เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 15616 ขอถามเรื่อง กรมหมื่นปราบปรปักษ์ กับกล้วยไม้ ครับ
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 21 ธ.ค. 11, 12:19

เพื่อนชาวสวนส่งสมุดกล้วยไม้ที่ต้นพบในประเทศไทยโดยนักพฤษศาสตร์ชาวต่างประเทศ ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1808
 (พ.ศ. ๒๓๕๑) พบกล้วยไม้ที่มีชื่อไทยว่า "กล้วยไม้ไม้เท้าฤาษี" ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobium crassinode กลุ่มสกุลหวาย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 21 ธ.ค. 11, 12:27

พวกเอื้องพวงหยก ก็มีการค้นพบในประเทศไทย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 21 ธ.ค. 11, 12:34

เอื้องเขาแกะ พบในสมัยรัชกาลที่ ๕


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 21 ธ.ค. 11, 12:37

ส่วนหนึ่งของบันทึกของ เฮนรี่  อาลาบาสเตอร์
เขียนเสร็จในกรุงเทพฯ    วันที่ 24 สิงหาคม, ค.ศ. 1868


คุณปิยะสารณ์คงเคยผ่านตาแล้วเป็นแน่


THE ECLIPSE of 1868
Henry Alabaster’s account

หาอ่านได้ที่นี่

http://www.alabaster.org.uk/chron18.htm#eclipse

แถมด้วยภาพเขียนสีน้ำ ฝีมือคุณหญิงแหม่ม

Henry’s wife, Palacia Alabaster, had painted a picture of the scene at the Jungle Palace which is now in the Public Record Office PRO FO 69/46/810S

Reproduced below is a small section from the picture, but the original is in bright colour. A better, miniature reproduction of this is enclosed with the Chronicle (printed version) for you to keep.



อยากเห็นภาพฉบับสมบูรณ์จัง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 30 ธ.ค. 11, 19:14



        ได้นำเรื่องคุณปิยะสารณ์และการเขียนเรื่องกล้วยไม้ไปกราบเรียน ริชาร์ดในสิงห์  นักสะสมเพื่อขอข้อมูล

คุณท่านหัวเราะเอิ้ก ๆ อ้าก ๆ (ท่านเมตตาดิฉันมากเพราะดิฉันไม่ทราบก็จะตอบว่าไม่ทราบทันที) แล้วเล่าว่าท่านมีอยู่เล่มหนึ่งที่บ้าน 

ไปหาก่อนแล้วจะมาเล่าให้ฟัง

       
        ท่านเพิ่งติดต่อมาเมื่อครู่ ว่ามีหนังสือแปลอยู่เล่มหนึ่ง  ขื่อ ออร์คิด    "สามปอย"  แปลจากหนังสือของ 

Benjamin Samuel Williams  (ตอนแรกคิดว่า  เบนจามินคนหนึ่ง  และ   ซามูเอล คนหนึ่ง)


ท่านแย้ปดิฉันว่ารู้จักสามปอยไหม       ดิฉันนิ่งเงียบไม่ต้องใช้ความคิดหรอก  เพราะไม่เคยแม้นแต่แว่วเลยค่ะ

ริชาร์ดใจสิงห์(นามเรียกขานที่คล้ายกับชื่อจริงของท่าน) อธิบายว่า   ผมที่จะโกนจุกไง

อ่าว  อ้าวท่าน   ไม่ใช่หรอกค่ะ     น่าจะเป็นชื่อกล้วยไม้ไทยทางเหนือสักชนิดหนึ่ง   

เหรอ...นักสะสมอุทานอย่างเปิดเผย   ไม่รู้นี่


       ท่านเล่าต่อเพราะดิฉันไม่กล้าแม้นแต่จะคิดคัดค้าน    พิมพ์ ๒๔๕๙  นะ    ๒๐๐ กว่าหน้า

ดิฉันถามต่อว่ามีชื่อคนไทยที่เล่นกล้วยไม้บ้างไหมคะ

ริชาร์ดใจสิงห์ตอบว่า  ยังอ่านไม่ทัน

       ท่านทิ้งระเบิดสร้างเองไว้ลูกหนึ่ง  "หนังสือปกสวยนะ"  (เป็นหนังสือหายากที่สุด จำนวน ๔๐๐ เล่ม  ที่คัดสรรไป

ทำปกอย่างวิจิตรด้วยหนัง  แผ่นกระดาน   ตกแต่งด้วยวัสดุทีค่า    ส่วนหนึ่งเชื่อกันว่าทำโดยนักโทษที่ได้รับการอบรมจากครูชาวญี่ปุ่นที่รัฐบาลไทยเชิญเข้ามาที ๒ ปี

เอกสารเรื่องการต่อสัญญาอยู่ที่หอจดหมายเหตุค่ะ   


       ถ้าเรื่องที่นำมาเล่านี้ยังไม่ตรงกับความประสงค์ หรือซ้ำกับข้อมูลที่มีอยู่แล้ว     ขออภัยด้วยนะคะ

เพียงจะบอกว่า  ไม่ลืมเรื่องที่ถาม  และได้กระจายข่าวไปแล้ว

(เพื่อนของคุณปิยะสารณ์ที่อรุณอัมรินทร์ย้ายหนังสือและครอบครัวไปเชียงของแล้วค่ะ  ขนหนังสือไป...เกลี้ยงเลย) 
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 00:47

คุณ Wandee มาทีำไร มีข้อมูล น่าสนใจมาฝากทุกครั้ง .......

หนังสือที่กล่าวถึงคือ "สมุดคู่มือของผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้" ของผู้ใช้นามแฝงว่า "สามปอย" เขียนขึ้นพร้อมๆ กับ เสด็จในกรมฯ นครสวรรค์ฯ ทรงนิพนธ์ "ตำราเล่นกล้วยไม้" และใช้ตำราเล่มเดียวกันคือ The Orchid Grower's Manual 7 Edition. 1894 ของ B.S. Williams .......... หากแต่ว่า ของ เสด็จในกรม "ทรงนิพนธ์เอง" เรียบเรียงจากตำรา และแม็กกาซีนกล้วยไม้หลายเล่ม   ส่วนของสามปอย เป็นการ"แปล" มาจากหนึ่งสือเล่มดังกล่าว 

หนังสือเล่มนี้ ผมก็ปราถนาจะได้เห็นเป็นบุญตาซักครั้ง ครับ ได้ข่าวดีเช่นนี้ ดีใจเป็นที่สุด.....

อีกเล่มหนึ่งที่อยากหาข้อมูลคือ "รัมภาพฤกษ์" ซึ่งเป็นวารสารกล้วยไม้ที่ออกมาเพียง 2-3 ฉบับ ประมาณพ.ศ. 2460 - 2468 ยังหารายละเอียดไม่ได้ว่า ใครเป็นผู้จัดพิมพ์หรือ เป็นบรรณาธิการ (ค้นในหนังสือ "รายนามหนังสือพิมพ์ข่าวซึ่งออกเป็นระยะในประเทศสยาม" (พิมพ์ในงานพระศพ พระองค์เ้จ้าแขไขดวง 2472 ก็ไม่พบรายชื่อหนังสือนี้) ชื่อหนังสือ เป็นการแปลตรงตัวคือ รัมภา = กล้วย , พฤกษ์ = ไม้ ดังนั้นจึงเป็นวารสาร "กล้วยไม้" อย่างแน่นอน......

ไหนๆ ก็พูดถึงหนังสือเล่มนี้ ผมเอารูปตัวอย่างปกกับปกในของ The Orchid Grower's Manual มาฝากกันชมครับ แต่เป็นของฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 00:50

ภาพปก


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 00:57

ปกใน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 01:21

สำหรับสหายหนังสือที่สะพานอรุณอมรินทร์ ได้ทราบข่าวแล้วเหมือนกันครับ ว่าจะย้ายครัว ไปอยู่เชียงของ มีเสียงมาว่า ตอนเก็บหนังสือ เจออะไรดีๆ หลายเล่มทีเดียว .... รอชมครับ เผือเขาผ่านบ้านผม ซึ่งอยู่ระหว่างทางไปเชียงของ อาจจะได้นำมาฝากให้ชมบ้าง ......
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 05:41



        ดีใจที่พอทำประโยชน์ได้บ้างค่ะ    เรื่อง รัมภาพฤกษ์  จะไปหาข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ

ขณะนี้มีหนังสือของบอนนี่ เดวิสนักสะสมหลุดออกมา เป็นกรุเลยค่ะ    ส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับบ้านเราทั้งสิ้น

ในการตามอ่านเรื่องราวหรือประวัติบุคคล   ก็ต้องหาหนังสือภาษาอังกฤษในระยะนั้นมาตรวจสอบวันเวลา

ชื่อหนังสือนั้นอาจจะไม่ถูกต้อง   แต่เท่าที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปดูและอ่านหนังสือ   นักสะสมจะเล่นแต่พิมพ์แรกค่ะ


        สมัยหนึ่งเราจะพูดกันถึงเรื่อง "กรุแตก"  คือหนังสือที่คนขายหาได้มาในคราวเดียวเป็นจำนวนมาก    ตอนนี้ที่จตุจักรมี "ตุ่มแตก" ค่ะ

ข่าวไปทั่วถึงท่าช้างในวันเดียวกัน    เรื่องเท่าที่ทราบก็คือท่านเจ้าของเดิมเก็บหนังสืออนุสรณ์ตรามังกรเล่นลูกแก้วที่สำคัญจำนวนมากไว้ในตุ่ม

น้ำหมดแล้วท่านก็ทุบตุ่มนำมาปล่อยเมื่อเสาร์ที่แล้ว   นายหน้าหาหนังสือก็ครึกครื้นรื่นเริง         คนที่มองโลกในแง่ดีหนึ่งคนแถวๆนี้

ก็จะไปจตุจักรวันนี้ค่ะ        แล้วหนังสือตุ่มแตกที่ไหนจะเหลืออยู่ล่ะคะ


        ขอให้มีความสุขในการเขียนหนังสือค่ะ   
       
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 07:43

คุณ Wandee ถูกแย๊ปมาเรื่องสามปอย  เลยขออนุญาตขยายความครับ
ในพิธีโกนจุกนั้น  เมื่อจะตัดจุกนั้นจะแบ่งผมที่ไว้จุกออกเป็น ๓ ปอย  แล้วให้ผู้เป็นประธานในพิธีโกนจุกตัดปอยที่ ๑ ตรงกลาง  ส่วนอีก ๒ ปอยนั้นเป็นหน้าที่ผู้อาวุโสที่เป็นที่เคารพของเจ้าของงาน
แต่เวลาโสกันต์เจ้านายชั้นเจ้าฟ้านั้น  ทรงแบ่งเส้นพระเกศาเป็น ๕ ปอย  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตัดปอยกลาง  ส่วนที่เหลือพระราชทานให้พระบรมวงศานุวงศ์ทรงเจริญพระกรรบิดต่อไปตามลำดับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 10:01

หนังสือที่กล่าวถึงคือ "สมุดคู่มือของผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้" ของผู้ใช้นามแฝงว่า "สามปอย" เขียนขึ้นพร้อมๆ กับ เสด็จในกรมฯ นครสวรรค์ฯ ทรงนิพนธ์ "ตำราเล่นกล้วยไม้" และใช้ตำราเล่มเดียวกันคือ The Orchid Grower's Manual 7 Edition. 1894 ของ B.S. Williams .......... หากแต่ว่า ของ เสด็จในกรม "ทรงนิพนธ์เอง" เรียบเรียงจากตำรา และแม็กกาซีนกล้วยไม้หลายเล่ม   ส่วนของสามปอย เป็นการ"แปล" มาจากหนึ่งสือเล่มดังกล่าว  

หนังสือเล่มนี้ ผมก็ปราถนาจะได้เห็นเป็นบุญตาซักครั้ง ครับ ได้ข่าวดีเช่นนี้ ดีใจเป็นที่สุด.....

นำ The orchid-grower's manual ของ Benjamin Samuel Williams  second edition. 1862 มาให้คุณปิยะชม

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 11:07


        ขอบพระคุณคุณวีมีเจ้าค่ะที่กรุณาแวะมาคุยเสมอ   ก.ศ.ร.ได้เคยเฉลยเรื่องนี้ไว้แล้ว

ใจดิฉันไปอยู่ที่สามปอยหลวง ของ ลพบุรี   กล้วยไม้ที่ออกดอกในวาระมงคลของเจ้าของ



        ไม่น่าเชื่อเลยว่า   ภายในเดือนธันวาคม  วงการหนังสือเก่าจะคึกคักเข้มแข็งวิ่งกันสุดแรงอย่างนี่
        
        รักงานของครูสมิทมากค่ะ  พยายามเก็บงานของท่านเท่าที่มีกำลังทรัพย์  และปัญญาค่ะ


        ท่านแปลกฎหมายลักษณะทาส พิมพ์ในปี จ.ศ. ๑๒๔๒ (พ.ศ.​๒๔๒๓)   ราคา ๘ สลึง

มีคำนำของหมอสมิท ๒ หน้า   ขนาดหนังสือใหญ่กว่าหนังสือวัดเกาะ    กรมหมื่นพิชิตปรีชากรช่วยเรียงหัวข้อ


        หนังสือที่น่าสนใจมากที่สุดที่กำลังหมุนอยู่ในวงการเวลานี้  คือ  Twentieth Century Impression of Siam.

Its History, People, Commerce, Industries and Resources.      เป็นหนังสือสำคัญและราคาสูง  จึงยังไม่คนมาช้อนไปค่ะ

ข้างในเป็นกระดาษอาร์ต   มีภาพถ่ายเจ้านาย  ข้าราชการและพ่อค้าที่มีชื่อเสียง  เช่นภาพเจ้าสัวเนียมเป็นต้น

คนไทยคนเดียวที่ได้ร่วมเขียน คือ พันตรีหลวงภูวนาทนฤบาล   ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระยามหิธรรมนูปกรณโกศลคุณ

ท่านที่เป็นเจ้าของและนำออกแสดงเป็นเซียนค่ะ   เกือบยี่สิบปีจะได้เห็นสักครั้งหนึ่ง
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 11:39

เรื่อง สามปอยนั้น อาจารย์ และผู้เชียวชาญทางนิรุกติศาสตร์ ชื่อกล้วยไม้วิเคราะห์กันว่า ไม่น่าจะหมายถึง การโกนจุก ........ ซึ่งก็น่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะ การโกนจุก เป็นประเพณีของคนไทยภาคกลาง  ไม่ใช่ประเพณีท้องถิ่นของล้านนา (ประเด็นนี้ ต้องอาราธนาคุณ V_Mee เชิญตอบ)

คำว่า "สามปอย" (Vanda denisoniana) นั้น  ถ้าเรียกให้เต็มชื่อก็ต้องเป็น "เอื้องสามปอยขุนตาน" หรือ "ขุนตาล" สะกดได้สองอย่างครับ

ศาสตราจารย์ ไพบูลย์ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ได้อธิบายไว้ว่า

"ปอยเป็นภาษาเหนือ หมายถึงงานมหกรรม เช่นงานวัดเป็นต้น บางท่านบอกว่า หมายถึงงานศพเท่านั้น สามปอย จึงหมายถึงความบานทนของดอก เป็นทำนองว่า บานอยู่ได้ตั้ง 3 งาน"

คำว่า "ปอย" เพี้ยนมาจากภาษาพม่าว่า ปะวอย หมายถึงประเพณีครับ แต่ละพื้นที่ก็ใช้ต่างกัน บางแห่งก็ใช้เฉพาะงานมงคลเท่านั้น บางพื้นที่(เช่นลำปาง แถวบ้านผม)ก็ใช้เรียกรวมงานศพด้วย (ปอยศพ หรือ ปอยผีต๋าย) แต่ปอยศพนี้ น่าจะเพิ่งมีเมื่อไม่นานมาก เพราะแต่เดิมคนตายแล้ว เขาก็ต้องรีบเผาเพราะไม่มีน้ำยาดองศพ คำว่าสามปอยนี้เป็นคำเก่าแก่ น่าจะมีมาก่อนปอยศพ ก็น่าจะตัดประเด็นไปได้ (ตอนแรกก็คิดไปว่า งานศพมีกลางคืน เวลาสามปอยส่งกลิ่นพอดี คนน่าจะจดจำได้) ......ในฤดูที่ดอกสามปอยบาน(ประมาณ กุมภาพันธ์ ไปจนถึง เมษายน) ซึ่งมักจะไม่ใช่ฤดูงานบุญของทางภาคเหนือ ก็เลยไม่ทราบว่า ปอยอะไรบ้าง  และในการบานแต่ละครั้งของสามปอย กินเวลาเป็นเดือนๆ ทีเดียว

......... เอาเป็นว่า มันบานนาน จนคนมางานปอยจำได้  เพราะมาปอยทีไร ก็ยังบานนนนทน หอมชื่นใจอยู่นั้นแหล่ะครับ

สามปอย เป็นไม้ดอกใหญ่ก้านยาว ความนิยมในการนำมาใช้ประโยชน์ของคนท้องถิ่นนั้น ได้เคยสอบถามผู้หลักผู้ใหญ่ ได้ความว่า ไม่นิยมนำมาประดับมวยผม(ของผู้หญิง) เหมือนเช่นดอกเอื้องผึ้ง แต่ด้วยความที่มีกลิ่นหอมในยามเย็นไปจนถึงรุ่งเช้า จึงมีความนิยมนำมาติดกับต้นไม้ใหญ่ประดับบริเวณบ้านเรือน หรือวัดวาอาราม เป็นการใช้ประโยชน์เชิงอนุรักษ์ที่ดีครับ........

ขอเชิญดูรูปสามปอย และประวัติ ได้ครับ (ต้นไม้ผมเอง เขียนเอง เชียร์ตัวเอง!!!)

http://www.thai-orchid-club.com/forum/index.php?topic=640.0
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 11:45



        ชื่นใจกระไรเลย       
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง