เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 15662 ขอถามเรื่อง กรมหมื่นปราบปรปักษ์ กับกล้วยไม้ ครับ
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 20 ธ.ค. 11, 14:48



       ขันทีนั้นมีจำนวนมากเป็นหลายหมื่นคน   วิ่งต้มน้ำร้อนมาอบต้นไม้สักร้อยคนสบาย ๆ     พระพันปีจะไปทราบอะไร


เหตุการณ์มันต่างกันครับ ขันทีเหล่านั้นอาจจะสร้างฐานะศักดิ์จากการให้ดอกไม้เบ่งบาน และรับเงินรางวัล อำนาจราชศักดิ์จากพระนางก็เป็นไปได้
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 20 ธ.ค. 11, 14:58

        พอมีเอกสารเรื่องนี้ไว้บ้างค่ะ     เนื่องจากมีผู้เมตตาให้เอกสารต่างๆมา

และชายหนุ่มแถวนี้มาช่วยขนหนังสือหนีน้ำ  แล้ววางไว้นอกห้องสมุด

ญาติทิ้งหนังสือมาให้สามอาทิตย์ที่แล้วประมาณ ๕๐๐ เล่ม   คัดแจกไปแล้วสองกล่อง

ได้หนังสืองานศพที่พอใช้ได้ประมาณ ๑๐๐ กว่าเล่ม   จึงต้องอ่านหนังสือเหล่านี้ก่อน

เพราะจะมอบให้วงการไป


        ไม่มีหลักฐานค่ะว่าคุณเฮนรี่ตั้งครอบครัวที่สองอยู่ที่ไหน     ขอค้นไปเรื่อยๆก่อนนะคะ

คุณหญิงพาลาเซียหลังจากสามีตายก็เลหลังสมบัติในบ้านอย่างสิ้นเชิง  กระทั่งกระป๋องและสายยาง

แล้วกลับไปอังกฤษค่ะ      หลักฐานอยู่ในสยามสมัย


        เกียรติยศทั้งหมดของโคตรตระกูล(ไม่ใช่คำหยาบ  พระยาอนุมานราชธนเล่าไว้)อยู่ที่สายในเมืองไทยค่ะ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 20 ธ.ค. 11, 15:14



       เกร็ดเรื่องพระนางซูสีนั้นหนังสือเก่าเล่าไว้มาก

       วันหนึ่งเจ้าหญิงเยอรมันเดินทางผ่านมา  ขอเฝ้า      ทางจีนก็บอกว่า  ด้วยความยินดี  แต่ตามธรรมเนียมจีน

ขอให้ยืนเฝ้่า         เจ้าหญิงและทูตไม่ยอม   ที่จริงทูตอยากยอมแต่เจ้าหญิงไม่ยอมเพราะเสียศักดิ์ศรี

อันที่จริงพระพันปีเลือกไข่มุกที่มีอยู่ยาวเป็นเมตรเลยล่ะไว้พระราชทาน

พอนางปีศาจต่างด้าวเข้ามาถอนสายบัวติ๊ดหนึ่ง  แล้วนั่งลง     พระพันปีเลยพระราชทานพัดให้เล่มหนึ่ง

อ่านมาจริงๆนะ  ดอนราชประสงค์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 20 ธ.ค. 11, 15:22

              เกียรติยศทั้งหมดของโคตรตระกูล(ไม่ใช่คำหยาบ  พระยาอนุมานราชธนเล่าไว้)อยู่ที่สายในเมืองไทยค่ะ

พระยาอนุมานราชธนเล่าว่า

ความจริงคำว่า "โคตรตระกูล" ข้าพเจ้าแปลจากคำว่า Tribe ในภาษาอังกฤษ ซึ่งตรงกับคำว่า "โคตร" เช่น โคตมโคตร แต่เกรงอาจจะเข้าใจผิดได้ จึงเอาคำตระกูลต่อท้ายเป็นโคตรตระกูลเพื่อให้เข้าใจถูก แต่ก็ไม่เข้าใจถูกอยู่นั่นเอง แล้วแต่ระดับความรู้แห่งชาติชั้นวรรณะของบุคคล

จากหนังสืออัตชีวประวัติของพระยาอนุมานราชธน ของ เสฐียรโกเศศ หนังสืออ่านนอกเวลา รายวิชา ท๔๐๑ ท๔๐๒

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 20 ธ.ค. 11, 15:22

อิจฉากองหนังสือเหล่านั้นมากมาย...ว่าจะหาภาพสวนดอกไม้ในพระราชวังดาวเหนือสีม่วงมาให้ชม แต่เกรงว่าจะล้ำเกินกระทู้กล้วยไม้ไป จึงขอเดินเรื่องถามคุณวันดีว่ามีหนังสือหรือเอกสารไหมว่า "กรมหมื่นปราบปรปักษ์ นั้นเลี้ยงกล้วยไม้อะไรบ้างหนอ"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 20 ธ.ค. 11, 15:33



        ขอประทานโทษค่ะ    ไม่มีค่ะ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 20 ธ.ค. 11, 18:07

ขอบพระคุณทุกท่าน ที่กรุณาแสดงความเห็นครับ โดยเฉพาะ Wandee ที่เสนอเอกสารใหม่ให้ได้ขบคิด...

        จดหมายของอลาบาสเตอร์ น่าสนใจมากครับ โดยเฉพาะช่วงที่โดยเสด็จ รัชกาลที่ ๔ ไปหว้ากอ ท่านหมายมั่นปั้นมือว่า จะสำรวจกล้วยไม้ และพฤกษศาสตร์ตามที่ได้ร่ำเรียนมาจากมหาวิทยาลัยคิงส์ คอลเลจ (ถ้านับตามปีค.ศ. แล้ว ท่านก็ "น่าจะ"เป็นลูกศิษย์ Sir John Lindley บิดาแห่งอนุกรมวิธานกล้วยไม้ ทีเดียวครับ) แต่ท่านก็ได้เพียงเดินทางสำรวจทางพฤกษศาสตร์ สั้นๆ กับ ชอง แบบติส หลุยส์ ปิแยร์ (J.B.J. Pierre) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส จึงยังไม่ได้ฝากนามไว้ในทำเนียบตัวอย่างทางพฤกษศาสตร์ดังที่ตั้งใจ  .......

         ต่อมาเมื่อได้กลับเข้ามารับราชกาลเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ รัชกาลที่ 5 ในระหว่างการสำรวจเมืองไทย เพื่อวางสายโทรเลข และทำแผนที่ (ทางจังหวัด ระยอง จันทบุรี ตราด ไปพะตะบอง) ท่านก็ได้สำรวจทางพฤกษศาสตร์ และกล้วยไม้ไปด้วย  เวลาท่านได้กล้วยไม้มา ก็นำมาเลี้ยง และจัดแสดงไว้ที่พระราชอุทยานสราญรมย์ เพื่อที่ดำเนินการจัดแสดงเป็นทำนอง Botanical Garden สำหรับพระนคร ตามแบบอย่างที่ ชวา สิงค์โปร์ และศรีลังกา (ซึ่งท่านได้เชิญ Mr. James Morton ผู้อำนวนการสวนพฤกษศาสตร์ สิงค์โปร์ ซึ่งขณะนั้นเป็น "ดาวรุ่ง" ทางด้านพฤกษศาสตร์  มาทำงานเป็นผอ. สวนพฤกษฯ สิงค์โปร์ ขณะอายุได้ 30 กว่าๆ !!!! เสียดายที่ อลาบาสเตอร์ และมอร์ตัน เสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน ภายหลังมารับราชการได้เพียงปีเศษ ถ้าไม่เช่นนั้น สยามคงมีสวนพฤกษศาสตร์ที่เลิศเลอ ไม่แพ้ Kew Garden ที่อังกฤษเป็นแน่)  

         พอท่านได้กล้วยไม้ไทยมา ท่านก็เที่ยวถามว่า เรียกว่าอย่างไร? แต่ด้วยความที่สยามมีหลายถิ่น แต่ละถิ่นก็เรียกไม่ตรงกัน หรือหลายชนิดซึ่งเป็นกล้วยไม้ต้นเล็ก ดอกเล็ก คนพื้นถิ่น ก็ไม่คิดจะสนใจตั้งชื่อ เรียกนาม ว่ากระไรกัน ท่านก็ตั้งชื่อให้เสร็จสรรพ เช่น "กล้วยไม้ ช้าง" ก็มิสเตอร์อลาบาสเตอร์นี้แหละ่ เป็นคนตั้งชื่อ โดยแปลมาจาก Saccolabium gigantea ต่อมาบุตรชายของท่าน คือ พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคำ เศวตศิลา) ได้เรียบเรียงหนังสือ List of Common Trees and Shrubs in Siam รวบรวมชื่อพรรณไม้ไทย เทียบเป็นภาษาอังกฤษ เป็นฉบับแรก (ภายหลังจากมีสอดแทรก อยู่ตามพจนานุกรมต่างๆ มาตั้งแต่ รัชกาลที่ ๔)




บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 20 ธ.ค. 11, 21:37

ใน Bangkok Centennial ก็คงนับเป็นการแสดงกล้วยไม้ครั้งแรกของสยาม ก็ว่าได้ เป็นหลักฐานที่กล่าวถึงกล้วยไม้ในเมืองไทยอีกชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจมากครับ....

ในงาน ได้มีการจัดแสดงกล้วยไม้พื้นถิ่นของสยามหลายรายการ ดังที่คุณ Siamese ได้กรุณาแจกแจงให้ทราบ ขอเพิ่มเติมอีกนิดหน่อยครับ

Microstylis เป็นกล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่บนพื้นดินชนิดหนึ่งคล้ายกับ สกุล Malaxis หรือภาษาไทยเรียกว่า "หูเสือ" ชื่อที่สำคัญของไทยคือ Microstylis siamensis แต่ชนิดนี้ ถูกค้นพบ ตั้งชื่อในปีค.ศ. 1925 หลังจากงานเลิกนานพอควร ........ ในงานนี้ ก็ไม่ได้แจ้งว่า เป็นชนิดใด อาจจะเป็น ชนิดพันธุ์ siamensis ก็เป็นได้ เพราะพบได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้น

และในบทความยังกล่าวถึงกล้วยไม้สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ Anoectochilus ถ้าเรียกอย่างสามัญ (Common Name) เรียกกันว่า "Jewel Orchid" ครับ เพราะลักษณะใบ มีสีสัน และลวดลาย สวยงามมาก (ส่วนดอก ก็เฉยๆ เล็กกว่าปลายนิ้วก้อยเสียอีก) ที่มีกล่าวถึงอย่างชัดเจนคือ Anoectochilus ordeanus และ Anoectochilus dawsonianus ซึ่งในภายหลัง นักพฤกษศาสตร์ ทบทวนแล้วว่า เป็นชื่อเดียวกับ Ludisia discolor หรือภาษาไทยอันไพเราะคือ "ว่านน้ำทอง" ครับ มีอีกสองชื่อก็น่าสนใจ คือ Anoectochilus King Chulalonkorn and Queen Sawahng คำอธิบายมีว่า เป็น New species หรือพืชชนิดใหม่ของโลก ..... เสียดายว่า ไม่มีรายละเอียดและบริบท ให้สืบค้นต่อว่า คือชนิดใด ?

ตัวอย่างภาพ Jewel Orchid ครับ ใบงามน่าเลี้ยงมาก เสียแต่ว่า หอยชอบกินใบที่สุด ...... ใครอยากเลี้ยง โปรดเลี้ยงในตู้ปลาปิดมิดชิดครับ


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 20 ธ.ค. 11, 22:17

ส่วนกล้วยไม้อื่นที่หนังสือแจกแจงให้ทราบ ก็ไม่ไ่ด้ให้รายละเอียดว่าเป็นชนิดพันธุ์ (Species)ใด พยายามขบคิดว่า กล้วยไม้ต่างๆ นี้ "น่าจะเป็นกล้วยไม้ชื่ออะไรบ้าง" ก็ยิ่ง งงงวย เข้าไปใหญ่ เพราะสกุลกล้วยไม้ต่างๆ ที่บอกไว้ มักออกฤดูอื่น ไม่ออกดอกกลางเดือน เมษายน ถึง กลางเดือน กรกฏาคม เลย!!!!!!!!!

ยิ่งประกอบกับว่า อลาบาสเตอร์ได้เคยสำรวจอยู่บริเวณภาคกลางไปถึง เขมร ผ่านระยอง จันทบุรี ตราด และลงใต้ัไปสิงค์โปร์ เท่านั้น (เว้นแต่จะมีคนส่งมาให้จากส่วนต่างๆ ก็เป็นได้) ก็ยิ่งแปลกใจเข้าไปใหญ่

กล้วยไม้สกุลหวาย ถ้าไปทางระยอง จันทบุรี ก็จะมี "เหลืองจันทบูร" เป็นดาวเด่น เพราะสวย และหาง่าย(สมัยก่อน) แต่กล้วยไม้ชนิดนี้ ออกดอกช่วงหน้าหนาว คือมกราคม ไปจนสุดที่เดือน มีนาคม ไม่ค่อยปรากฏว่าจะลากยาวไปถึงเดือน เมษายน

สกุล คาลันเธ กับช้างผสมโขลง เป็นไม้ดินพักหัวในฤดูแล้ง และฤดูหนาว จะออกดอกเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น

Cymbidium, Vanda ก็มักพบทางภาคเหนือมากกว่า ทางตะวันออก

ดูจะมี Renanthera หรือสกุลหวายแดง ที่มีแถบนั้น และออกดอกช่วงดังกล่าว คือ Renanthera isosepalla เรียกชื่อไทยตรงตัวว่า "หวายแดงประจวบ"

Cypripedium หรือ รองเท้านารีในเมืองไทยจะเป็น Paphiopedilum อันนี้ เดาได้ 2 ชนิดชนิดแจ่มแจ้งคือ Paphiopedilum concolor หรือรองเท้านารีเหลืองปราจีน Paphiopedilum callosum หรือ รองเท้านารีคางกบ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะมีแสดงเพียง 1 ชนิด

ส่วนที่ว่า ตอนปลายงาน (คือเดือนกรกฏาคม) จะหาไม้ดอกได้น้อย นั้น ก็จริง แต่จะมีพวกไม้หอมๆ เช่น Aerides หรือ กล้วยไม้สกุลกุหลาบ กับ Saccolabium หรือกล้วยไม้สกุลช้าง (ปัจจุบันเปลี่ยนชือสกุลเป็น Rhyncostylis) ออกดอกนั้น ดูจะผิดที่ผิดเวลาเช่นกัน เพราะ สกุลช้าง กำลังจะออกดอกช่วงนี้แหล่ะครับ (ต้อนรับปีใหม่) ส่วนสกุลกุหลาย จะออกดอก ช่วงสงกรานต์ (สองชนิดนี้ จึงขายดี เพราะตรงเทศกาล) ไม่ค่อยเห็นว่า ไปบานดอกเอาเมื่อเดือนกรกฏาคม ........ เว้นแต่ พวก สกุล "เข็ม" (Ascocentrum) ในปัจจุบัน จำพวก เข็มม่วง เข็มแดง เข็มแสด ซึ่งสมัยเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว ยังรวมอยู่กับ Saccolabium จะบานช่วง กุมภาพันธ์ - เมษายน ซึ่งอาจจะลากยาวไปถึงกรกฏาได้บ้าง (แต่ก็ไม่หอมอีก!)

ผมคิดเอง สรุปเองน่ะครับ  ถ้าจะเป็นไปได้......

1. ก็อาจจะเป็นดังที่ คุณ siamese กับคุณ Wandee กล่าว คือต้องบังคับให้ออกดอกตรงงาน....... ( อิทธิฤทธิ์ ของอลาบาสเตอร์ คงมีไม่แพ้ ซูสีไทเฮา )

หรือ ไม่เช่นนั้น

2. อลาบาสเตอร์ ต้องเลี้ยงกล้วยไม้ แต่ละชนิด เยอะมากๆๆๆๆๆๆ เพราะถ้าไปตามฟาร์ม หรือ สวนกล้วยไม้ใหญ่ๆ ก็อาจจะได้เห็นกล้วยไม้ ออกดอกนอกฤดูบ้าง

ซักต้นสองต้น จากหลายพันต้น !!!!!!


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 20 ธ.ค. 11, 22:59

อิจฉากองหนังสือเหล่านั้นมากมาย...ว่าจะหาภาพสวนดอกไม้ในพระราชวังดาวเหนือสีม่วงมาให้ชม แต่เกรงว่าจะล้ำเกินกระทู้กล้วยไม้ไป จึงขอเดินเรื่องถามคุณวันดีว่ามีหนังสือหรือเอกสารไหมว่า "กรมหมื่นปราบปรปักษ์ นั้นเลี้ยงกล้วยไม้อะไรบ้างหนอ"

เรื่องกรมหมืี่่นปราบปรปักษ์ เลี้ยงกล้วยไม้นั้น ผมเคยอ่านผ่านตามา จำได้ลางๆ ประมาณว่า เวลาใครเอากล้วยไม้มาถวาย ในหลวงองค์ ๕ ก็จะพระราชทานมาให้ เสด็จในกรมปราบฯ ทรงเลี้ยงต่อ ที่วังหน้าประตูวิเศษไชยศรี  เสด็จในกรมก็สร้างเรือนกล้วยไม้ไว้ข้างโรงครัว .......  ตอนแรกคิดว่า อ่านมาจาก จดหมายหม่อมหลวงป้อง ถึงหม่อมหลวงปิ่น (เล่าถึง "เสด็จปู่" และ "น้องปิ่น" ตอนเด็กในบ้านวิสุทธคาม) แต่ก็ไม่มี นึกยังไง ก็นึกไม่ออกว่า มาจากไหน ถ้าทำเป็นบทความ ก็จำเป็นจะต้องอ้างแหล่งทีี่มา จึงต้องวิ่งจ้าละหวัน หานี้แหล่ะครับ......


หรือท่านใด พอจะมี "เรื่องเล่า" หรือ "เอกสาร" ว่า เจ้านาย, ขุนนาง เจ้าคุณ คุณพระ ฯลฯ ท่านใดเลี้ยงกล้วยไม้ (ขอชนิดที่เลี้ยงเป็นจริงเป็นจังครับ ไม่ได้ฝากเทวดาเลี้ยง) ก็ได้โปรดส่งข้อมูลให้บ้างครับ  ผมขอยกตัวอย่างครับ

ยุคแรกๆ (รัชกาลที่ ๕-๖)


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ *
หม่อมเจ้า ปิยะภักดีนารถ สุประดิษฐ์    
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช
เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค)
พระยารัตนสมบัติ (แป๊ะ จารุจินดา)
พระยาเทพอรชุน (เจ๊ก จารุจินดา)
พระยามหิมานุภาพ (เป๋า รัตนทัศนีย์)  
พระยาวิชิตณรงค์ (คืบ สุวรรณฑัต)
พระยาดรุพันพิทักษ์ (สนิท พุกกะมาน)
พระยาบริหารราชมานพ (เนียม สาคริก) คุณลุงของ ศ.ระพี สาคริก
พระยาพจนปรีชา (ม.ร.ว. สำเริง อิศรศักดิ์)
หม่อมราโชทัย (ม.ร.ว. โต๊ะ อิศรางกูร ) *
หม่อมราชวงศ์ สุวพันธุ์ สนิทวงศ์  *
พระชลหารพิจิตร์ (หาไม่เจอครับว่า ชื่อ-นามสกุลอะไร ใครทราบโปรดช่วยด้วย)
ศาสนาจารย์ ดร.วิลเลียม แฮรีส (ผู้ก่อตั้งโรงเรียน ปริ้นส์ รอยัล เชียงใหม่)*
Mr. Fridrick แห่งห้อง บี.กริมม์ แอนโก  (ชื่อของท่านได้รับการตั้งเป็นชื่อกล้วยไม้คือ Dendrobium fridrickianum หรือ เหลืองจันทบูร)  

(ที่มีดาว * คือมีหลักฐานน้อยมาก)

ยุคช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

หม่อมเจ้า ถาวรมงคลวงศ์ ไชยยันต์
หม่อมเจ้า ลักษณะกร เกษมสันต์
พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (สวาสดิ์ รังสิพราหมณกุล)
พระยาประดิพัทภูบาล (คอยู่เหล ณ ระนอง)
น.อ. พระยาฤทธิเดชชลขันธ์ ร.น.(เปลี่ยน เหมะวนิช)
พล.ต. พระยาพิชัยรณรงค์สงคราม (ทองดี จารุทัต)
พ.ต.อ. พระมหาวิชัย (ฉัน ทรรทรานนท์)
พระตะบะฤทธิรงค์ (หยู่ จารุจินดา)
พระอินทปริญญา (เปลี่ยน จินดาวนิก)
ขุนเทพประสิทธิ์ไปรษณีย์ (หาไม่เจอครับว่า ชื่อ-นามสกุลอะไร ใครทราบโปรดช่วยด้วย)
ครูวงศ์ บุญโญรส
นายเปลี่ยน โรจนเรืองแสง

และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร (เสด็จพระองค์ชายกลาง) อดีตนายกสมาคม พฤกษชาติ แห่งประเทศไทย พระองค์แรก มีเรื่องเล่าว่า พระองค์ เสด็จไปซื้อ และทอดพระเนตรกล้วยไม้ ที่ปีนัง มีเลขาฯ หิ้วกระเป๋าเจมส์บอด์น บรรจุธนบัตรดอลล่าเต็มกระเป๋า ไปซื้อกล้วยไม้ !!!!!!!!!! และมีคำกล่าว เล่ากันในวงพ่อค้ากล้วยไม้ว่า .......... ต้นไหนหายาก ฝ่าบาท ซื้อหมด !!!!!!!

อีกท่านหนึ่งที่อยากได้ข้อมูลคือ นายสง่า ณ ระนอง บุตรพระยาประดิพัทธภูบาล (คอยู่เหล ณ ระนอง) ซึ่งได้ตามเสด็จฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตไปประทับที่เมืองบันดุง เกาะชวา ประเทศอินโดนิเซีย ถึงแม้ในขณะที่ประทับอยู่ที่ชวา กรมพระนครสวรรค์ฯ จะไม่ทรงสนพระทัยเลี้ยงกล้วยไม้เลย ทั้งๆ ที่เกาะชวา ก็เต็มไปด้วยกล้วยไม้นานาพันธุ์ นัยว่า อยากจะทรงลืมบรรดากล้วยไม้ที่ทรงรักซึ่งถูกทิ้งไว้ที่วังบางขุนพรหม หันไปทรงแต่ดนตรีไทยเป็นงานอดิเรก  แต่ก็มิทรงขัดที่นายสง่าจะสนใจกล้วยไม้ถึงกับทรงออกพระโอษฐ์ว่า “อีกหน่อยจะต้องหลงอย่างฉัน ถึงกับลงมือทำเอง เอาฟองน้ำชุบสบู่เช็ดใบทีละใบ จับอาบน้ำกันทุกปี เพราะความหลง”

หลัง 2500 มานี้ ก็เช่น จอมพลประภาส จารุเสถียร , ท่านผู้หญิง เลอศักดิ์ สมบัติสิริ (สองท่านนี้ เป็นลูกค้ารายใหญ่ของตลาดต้นไม้ริมคลองหลอด) จริงๆ มีอีกหลายท่าน ใครมีเรื่องสนุกๆ ก็ได้โปรดชวนกันเล่า

ขอบพระคุณครับ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 21 ธ.ค. 11, 06:23

        เรื่องกรมหมื่นปรปักษ์นั้น    ผู้อาวุโสแถวนี้แจ้งมายังดิฉันว่าเคยได้ยินมา  เบาะแสที่คุณปิยะสารณ์ให้มา

ก็จะนำไปใช้ตรวจสอบ   ท่านนั่งอยู่ในที่ที่มีเอกสารราชการหายากกองอยู่รอบตัวและตัวท่านก็ละเอียดละออแม่นยำไม่มีแม้นเหมือน

ดิฉันไม่ทราบเรื่องกล้วยไม้   บ้าแต่เอื้องแซะเมืองนาย(ถ้าเลขาธิการกลุ่มไม่ ยิ๊บซี่(ยืมระยะยาว)  ไปแล้ว หนังสือชุดนี้ก็ยังอยู่)  

แต่อ่านเรื่องที่เล่ามาก็เห็นได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่


       รายละเอียดเรื่องอาลาบาสเตอร์กลับเข้ามาสยามเป็นครั้งที่สองพร้อมกับเจ้าสาว   ได้ตรวจจากบางกอกเรคอร์เดอร์สองเล่มปกสีเทาแล้ว  ไม่มีแน่นอน

จึงจะไปหาให้ใน  Siam Repository    ตรวจไปได้  ๑๕๐ หน้าแล้ว      บรัดเลรายงานฝรั่งมาฝรั่งไปไว้ละเอียด



รายชื่อบุคคลที่ต้องการ

ขุนเทพประสิทธิ์ไปรษณีย์   ตามอ้างอิงเดิมที่ดิฉันใช้  หน้า ๙๓๓   บอกไว้ว่า

นามของท่านคือ  มาลัย  เทพประสิทธิ์
รองอำมาตย์โท
นายไปรษณีย์ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขที่ ๕
จังหวัดพระนคร


พระชลหารพิจิตร         อ้างอิงเดิม  หน้า ๘๗๑

นามของท่านคือ    เอ๊กกี่  เศรษฐบุตร
อำมาตย์โท
เจ้าพนักงานกำกับการแผนกรักษาน้ำ  กองกลาง
กรมชลประทาน


ดิฉันนั้นหลงใหลข้อมูลเก่า  เช่นเรื่องราวของหม่อมเจ้าปิยะภักดีนารถ  สุประดิษฐ์  มานานแล้ว

แต่ไม่มีข้อมูลว่าท่านเลี้ยงกล้วยไม้


ปลื้มที่ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล    

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 21 ธ.ค. 11, 09:21

ขอบคุณ คุณpiyasann  ที่ให้คำตอบเรื่องว่านน้ำทอง และหูเสือ สวยงามมาก ๆ คนที่รักจนเข้าถึงกับคลั่งไคล้กล้วยไม้ จนเรียกว่า "บ้ากล้วยไม้" ย่อมมีความสุขเมื่อได้เห็น ได้เป็นเจ้าของ ได้อวด ได้เห็นดอก เห็นการเติบโต ข้าพเจ้าเคยมีพันธุ์กล้วยไม้ในมือกว่า ๙๐ ชนิดปลูกไว้สวยงาม ส่วนมากจะเน้นไปทางสกุลแวนด้า โดยเฉพาะฟ้ามุ่ยป่า สีฟ้าจางดังหมอกลง สมุกไม่เข้ม ซีดมาก ๆ เป็นป่าแท้ ๆ เสียดายที่โดนเชื้อราเน่าโคนใบช่วงฝนตกเยอะ ๆ ทำลายซะเกือบเกลี้ยง  ร้องไห้


เรื่องการบังคับให้ออกดอกยังคิดไม่ตก แต่เอกสารระบุว่ากล้วยไม้ที่นำมาจัดแสดงนิทรรศการออกดอกอย่างดี และมีสีซีดจางไปบ้างเมื่อใกล้หมดงาน แต่พวกกุหลาบยังคงความหอมไว้ ไม่แน่ว่าอาจจะมีการติดต่อนำเข้ากล้วยไม้จากแหล่งต่าง ๆ เข้ามา อย่างสกุลช้างนี่ออกดอกในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ยากเกินไปที่จะออกในมิถุนายน - กรกฎาคม หรืออาจจะมีการบังคับอุณหภูมิในโรงเรือน ให้ปุ๋ยอย่างดีก็ไม่ทราบได้

แนบภาพอาคารที่ตั้งอยู่บริเวณปากประตูวิเศษไชยศรี สมัยรัชกาลที่ ๕


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 21 ธ.ค. 11, 10:41

พระวิมาดาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกเธอฯ ถือดอกกล้วยไม้เพื่อนำมาปักแจกัน


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 21 ธ.ค. 11, 11:39



ส่วนหนึ่งของบันทึกของ เฮนรี่  อาลาบาสเตอร์
เขียนเสร็จในกรุงเทพฯ    วันที่ 24 สิงหาคม, ค.ศ. 1868


คุณปิยะสารณ์คงเคยผ่านตาแล้วเป็นแน่


THE ECLIPSE of 1868
Henry Alabaster’s account




But all the time there were two sources of uneasiness; the first, the weather had been overcast, and though it improved on the 15th there was a general expectation that we should not see that which we had come to see; second, the French were complaining and dissatisfied, and saying the Siamese were so suspicious of them that they would give them no assistance. (This was unfair, the Siamese, if I was not misinformed, wanted to do everything for them, even to feeding them). As an instance of what resulted, I may mention the following. M. Pierre, the botanist of the Expedition, wished to make a journey. "The jealous Siamese" said some "gave him no carts or assistance, believing he came to spy out the land". I asked him whether he had applied for them, he said "No" his chief had determined to take nothing from the Siamese, so had refused to ask for assistance for him. I spoke of it unofficially to a Siamese officer and in a few hours the gentleman was on his way rejoicing with three carts and ten coolies. For this, and some other services I had the fortune to render M. Pierre, I am to have the pleasure of receiving a duplicate set of the plants collected by him (embracing he believes more than 200 new varieties) which I shall forward to the Kew Museum. Also my name, or my present official position is to be attached to a remarkable rush that grows in muddy holes in Siam. I believe it was only the irritating cloudy sky that caused the ill will for as the weather improved it all passed away and the Siamese civilities, sacks of potatoes etc. were freely accepted.


Hy Alabaster

     
   เรื่องมีว่า  ทางฝรั่งเศสโวยวายกัน    อาลาบาสเตอร์แวะไปดู  เห็น  ปิแอร์  the botanist of the Expedition   เป็นชาวฝรั่งเศส   

ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ทางไทย  เพราะปิแอร์ไม่ได้ขอ

อาลาบาสเตอร์ก็ไปช่วยพูดให้    เลยได้เกวียนมาสามลำ และ คนงาน ๑๐ คน

เพราะความเอื้อเฟื้อนี้และอย่างอื่นอีกนิดหน่อย     ปิแอร์สัญญาว่าจะแบ่งพรรณไม้ให้ ๑ ชุด 

 ซึ่งน่าจะมีตัวอย่างใหม่ ๆ  มากกว่า ๒๐๐ ขนิด     he believes more than 200 new varieties

ซึ่งกระผม(เขียนรายงานถึงกระทรวงต่างประเทศของตัว) จะส่งไปที่ the Kew Museum.
 

นำเกร็ดมาเล่าพอเป็นน้ำจิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 21 ธ.ค. 11, 11:58



       ตอนบ่าย ๆ วันนี้  ถ้าว่าง  จะไปตามหา คอลัมน์ สังคมของบรัดเล  มาฝากค่ะ

ดีอยู่หนึ่งเรื่องคือ  เรื่องปัญหาวิวาทฟ้องร้องกับ มงเซียร์โอบาเรต์(บรัดเลสะกดแบบนี้)

บรัดเลรายงานตรงไปตรงมา

   
        ดูแล้วท่านก็เป็นคนแก่ขี้บ่น  จู้จี้     มีอะไรก็รีบเอาลงหนังสือพิมพ์ของตัวเชียว

ถนนไม่ดี   มีฝุ่นมาก ราดน้ำเสียมั่งซิ      เจ้านายที่เสวยน้ำจัณฑ์ออกไปเกะกะ ก็รายงาน

หญิงไทยหนึ่งคนมีสามีหลายคน   คุณชวดก็บ่น    ละเมิดสิทธิมนุษยชนไปหน่อยมั๊ง

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 20 คำสั่ง