เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9]
  พิมพ์  
อ่าน: 48763 อัตลักษณ์ของอาหารไทย
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 14:25

กาแฟดำและโอเลี้ยงของไทยก็น่าจะเป็นอีกอย่างหนึ่งด้วยนะครับ
เคยคุยกับคนแก่ขายกาแฟรถเข็น ได้ทราบว่ากาแฟดำของไทยนั้น ไม่ใช่ทำมาจากเล็ดกาแฟล้วนๆ แต่เดิมผมก็เข้าใจว่าใช้เล็ดมะขามคั่วปนอยู่เยอะๆ ที่จริงแล้วแกบอกว่ามีทั้งเมล็ดกาแฟ ข้าวโพด และมะขามรวมกัน มีวิธีคั่วอีกต่างหากอีกด้วย บางคนก็ใส่เนย (คงเป็นมาการีน) ด้วย แล้วก็ยังมีสัดส่วนผสมเป็นสูตรของใครของมัน สุดแท้แต่จะได้รับถ่ายทอดมาจากใคร หลายเจ้าก็ซื้อกาแฟที่คั่วมาเรียบร้อยแล้ว หลายเจ้าก็คั่วเอง มีเทคนิดวิธีการของตน มิน่าละครับ จึงมีกาแฟเจ้าอร่อยกับเจ้าไม่อร่อย 

โอเลี้ยงก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ไม่เคยเห็นมีที่ใหน คนชาติอื่นๆไม่กินกาแฟดำใส่น้ำแข็งเหมือนเรา แถมโอเลี้ยงของเรายังมีแบบยกล้ออีกด้วย ครับ     
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 14:35

ฟังชื่อแล้ว กาแฟดำ-โอวยั๊วะ กับ โอวเลี้ยง คงไม่ใช่ของไทยแน่นอน

โอวยั้วะ กับ โอวเลี้ยง เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว แปลว่า ดำร้อน กับ ดำเย็น

ถ้าไม่ใช่มาจากเมืองจีนก็น่าจะกำเนิดจากชาวจีนในเมืองไทยนี่แหละ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 17:26

กาแฟดำ+ น้ำตาลทราบ + น้ำแข็ง = โอเลี้ยง

กาแฟดำ + น้ำตาลทราย = โอยั๊ว

กาแฟดำ + น้ำตาลทราย + นมข้น = โกปี๊

กาแฟดำ + น้ำตาลทราบ + น้ำแข็ง + นมข้นจืด = โอเลี้ยงยกล้อ

กาแฟดำ + น้ำตาลทราย + นมข้น + น้ำแข็ง + นมข้นจืด = กาแฟเย็น

สำหรับโอเลี้ยงยกล้อ เขามีประวัติค่ะ... ยิงฟันยิ้ม
เดิมมีนมข้นจืด ที่นิยมใช้ตามร้านกาแฟ มีรูปฉลากเป็นรถจักรยาน
ทีนี้คอโอเลี้ยงอยากกินแบบใส่นมข้นจืดดูบ้าง
ก็เทนมข้นจืดจากกระป๋องลงในแก้วโอเลี้ยง
รูปรถจักรยานที่ข้างกระป๋องก็เอียง ยกล้อหลังขึ้นมาตามความเอียงของกระป๋องนม
คนก็พูดกันว่า ยกล้อ ด้วยนะเฮีย คือ ใส่นมข้นจืดด้วยนะจ๊ะ นั่นเอง...
จริงเท็จประการใด ...ต้องไปสืบกันเอาเองนะคะ...


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 17:33

ฟังชื่อแล้ว กาแฟดำ-โอวยั๊วะ กับ โอวเลี้ยง คงไม่ใช่ของไทยแน่นอน

โอวยั้วะ กับ โอวเลี้ยง เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว แปลว่า ดำร้อน กับ ดำเย็น

ถ้าไม่ใช่มาจากเมืองจีนก็น่าจะกำเนิดจากชาวจีนในเมืองไทยนี่แหละ

 ยิงฟันยิ้ม

ขอประทานโทษ

โอวยัวะ มิใช่ โอวยั๊วะ

เผลอไปหน่อย

 อายจัง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 19:01

สุดยอดเลยของคลังความรู้ครับ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 20:08

ผมเคยไปจีนน้อยมาก มีโอกาศออกไปในเขตชนบทชานเมืองครั้งเดียว เลยไม่ได้เห็นอะไรมากนัก ตอนบ่ายแก่ๆก็เดินท่อมๆไปในตลาด (สด) พื้นบ้าน เช้าก็ไปอีกรอบ ไม่เห็นกาแฟในลักษณะนี้เลย ก็คงน่าจะมีกำเนิดมาในไทยจากชาวจีนนั้นแหละครับ

ทราบและเคยเห็นแต่เพียงว่า สำหรับคนจีน การต้อนรับหรือการเสนอด้วยกาแฟถือเป็นความไม่สุภาพอย่างยิ่ง ต้องเป็นชาเท่านั้น รวมทั้งคนญี่ปุ่นด้วย สำหรับเกาหลีไม่แน่ใจครับ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้มีทั้งกาแฟและน้ำชามาพร้อมๆกัน หรือก่อนหลังกันไม่มาก อิทธิพลของตะวันตก (อเมริกัน) เข้ามาอย่างเหลือล้นทีเดียว

ชาก็มีการขยักใว้เหมือนกัน คือ ต้อนรับด้วยชาที่มีคุณภาพพอกินได้ (ดีพอสมควรในทัศนะของเขา) แต่หลังอาหารก่อนจบการกินแล้วจะต้องเป็นชาชั้นที่ค่อนข้างดีมาก (ในทัศนะของเขาอีกเหมือนกัน) เหมือนกันทั้งญี่ปุ่นและจีน 

ก็ขอขยายความรู้ที่พอได้ทราบมาต่อไปอีกหน่อยนะครับ
ชาของคนจีนและญี่ปุ่น (คนเกาหลีไม่พิถีพิถันมากนัก) คือชาที่ทำจากใบชาเท่านั้น ไม่ใช่ชาจากสารพัดใบไม้และดอกไม้ ดังที่มีการขายกันอยู่ทั่วไป แม้ว่าจะมีการกินในโลกตะวันตกพอสมควรก็ตาม เขารับไม่ได้เอาเลยทีเดียว และรวมไปถึงชาชั้นดีจากดาเจีรย์ลิงของอินเดีย หรือชาชั้นดีของศรีลังกา เช่นนูวาอีรียา ซึ่งใช้ในการชงชาแบบอังกฤษ
 
ชาจีนนั้นคนญี่ปุ่นไม่รับเลย แต่กลับรับชาอื่นๆบางอย่าง เช่น ชาที่ทำมาจากข้าว แต่ทั้งหมดจะต้องเป็นชาที่มีกำเนิดในญี่ปุ่นโดยคนญี่ปุ่น ชาเขียวนั้นไม่มีการผสมน้ำตาลดังที่ใส่ขวดขายอยู่ในไทย คนญี่ปุ่นไม่กินชาเขียวเย็นหรือใส่น้ำแข็งเลยดังที่ทำกันอยู่ในไทย ชาเขียวทีซิบตบท้ายมื้ออาหาร จะเป็นชาเขียวอีกรสหนึ่งที่ต่างไปจากชาที่ใช้ในการต้อนรับหรือระหว่างการกินอาหาร ก็เหมือนกินบรั่นดีหรือคอนญัคตบท้ายอาหารของฝรั่งผู้มีอันจะกิน

สำหรับชาจีนนั้น ได้เข้าถึงปรัชญาว่า ก็เหมือนกันกับการกินไวน์ กินไวน์ฝาดมากๆสำหรับเนื้อสัตว์ที่มันมากๆ (ไวน์แดง) เพื่อล้างมันที่ติดคอ เหมือนกับกินยารสฝาดเพื่อละลายเสมหะ กินไวน์ขาวที่ออกรสเปรี้ยวกลมกล่มสำหรับของทะเล เพื่อกลบหรือล้างคาว เหมือนกับเอาน้ำส้มสายชูผสมอ่อนๆล้างเมือกปลา สำหรับชาจีนก็จะมีรสชาติต่างๆตั้งแต่ไม่ฝาดจนไปถึงฝาดมาก แต่ชาจีนแน่กว่าไวน์ตรงที่สามารถทำให้ใบชานั้นออกรสชาติที่ต่างกันได้ด้วยการเลือกเก็บใบชา ด้วยวิธีการบ่ม และวิธีการทำให้ใบชาแห้ง เหมือนกันเลยครับ กินชาจีนที่ค่อนข้างฝาดกับอาหารที่มันมากหน่อย กินชาที่ฝาดน้อยหรือไม่ฝาดเลยกับอาหารที่มีมันน้อย เช่นพวกดิมซำ       
     
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 21 ก.ย. 11, 23:22

ชอบกาแฟเย็นมากกว่ากาแฟร้อน.    ชอบโอเลี้ยงมากกว่ากาแฟดำค่ะ
ถ้าวันหนึ่งฝรั่งจดสิทธิบัตรโอเลี้ยง.    เราจะเสียดายไหม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง