาซากิ โดยเฉพาะที่นางาซากินี้ ก็ส่งออกไปจีนตลอดมาช้านาน นอกจากนั้นแล้ว แม้ว่าจะมีเตาเผาโบราณมากมายตลอกชายฝั่งเวียดนาม และในฟิลิปินส์ เครื่องเผาเหล่านี้ก็ไม่โด่งดังเช่นของไทย น่าจะแสดงว่าสังคโลกไทยนั้นสุดยอดจริงๆ   

   
   

เป็นไปได้ไหมว่า การผลิตเครื่องสังคโลกที่ดินแดนสุวรรณภูมินี้ ทำได้คุณภาพดีระดับหนึ่ง เป็นรองเรื่องสีสันและความงาม เจาะตลาดได้ง่ายกว่า อาจจะมีราคาถูกกว่าเครื่องถ้วยจีน ทำให้ได้รับความนิยม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 07 ส.ค. 11, 23:04

เป็นจริงกระมังครับ ที่ปลาริวกิวในปัจจุบันนี้หายาก ดูแต่ไข่ปลาริวกิวที่เคยมีอยู่ในตลาดสด เป็นพวงใหญ่ลูกเขื่องๆขนาดประมาณเม็ดบัว ที่เขาเอามาต้มกะทิกินกันยังหายไปเลย ไม่เห็นมานานมากๆแล้ว 

ไข่ปลาริวกิว ค่ะ บางคนเรียกว่า ไข่ปลาเรียวเซียว...
แกงส้มใส่หน่อไม้ดอง ...อร่อยมาก



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 08 ส.ค. 11, 08:46

ในยุคนั้นว่า
ประเด็นน่าสนใจของผมมี 4 เรื่อง
แรก คือ อะไรทำให้อยุธยายิ่งใหญ่ได้ขนาดนั้น กลายเป็นจุด East meet West สามารถมีกองกำลังทหารอาสาต่างด้าวได้
 

เป็นไปได้ว่า กรุงศรีอยุธยานั้นเป็นดินแดนในฝัน และดินแดนแห่งนักแสวงโชค ดินแดนนี้เป็นเหมือน Hub ทางการค้า เป็นดินแดนที่แลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน จากจีนสามารถขนถ่ายเครื่องเทศ ผ้าไหม และหาซื้อ ส่งผ่านสินค้าไปยังพ่อค้าอาหรับ และพ่อค้ายุโรป

และสิ่งที่ทำให้พ่อค้าสนใจคือ ของถูกและสามารถหากำไรได้ถึง ๒๐ เท่าได้ แบบนี้ใคร ๆ ก็ต้องมา

เห็นด้วยกับคุณหนุ่มสยาม   และคิดว่าคงจะมีเหตุผลข้ออื่นๆอีกด้วย   
ในกระทู้โปรตุเกสเข้าเมือง   เมื่อโปรตุเกสรวบมะละกาไว้ในอำนาจแล้ว ก็ค้นพบอาณาจักรศรีอยุธยาเป็นผลพลอยได้ ที่จะทำความรู้จักมักคุ้น ติดต่อค้าขายด้วย
เหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่เสริมให้อยุธยายิ่งใหญ่   คือนโยบายเปิดประเทศค้าขายของพระเจ้าแผ่นดินอยุธยา    และที่สำคัญคือไม่รังเกียจคนต่างถิ่นต่างศาสนา  ตรงกันข้ามกับอีกหลายๆประเทศ ที่เห็นเรื่องนี้เป็นเรื่องเอาเป็นเอาตายกัน   นำไปสู่สงคราม และพ่ายแพ้ถูกยึดครองโดยเจ้าอาณานิคมในที่สุด   

แม้ว่าอยุธยาเปลี่ยนราชวงศ์กันค่อนข้างถี่   แต่นโยบายการค้าขายและการต่างประเทศไม่เปลี่ยน     ข้อนี้นำกำไรมาสู่ท้องพระคลังกันมาก   ดิฉันไม่มีตัวเลข ว่าสินค้าอิมพอร์ตกับเอกซพอร์ตของอยุธยาอย่างไหนมากกว่ากัน แต่ความมั่งคั่งของอยุธยาก็ทำให้คิดว่า น่าจะส่งออกมากกว่า   ประกอบกับพระคลังสินค้าดำเนินการค้าแบบผูกขาด ไม่ใช่การค้าเสรี   เงินก็ไหลเข้าท้องพระคลัง ไม่ใช่ไปเข้ากระเป๋าราษฎรเอกชน

คนที่น่าจะให้คำตอบได้ดีกว่าดิฉันคือท่าน Navarat.C  ถ้าท่านแวะเข้ามา คุณ Naitang อาจจะได้คำตอบชัดเจนกว่านี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
ธีร์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 54



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 08 ส.ค. 11, 14:20

แกงส้มไข่ ปลาเรียวเซียวหรือปลาริวกิว ปัจจุบันราคาไข่จริงๆกิโลกรัมละ  400 - 500 บาท ทั้งยังไม่มีเพียงพอต่อความต้องการของร้านอาหารทั่วไป ทำให้เกิดการใช้ไข่ปลาที่คล้ายกันและแทนกันได้คือ ไข่ปลากดครับ ที่ท่านๆ

ทานกันตามร้านอาหารทั่วๆไปในปัจจุับันร้อยทั้งร้อยเป็นไข่ปลากดครับ เพราะราคาถูกกว่ากันมาก กิโลกรัมอย่างมากก็ 100 บาทแถมได้เยอะอีกด้วย

ข้อแตกต่างของไข่ปลาทั้ง 2 ชนิดคือ ขนาดของไข่ปลาครับ ไข่ปลากดจะเม็ดเล็ก ส่วนไข่ปลาเรียวเซียวแท้ๆ จะเม็ดใหญ่มากบ้างร้านต้มแล้วจะแข็งเป็นไตๆข้างใน ส่วนที่อร่อยสุดของปลาชนิดนี้ไม่ใช่เนื้อปลาแต่ คือ หัวปลา

เหงือกปลา พุงปลา และตับปลาครับ ค่อนข้างจะแพงและหายาก

ส่วนปลาฉลามนิยมนำมาผัดขิงไม่นิยมทำอย่างอื่นเพราะเนื้อคาวจัดมาก
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 08 ส.ค. 11, 14:54

เป็นจริงกระมังครับ ที่ปลาริวกิวในปัจจุบันนี้หายาก ดูแต่ไข่ปลาริวกิวที่เคยมีอยู่ในตลาดสด เป็นพวงใหญ่ลูกเขื่องๆขนาดประมาณเม็ดบัว ที่เขาเอามาต้มกะทิกินกันยังหายไปเลย ไม่เห็นมานานมากๆแล้ว 

ไข่ปลาริวกิว ค่ะ บางคนเรียกว่า ไข่ปลาเรียวเซียว...
แกงส้มใส่หน่อไม้ดอง ...อร่อยมาก

ใช้หน่อไม้ดองสู้ใช้ยอดมะพร้าวไม่ได้หรอกครับ รสชาติห่างกันลิบลับ ... เหมือนยอดกับโคนนั่นแหละ

ถ้าได้ไหลบัวมาใส่ลงไปด้วยหละก็ .... ไม่บอก ... คุณ   ยิ้มกว้างๆ   ยิ้มกว้างๆ  ไปเข้าครัวแล้วลงมือทำ ... เอา ซาซิมิ มาแลกก็ไม่ยอม
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 13 ส.ค. 11, 17:18



พัฒนาการของความสัมพันธ์คงมีมาอย่างดี ญี่ปุ่นจึงได้ส่งทูต ?? มาประจำอยู่อยุธยาครั้งละ 2 คน คาบระระเวลาครั้งละ 10 ปี ตังแต่ ค.ศ. 1600 หากจำไม่ผิด พอหมดชุดที่สามเริ่มชุดที่สี่ ญี่ปุ่นก็เริ่มคิดปิดประเทศ และส่งทูตสองคนสุดท้ายที่มีชื่อเป็นปอร์ตุเกต ไม่ทราบว่ากลับไปหรืออยู่อยุธยาเมื่อญี่ปุ่นปิดประเทศแล้ว แต่ขนมทองหยิบฝอยทองก็เข้ามาช่วงนี้ โดยการสอนของภรรยาชาวญี่ปุ่นของคนปอร์ตุเกต ออกญาเสนาภิมุขก็เดินทางเข้ามาอยุธยาในช่วงนี้ เคยไปศาลเจ้าของออกญาฯมนญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นเขายังเอาแผ่นไม้ที่เขียนข่าวของออกญาฯเพื่อส่งกลับบ้านมาให้ดู ไม่ทราบว่าของแท้หรือเปล่า แต่ทำให้เห็นภาพได้ว่าการส่งข่าวนั้น นอกจากจะเป็นคำพูดฝากแล้ว เป็นกระดาษแล้ว ยังเป็นแผ่นไม้อีกด้วย


ทูตญี่ปุ่นที่ว่า หมายถึง หัวหน้าหมู่บ้านญี่ปุ่นหรือเปล่าครับ ?

ส่วนขนมฝอยทอง นั่นมาจาก มาเรีย เดอ กีมา หรือคนไทยเรียก ท้าวทองกีบม้า ถ้าจะตรงจริง ๆ ก็ต้องสม้ยพระเพทราชาไปแล้วนะครับ อีกอย่าง มาเรีย เดอ กีมา เป็นพวกเข้ารีต(บิดาเป็นโปรตุเกส มารดาเป็นญี่ปุ่นเข้ารีต) และเป็นภรรยาของออกญาวิไชยเยนทร์(คอนสแตนติน ฟอลคอน) ซึ่งเป็นคนเชื้อสายกรีก ไม่ใช่โปรตุเกสโดยตรงนะครับ  ซึ่งไม่สามารถอยู่ในญี่ปุ่นต่อไปได้ เพราะพวกเข้ารีตไปก่อกบฏแบ่งแยกดินแดนชิมะบะระ ( Shimabara Rebellion ) ทำให้ รัฐบาลโตกึงาวะ ต้องส่งทหารมาปราบอย่างหนัก ส่งผลต่อพวกที่เข้ารีตเป็นโรมันคาธอลิกโดยตรง เพราะรัฐบาลโตกึงาวะเชื่อว่า สเปน และ โปรตุเกส หนุนหลังพวกกบฏแบ่งแยกดินแดนพวกนี้ครับ  แต่ไม่ได้มีผลอะไรกับฮอลันดา เพราะนับถือโปรแตสเตนท์
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 13 ส.ค. 11, 17:33


สาม คือ เรือ 60  ลำที่มาและบรรทุกสินค้านั้น มีหนังกวาง ซึ่งเคยอ่านพบว่าหนังกวางไทยนั้นใช้ทำเกราะได้ดีมาก เป็นที่ต้องการของจีนและญี่ปุ่น ก็แสดงว่าป่าของไทยในภาคกลางต้องเป็นป่าละเมาะจึงมีสัตว์ประเภทนี้มาก และมากๆกว่าที่อื่นๆ
   

ผมว่าน่าจะเป็นป่าดิบมากกว่านะครับ ถ้าเป็นป่าละเมาะ โอกาสที่สัตว์อย่างกวางจะอาศัยเป็นไปได้ยาก เพราะอุปนิสัยของมันค่อนข้างจะตื่นกลัวง่าย ป่าละเมาะข้างทางที่ค่อนข้างจะโล่ง ไม่น่าจะเป็นที่อยู่ของมันได้ครับ หลักฐานที่น่าจะพอเชื่อได้ ก็อย่างเช่น สมัย ร.๔ แค่เดินออกมาจากพระบรมมหาราชวัง เดินมาถึงบริเวณตึกดิน(ปัจจุบันคือ บริเวณแม่พระธรณีบีบมวยผม ข้าง ๆ ศาล) ตรงนั้นยังมีเสือปลาอยู่เลยครับ

และโดยปกติ ทางรัฐก็จะมีหน่วยงานที่เอาไว้สำหรับจัดหาของป่ามาขายอยู่แล้ว โดยผู้ที่รัฐมอบความรับผิดชอบให้ ก็จะได้สิทธิพิเศษพอสมควร เช่น ไม่ต้องไปออกรบเวลามีศึกสงคราม(ตราภูมิคุ้มห้าม) เป็นต้น
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 10:27

อ้างจาก ความเห็นที่ 23

ผมได้ไปค้นดูโน๊ตเก่าๆที่ผมเคยจดไว้เมื่ออ่านพบข้อมูลที่ตนเองสนใจติดตาม จำไม่ได้ว่าจากแหล่งใดบ้าง เลยต้องขอแก้ไขดังนี้ครับ
ที่ผมว่าเป็นทูต?? นั้น ก็คือไม่แน่ใจว่าจะเรียกว่าอะไรดี และที่เขียนว่าครั้งละ 2 คน นั้น แท้จริงแล้วมี 1 คนบ้าง 2 คนบ้างดังนี้
ระหว่างปี ค.ศ.1600 -1610 ชื่อ นาย Sumiiro (ออกพระสุมิโร ฮืม), ค.ศ.1610 - 1617 ชื่อ นาย Kyoamon Shiori, ค.ศ.1617 -1630 ชื่อ นาย Nagamasa Yamada (ออกญาเสนาภิมุข), ค.ศ.1633 - 1640 ชื่อ นาย Taemon Itoya และนาย Kunisuke Hiramatsu, และชุดสุดท้ายก่อนเสียกรุง ค.ศ.1640 - ฮืม ชื่อ นาย Al Simaon Kimura และนาย Senamon Antony ก็อาจเป็นลักษณะตัวแทนของฝ่ายรัฐของญี่ปุ่น หรือหัวหน้าสถานีการค้า หรือหัวหน้าหมู่บ้านชาวญี่ปุ่นที่มาทำธุรกิจก็ไม่ทราบได้ เพียงแต่ผมคิดว่าน่าจะเป็นผู้แทนที่ค่อนข้างเป็นทางการ จึงมีการสับเปลี่ยนตามวาระ
ไม่ทราบว่าข้อมูลที่ผมจดไว้นี้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดครับ

สำหรับกรณีท้าวทองกีบม้านั้น ขอบพระคุณมากที่ทำให้ผมทราบรายละเอียดมากขึ้นครับ

   
     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 10:55


ประวัติท้าวทองกีบม้า Maria_Guyomar_de_Pinha
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 11:25

กรณีที่ผมเห็นว่าเป็นป่าละเมาะนั้น
จากประสบการณ์ทำงานของผม สัตว์ที่มีเขาโดยเฉพาะกวาง เก้ง กระทิง วัวแดง ละมั่ง ละองนั้น เกือบจะไม่พบในดงป่าดิบและป่าทึบ เนื่องจากมีต้นไม้ค่อนข้างจะหนาแน่น เมื่อเวลาเดินไปใหนมาใหนเขาของเขาจะระชนกิ่งต้นไม้กิ่งไม้ เขาจะพักหลบนอนอยู่บริเวณชายป่าที่มีต้นไม้ค่อนข้างทึบสักหน่อยเพื่อพรางตัว จะพบมากก็ในป่าใหญ่ที่ต้องมีพื้นที่ในลักษณะเป็นทุ่งรวมอยู่ด้วย เนื่องจากมีหญ้าเป็นอาหาร โดยเฉพาะหญ้าระบัดที่ออกใหม่ๆเมื่อฝนตก สำหรับกวางนั้นดูจะชุกชุมมากเป็นพิเศษในบริเวณที่มีห้วยน้ำไหล เก้งนั้นพบทั่วไป จะมีก็เฉพาะเก้งหม้อที่พบได้ในป่าดงดิบ กระทิง ละมั่ง ละอง มักจะพบในบริเวณที่เป็นทุ่งที่มีหนองน้ำ วัวแดงนั้นพบได้ทั้งในทุ่งในพื้นที่ราบและบนเขาที่มีต้นไม้ค่อนข้างโปร่ง เสือปลานั้นก็เช่นกัน อาจจะหากินลึกเข้าไปในป่าส่วนที่ทึบหน่อย เป็นเสือขนาดตัวไม่ใหญ่กินสัตว์เล็กตามลำห้วยจึงพบได้ทั่วไป
อย่างไรก็ตาม การสื่อความหมายของลักษณะป่าต่างๆ รู้สึกว่าจะไม่ค่อยจะตรงกันสำหรับนักวิชาการป่าไม้ ชาวบ้านคนในพื้นที่ และคนในเมือง ป่าดิบของคนในเมืองจะมีลักษณะเป็นป่าใหญ่ของคนทำงานเกี่ยวกับป่า ป่าดงดิบจะเป็นลักษณะป่าที่เกือบจะไม่มีคนเข้าถึงหรืออยู่อาศัย อันนี้ค่อนข้างจะสื่อตรงกัน ในทางวิชาการมีป่าดิบชื้น ซึ่งมีพวกไม้เถาวัลย์และไม้ที่มีหนามมาก มีต้นไม้หนาแน่นทั้งระดัับยอดไม้ ไม้ระดับกลางและระดับล่าง ส่วนป่าทึบนั้นคือป่าที่มีไม้หนาแน่นเดินลำบาก เป็นได้ทั้งป่าไ้ม้เบ็ญจพันธ์และป่าดิบชื้น ป่าละเมาะอันนี้ค่อนข้างจะสื่อตรงกัน คือป่าโปร่ง มีไม้ใหญ่ไม่หนาแน่น ทางเหนือเรียกป่าแพะ ซึ่งบางทีชาวบ้านก็หมายถึงป่าส่วนที่ค่อนข้างเป็นพื้นราบและมีหญ้าขึ้นหรือไม้พื้นล่างขึ้นอยู่มาก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 13:53

ของไทยที่ถ่ายทอดไปอยู่ในสังคมญี่ปุ่นผ่านริวกิว
นอกจากสินค้าอื่นๆที่ไปสู่จีนและญี่ปุ่นผ่านริวกิวแล้วยังมีเรื่องเหล้าที่ผมพอทราบมา
ชาวเกาะโอกินาวาและญี่ปุ่นยอมรับเป็นเอกฉันท์ว่าเหล้า Awamori ซึ่งเป็นเหล้าชั้นดี มีราคาแพงและค่อนข้างจะหายากบนเกาะญี่ปุ่นนั้น มีต้นกำเนิดมาจากไทย
เท่าที่ผมตามอ่านและประมวลข้อมูล เหล้าโรงของไทยนั้นน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากวิธีการทำเหล้าของจีน เนื่องจากวิธีการทำน้ำเมาพื้นบ้านของไทยแท้ๆนั้น ไม่ผ่านกระบวนการกลั่น เรามีน้ำตาลเมา สาโท กระแช่ อุ ล้วนแต่ไม่มีการกลั่น แต่จีนมีการทำเหล้าที่ผ่านการกลั่นมานานมากแล้ว ที่เรียกว่า จู แล้วก็จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า มีคำในภาษาจีนเรียกเหล้าพื้นบ้านที่ทำมาจากข้าวว่า เลาลอน (เหล้าโรง ?) ไม่ทราบว่าแล้วต่างกันอย่างไร แต่ก็มีข้อสงสัยอยู่ว่าเหล้าโรงของไทยนั้นทำจากข้าวเหนียว ในขณะที่จีนไม่น่าจะมีการปลูกข้าวเหนียว จึงน่าจะเป็นการทำเหล้าจากข้าวเจ้ามากกว่า ดังนั้น จู จึงน่าจะต่างจาก เลาลอน ตรงนี้ ดังนั้นจึงอาจจะพอกล่าวได้ว่า เหล้าโรง(ของไทย)นั้นทำโดยไทยโดยวิธีการกลั่นเหล้าของจีน
ในสมัยที่ไทยติดต่อกับริวกิวนั้น มีการขนเหล้าไปริวกิวด้วย จนชาวริวกิวเอาวิธีการทำของไทยไปผลิตในริวกิว เหล้าที่ขนไปก็ใส่ในใหซึ่งเป็นใหดินเผาเคลือบผิวด้านนอก มีปากคอดเล็ก ผมเคยเห็นทั้งที่มีฝาเป็นเกลียวและที่ใช้จุกอุด ใหชนิดนี้น่าจะพบได้หลายๆแห่งใน กทม.ที่เป็นแหล่งอยู่อาศัยดั้งเดิม ที่เคยเห็นเป็นเศษอยู่หลายใบที่บริเวณด้านหลัง รพ.สงฆ์ เมื่อมีการขุดดินฐานรากเพื่อตึก ใหชนิดนี้มีทั้งแบบที่ไม่มีหู มีหูข้างเดียว และมี 2 หู ก็ไม่ทราบว่าใช้บรรจุของเหลวต่างประเภทกันอย่างไร
กรรมวิธีการผลิตเหล้า Awamori ของโอกินาวาในปัจจุบันต่างจากดั้งเดิมไปพอสมควร มีเพียง 2 สิ่งที่ยังคงเดิมอยู่ คือ ข้าว ยังคงต้องใช้ข้าวจากไทย และกลิ่นที่ยังคงเอกลักษณ์ของเหล้าโรง
เหล้าโรงของไทยเป็นการหมักขั้นตอนเดียวจบ (Single fermentation) ใช้เชื้อหมักจากแป้งข้าวหมาก เรียกว่ามีหลากหลายเชื้อยีส ของ Awamori แต่เดิมก็เป็นแบบเดียวกับไทย ในปัจจุบันเป็นการหมักสองขั้นตอน (Double fermentation) จำไม่ได้แม่นว่าเริ่มเปลี่ยนเมื่อใด แต่รู้สึกว่าเริ่มเป็นแบบสมัยใหม่เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เชื้อยีสที่ใช้มีการเพาะและคัดแยกให้บริสุทธิ์ แต่ละโรงเหล้าก็จะมีการเลือกใช้เชื้อที่ต่างกัน ปัจจุบันนี้มีทั้งหมด 48 โรง และจำกัดจำนวนผู้ผลิตให้อยู่เพียงเท่านี้ ใช้ข้าวจากไทยรวมกันระหว่างปีละ 30,000 - 40,000 ตัน
เหล้าที่ผลิตแล้วจะขายทั้งเหล้าใหม่และเหล่าที่เก็บบ่มแล้ว (คล้ายแนวคิดของเหล้าวิสกี้) เหล้าที่เก็บบ่มยิ่งนานยิ่งมีราคาแพง ที่ทราบมีการเก็บบ่มไว้ถึงระดับ 15 ปี การบ่มมีอยู่ 2 แบบ คือ บ่มในแท้งสแตนเลสขนาดหลายพันลิตร และบ่มในโอ่งหรือใหดินเผา หากกลิ่นยังไม่รุนแรงตามมาตรฐานก็จะเติมกลิ่นลงไปอีก เหล้าโรงไทยอย่าไรก็อย่างนั้นแหละครับ แต่กลิ่นเขาดูจะนุ่มนวลกว่าสักหน่อย
เหล้าที่บรรจุขวดขายมักจะเป็นเหล้าบ่มเก็บ 5  ปี 10 ปี และ 15 ปี และใช้วิธี Blend ให้มีความเป็นเหล้าเก่าเหมือนกับเหล้าวิสกี้ของสก๊อต โดยมีมาตรฐานควบคุมของเขาเอง ผมจำอัตราส่วนการผสมไม่ได้ แต่โดยหลักการก็คือเอาเหล้าที่เก่ากว่า (เป็นส่วนน้อย)มาผสมกับเหล้าที่ใหม่กว่า (เป็นส่วนมาก)
เหล้า Awamori นี้กำลังขยายและเริ่มเป็นที่นิยมของตลาดในยุโรป ปัจจุบันนี้มีญี่ปุ่นมาลงทุนผลิตเหล้าขาวในไทยอยู่ 2 - 3 ราย ส่งกลับไปขายในญี่ปุ่น แต่ไม่เรียกว่า Awamori เป็นเหล้าที่มีกลิ่นเหมือนเหล้าโรงแต่กลิ่นเบาบางกว่ามาก เขานิยมกินกันแบบผสมนำ้ร้อน   
       
 
 
     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 15:15

นึกถึงนิราศภูเขาทอง ของสุนทรภู่ ที่ว่า

ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง
มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา
ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย

ขออนุญาตเดาซึ่งอาจจะผิดว่า เหล้าโรง เป็นเหล้าใช้กรรมวิธีกลั่น  อาจจะมาจากวิธีแบบจีนตามที่คุณ(นาย)ตั้งเล่าไว้  ผลิตกันมากๆเป็นอุตสาหกรรม ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นถึงกับตั้งเป็นโรงผลิตเอาไว้  ไม่ทราบว่าเป็นของหลวงหรือว่าของเอกชน   
เหล้าที่ผลิตจากที่นี่จึงเรียกว่า เหล้าโรง

ส่วนเหล้าพื้นบ้านแบบไทยๆอย่าง อุ สาโท กระแช่ น้ำขาว ใช้วิธีหมักด้วยลูกแป้ง   พวกนี้คงไม่ได้ผลิตเป็นล่ำเป็นสัน อาจจะทำไว้กินกันเองหรือจำหน่ายกันบ้างในหมู่ชาวบ้าน   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.098 วินาที กับ 20 คำสั่ง