เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 50021 อาณาจักรริวกิว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


 เมื่อ 05 ส.ค. 11, 19:16

สวัสดีครับทุกท่าน

ผมเป็นสมาชิกใหม่ครับ ไม่ได้เป็นนักประวัติศาสตร์ แต่มีความสนใจและให้ความสนใจค่อนข้างจะมาก เนื่องจากสำหรับผมแล้ว มันเป็นประตูที่ทำให้เข้าใจในจิตใจ ตรรกะความคิด และกระบวนทัศน์ต่างๆของคนและชาติที่ผมต้องทำงานแสวงประโยชน์ให้กับไทย

ได้ย้อนอ่านในหน้าต่างประวัติศาสตร์ของเรือนไทยแล้ว ก็เลยอยากจะให้ข้อมูลในบางเรื่องเท่าที่ได้ค้นคว้าหาอ่านมาจากที่ต่างๆและประสบการณ์ตรง เสียดายตรงที่ผมจำแหล่งของข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้ เนื่องจากไม่เคยคิดว่าจะใช้ในเชิงวิชาการและในการอ้างอิง เป็นแต่เพียงเพื่อให้ตนเองสามารถทำงานได้อย่างที่คิดว่ามีประสิทธิภาพ (โดยมาตรฐานของตนเอง)

เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้และต่อๆไป เป็นเรื่องของประมวลความรู้ที่ผมเห็นภาพและเห็นว่าน่าจะถูกต้อง มีความไม่ถูกต้องประการใดก็แก้ไขและตำหนิติชมได้ตามสะดวกครับ อย่างน้อยก็จะทำให้ผมได้เข้าใจในเรื่องราวที่ถูกต้องจริงๆ

ประเด็นแรก คือ เรื่องของอาณาจักรริวกิว (ซึ่งเราเรียนกันมาตั้งแต่ยังเด็กว่า มีอาณาจักรริวกิวและเคยติดต่อกันในสมัยอยุธยา)
ข้อเท็จจริง คือ ผมมีโอกาสไปเกาะโอกินาวา และด้วยงานจึงทำให้ต้องตระเวณสัมผัสกับสถานที่ คน และเรื่องราวข้อเท็จจริงต่างๆ สรุปได้ว่า อาณาจักรริวกิวนั้น คือ เกาะโอกินาวา ตัวราชวังนั้น ตั้งอยู่ตอนกลางๆของเกาะ ค่อนไปทางทิศเหนือ ไม่ใช่ราชวังขนาดใหญ่โต กินเนื้อที่คงประมาณสัก 50 ไร่ ผมจำชื่อเมืองในปัจจุบันไม่ได้ สถานที่นี้ถูกญี่ปุ่นใช้เป็นฐานบัญชาการในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และถูกทิ้งระเบิดโดยพันธมิตรจนราบ ปัจจุบันนี้ได้มีการฟื้นฟูสร้างขึ้นมาใหม่ ขนาดของอาคารราชวังหลักยังดูจะเล็กกว่าพระราชวังของจีนในเมืองต้องห้าม

ประเด็นที่สอง คือ ความเป็นอาณาจักรริวกิวนั้น เกิดขึ้นได้ด้วยเหตุที่มีคนสามารถรวบรวมชุมชนในเกาะนี้และเกาะใกล้เคียงอื่นๆ แยกการควบคุมออกเป็นสามส่วน ให้มีผุ้ปกครองแต่ละส่วน และสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ในช่วงยุคต้นๆราชวงค์หมิงของจีน ความเป็นอาณาจักรนี้ เกิดและคงอยู่ใด้ด้วยราชวงค์หมิงเกื้อกูลอย่างเต็มที่ เช่น การส่งข้าราชการจีนมาช่วยในการบริหารประมาณ 30 ครอบครัว เป็นต้น และก็ได้เริ่มต้นเสื่อมลงเมื่อสิ้นสุดราชวงค์หมิง

คราวนี้ก็ต้องไปดูสาเหตุการเกิดและการดับของอาณาจักรริวกิว ซึ่งมีสภาพการณ์อยู่หลายเรื่อง
 
เรื่องแรกก็คือ เนื่องจากว่าในสมัยนั้นมีโจรสลัดชาวญี่ปุ่น (ซึ่งมีฐานอยู่บนเกาะโอกินาวาและเกาะใกล้เคียง) และของจีน (ซึ่งมีฐานอยู่ตามแนวชายฝั่งแผ่นดินใหญ่) เป็นจำนวนมากที่คอยปล้นเรือค้าขายสินค้าในย่านทะเลนั้น

เรื่องที่สองก็คือ จักรพรรดิ์ของราชวงค์หมิงนั้น กำลังให้ความสนใจอย่างมากกับการ Breakthrough ในการทำ Ceramics เป็นยุคที่กำลังมีความเห็นและความนิยมที่เปลียนไปจากการใช้ภาชนะ (จาน จอกเหล้า ฯลฯ) ที่เป็นโลหะ (ซึ่งเป็นวัฒนธรรมถ่ายทอดกันมาตั้งแต่ยุคฉินซีฮ่องเต้) ไปเป็นการใช้ Ceramics ที่มีสีเหมือนท้องฟ้ามากที่สุด ซึ่งจักรพรรดิ์ของราชวงค์หมิงคลั่งใคล้มากจนเกิดการแข่งขันในฝีมือการผลิต ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดเตาเผา Ceramics มากมายในจีนยุคนั้น และเป็นยุคสัมฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์ Ceramics ที่นักเล่นของเก่าทั่วโลกนิยมกัน

เรื่องที่สาม คือ แหล่งดินเพื่อการผลิต Ceramics ในเมืองจีนมีจำกัด (เกือบจะจำกัดอยู่ในเฉพาะย่าน Kaolin) และผลิตภัณฑ์เหล่านั้น เกือบทั้งหมดก็ถูกคัดเพื่อเสนอต่อจักรพรรดิ์ ซึ่งคงไม่ต้องอธิบายต่อไปว่าหากโปรดแล้วจะได้รับผลเป็นเช่นใด ? ผลที่ตามมาก็คือ มีความพยายามที่จะหาแหล่งผลิตใหม่ๆนอกเมืองจีน ในขณะที่ก็มีชาวจีนไปตั้งถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ ต้องการได้รับเกียรติเช่นนั้นเช่นก้น ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อิโดนีเซีย จึงกลายเป็นแหล่งผลิต Ceramics และมีประวัติหรือซากโบราณคดีให้ได้พบดังที่ทราบกันอยู่

ฝนตกแล้วครับ ผมจะขอเล่าต่อในวันต่อไปครับ

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 ส.ค. 11, 19:58

ไม่มีความรู้เรื่องอาณาจักรริวกิวเลยค่ะ    ขอนั่งฟังอย่างเดียว
Ming ceramics สีท้องฟ้า  ที่เอ่ยถึง คงจะหมายถึงเครื่องลายครามใช่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 ส.ค. 11, 21:54

ตอบคุณเทาชมพูครับ
ผมคงตอบได้ไม่ชัดเจนครับ 
แต่ที่แน่นอน ก็คือ Ceramics ของยุค Ming นั้น ที่โด่งดังมากๆก็คือ White and Blue หรือเครื่องลายคราม ซึ่งสำหรับในโลกตะวันตกแล้ว มันเป็น early achievement ของการใช้ธาตุพลวงในการให้สีคราม (จนเป็นที่เสน่หาและเกิดการล่าหรือสะสมของ Court ทั่วไปในยุโรป) ซึ่งแม้ว่าจีนจะทำได้ก่อนที่ Vasco De Gama จะพบเส้นทางเชื่อมยุโรปกับเอเซียก็ตาม (ค.ศ.1524 ??) แต่ก็คงจะมีความรู้จักและได้เห็นก่อนหน้านี้โดยผ่านทางเส้นทางสายไหม ประเด็นหนึ่ง คือ ยุโรปต้องการเรียนรู้เทคนิดและลอกเรียนแบบการทำ White and Blue   
White and Blue นี้ เราคงพอจะสังเกตได้ว่า ในปัจจุบันยังคงเป็นที่นิยมของชาว Dutch และคนยุโรปพวกหัวอนุรักษ์นิยม และยังพบในการประดับตกแต่งอาคารราชวังและเครื่องใช้ของยุโรปโดยเฉพาะในยุคหลังปี ค.ศ. 1800 เป็นต้นมา

สำหรับ Ceramics สีท้องฟ้านั้น ผมประมวลได้ว่า แท้จริงก็คือ ศิลาดล นั้นเอง คำว่าศิลาดลนี้ ในปัจจุบัน ค่อนข้างจะหมายถึงครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีเขียว ที่ผิวเคลือบมีการแตก แต่หากเราดูของเก่าต่างๆที่มาจากเตาชะเลียงจะเห็นว่ามีภาชนะเยอะมากที่ออกสีไปทางสีท้องฟ้า

เรื่องทั้งหมดนี้ อยู่ในเรื่องที่ผมจะเล่าต่อไปครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 ส.ค. 11, 23:11

พูดถึงหมู่เกาะริวกิว สิ่งที่ผุดขึ้นมาในใจในทันทีมีอยู่ ๓ อย่างคือ ปลาริวกิว, เหล้าโรง และควาย

นึกต่อไปว่าเราเคยส่งควายไปขายที่ริวกิวหรือไม่   ฮืม



สามอย่างข้างบนอยู่ในบัญชีเรื่องเล่าของคุณ naitang (อ่านว่าอะไรดี) หรือเปล่า

 ยิ้มเท่ห์

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 ส.ค. 11, 10:01

คุณเพ็ญชมภูครับ
เรื่องปลาริกิวนั้น ผมไม่ทราบว่าเกี่ยวโยงกับอาณาจักรริวกิวหรือไม่ ไม่มีความรู้ครับ
 
แต่เรื่องเหล้าโรงนั้น ผมคงจะเล่าในรายละเอียดบางเรื่องได้ เพราะได้เคยสนทนากับกงศุลใหญ่ของไทยที่โอกินาวาซึ่งเป็นเจ้าของโรงผลิตเหล้า Awamori
 
เรื่องควายในภาพนั้น ผมคิดว่าจากลักษณะคอกและอาคารที่เห็นอยู่ด้านหลัง ผมเคยไปสถานที่นี้ เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงความเป็นอยู่ของคนโอกินาวาเขา  ตอนที่ผมไป (ประมาณ 6 ปีที่แล้ว) ควาย 2 ตัวยังดูอ้วนกว่านี้ (หากเป็นตัวเดิมนะครับ) พอเห็นควายและผนวกกับเรื่องราวที่เกาะนี้มีความสัมพันธ์กับไทย ก็นึกในทันที่เลยว่าคงจะเป็นควายที่มีเชื้อสายมาจากไทย เช่นเดียวกับเรื่องของเหล้าโรง แต่พอเข้าไปใกล้ๆควาย ดูลักษณะแล้วไม่น่าจะใช่ควายพันธุ์ไทย เท่าที่ผมสัมผัสกับควายไทย และชอบสะสมรูปปั้นควาย ควายไทยตัวค่อนข้างเล็กและมนกลม ไม่ค่อยจะมีเหลี่ยมแม้กระทั่งตอนที่มันผอม แผ่นหลังไม่ค่อยจะเป็นแป้นและแผ่กว้าง ด้วยความสนใจก็ถามเจ้าหน้าที่ตรงๆเลยว่า ควายโอกินาวาสืบเช้อสายมาจากไทยหรือเปล่า เขาบอกว่า โอกินาวานำควายเข้ามาจากใต้หวัน เมื่อสักประมาณ 100 ปีนี้เอง ก็เป็นข้อมูลเพื่อทราบครับ อ้อ มีอีกเรื่องหนึ่ง ชาวโอกินาวาเขาก็ชอบควาย และก็แกะสลักควายไม้เช่นกัน เท่าที่เห็นควายไม้ในญี่ปุ่นทั้งหมด ก็ทราบว่ามาจากโอกินาวาทั้งนั้น ทั้งหมดที่เห็นมา มีขายาวผิดปกติครับ แล้วก็เชื่อใหมครับว่า ผมยังหาควายไม้ของไทยไม่ได้เลยสักตัว มีแต่ทำจากโลหะและ Resin แปลกดีครับ มีแต่วัวที่ทำขายกัน

อ่านว่านายตั้งครับ
 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 ส.ค. 11, 10:59

เข้ามาร่วมอ่านและสนทนาด้วยนะครับ

"เรคิได โฮอัน" สำเนาพระราชสาส์นที่กษัตริย์ริวกิวแห่งหมู่เกาะชูซัน ส่งไปอยุธยาในปีแรกแห่งรัชกาลหงซี (ค.ศ. ๑๖๘๙) เรคิได โออัน เป็นเอกสารที่เก่าแก่ที่สุด ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการค้าแบบผูกขาดของอยุธยา

ใจความว่าเรือสินค้าของริวกิวที่ไปทำการค้าที่สยามในปี ค.ศ.๑๔๑๙ ถูกเจ้าหน้าที่สยามผูกขาดการค้าไม่ให้ทำการค้ากับพ่อค้าที่นั่นโดยตรง และยังถูกเจ้าหน้าที่ท่าเรือของสยามกดราคาสินค้าที่ริวกิว นำมาขาย เช่น เครื่องถ้วย จนทำให้การค้าของริวกิวขาดทุน โดยเจ้าหน้าสยามอ้างว่าของกำนัลที่ริวกิวนำมาให้นั้นน้อยเกินไป ปีต่อมาริวกิวจึง เพิ่มจำนวนของกำนัล แต่ก็ยังถูกสยามผูกขาดการค้าจนริวกิวจำต้องยกเลิกการเดินเรือไปในปีถัดไป ในพระราชสาส์นดังกล่าว ริวกิวขอร้องให้ สยามอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของริวกิวทำการค้าขายกับพ่อค้าที่นั่นได้อย่างอิสระ และเมื่อการค้าเสร็จสิ้นลงแล้วขอให้เรือริวกิวกลับประเทศโดยเร็ว

จากบันทึกข้างต้น ริวกิวกับสยามมีการติดต่อกันมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ ๑๔ เรื่อยมาจนถึงปลายศตวรรษที่ ๑๖ เป็นเวลากว่า ๒๐๐ ปี แม้บาง ครั้งการติดต่อของทั้งสองจะชะงักลงบ้างเนื่องจากการค้าที่ไม่เป็นธรรมของสยาม แต่สยามเป็นประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ริวกิวทำการ ค้าด้วยมากที่สุด และยาวนานที่สุดคือ ตั้งแต่ราวปลายศตวรรษที่ ๑๔ ถึงปี ๑๕๗๐ ริวกิวเดินเรือไปสยามเพื่อซื้อสินค้าอย่างไม้ฝาง งาช้าง และพริกไทยไปขายต่อให้จีน (ในรูปของการถวายบรรณาการ) รวมทั้งดินแดนใกล้เคียงอย่างเกาหลีและญี่ปุ่น

สยามส่งพระราชสาส์นพร้อมของขวัญมาให้ริวกิวหลายครั้ง เพื่อตอบแทนการที่ริวกิวช่วยเหลือลูกเรือ สยามที่เรืออับปางระหว่างการเดินทางไปริวกิว   ในช่วงปลายศตวรรษที่ ๑๕ ในรายการของขวัญที่สยามส่งให้นอกจากจะมีผ้าจากอินเดีย  ไม้ ฝาง และงาช้างแล้วสิ่งที่เด่นชัด คือ เหล้าซึ่งมีจำนวนกว่า ๗๐ ไห จากในเอกสารเหล้ามีหลายชนิดด้วยกัน เช่น “เหล้าขาว” “เหล้าแดง”  “เหล้าแ ดงกลิ่นดอกไม้” และ “เหล้ากลิ่นดอกไม้ ข้างในมีมะพร้าวอยู่” เหล้าเหล่านี้ในเอกสารไม่ได้บอกว่าเป็นเหล้าชนิดใด และมาจากไหน อาจจะเกิ ดคำถามว่าเหล้าเหล่านี้เป็นของสยามหรือไม่ หรือว่าสยามนำเข้ามาจากที่อื่นอีกที แต่ในเอกสารจีน “หยิงหยาเชิงหลั่น” (เขียนปี ค.ศ. ๑๔๑๖) มีบันทึกไว้ว่า ที่สยามมีเหล้า ๒ ชนิดคือ  เหล้าที่ทำจากข้าวและเหล้าที่ทำจากมะพร้าว และเป็นเหล้ากลั่นทั้ง ๒ ชนิด ซึ่งคล้ายกับเหล้า มะละกา เหล้าเหล่านี้จึงน่าจะคล้ายกับเหล้าโรงในปัจจุบัน ทำให้เรารู้ว่าสยามมีการผลิตเหล้าเองอย่างน้อยตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๕ แล้ว และจากการที่สยามถวายเหล้าให้ริวกิวเป็นจำนวนมากแสดงว่าเหล้าเหล่านี้น่าจะเป็นสินค้าออกของสยามในสมัยนั้นด้วย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 06 ส.ค. 11, 11:08

ราชวงศ์แห่งริวกิว

ริวกิวมีกษัตริย์ปกครอง ๒๘ พระองค์ ยุคของราชวงศ์ริวกิวแบ่งเป็น ๒ ช่วง

ช่วงแรกคือราชวงศ์โชที่ ๑ (ค.ศ. ๑๔๐๖-๖๙)

ช่วงที่ ๒ คือราชวงศ์โชที่ ๒ (ค.ศ. ๑๔๗๐-๑๘๗๙)

ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรเล็กๆ แห่งนี้มีทั้งความรุ่งเรืองและขมขื่น เนื่องจากริวกิว ถูกขนาบไปด้วยรัฐที่ใหญ่กว่างอย่างจีนและ ญี่ปุ่น ริวกิวต้องพึ่งอำนาจของจีนเพื่อความอยู่รอดในด้านเศรษฐกิจและการเมือง จึงเป็นประเทศแรกๆ ที่ส่งบรรณาการไปแสดงความจงรักภักดีต่อจีน ความสัมพันธ์แบบรรณาการระหว่างริวกิวกับจีนดำำเนินไปเป็นเวลาเกือบ ๕๐๐ ปี อย่างไรก็ตาม ริวกิวก็ไม่รอดพ้นจากการเข้ามายึดครองของญี่ปุ่น ริวกิวถูกไดเมียวแคว้นซัตซึมะเข้ามายึดอำนาจในปี ค.ศ.๑๖๐๙ แต่ซัตซึมะก็ยังคงตำแหน่งกษัตริย์ริวกิวได้ และอนุญาตให้ติดต่อกับจีนได้ต่อไปในฐานะ “อาณาจักรริวกิว” เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า

แต่พอมาในปี ค.ศ. ๑๘๗๒ รัฐบาลเมจิของญี่ปุ่ นมีนโยบายที่จะปกครองริวกิวโดยตรง จึงลดฐานะจากอาณาจักรเป็นแคว้น  และส่งคนจากส่วนกลางมาปกครองต่อมาใน ปี ค.ศ. ๑๘๗๙ มีการยกเลิกระบบแคว้น   กษัตริย์ของริวกิวถูกถอดจากตำแหน่ง ริวกิวเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดโอกินาวา ถือเป็นการสิ้นสุดความเป็นอาณาจักรริว กิวโดยสิ้นเชิง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ โอกินาวา เป็นสนามรบของทหารฝ่ายพันธมิตรนำโดยอเมริกันกับทหารญี่ปุ่น หลังจากการปกครองของอเมริกาเป็นเวลา ๒๐ ปี ค.ศ. ๑๙๗๒ บาดแผลของสงครามยังอยู่ในความทรงจำของคนโอกินาวาจนถึงทุกวันนี้

โบราณวัตถุที่ขุดพบบริเวณปราสาท พบเครื่องถ้วยจีน และเครื่องถ้วยไทย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 06 ส.ค. 11, 11:34

เมื่อพูดถึงเครื่องถ้วยลายน้ำเงิน - ขาว ตัวสีน้ำเงินทำจาก "แร่โคบอลท์" เป็นสินค้าหลักที่ส่งออกจากประเทศจีนในสมัยราชวงศ์หมิง

และเมื่อคุณ naitang พูดถึงเครื่องถ้วยเซลาดอน หรืออย่างไทยก็เรียกว่า "สีเขียวไข่กา" ที่ผลิตกันอย่างมากในเตาสังคโลก สุโขทัย หากจะพูกถึงเรื่องแหล่งผลิตแล้ว การผลิตเครื่องถ้วยแบบนี้พบกระจายทั่วไปทั้งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในแถบมาเลย์ก็มี แถบญี่ปุ่นก็มี ในไทยก็มี (อาจจะเป็นการตั้งเตา ทำสีสันให้เหมือนเพื่อจุดประสงค์ทางการค้า)

เครื่องถ้วยเซลาดอน ในสมัยราชวงศ์หมิง ใบงาม ๆ เนื้อดี ๆ หาได้ยากมาก แต่ในช่วงหลังคริสศตวรรษที่ ๑๕ เริ่มทำได้สวยมากขึ้น โดยนักเล่นจะรู้จักกันในนาม "Winter Green" "สีเขียวแห่งฤดูหนาว" เป็นลักษณะสีเขียวอ่อน

เกิดจากน้ำเคลือบของหินฟันม้า เข้าเตาที่อุณหภูมิสูง บางใบสีเป็นแบบเทอควอยซ์ ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่

อย่างใบที่นำมาให้ชมนี้ จากเตาเผาซ่วนเต้อ สมัยจักรพรรดิ์หย่งเล่อ ราชวงศ์หมิง ถูกประมูลในปี ๒๕๕๒ ไปในราคาราว ๔๐ ล้านบาท ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 06 ส.ค. 11, 11:38

คุณเพ็ญชมภูครับ
เรื่องปลาริวกิวนั้น ผมไม่ทราบว่าเกี่ยวโยงกับอาณาจักรริวกิวหรือไม่ ไม่มีความรู้ครับ

ปลาริวกิวหรือเนื้อปลาหวานนั้นคงเป็นสินค้าขาเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาทำการค้ากับริวกิวแล้ว

ส่วนชื่อปลาริวกิว Arius thalassinus   ในปัจจุบัน ไม่แน่ใจว่าเรียกกันตั้งแต่สมัยไหน

แต่คงไม่ใช่ปลาชนิดเดียวกับปลาริวกิวสมัยอยุธยา

คิดเอาเองว่า ปลาริวกิวสมัยโน้นน่าจะทำจากเนื้อปลาฉลามมากกว่า

 เจ๋ง
บันทึกการเข้า
kaew.ratana
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 06 ส.ค. 11, 13:22

ขอบคุณสำหรับกระทู้นี้ค่ะ ดิฉันสนใจเรื่องการวาดภาพบนเซรามิค แต่ก็ได้อ่านเรื่องการทำเซรามิคบ้าง

ได้เห็นเซรามิคของเก่าๆมาบ้าง ที่ฝีมือดีๆ สวยงามมาก มีเสน่ห์ แต่เดี๋ยวนี้แม้ในพิพิธภัณธ์ก็ยังไม่ใช่ชิ้นงามจริงๆ

ยังไม่ได้ไปดูพิพิธภัณ์เครื่องกระเบื้องที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ น่าจะมีอะไรให้ดูไม่น้อยเลย

เคยไปโรงงานทำศิลาดลที่เชียงใหม่ ก็นับว่าน่าสนใจ สีสวย

แต่อยากเห็นที่ว่า สีท้องฟ้า เป็นเชดสีแบบไหนค่ะ (ใครมีรูปบ้าง)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 06 ส.ค. 11, 14:12

ขอบคุณสำหรับกระทู้นี้ค่ะ ดิฉันสนใจเรื่องการวาดภาพบนเซรามิค แต่ก็ได้อ่านเรื่องการทำเซรามิคบ้าง

ได้เห็นเซรามิคของเก่าๆมาบ้าง ที่ฝีมือดีๆ สวยงามมาก มีเสน่ห์ แต่เดี๋ยวนี้แม้ในพิพิธภัณธ์ก็ยังไม่ใช่ชิ้นงามจริงๆ

ยังไม่ได้ไปดูพิพิธภัณ์เครื่องกระเบื้องที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ น่าจะมีอะไรให้ดูไม่น้อยเลย

เคยไปโรงงานทำศิลาดลที่เชียงใหม่ ก็นับว่าน่าสนใจ สีสวย

แต่อยากเห็นที่ว่า สีท้องฟ้า เป็นเชดสีแบบไหนค่ะ (ใครมีรูปบ้าง)

ถ้าเซลาดอน ที่มีวงการเล่นกัน โทนสีฟ้าจะออกไปทางเทอคอยซ์ ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 ส.ค. 11, 14:19

โถพร้อมฝา สมัยหมิง ลายคอเสื้อพร้อมลายดอกไม้ ส่วนลายหลักเป็นเถาไม้เลื้อยพร้อมลายมงคลอย่างจีน


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 ส.ค. 11, 14:44


ตามอ่านด้วยความสนใจ

ปลาริวกิวไม่ใช่เนื้อปลาฉลาม     พอตลาดมีแต่เนื้อปลาฉลามผู้ปกครองก็ไม่ซื้อมาทอดอีกต่อไป
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 06 ส.ค. 11, 15:21

ปลาริวกิว =  Arius thalassinus

เนื่องจากไม่คุ้นกับเจ้าปลาตัวนี้จึงไปหา ข้อมูลจากกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บอกว่า พบทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน  เลยไม่แน่ใจว่าที่ริวกิวมีปลาพันธุ์นี้หรือเปล่า

แต่พอค้นต่อไปอีก ได้ข้อมูลการกระจายของ Arius thalassinus  ดังภาพข้างล่าง

เป็นอันว่าแถวริวกิวก็น่าจะมีปลาพันธุ์นี้

ปลาริวกิว (หวาน) ที่ส่งมาจากริวกิวสมัยอยุธยาก็น่าจะทำมาจากปลาพันธุ์นี้ ๙๙ %

ที่เหลืออีก ๑ % สำหรับการปลอมปน (ซึ่งมีอยู่ทุกยุคทุกสมัย) ด้วยเนื้อปลาฉลาม

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 07 ส.ค. 11, 18:49

ข้าวต้มกับปลาริวกิวทอดเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่กินตอนเด็กๆ   จำได้ว่าปลามีรสหวานมาก  มีน้ำเชื่อมจับจนเยิ้ม  เนื้อสีชมพู   ไม่ชอบเท่ากับปลาเค็มทอดร้อนๆ เลยไม่ได้กินเมื่อโตขึ้น
แต่ไม่เคยคิดว่าเป็นเนื้อปลาฉลาม

คุณเพ็ญชมพูน่าจะเคยกินปลาริวกิวกับข้าวต้มเช่นเดียวกับดิฉัน    พอจะบอกให้หายข้องใจได้ไหมว่า ดิฉันกินฉลามเข้าไปหลายตัวโดยไม่รู้หรือเปล่า


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง