เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3342 พระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง
นรีนันท์ มรรคดวงแก้ว
อสุรผัด
*
ตอบ: 43


 เมื่อ 20 ก.ค. 11, 13:41

อยากทราบตัวสะกดที่ถูกต้อง
"พระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง"  หรือ "พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง"
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 ก.ค. 11, 14:23

เขียนอย่างโบราณ หรือ ตามต้นฉบับกฎหมายตราสามดวง
เขียนว่า พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง

ถ้าเขียนตามหลักการเขียนสะกดปัจจุบัน เขียนว่า
พระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง

อันที่จริงชื่อที่ถูกต้องของกฎหมายฉบับนี้น่าจะเป็น

                               ทหาร
พระไอยการตำแหน่งนา   
                                หัวเมือง       

ต่อมา  เขียนรวบเป็น พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง

คำว่า อัยการ นั้น  มาจากคำว่า  อัยย  แปลว่า เจ้า  กับคำว่า การ
รวมแปลว่า ผู้ปฏิบัติการงานของเจ้า               
บันทึกการเข้า
นรีนันท์ มรรคดวงแก้ว
อสุรผัด
*
ตอบ: 43


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 ก.ค. 11, 17:50

ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ก.ค. 11, 16:37

คำว่า "อัยการ" ได้ปรากฎพบตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาในกฎมนเฑียรบาล รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตราไว้เมื่อวันเสาร์ เดือนห้า ขึ้นหกค่ำ " จุลศักราช  ๗๒๐ (พ.ศ. ๑๙๐๑) ว่า

"..จึงต้องพระราชอาญาอัยการ ทหาร พ่อเรือน ชายหญิง สมณพรหมณ์จารย์.."

ศัพท์ครั้งแรกที่พบเขียนว่า "อัยการ" แต่ต่อมามีการเขียนแตกต่างกันออกไป จนกระทั่งมาคงอยู่ ในรูปศัพท์ "อัยการ" ในปัจจุบัน เช่น ในคำพระราชปรารภในกฎหมายตราสามดวงและข้อความในลักษณะพระธรรมสาตรใช้คำว่า "พระไอยการ" ในหนังสืออัยการนิเทศเล่ม ๑-๒ พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๗๙ ใช้คำว่า "อัยยการนิเทศ" ในหนังสือบรรยายประวัติศาสตร์กฎหมายของหลวงสุทธิวาทนฤพุฒิ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๑๒ มีหลายแห่งใช้คำว่า "พระอายการ" เช่น พระอายการลักษณะเบ็ดเสร็จ

พิจารณาตามรูปศัพท์ของคำว่า "อัยการ" จะเห็นได้จากปทานุกรมกระทรวง ธรรมการ พ.ศ. ๒๔๗๐ ว่า การเขียนในสมัยนั้นได้ใช้ตัวอักษรว่า "อัยยการ" คือมีตัว อักษร "ย" เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งตัว ซึ่งพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ ประพันธ์ ทรงอธิบายว่าการที่เขียน "อัยยการ" ก็เพิ่งเขียนขึ้นเมื่อออกปทานุกรม ฉบับนี้เองแต่ก่อนไม่เคยเห็นเขียนเช่นนั้น ครั้นต่อมาพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย สถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้กลับใช้คำว่า "อัยการ" เมื่อยกศัพท์ว่า "อัย" หรือ "อัยย" ซึ่งเป็นคำบาลี แปลว่า "ผู้เป็นเจ้าผู้เป็นใหญ่ นาย" คำว่า "การ" คืองานหรือหน้าที่ ฉะนั้นคำว่า "อัยการ" ตามความหมายของการแยกศัพท์ ก็คืองานของ ผู้เป็นเจ้านาย หรือ งานของผู้เป็นใหญ่ แต่ความหมายในปทานุกรมหรือพจนานุกรมได้ผิดแผกออกไป คือ หมายความว่า ชื่อกรมหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ฟ้องความแผ่นดิน หรือเจ้าหน้าที่ในกรมนั้น

คำว่า "อัยการ" ตามรูปกฎหมาย

การค้นหาที่มาของคำว่า "อัยการ" ตามกฎหมายเก่า เสด็จพระเจ้าวรวงค์ เธอ ซึ่งได้กล่าวพระนามข้างต้นนั้นได้ทรงยกพระราชปรารภในประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ ๑ และในลักษณะพระธรรมสาตร ขึ้นพิจารณาดังนี้

ในพระราชปรารภในประมวลกฎหมายรัชกาลที่ ๑ มีความว่า "แลฝ่ายข้าง อาณาจักร กสัตรผู้จะครองแผ่นดินนั้นอาศัยซึ่งโบราณราชนิติกฎหมาย พระอายการ อันกสัตร แต่ก่อนบัญญัติไว้ให้เป็นบรรทัดฐานจึงพิพากษา ตราสินเนื้อความราษฎรทั้งปวงได้โดยยุติธรรม และพระราชกำหนดบท พระอายการนั้น ก็ฟั่นเฟือนวิปริตผิดซ้ำต่างกันไปเป็นอันมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดข้าทูลอองฯ ที่มีสติปัญญาได้ ๑๑ คน ชำระพระราช กำหนดบทพระอายการอันมีอยู่ในหอหลวง ตั้งแต่พระธรรมสาตรไปให้ถูกถ้วนตามบาลีเนื้อความผิดมิให้ผิดเพี้ยน.."

ในพระธรรมสาตรมีความว่า "อันสาขาคดีนั้น คือ ลักษณะพระราชกำหนดบทพระอายการ และพระราชบัญญัติซึ่งจัดเป็นพระราชสาตรทั้งปวง อันโบราณราชกสัตรทรงพระอุตสาหะพิจารณาคำนึง ตามพระ คำภีร์พระธรรมสาตร แล้วมีพระราชบัญญัติดัดแปลงตกแต่งตั้งเป็น พระราชกำหนดบทพระอายการไว้โดยมาตราเป็นอันมากทุก ๆ ลำดับ กสัตรมาตราบเท่าทุกวันนี้"

พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์นั้นได้ทรงวินิจฉัยว่า ตามที่ปรากฎคำว่า "อายการ" อยู่ในที่ ๒ แห่งนี้ ก็พอจะเห็นความหมายของคำว่า "อัยการ" ได้แล้ว กล่าวคือ พระราชกำหนดบทพระอายการได้แก่ราชสาตรหรือบทกฎหมายที่กสัตร ได้ทรงกำหนดขึ้นตามหลักฎหมายในพระธรรมสาตร

คำว่า "พระอายการ" ตามที่ได้ทรงยกขึ้นเป็นตัวอย่างที่ ๔ แห่งข้างต้นนั้น ตัวพิมพ์ในกฎหมายเก่า ๒ เล่มของหมอบลัดเล ใช้คำว่า พระไอยการ และคำว่า พระไอยการ นี้ ยังมีการเขียนปรากฏอยู่ในกฎหมายเก่าอีกหลายบท เช่น ในกฎมณเฑียรบาลใช้คำว่า "กำหนดพระราชกฤษฎีกา ไอยการ พระราชกุมาร พระราชนัดดา ฝ่ายพระราชกุมารเกิดด้วยพระอัครมเหษี คือ สมเด็จหน่อ พระพุทธเจ้าอันเกิดด้วยแม่หยัวเมือง เป็นพระมหาอุปราชเกิดด้วย ลูกหลวงกินเมืองเอก เกิดด้วยหลานกินเมืองโท เกิดด้วยพระสนม เป็นพระเยาวราช"เป็นต้น ความหมายแห่งคำว่า "ไอยการ" ตามความที่ใช้ในกฎมณเฑียรบาลนี้ หลวงอรรถไกวัลวที อธิบายว่า หมายความถึง ทำเนียบหรือ หน้าที่สำหรับปฏิบัติและถ้าจะได้ศึกษากฎมณเฑียรบาลโดยตลอด จะเห็นได้ว่า ในกฎมณเฑียรบาลมีความกล่าวถึงหน้าที่ของพนักงานต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก เช่น "...ห้ามแห่ แลขี่ม้า เข้ามาในสนาม ไอยการขุนดาบห้าม ถ้าขุนดาบ มิได้ห้ามปรามไซร้ โทษขุนดาบสามประการ.." และนอกจากนี้ ตามกฎ มณเฑียรบาลได้กล่าวถึงหน้าที่มหาดไทยความว่า "ไอยการ" ลูกขุน พ่อเรือน หมู่ไพร่พลทหาร โทษอาญา และช้างม้างา เชือก เรือ สังกัดกฎหมาย และหญ้า แล งาน ณรงคสงคราม ทั้งนี้ พนักงานมหาดไทย" ซึ่งพอจะเห็นความหมายของคำว่า "ไอยการ" ได้ว่า หมายถึง หน้าที่หรือการซึ่งจะต้อง ปฏิบัติหรือระเบียบปฏิบัติ

พลตรีพรเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงชี้แจงว่าเมื่อเห็น การเขียนสองรูปคือ "อายการ" และ "ไอยการ" แล้วก็เห็นได้ว่ามาจากคำว่า "อาย" หรือ " ไอย" ซึ่งแปลว่า ทางไปหรือทางดำเนิน ทางปฏิบัติ" และตามตัวอย่างที่ปรากฎในกฎมณเฑียรบาลที่ยกขึ้นกล่าวนั้น จะเห็นว่า "อัยการ" แปลว่า "ทำเนียมปฏิบัติ หรือหน้าที่ปฏิบัติ คือ ไอย ก็ตรงกับคำว่าปฏิบัติ นั้นเอง หรือถ้าจะใช้อีกคำหนึ่งให้มีความหมายว่า การไป การดำเนิน เราก็มี คำว่า จารีต ซึ่งเมื่อรวมความหมายของคำว่า "อายการ" และ "ไอยการ" ซึ่ง ปรากฏในกฎหมายเก่าเป็นลำดับมานั้นแล้ว "พระราชกำหนดบทพระอายการ" จึงแปลว่า "พระราชกำหนดบทราชปฏิบัติหรือบันทัดฐานการปฏิบัติซึ่งกสัตรบัญญัติไว้"

และในที่สุดคำว่า "อัยการ" จึงได้แก่ "กฎหมายซึ่งกสัตรบัญญัติตาม หลักพระธรรมสาตร และตามขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งปฏิบัติกันมา แต่ยังไม่เป็นบันทัดฐานกสัตรบัญญัติขึ้นให้ เป็นบันทัดฐานสำหรับราษฎร และผู้ตัดสินความจะได้ถือปฏิบัติต่อไป"

http://ago.pathumthanipoc.com/main/index.php?option=com_content&view=article&id=109&Itemid=114
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 19 คำสั่ง