
ข้อมูลจาก "วิเคราะห์ความจริงเบื้องหลังสิทธิบัตรข้าวหอมมะลิ-ประโยชน์ผลกระทบและทางออกที่ควรจะเป็น" ของมูลนิธิชีววิถี
http://www.biothai.net/node/239ประเทศไทย โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ได้ขอจดสิทธิบัตรยีนควบคุมความหอมของข้าวหอมมะลิใน 10 ประเทศ คือ สหรัฐ อินเดีย ออสเตรเลีย จีน ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น เวียดนาม ฝรั่งเศส กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป และประเทศไทย
ในคำขอจดที่ยื่นต่อทุกประเทศนั้น ได้ยื่นขอให้มีการผูกขาดในเรื่อง ยีนที่ควบคุมความหอม เมล็ดพันธุ์ ต้นข้าวดัดแปลงพันธุกรรม และกรรมวิธีที่เกี่ยวข้อง
แต่ได้รับการอนุมัติเพียงประเทศเดียว คือ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2008 โดยได้รับอนุมัติการถือสิทธิ์เพียง 4 ข้อ คือ
1.วิธีการเพิ่มสารหอม Os2AP (2- acetyl-1-pyrroline) เพื่อผลิตข้าวจีเอ็มโอ
2.วิธีการทำให้ระดับmRNAของยีนควบคุมความหอมทำงานลดลง
3.การทำให้ลดลงคือการแสดงออกของโครงสร้างที่รบกวนการทำงานของ mRNA
4.การรบกวนดังกล่าวทำ ณ ตำแหน่งนิวคลีโอไทด์ที่ 609 -867 ของยีนความหอม (SEQ ID NO: 5)
ผลจากการจดสิทธิบัตรในครั้งนี้คือ
- สวทช.ได้สิทธิผูกขาดการในการผลิตข้าวจีเอ็มโอที่มีความหอมคล้ายหรือเหมือนข้าวหอมมะลิในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 20 ปี
รายละเอียดนยังมีอีกเยอะค่ะ รวมถึง "ทำไมจึงไม่สามารถจดสิทธิบัตรข้าวหอมมะลิในประเทศไทย" และ "วิธีการคุ้มครองข้าวหอมมะลิและทรัพยากรชีวภาพ"
สนใจลองเข้าไปอ่านดูนะคะ...