ขอถามเพื่อเป็นความรู้ต่อครับ
เมื่อครั้งร่วมคณะไปเจรจาความกับมาเลเซียที่มะลักกา เขาพาไปชมการซ้อมการแสดงแสงสีเสียงที่สนามกิฬา ในปี Visit Malaysia Year เขาเริ่มต้นด้วยเสียงเฮของชาวบ้านว่าเราเป็นอิสระและปลดแอกจากไทยแล้ว จำไม่ได้ว่า ค.ศ.อะไร แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์มาเลเซียที่เป็นเอกราชจากไทย ก็เลยหาอ่าน จำได้ว่า มะลักกาก่อนจะอยู่ในอาณัติของปอร์ตุเกตนั้น เคยขอความคุ้มครองจากเมืองจีน ด้วยเกรงว่าไทยจะพยายามถือครองตลอดไป และจีนก็รับ
ประเด็นก็คือว่า หลังจากนั้นหรือเปล่าที่จีนช่วงราชวงค์หมิง ส่งกองเรือมาเยี่ยมอยุธยา ซึ่งแม้ว่าจะมีพ่อค้าค้าขายอยู่ระหว่างจีนกับมะลักกาอยู่นานแล้วก็ตาม จีนกลับให้ความสนใจอยุธยามากกว่า แน่นอนว่ามีสินค้าที่จีนต้องการอยู่มาก และดูเหมือนว่าจีนจะไม่ปกป้องมะลักกาเสียเลย ปล่อยให้เป็นท่าหรือสถานีขนถ่ายสินค้าเชื่อมโยงระหว่างตะวันตกกับตะวันออกและสินค้าของจีนในความดูและของตะวันตก ผมคิดว่ามันมีนัยสำคัญบางอย่าง คือ จีนคิดอะไรอยู่ตอนนั้น ทั้งๆที่นอกเหนือจากเส้นทางสายไหมทางตะวันตกเฉียงเหนือแล้ว จีนก็ยังใช้เส้นทางทะเลเชื่อมกับไทยให้เป็นประโยชน์ได้อย่างมาก จะว่าจีนช่วยกันมะลักกาก็ไม่น่าจะถูกต้องนัก จะว่าจีนไม่สนที่จะค้าขายกับชาติยุโรปเลยก็

แร่ดีบุกก็น่าจะมีการทำกันในช่วงนั้นแล้วและก็มีมากเสียด้วยในย่านบริเวณนั้น จีนจะไม่ปกป้องเชียวหรือ ทั้งๆที่แม่ทัพเรือของจีน เจิ้งเหอ ก็เป็นคนอิสลาม พื้นที่แถบนั้นทั้งอินโดฯและปัตตานีก็เป็นอิสลาม ที่พอจะนึกออกก็คือ หากอยุธยาไม่ยิ่งใหญ่หรือรวยทรัพยากรธรรมชาติจริงๆ จีนก็คงจะไม่รักษาและแสดงท่าที่สนับสนุนอย่างแข็งขันในลักษณะนี้
อาหารเลี้ยงที่มะลักกายังคงมีความคล้ายกับไทยอยู่มาก จำได้ว่ามีทั้งข้าวมัน (แต่ไม่มีส้มตำ) กินกับถั่วลิสงทอด มีต้มยำกุ้ง มีเครื่องจิ้มที่ทำจากเคยกุ้งฝอย (จูรังหรือจูลงอะไรสักอย่าง) ใส่มะนาว คล้ายน้ำพริกกะปิ แต่ไม่เผ็ดและไม่มีเครื่องปรุงอื่นๆผสมด้วย (กะเทียม พริกสด ฯลฯ)กินกับผัก มีขนมเปียกปูนและขนมคล้ายขนมบ้าบิ่น มีกุ้ง ปู ก็เผาและมีปลาจารเม็ดดำตัวเล็กทอด จิ้มกับซีอิ๊ว+หอมซอย รสชาติไม่ไปใหนเลย อาหารอื่นก็มีที่เรียกว่าอาหารปาดัง ซึ่งเกือบเหมือนของไทยมากที่สุด ที่จำได้คือ มัสมั่นเนื้อ