เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 48764 อัตลักษณ์ของอาหารไทย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 14:43

ไม่รู้ว่าคุณ(นาย)ตั้งจะเวทนาดิฉันหรือเปล่า  ถ้ารู้ว่าอ่านคำอธิบายของ bite แล้ว   ดิฉันยังโง่เท่าเดิม
งั้นขอถามใหม่  รสชาติ bite กับเผ็ด ต่างกันยังไงคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 21:16

ไม่หรอกครับ ผมคงจะใช้คำที่ผิดและเขลามากกว่า

ความเข้าใจในการใช้คำของผมมาจากประสบการณ์สนทนาเรื่องรสชาติของอาหารเมื่อใช้ภาษาอังกฤษฉบับคนทำงานในระบบ UN (ประสบการณ์ที่เวียนนา) ซึ่งมีการใช้ภาษาที่ใช้ปนเปคละเคล้าอย่างหลากหลาย จนไม่แน่ใจว่าใช้ผิดหรือถูก รวมทั้งการสะกดด้วย เป็นเรื่องของภาษาพูดนะครับ ส่วนภาษาเขียนของ UN นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง มีความถูกต้องตามหลักภาษา เพียงแต่อาจมีการสะกดแบบอังกฤษบ้าง แบบอเมริกันบ้างในบางกรณี หรือบางเรื่องอ่านแล้วงงๆด้วยวิธีการผสมวิธีการเขียนเรื่องราวหรือสำนวนของหลายชาติเพื่อเอาใจทุกคน คุณเทาชมพูคงทราบดีและสันทัดกว่าผมมาก

ขออุญาตขยายความเขลาของผมนะครับ

ไทยเรามีคำว่า เผ็ด ร้อน และเผ็ดร้อน เผ็ด คงจะตรงกับคำว่า Hot ซึ่ง Hot น่าจะเป็นอาการความรู้สึกทางร่างกายหลังการกิน แต่ไปใช้อธิบายความรู้สึกที่ปากโดยรวม สำหรับผมแล้ว ความเผ็ดของอาหารไทยอยู่ที่พริกแห้งเม็ดใหญ่ เมื่อจะทำให้อาหารนั้นเผ็ดและร้อนแรง ก็ใช้พริกแห้งเม็ดเล็ก (พริกสีดา) ผสมลงไปด้วย หรือบางทีก็ใส่ดอกกะเพราในเครื่องแกง ใส่ใบกะเพราหรือใบยี่หร่าในน้ำแกง ผมคิดว่าความเผ็ดร้อนที่เกิดขึ้นน่าจะให้ความรู้สึกที่ตรงกับคำว่า Hot & Spicy หลังจากกินแล้วจึงมีอาการ Burn ซึ่งเป็นอาการของความแสบร้อนที่ลิ้นและปากหลังจากการกิน ส่วน Bite นั้น เป็นความรู้สึกที่มีมากกว่าความเผ็ดร้อน ซึ่งจะรู้สึกสัมผัสในทันทีเมื่อกินและคงอยู่ไปอีกระยะหนึ่งสั้นๆ พริกขี้หนูสวนน่าจะให้ความรู้สึกรวมในลักษณะของ Bite คือ กระชากความรู้สึกปกติไปสู่ความเผ็ด (Hot) และแสบร้อน (Burn) พร้อมกันไปในทันที เป็นลักษณะของ Bite จนทำให้ขาดสภาพการรับรู้รสอาหารอื่นชั่วขณะ ทั้งนี้ ความรับรู้เหล่านี้เกิดได้ทั้งในขณะการกินและหลังการกิน
 
เขียนไปเขียนมาเลยงงด้วยตัวเองว่า เวลาเราอธิบายรสชาติของอาหารนั้น มันเป็นเรื่องของการอธิบายผสมระหว่างรสกับความรู้สึกหรือเปล่า ฮืม และเป็นการอธิบายผสมของสัมผัสในระหว่างการกินกับความรู้สึกหลังกินหรือเปล่า ฮืม
 
รส (Taste ฮืม) น่าจะเป็นเรื่องของสัมผัสที่ลิ้นขณะกิน เป็นเรื่องของความจืด เปรี้ยว เค็ม หวาน ขม ปร่้า ฮืม ส่วนความรู้สึก (Feeling ฮืม) ก็คือ ผลที่แสดงออกในรูปต่างๆเมื่อกินแล้ว คือ ความเผ็ด ร้อน เผ็ดร้อน ขมติดคอ เลี่ยน ซ่า ฯลฯ แต่เมื่อลิ้นและปากถูก Bite แล้ว ก็เกือบจะหมดรสชาติของอาหารอื่นที่ตามมา น่าจะใช้คำอะไรดีครับ หรือไม่ควรจะมีการใช้คำนี้
 
รส ในภาษาไทยใช้ในลักษณะคำเดียวก็มี แล้วรสชาติ เป็นเพียงเพียงคำสละสลวยหรือมีนัยของความหมายอื่นผสมอยู่ ฮืม
 
ความเข้าใจของผมมาจากคำบรรยายสรรพคุณเรื่องรสชาติของอาหารที่คิดว่าตรงกันในความรู้สึกในระหว่างการสนทนากับคนในระบบ UN ครับ

This plate is very hot and spicy, it burn and bite my tongue, I can't enjoy any other plate anymore.
This homemade mustard is quite strong and very hot, it bite my tongue.

ด้วยความรู้และประสบการณ์ที่มีจำกัด ผิดถูกประการใด ก็ขอความกระจ่างด้วยครับ
   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 22:08

อ่านภาษาอังกฤษแล้วพอจะเข้าใจค่ะ

ตอบทีละเรื่อง
รสชาติ  รอยอินหรือพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า
รสชาติ   [รดชาด] น. รส เช่น แกงนี้ไม่มีรสชาติเลย.
แสดงว่าท่านให้น้ำหนักคำ "รสชาติ" เท่ากับ รส

อ้างถึง
แต่เมื่อลิ้นและปากถูก Bite แล้ว ก็เกือบจะหมดรสชาติของอาหารอื่นที่ตามมา น่าจะใช้คำอะไรดีครับ หรือไม่ควรจะมีการใช้คำนี้
นึกไม่ออกว่าคำไทยมีคำไหนดีกรีสูงกว่า "เผ็ด"  มีแต่วลีขยาย เช่น  เผ็ดจนลิ้นชา   เผ็ดจนเหงื่อแตก   รสเผ็ดถึงขั้น bite เข้าใจว่าคงจะเผ็ดมากจนลิ้นรับรสอื่นไม่ถูกไปชั่วขณะ

หรือใครนึกคำออก มาช่วยอธิบายก็จะยินดี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 23:24

รสชาติ  รอยอินหรือพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า
รสชาติ   [รดชาด] น. รส เช่น แกงนี้ไม่มีรสชาติเลย.
แสดงว่าท่านให้น้ำหนักคำ "รสชาติ" เท่ากับ รส

รอยอินท่านว่าคำนี้เป็นคำซ้อน เพราะชาติก็มีความหมายเดียวกับรส

ชาติ ๓  [ชาด, ชาติ, ชาดติ] น. รส เช่น ไม่เป็นรสไม่เป็นชาติ.
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 23:36

นึกไม่ออกว่าคำไทยมีคำไหนดีกรีสูงกว่า "เผ็ด"  มีแต่วลีขยาย เช่น  เผ็ดจนลิ้นชา   เผ็ดจนเหงื่อแตก   รสเผ็ดถึงขั้น bite เข้าใจว่าคงจะเผ็ดมากจนลิ้นรับรสอื่นไม่ถูกไปชั่วขณะ

หรือใครนึกคำออก มาช่วยอธิบายก็จะยินดี

ยังนึกไม่ออกเหมือนกัน

แต่มีข้อมาแย้งรอยอิน ท่านอธิบายคำว่า เผ็ด ดังนี้

เผ็ด ว. มีรสอย่างรสพริก.

เพราะ "เผ็ด" ไม่ใช่ "รส" และไม่ได้เกิดจากพริกเท่านั้น

รส น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยลิ้น เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม ฝาด


ลิ้นคนเรารับรสได้ ๔ รส คือ ขม, เปรี้ยว, หวาน และเค็ม



"เผ็ด" เป็น "ความรู้สึก" แสบร้อนเนื่องจากฤทธิ์ของสารเคมี เช่น capsaicin ในพริก, Allyl isothiocyanate ในวาซาบิ, piperine ในพริกไทย

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 16 ส.ค. 11, 23:55

นอกจากวลีขยายดังที่ อ. เทาชมพูได้กล่าวไว้  ยังมีคำว่า เผ็ดจนน้ำตาไหล  เผ็ดจนหูอื้อ  และเผ็ดจนแสบลิ้น

คำว่า "แสบลิ้น" หรือ "แสบ" น่าจะพออนุโลมได้ว่า มีดีกรี (ขออนุญาตใช้คำเลียนแบบ) สูงกว่า "เผ็ด" ได้ไหมครับ?
บันทึกการเข้า
hobo
พาลี
****
ตอบ: 324


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 08:12

ผมอยู่กับฝรั่งนานพอสมควรที่แปลได้คือ hot = เผ็ด; spicy = รสจัด
หลายครั้ง spicy = เผ็ด + รสจัด เพราะปรุงกันอย่างเมามัน
hot จริงๆ แล้วเกิดจากการอักเสบหรือ inflammation มี cell ตายและเสียหายจากสารเคมี (= พริก)
ทำให้เกิดการกระตุ้น มีการส่งเม็ดเลือดขาวมา มีการขยายขนาดของเส้นเลือด (= ความรู้สึกร้อน)

ส่วนรสจริงๆ ในทางวิทยาศาสตร์เป็นการรับรู้ของระบบประสาทโดยการสัมผัสกับสารเคมี
อาศัยนิยามดังกล่าวรสจึงมีเพียง ขมม หวาน และ กลมกล่อม เพราะมี receptor สำหรับรสทั้งสามรส (G protein-coupled receptor)

ขณะที่ เปรี้ยว และเค็มอาจอนุโลมเป็นรสแต่ไม่ใช่รสที่แท้จริงเพราะเป็น receptor ชนิดอื่นๆ
คือเปรี้ยวเกิดจากการสลายตัวของสารเคมีให้ hydrogen ion โดยส่งสัญญาณสื่อประสาทผ่านการทำงานของ hydrogen-potassium channel

เต็มก็เกิดจาก sodium-potassium pump (channel)
ทั้งสอง channel มีที่เนื้อเยื่อส่วนอื่นของร่างกาย
ทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายท่านนิยาม 'รส' แตกต่างกันออกไป

พวก main stream จริงๆ ไม่ยอมรับรสกลมกล่อมของญี่ปุ่น
เพราะ ยังมี G protein-coupled receptor อีกมากที่เรายังไม่รู้
แต่ทางญี่ป่นตีพิมพ์งานใน journal ของญี่ป่นเอง เขียนโดยญี่ป่น review โดยญี่ป่น
article นี้เลยหลุดออกมาท่ามกลางเสียงคัดค้าน
ทุกวันนี้ญี่ป่นก็ยังแก้ตัวว่าอยู่บนลิ้นก็ต้องทำหน้าที่นี้สิ





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 09:22

พวก main stream จริงๆ ไม่ยอมรับรสกลมกล่อมของญี่ปุ่น
เพราะ ยังมี G protein-coupled receptor อีกมากที่เรายังไม่รู้
แต่ทางญี่ป่นตีพิมพ์งานใน journal ของญี่ป่นเอง เขียนโดยญี่ป่น review โดยญี่ป่น
article นี้เลยหลุดออกมาท่ามกลางเสียงคัดค้าน
ทุกวันนี้ญี่ป่นก็ยังแก้ตัวว่าอยู่บนลิ้นก็ต้องทำหน้าที่นี้สิ

วันนี้เราจะเรียนคำว่า "อูมามิ" กันนะคะ

พูดซิคะ



อูมามิ

ดังอีก

อูมามิ อูมามิ

ดังสุด ๆ

อูมามิ อูมามิ อูมามิ

 ยิงฟันยิ้ม    ยิงฟันยิ้ม    ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 18:26

ถุกใจครับที่นำเสนอคำว่า อูมามิ
 
อัตลักษณ์ของอาหารไทย ก็คือ อาหารที่มีรสชาติ "อูมามิ" อย่างสมบูรณ์นั่นเอง เป็นความสามารถของพ่อครัวและแม่ครัวไทยตั้งแต่โบราณในการเลือกใช้ส่วนประกอบและเครื่องปรุงที่มีสัดส่วนผสมอย่างลงตัว จนสามารถดึงเอารสอูมามิออกมาได้ แม้ว่าจะไปลอกเลียนแบบอาหารมาจากชนชาติอื่นๆก็ตาม อาหารของทั่วโลกในร้านอาหารต่างชาติในไทย หากใช้พ่อครัวแม่ครัวไทยจึงอร่อยกว่าที่ทำขายอยู่ในถิ่นของเขา เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป พ่อครัว (มีความหมายรวมถึงแม่ครัวด้วยครับ) ใหญ่ตามโรงแรมชั้นดีในต่างประเทศเกือบทุกคนจะต้องเคยมาประจำอยู่ในไทยและผ่านงานในไทยก่อนที่จะได้รับการพิจารณาเข้าทำงานในโรงแรมระดับสุดยอด เท่าที่ทราบ สถานทูตของประเทศต่างๆหลายๆแห่งในยุโรปและเอเซียใช้พ่อครัวไทย ที่เคยพบพูดคุยด้วยก็มีสถานทูตญี่ปุ่นและสถานทูตมาเลเซียในกรุงเวียนนาและสถานทูตจอร์แดนในญี่ปุ่น สำหรับสถานทูตที่อยู่ในไทยนั้นคงไม่ต้องพูดถึง ส่วนมากจะใช้พ่อครัวไทย พ่อครัวเหล่านี้ทำทั้งอาหารไทยและอาหารประจำชาติของเขา และที่ไม่ธรรมดาคือ พ่อครัวเหล่านี้ทำอาหารประจำชาติของเขาในงานเลี้ยงสำคัญต่างๆอีกด้วย อาหารไทยและอัตลักษณ์ในการทำอาหารแบบไทยจึงแทรกซึมเข้าไปอยู่ในสังคมนานาชาติอย่างกว้างขวาง เราคงจะต้องขอบคุณคนเหล่านี้ที่รู้จักเอาอัตลักษณ์ที่มีอยู่ในอาหารไทยไปปรุงแต่ง ทำให้อาหารไทยแพร่หลายและทำให้อาหารของเขาอร่อยขึ้นมาในอีกระดับหนึ่ง

รสชาติอูมามินั้น โดยพื้นฐานก็คือ ความกลมกล่อมที่ได้มาจากการผสมของรสหวาน อาหารไทยส่วนมากที่อยากจะให้มีรสกลมกล่อมมากขึ้นจึงใส่น้ำตาลปึกหรือน้ำตาลปี๊บเล็กน้อย โบราณว่า สักหัวแม่มือหนึ่ง แต่ด้วยความไม่เข้าใจของพ่อค้าแม่ค้าในปัจจุบันจึงไส่น้ำตาลทรายแถมด้วยผงชูรส ผลก็คือทำให้หวานแหลมผิดธรรมชาติ ซึ่งทำให้พาลไปถึงความไม่อร่อย
 
อัตลักษณ์ของอาหารไทยสำหรับผมนั้น ค่อนข้างจะเจาะจงลงไปที่การเลือกส่วนประกอบ เครื่องปรุง และวิธีการทำ มากกว่าในรูปของภาพอาหารในจานอาหารที่นำเสนอ ซึ่งอัตลักษณ์นี้คงเป็นเรื่องที่ถกกันได้มาก ตัวอย่างเช่น เรากินหอยนางลมสดกับกถิน หอมชอยทอดและมะนาวบีบ ได้รสหวานอร่อยมาก ทีโอกินาวามีต้นกถินมาก เขาปลูกเอาใว้ทำถ่านเมื่อหลังสงครามโลก หอยนางรมก็มีเยอะ แต่ไม่รู้จักเอามากินด้วยกัน เขาว่าเหม็นเขียว ลองเอากถินไปทำให้สุกแล้วก็เหม็นเขียว ผมเลยบอกให้ลองใหม่กับหอยนางรม อีกตัวอย่างเช่น เราเอากระชายมาสับกับกะปิแล้วปั้นชุบไข่ทอดกินกับข้าวแช่ หรือเอากะปิ กระชาย หัวหอม พริกไทย โขลกทำน้ำแกงเลียงกับยอดผักเถาไม้เลื้อย ซึ่งโดยรวมก็คือการเปลี่ยนรสตามธรรมชาติของสิ่งที่ดูจะไม่น่ากินให้กินได้อย่างอร่อย หรืออีกตัวอย่าง เราแกงส้มแล้วทิ้งค้างคืนเพื่อให้ได้รสหวานของน้ำผักออกมา ซึ่งจะอร่อยกว่าแกงเดี๋ยวนั้นกินเดี๋ยวนั้น เหล่านี้เป็นต้น

สนุกนะครับ มีอีกเยอะมาก ลองๆนึกดู ในอาหารประจำถิ่นของภาคต่างๆก็มีอัตลักษณ์ของมันเช่นกัน ซึ่งมันก็มีอัตลักษณ์ของความเป็นอาหารไทยในองค์รวมแทรกอยู่ด้วยเช่นกัน

เขียนไปแล้วก็ชักไม่แน่ใจว่า ผมใช้คำว่าอัตลักษณ์ในความหมายที่ถูกต้อง ต่างหรือเหมือนกับความหมายของคำว่าเอกลักษณ์ ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 19:47

หาคำว่าอัตลักษณ์ ไม่เจอในรอยอิน (พจนานุกรมราชบัณฑิตฯ) เจอแต่เอกลักษณ์
เอกลักษณ์    [เอกกะ] น. ลักษณะที่เหมือนกันหรือมีร่วมกัน; (คณิต)
   ข้อความที่แสดงความเท่ากันของนิพจน์ ๒ นิพจน์ สําหรับ
   ทุกค่าของตัวไม่ทราบค่าที่ปรากฏในนิพจน์นั้น ๆ. (อ. identity).

คุณ(นาย)ตั้งคิดถึงคำอังกฤษอะไรคะ  เวลาใช้คำว่าอัตลักษณ์ในกระทู้นี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 19:58

อัตลักษณ์ (อ่านว่า อัด-ตะ-ลัก) ประกอบด้วยคำว่า อัต (อัด-ตะ) ซึ่งหมายถึง ตน หรือ ตัวเอง กับ ลักษณ์ ซึ่งหมายถึง สมบัติเฉพาะตัว.  

คำว่า อัตลักษณ์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า identity (อ่านว่า ไอ-เด็น-ติ-ตี้) หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นที่รู้จักหรือจำได้ เช่น นักร้องกลุ่มนี้มีอัตลักษณ์ทางด้านเสียงที่เด่นมาก ใครได้ยินก็จำได้ทันที. สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง. โลกาภิวัตน์ทำให้อัตลักษณ์ของสังคมไทยเปลี่ยนไป.

ที่มา :  บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย"  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

เอกลักษณ์ - อัตลักษณ์

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 20:17

ข้อสังเกต
รอยอินวงเล็บภาษาอังกฤษของเอกลักษณ์ว่า identity   ส่วน บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ก็ระบุว่า อัตลักษณ์ คือ identity

คุณ(นาย)ตั้งใช้คำไหนก็คงไม่ผิดมั้งคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 20:44

อาหารไทยนั้น มีหลากรส เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม และผสมกัน อย่างเช่น ต้มส้มปลากระบอก จะต้องออกครบรส เปรี้ยวนำ เค็มต่อและหวานตาม แทรกด้วยความเผ็ดร้อนของพริกไทย ...

และการปรุงจากอาหารที่เป็นธรรมชาติ ทั้งสมุนไพร เครื่องเทศ ส่วนเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ก็ใช้ของสดเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งการจัดแต่งองค์ประกอบของอาหาร ไม่ได้จัดมาเล็กน้อย ๆ อย่างจานซูชิ หรือ มีเป็นหลาย ๆ จานอย่างอาหารฝรั่งเศส แต่อาหารไทยจัดมาอย่างไม่น้อย และไม่มากจนเกินไปสำหรับ ๑ มื้อ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 21:45

คำว่าอัตลักษณ์นี้ ผมเดาตรงมาจากคำว่า Uniqueness ซึ่งดูจะมีความหมายโดยนัยถึงเนื้อในและองค์รวมที่แสดงออกมา ส่วนคำว่า Identity นั้น ผมรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องของภาพภายนอกที่ปรากฎเด่นชัด ครับ

ขอแฉลบไปนิดหนึ่งครับ
ที่จริงแล้วเคยคิดว่า คำโฆษณาทั่วๆไปที่ใช้คำว่า Thai Foods นั้น ดูจะไม่กินความพอ เพราะดูเหมือนจะจำกัดอยู่ที่ความเป็นอาหารจานๆไป ดูไม่มีความหลากหลายมากพอ การโฆษณาอาหารไทยน่าจะใช้คำว่า Thai Cookery ซึ่งให้อรรถรสถึงทั้งกระบวนการทำอาหารไทย หรือจะใช้คำว่า Thai Culinary แต่ก็ดูจะกินความน้อยไปหน่อย เหมือนไปจำกัดเฉพาะแค่การเตรียมเท่านั้น ส่วนหนังสือเอกสารที่บรรยายถึงการทำอาหารไทยที่ใช้คำว่า Cooking Thai foodsก็น่าจะต้องเปลี่ยนเป็น Cooking the Thai way เพราะมีอาหารไทยหลายชนิดหน้าตาเหมือนจีน แขก ผรั่ง ฯลฯ ที่การเคยเสนอเหมือนกันครับแต่ไม่ไปใหนเลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 17 ส.ค. 11, 22:09

ดิฉันเคยใช้ เอกลักษณ์  ในความหมายว่า uniqueness ค่ะ

คำว่า Thai cuisine ดูสง่ากว่า Thai foods ไหมคะ    อังกฤษชอบเอาคำฝรั่งเศสมาใช้ เพื่อให้ดูโก้ขึ้นอยู่แล้ว
ตอนหาตำรับอาหารโปรตุเกสโดยใช้อินทรเนตร   ใช้คำว่า Portuguese  cuisine เจอตำรับการปรุงมากมายทีเดียว   ถ้า food  ทำให้นึกถึงอาหารวางบนชั้น และตู้แช่  ในท็อปส์ซูเปอร์มาเก็ตยังไงก็ไม่รู้ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง