เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 17207 พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย)
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 18 ก.ค. 11, 18:06




โปรดอ่านประวัติ ท่านผู้หญิงพัว  อนุรักษ์ราชมนตรี  ประกอบด้วย


คัดมาจาก หนังสืออนุสรณ์  พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร มวม. ปช. ทวจ.

ณ  เมรุหน้าพลับพลาราชอิสริยาภรณ์   วัดเทพศิรินทราวาส

วันที่ ๑๐  เดือน มิถุนายน  พ.ศ. ๒๕๑๙

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 18:28



ท่านผู้หญิงพัว  เล่าไว้ในชีวิตสมรส  หน้า ๓๗   ว่า


     "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานน้ำสังข์   เนื่องในโอกาส  ที่ทรงประกอบพิธีสมรสพระราชทาน

ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน  ๒๔๗๐        เจ้าคุณอนุรักษ์ ฯ และข้าพเจ้าได้รับพระราชทาน เงินก้นถุงจำนวน ๑๐ ชั่ง (๘๐๐ บาท)

ภายหลังที่ได้รับพระราชทานน้ำสังข์แล้ว   ก็ไปไหว้ผู้ใหญ่ผู้เป็นประมุขของฝ่ายสุจริตกุลในขณะนั้น  คือ สมเด็จกรมพระสวัสดิ์ ฯ     ได้รับสั่งเล่าให้ฟัง

ต่อหน้าท่านเจ้าคุณอุไทยธรรมว่า     


"สกุลวัชโรทัยเขาสูงกว่าสุจริตกุลนะ"   เพราะเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกหลบหนีพม่ามา  โดยควำ่เรือสำปั้นลอยคอกันมาสามคนนั้น

มีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า   สมเด็จพระอนุชา  กับตระกูลวัชโรทัยหนึ่งคน   จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระมหากษัตริย์

ทรงใช้สอยใกล้ชิด   ทรงมอบหมายให้ทำหน้าที่พนักงานภูษามาลา   ถวายพระเครื่องใหญ่ (ตัดผม)   สนองพระเดชพระคุณในงานพระราชพิธี

น้อยใหญ่      ตลอดจนพระบรมศพ  พระศพ    ได้ทรงมอบหมายให้ตระกูลนี้รับผิดชอบ   และปฎิบัติสืบเนื่องมาจนทุกวันนี้"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 19:05




หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย  ดิศกุล    ทรงนิพนธ์    พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร      หน้า ๖๕


       "ข้าพเจ้าได้รู้จักเจ้าคุณพ่อ (เจ้าคุณอุไทยธรรม  หรุ่น  วัชโรทัย)  ของเจ้าคุณอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด  วัชโรทัย)

มาตั้งแต่ยังเด็ก ๆ    เพราะท่านมาตัดพระเกษาถวายเสด็จพ่อทุกเดือนที่วังเก่าสามยอด        ข้าพเจ้าชอบไปนั่งดูทุกครั้ง

เพราะเห็นแปลก       จนไม่รู้สึกกลัวเจ้าคุณราชโกษา (ท่านยังเป็นตำแหน่งนี้)     เป็นแต่เกรง ๆ ท่านเพราะท่านเป็นคนนิ่ง ๆ

ใจดีแต่ไม่เป็นคนช่างพูดเล่นกับเด็ก


ต่อมาถึงเวลาข้าพเจ้าโกนจุกในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท     มีเก้าอี้ตั้งเป็นแถวหน้าที่ประทับ  เรียงลำดับมาตามอาวุโส

พระบิดาสำหรับให้ทรงตัดจุก         พวกภูษามาลาเขาแบ่งผมเราเป็นสามปอย         นั่งคอยพระเจ้าอยู่หัวทรงตัดพระราชทานปอยที่ ๑

เจ้านายรองลงมาอีกปอย ๑        พระบิดาเด็ก ๑ ปอย         แล้วเจ้าพนักงานเขาจึงจะเข้ามาโกนให้เกลี้ยงเกลา  แล้วนำไปนั่งคอย

รดน้ำในลานพระมหาปราสาท (ทางมีเขา)


โดยธรรมดาเจ้าคุญราชโกษา ฯ   ท่านเป็นหัวหน้ากรมภูษาาลา  ท่านจะโกนคนแรกก่อน

วันนั้นท่านจำข้าพเจ้าได้


ท่านเข้ามาถามว่า  "นี่ท่านหญิงในกรมหลวงดำรงใช่ไหม?"

ข้าพเจ้าตอบว่า ค่ะ

ท่านบอกว่า "เดี๋ยวกระหม่อมจะมาโกนถวายนะ"       แล้วท่านก็มาโกนให้จริง ๆ     

พอเสร็จคนแรกคือท่านหญิงสมัยเฉลิม  กฤดากรท่านก็ตรงมาที่ข้าพเจ้าเพราะมีผู้โกนจุกในปีนั้นมากถึง ๑๓ คน       

เจ้าพนักงานโกนก็มีหลายคนด้วยกัน


ข้่าพเจ้าภาคภูมิใจนักว่าท่านเจ้าคุณโกนให้เอง



(ยังมีต่อ  ตอนสำคัญ  โปรดรีบกลับมาอ่าน)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 19:24

ตามอ่านด้วยคนครับ

ภาพท่านผู้หญิงพัว 


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 01:07

(ต่อ  ที่ท่านหญิงพูน  ทรงนิพนธ์)




       "พูดถึงเรื่องเก่า ๆ เสด็จพ่อท่านเลยเล่าให้ฟังว่า   "นี่แหละ ต้นสกุลเขาเป็นผู้เชิญพระกลดพระพุทธยอดฟ้า ฯ

เวลาอะแซหวุ่นกี้ขอดูตัว"  (เพราะฉะนั้นพวกนี้จึงได้ทำงานอยู่ในกรมภูษามาลาต่อ ๆ กันมา)   

โอย,  เลยรักเจ้าคุณผู้นี้ท่วมท้นถึงลูกหลานของท่าน  รู้สึกเป็นญาติ  "ร่วมตาย" มากับเขาตลอด      จนได้มาคุ้นเคยกับ

เจ้าคุณอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด  วัชโรทัย) ในรัชกาลที่ ๖ เข้าอีก"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 01:23



ประวัติ  พระยาอนุรักษ์มณเฑียร  (ก๊าด   วัชโรทัย)


เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๓๙      เป็นปีที่ ๙  ในรัชกาลที่ ๕  กรุงเทพ ฯ

บิดาคือ พระยาอุไทยธรรม(หรุ่น  วัชโรทัย)  กับคุณหญิงหลี  บุตรีเจ้าสัวกวงหลิม

พี่น้องคือ

๑.   พระยาราชโกษา (โบ้ต)

๒.   ท่านเจ้าของประวัติ

๓.   หญิง       งาม

๔.  นายราชาวุธาธร (ป๋า)

๕.  นายรองสุนทรมโนมัย (แกล๊ด)

๖.  หญิง   ลออ

๗. หญิง   ธัญญา

๘. ชาย  อุทัย

พี่น้องต่างมารดา

๙.  ญ.  เฉลิม

๑๐. หญิง   อบ

๑๑. พระจำนงภูษิต (จรูญ)

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 01:30

สาแหรก

พระยาอุไทยธรรม (หรุ่น)  เป็นบุตรของ พระยาราชโกษา (จัน)

พระยาราชโกษา (จัน) เป็นบุตรของพระยาอุไทยธรรม(เพ็ชร์ )  (รักษาตัวสะกดเดืม)

บิดาของพระยาอุไทยธรรม (เพ็ชร์) คือ พระรัตนวงศา (แจ่ม)



ต้นสกุลของวัชโรทัย  คือ พระยาอุไทยธรรม(ทอง) มีบุตรคนเดียวคือ พระรัตนวงศา (แจ่ม)

บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 10:31

จริงๆเมื่อนานมาแล้วผมทำวิจัยเรื่องสถาปัตยกรรมจีนในไทย กรณีศึกษาวัดนอกอย่าง (วันแบบจีนในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ผมหาประวัติตระกูลผู้สร้างวัดไม่ได้แค่ตระกูลเดียวคือตระกูลหงสกุล กล่าวคือ สืบได้เก่าสุดแค่พระยาเพชรพิชัยเท่านั้นเอง...

คุณวันดีทราบบ้างไหมครับ เพราะว่าอยากจะเก็บข้อมูลไว้ให้ครบเสียที (ค้างมาสามปีแล้ว)
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 17:12

ถ้าจะสืบหาข่้อมูลสกุลหงสกุล  ขอแนะนำให้ค้นข้อมูลสกุลสุรนันท์ ประกอบด้วยครับ  เพาะสองสกุลนี้ดองกันไปมาเป็นจนแยกกันไม่ออกเลยครับ
ข้อมูลสกุลสุรนันท์มีในหนังสือที่ระลึกงานศพ หม่อมขาว  เกษมศรี ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษมศรี  เล่มนี้นอกจากประวัติสกุลสุรนันท์แล้วยังโยงไปถึงเรื่องการปราบดาภิเษกของรัชกาลที่ ๑ ที่ไม่พบในหนังสือประวัติศาสตร์เล่มอื่น  ซึ่งข้อมูลนั้นคงไม่ผิพลาดแน่นอน  เพราะดาบที่ใช้ตัดคอพระยาสรรค์นั้นเป็นมรดกตกทอดมาถึงคุณกรุ่ม  สุรนันท์ ซึ่งเพิ่งวายชนม์ไปไม่นานนี้
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 20 ก.ค. 11, 01:54

เพราะดาบที่ใช้ตัดคอพระยาสรรค์นั้นเป็นมรดกตกทอดมาถึงคุณกรุ่ม  สุรนันท์ ซึ่งเพิ่งวายชนม์ไปไม่นานนี้
สนิมเขระเชียว เห็นมากับตา........ คนโบราณเขาเก็บรักษาสมบัติไว้ให้ลูกหลานอย่างดี ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านมากี่ร้อยปี


เสียดาย ท่านไม่มีทายาทรับมรดก "อภิมหาสมบัติ" (ซึ่งทุกท่านในเรือนไทยเห็นต้องตาลุกวาว) เช่นหนังสือตั้งแต่ยุคหมอบรัดเล จนถึงปัจจุบันกว่าหลายหมื่นเล่ม และของมีค่าที่เก็บมาหลายชั่วคน ก็กระจัดกระจาย สาบสูญไปสิ้น เป็นเรื่องเศร้าของนักสะสม........
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 ก.ค. 11, 15:25


ขอแก้ไขข้อมูลค่ะ   ปี พ.ศ. ๒๔๓๙  เป็นปีที่ ๒๙  ในรัชกาลที่ ๕  กรุงเทพ​ฯ



       เมื่ออายุได้ ๖ ขวบ  ได้เรียนหนังสือไทยพร้อมกับพี่ชายคือ โบ๊ด  วัชโรทัย (นายรองพลพ่าย)ที่ วัดจักรวรรดิ์กับ พระครูจุ้ย

ต่อมาได้เรียนที่โรงเรียนบพิตรภิมุข

       เมื่ออายุได้ ๑๐ ปีเต็ม  ได้สอบไล่ชั้นประถมของกรมศึกษาธิการ พ.ศ.​๒๔๔๙      ได้เรียนต่อที่ โรงเรียนมัธยมราชบูรณ

       อายุได้ ๑๒  ไล่ชั้นมัธยม ๒ ได้   ไปเรียนต่อที่โรงเรียนอัสสัมชัญ  ได้อยู่ชั้นมูลที่ ๔     ในขณะนั้นมีการสอบไล่กลางปี

นายก๊าดสอบได้ที่ ๑  จึงได้เลื่อนชั้น        เมื่อสิ้นปีสอบไล่ได้ที่ ๑ อีก  ได้เลื่อนชั้น   

ในปี ๒๔๕๕  นายก๊าดได้เลื่อนชั้นขึ้นไปอยู่ชั้น ๗   

       นายก๊าดได้ถวายดอกไม้ธูปเทียน  เป็นข้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท  เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖  ณ พระที่นั่งอภิเสกดุสิต
 
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 ก.ค. 11, 15:37



เจ้าคุณอนุรักษ์ได้เขียนบันทึกเพิ่มเติมไว้


   
       เมื่ออายุได้ประมาณ ๗ ขวบ  หนีไฟไหม้จากตึกสร้างใหม่ของบิดาตรงศาลาเฉลิมกรุง   ผ่านประตูหันไปพักอยู่

ที่บ้านเก่าสะพานยว  จักรวรรดิ์    ซึ่งเป็นมรดกที่คุณย่าได้รับจากเจ้าพระยายมราช(แก้ว  สิงหเสนี)


       บ้านที่มาอยู่นี้เป็นเรือนฝากระดานชั้นเดียวแบบโบราณ  ฝาประคน  เสาใหญ่  มีห้าห้อง     อยู่ริมคลอง

ซึ่งทะลุไปออกสะพานยาว วัดบพิตรภิมุข         มีบันไดลงน้ำสองทาง ด้านตะวันออกและด้านตะวันตก

ด้านตะวันออกมีศาลพระภูมิ   ห้องสองห้องนับจากด้านตะวันตกเป็นห้องนอน   ต่อมาเป็นห้องแต่งตัวตั้งโต๊ะเครื่องแป้ง

       เรือนใหญ่ริมคลองในที่สุดดัดแปลงเป็นหอนั่ง         ที่หอนั่งดัดแปลงเป็นสองชั้นเป็นห้องนอน


     
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 21 ก.ค. 11, 15:53



       คลองหน้าบ้านด้านตะวันออกลงทิศใต้ไปตามสะพานยาว  จักรวรรดิ์   ออกแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางเหนือ

ไปทะลุคลองโอ่งอ่างได้   ทางด้านใต้ไปออกสะพานยาว  วัดบพิตรภิมุข  และออกคลองโอ่งอ่างได้เช่นกัน

ในลำคลองมีเรือก๋วยเตี๋ยว  ขนม   และผลไม้ต่าง ๆ มาขายเป็นประจำ     ถึงฤดูเดือนสิบเอ็ด  สิบสอง

ก็ได้เล่นเรือพายกันอย่างสนุก   ก๋วยเตี๋ยวเรือเป็นชาวจีนทั้งนั้น    ส่วนขนมเป็นพวกบ้านญวนขาย

ข้าวเกรียบอ่อน  ทองม้วน

       ริมคลองทั้งสองฟากเป็นชายเลน   บางแห่งก็มีต้นลำพูขึ้นแทงหน่อเหนือเลน   มีปลาตีนว่ายไปมา  มีต้นเหงือกปลาหมอบางแห่ง

เวลาค่ำคืนที่ต้นลำพูมีแสงตัวหิ่งห้อยวูบวาบ  เป็นบรรยากาศริมคลองสมัยก่อน     น้ำในลำคลองไหลขึ้นลงตามกระแสน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 21 ก.ค. 11, 16:49

เคยบอกแล้วว่าสักวันต้องได้ใช้  ยิ้มเท่ห์


อยากจะให้คุณวันดีจัดประโยคแบ่งวรรคตอนตำแหน่งบ้านเสียใหม่ เพราะนำมาจัดวางกับแผนที่จะได้อ่านเข้าใจ แม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ขวามือ ไม่มีวันอยู่ด้านเหนือ ต้องเคาะวรรคสักหน่อย

มาดูตำแหน่งแกะรอยตำแหน่งบ้าน ซึ่งเป็นมรดกจากย่า  จัดที่สะพานยาว

สะพานยาว คืออะไร คือสะพานไม้ที่เดินขนานกับคลอง (เช่น สะพานปูนเลียบคลองในปัจจุบันนี้) แต่นี่เป็นสะพานไม้

เดินอยู่ ๒ เส้นทาง คือ สะพานยาวด้านวัดบพิตรพิมุข ก็เรียก "สะพานยาววัดบพิตร"

สะพานยาวเดินไปยังวัดจักรวรรดิ์ ก็เรียก "สะพานยาวจักรวรรดิ์" 

ตำแหน่งบ้านควรอยู่ในพื้นที่สีชมพู ระบุ "บ้านเจ้าพระยายมราช" ทับซ้อนในพื้นที่ "พระยาประสิทธิศัลการ"


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 21 ก.ค. 11, 17:19



ขอบคุณคุณหนุ่มค่ะ    คัดลอกจากต้นฉบับค่ะ     ถ้าเจอสหายที่กองบัญชาการสูงสุดจะรีดและไถแผนที่ที่ดินมาฝาก

สองวันนี่มีภาระอยู่กับชมรมนักอ่านหนังสือเก่าค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 20 คำสั่ง