เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 34818 ดนตรีไทยที่ใช้ในงานแต่งงาน
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 29 ก.ค. 11, 14:19

อยากเรียนถามว่าในงานแต่งงานจะใช้เพลงใดบรรเลง ประสงค์จะใช้เฉพาะเพลงไทยเดิม

รบกวนด้วยนะครับ เพราะว่าไม่อยากเอาเพลงที่ไม่เหมาะมาบรรเลง

ด้วยว่าจะใช้เครื่องเล่นซีดี ไม่ได้จ้างนักดนตรีมาเล่น

ด้วยความนับถือ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 ก.ค. 11, 14:31

ต้องการเป็นเพลงบรรเลง หรือ มีเนื้อร้องด้วยครับ

เพลงประเภทเดี่ยวขิม ก็ดีนะครับ จะได้บรรยากาศเย็น ๆ สบาย ๆ เรื่อย ๆดี

ถ้าจะให้เปิดเพลงประกอบในงาน ผมเห็นว่า ควรจะใช้เพลงบรรเลงไม้แข็ง หรือ ไม้นวมก็น่าได้ แต่เปิดไม่ดังมาก เป็นทำนองกรอไปเรื่อย ๆ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 29 ก.ค. 11, 15:17

๑. เพลงกฤษฎาภินิหาร

๒. ฟ้อนชมเดือน

๓. ลาวดวงเดือน

๔. ฟ้อนมาลัย ( ปวงดอกไม้ เบ่งบานสลอน ฝูงผมร ผู้ผึ้งสอดไซร้....) เพลงนี้ก็เพราะครับ ดัดแปลงจากทางเหนือ เย็น ๆ ดี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 ก.ค. 11, 15:18

ฟังเดี่ยวขิมได้จากเว็บนี้ค่ะ
http://www.phrapiyaroj.com/diawkhim/
เพลงที่ไม่ใช้ในงานมงคล ก็อย่างเช่น พญาโศก   ธรณีกรรแสง   อีกเพลงหนึ่งที่ประหลาดมาก คือม่านมงคล
ที่รู้เพราะเคยคิดจะใช้ทำนองนี้ในโอกาสอันมีเกียรติครั้งหนึ่ง    แต่เพื่อนที่เป็นเจ้าของวงสุนทราภรณ์ห้ามไว้ เธอบอกว่าใช้ในงานศพ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 29 ก.ค. 11, 15:44

เพลงที่ไม่ใช้ในงานมงคล ก็อย่างเช่น พญาโศก   ธรณีกรรแสง   อีกเพลงหนึ่งที่ประหลาดมาก คือม่านมงคล
ที่รู้เพราะเคยคิดจะใช้ทำนองนี้ในโอกาสอันมีเกียรติครั้งหนึ่ง    แต่เพื่อนที่เป็นเจ้าของวงสุนทราภรณ์ห้ามไว้ เธอบอกว่าใช้ในงานศพ

อันที่จริงเพลงม่านมงคล นั้นในเนื้อทำนองก็มิได้มีอะไรผิดแปลกไป หากแต่ต้องใช้เครื่องปีพาทย์มอญ เล่น จึงเข้ากับเครื่องมอญที่เล่นกันมากในงานศพ เลยกลายเป็นเพลงประจำงานศพไปโดยปริยาย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 29 ก.ค. 11, 15:50

เพลงวิวาห์พระสมุทร

เป็นเพลงที่นิยมในการวิวาห์ ควรนำไปใช้ครับ


เพลงลาวสมเด็จ ก็ดีครับ นิยมเช่นกัน

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 29 ก.ค. 11, 15:56

เพลงสีนวนออกอาหนู ก็ดีครับ ความหมายดี ใช้รำทุกวันครับ

 สีนวลชวนชื่นเมื่อยามเช้า รักเจ้าสาวสีนวลหวลคิดถึง
แม้ไม่แลเห็นเจ้าเฝ้าคำนึง อยากให้ถึงวันที่รำสีนวล
       เจ้าสาวสาวสาวสะเทิ้น ค่อยเดินค่อยเดินมาตามทาง
ล้วนอนงค์ทรงสำอางค์นางสาวศรีห่มสี ใส่กำไลแลวิไล
       ทองใบอย่างดีทองดีดี ประดับสีเพชรพลอยพลอยงามแลงาม
ใส่ต่างหูสองหูหูทัดดอกไม้  สตรีใดชนใดในสยาม
       จะหางามงามกว่ามาเทียมไม่เทียม  ชวนกันเดินพากันเดิน
รีบเดินมา ร่ายรำทำท่าน่ารักเอย
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 29 ก.ค. 11, 16:37

ทำ link มาให้นะคะ มีหลายเพลงค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
http://www.klothailand.com/song-thaitraditional.htm
ลองเข้าไปฟังดู ว่าชอบเพลงไหน
1 - ไกรลาสรำลึก
2 - ขับไม้บัณเฑาว์
3 - เขมรไทรโยค
4 - เขมรเร็ว
5 - เขมรไล่ควาย
6 - แขกต่อยหม้อ
7 - แขกมอญบางขุนพรหม
8 - ค้างคาวกินกล้วย
9 - เงี้ยวรำลึก
10 - จีนตอกไม้ - ภาพยนตร์ โหมโรง
11 - จีนเร็ว
12 - เชิดจีน
13 - ต้นวรเชษฐ์
14 - ทยอยญวน
15 - พม่าเขว้ : หรือที่เรียกว่า เพลง ช้างช้างช้าง
16 - มอญดูดาว (รำพลายชุมพล)
17 - ม่านมงคล
18 - แร้งกระพือปีก
19 - ลาวกระแต
20 - ลาวกระทบไม้
21 - ลาวคำหอม
22 - ลาวจ้อย
23 - ลาวเจริญศรี
24 - ลาวดวงเดือน
25 - ลาวดำเนินทราย
26 - ลาวแพน - ภาพยนตร์ โหมโรง
27 - ลาวสมเด็จ
28 - ลาวเสี่ยงเทียน
29 - ลิงกับเสือ : คนส่วนใหญ่มักเข้าใจกันผิด เรียกชื่อเพลงนี้ว่า ค้างคาวกินกล้วย
30 - สร้อยลำปาง
31 - สร้อยสนตัด
32 - แสนคำนึง
33 - ไส้พระจันทร์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 29 ก.ค. 11, 16:44

^

โหว..มาเป็นตับคณดีดี เลยนะครับ


เพลงลิงกับเสือ เป็นชื่อที่ผิดครับ (ขออนุญาตสักเล็กน้อย อ.เทาชมพู คงไม่ว่ากระไรที่เอ่ยถึงชื่อเพลงอันแสนสัปดนนี้)

เพลงนี้ ของโบราณท่านเรียกว่า "ลิงถอกกระดอเสือ" ครูเพลงเห็นว่าไม่เพราะ ไม่ดี เอาไปเล่นงานไหน ๆ เจ้าภาพเป็นดนตรีต่างไม่ชอบ เลยเปลี่ยนให้เพราะว่า "ค้างคาวกินกล้วย" เลยเรียกกันมาจนบัดนี้
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 29 ก.ค. 11, 17:01

^

โหว..มาเป็นตับคณดีดี เลยนะครับ


เพลงลิงกับเสือ เป็นชื่อที่ผิดครับ (ขออนุญาตสักเล็กน้อย อ.เทาชมพู คงไม่ว่ากระไรที่เอ่ยถึงชื่อเพลงอันแสนสัปดนนี้)

เพลงนี้ ของโบราณท่านเรียกว่า "ลิงถอกกระดอเสือ" ครูเพลงเห็นว่าไม่เพราะ ไม่ดี เอาไปเล่นงานไหน ๆ เจ้าภาพเป็นดนตรีต่างไม่ชอบ เลยเปลี่ยนให้เพราะว่า "ค้างคาวกินกล้วย" เลยเรียกกันมาจนบัดนี้

มาเป็นตับคณดีดี--->เป็นยังไงเหรอคะ.. ยิงฟันยิ้ม
แล้วเพลงค้างคาวกินกล้วย ในลำดับที่ 8 เป็นเพลงอะไรคะ  ฮืม
ท่านsiamese ลองคลิ๊ก http://www.klothailand.com/song-thaitraditional.htm?8 เข้าไปฟังดูนะคะ คนละทำนองกับเพลงที่ 29 ค่ะ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 29 ก.ค. 11, 18:08

ไปเจอบทความ เกี่ยวกับชื่อของเพลงนี้มาค่ะ  ยิงฟันยิ้ม

จากคอลัมน์เวิ้งวิภาษ
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับประจำวันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2553
อติภพ ภัทรเดชไพศาล

"เพลงค้างคาวกินกล้วยที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้เป็นเพลงไทย ครั้งแรกที่มีการนำเพลงนี้มาบันทึกเสียงให้ได้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายน่าจะเป็นในช่วงที่เพลงรำวงกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเพลงของวงสุนทราภรณ์ที่ชื่อว่าเพลง “รำวงรื่นเริงสำราญ” แต่งเนื้อร้องโดยสุรัฐ พุกกะเวส (ขออภัยที่เวลาสืบค้นข้อมูลมีจำกัดและไม่สามารถระบุปีที่เผยแพร่เพลงนี้ได้) มีเนื้อร้องขึ้นต้นว่า (ร้องคู่ชาย-หญิง) “รื่นเริง สำราญ สบาย / ทั้งใจ และกาย สนุกสุขศานติ์ / หนุ่มสาว ถึงคราว สราญ / ทุกคน ชื่นบาน สำราญฤทัย”

แต่คำบรรยายที่ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทวิจิตรศิลป์ สาขาดุริยางคกรรมของ อ. ชนก สาคริกบอกว่าทำนองเพลงนี้ที่เรารู้จักกันอยู่ในทุกวันนี้นั้น แต่แรกเริ่มแล้วไม่ได้ชื่อว่าเพลงค้างคาวกินกล้วย และเพลงค้างคาวกินกล้วยนั้นเป็นอีกเพลงหนึ่งต่างหาก  โดยยกเนื้อเพลงและโน้ตเพลง “ค้างคาว” ของคุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ซึ่งเป็นเพลงสำหรับสอนเด็กทางวิทยุโรงเรียนขึ้นมาเปรียบและพบว่าเป็นทำนองคนละทำนองกับที่เราได้ยินกันอยู่ในทุกวันนี้

จากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย ได้ความว่าเพลงค้างคาวกินกล้วยที่เราได้คุ้นเคยกันอยู่ทุกวันนี้ที่จริงแล้วมีชื่อว่าเพลงลิงถอกกระดอเสือ ปรากฏอยู่ในเพลงเรื่องเขมรใหญ่ (เพลงเรื่องคือชุดเพลงที่ประกอบด้วยเพลงย่อยๆ หลายเพลงเล่นต่อๆ กัน) โดยมีเพลงเร็วคือเพลงค้างคาวกินกล้วย (ที่ปรากฏในโน้ตเพลงของคุณหญิงชิ้น) เป็นเพลงเปิดชุด ส่วนเพลงลิงถอกกระดอเสือนั้นเป็นเพลงที่อยู่ในลำดับถัดๆ ลงไป แต่ด้วยความที่คนดนตรีมักจะเรียกชื่อเพลงรวมๆ โดยอาศัยชื่อเพลงแรกที่เปิดชุดเป็นหลัก ดังนั้น เพลงลิงถอกกระดอเสือจึงถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเพลงค้างคาวกินกล้วยไปก็ด้วยเหตุนี้

ชื่อเพลงจริงๆ ที่ฟังดูตลกขบขันนี้สัมพันธ์กับบุคลิกของตัวดนตรีที่รื่นเริงและฉับไวด้วย ท่วงทำนองแบบนี้เอื้อให้นักดนตรีไทยที่มักติดตลกโปกฮาอยู่แล้วแต่งเนื้อเพลงในทำนองสนุกสนานเฮฮาลงไปด้วย ดังที่สุจิตต์ วงษ์เทศได้รื้อฟื้นเนื้อร้องเพลงนี้บางส่วนไว้อย่างกำกวมในงานเพลงชุด ดินหญ้าฟ้าแถน (พ.ศ. 2546) โดยเพลงค้างคาวกินกล้วยที่แต่งโดยสุจิตต์ วงษ์เทศ มีเนื้อร้องท่อนสุดท้ายว่า “เสือสะอิ้งลิงสะดุ้ง ลิงกระดุกกระดิกเสือ ลิงถอดเขี้ยวเสือ เสือถอดกางเกงลิง” (ฟังเพลงนี้ได้ที่ http://www.sujitwongthes.com/2009/08/ดินหญ้าฟ้าแถน-2546/)

การทำเพลงๆ นี้ในภาคบรรเลงย่อมทำให้เนื้อร้องเดิมๆ เลือนความหมายไป ยิ่งมีการเปลี่ยนชื่อเพลงด้วยแล้ว ความหมายเดิมที่หยาบคายก็ถูกทำให้สลายลงทีละน้อย ผมคิดว่างานชิ้นสำคัญที่มีบทบาทปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของเพลงๆ นี้ก็คืองานของวงเยื่อไม้ในราวทศวรรษที่ 2530 คือเพลงค้างคาวกินกล้วย (สีไวโอลินโดยนพ โสตถิพันธ์) ที่กลายเป็นเพลงยอดนิยมไปทั่วประเทศในขณะนั้นและส่งผลให้เกิดการนำเพลงๆ นี้ไปดัดแปลงในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลายมากขึ้น (ฟังเพลงนี้ได้ที่ )"

สรุปว่า มีเพลงค้างคาวกินกล้วย 2 เพลงค่ะ
- เพลงในลำดับที่ 8 http://www.klothailand.com/song-thaitraditional.htm?8 เป็นของเดิม
- เพลงในลำดับที่ 29 http://www.klothailand.com/song-thaitraditional.htm?29 เดิมชื่อว่าเพลงลิง.??.เสือ(ทำไมต้องตั้งชื่อซะ..ขนาดนั้นนะคะ)..
แต่ปัจจุบันเวลาพูดถึงเพลงค้างคาวกินกล้วย ทุกคนมักจะนึกถึง เพลงลิง.??.เสือ ในลำดับที่ 29 ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 29 ก.ค. 11, 18:32

มีเพลงทางเหนือ ชื่อเพลงสาวไหมเจียงฮาย มาให้ลองฟังกันดูค่ะ เผื่อชอบ save เก็บไว้ได้ค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
งานแต่ง เปิดคลอเบาๆ ก็เพราะดีนะคะ...

http://audio.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=42140

อีกเพลงชื่อเพลงแหย่งหละปูน ค่ะ ก็ได้บรรยากาศภาคเหนือดีค่ะ
http://audio.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=42145
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 30 ก.ค. 11, 17:34

ระหว่างมีขบวนแห่ขันหมาก ใช้เพลงกลองยาว

ระหว่างเชิญแขกเข้าในบริเวณงาน, ผู้ใหญ่สนทนากัน, วางขันหมาก ใช้เพลงไทยอัตราสองชั้น เช่น ขับไม้บัณเฑาว์

ระหว่างรดน้ำสังข์ ใช้เพลงนางนาค ต่อด้วย มหาฤกษ์ - มหาชัย หรือ ต่อด้วยตับวิวาห์พระสมุทร

แค่นี้ครับ
บันทึกการเข้า
atsk
มัจฉานุ
**
ตอบ: 59


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 30 ก.ค. 11, 21:06

ถ้าเป็นงานของคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นนักดนตรีไทยแล้ว ที่ผมเล่นอยู่ประจำ ก็แค่ ตับวิวาห์พระสมุทร    ก็เหลือแหล่แล้วครับ ใช้เป็นวงไม้นวม หรือ วงเครื่องสาย เหมาะกว่าไม้แข็งครับ

แต่ถ้าเป็นงานของนักดนตรีด้วยแล้ว มันก็จะมีเพลงเยอะแยะมากมายเลยครับ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 30 ก.ค. 11, 23:33

ขอบพระคุณครับ

วันนี้พาเจ้าสาวกับเจ้าบ่าวไปตัดเสื้อ

เหนื่อยน่าดู
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 20 คำสั่ง