Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 21 ก.ค. 11, 23:46
|
|
ตำแหน่งหน้าที่ราชการของพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร
เมื่อเริ่มรับราชการใน ๕/๙/๒๔๕๖ ตำแหน่งหน้าที่ มหาดเล็กสำรองกองตั้งเครื่อง กรมมหาดเล็กหลวง
ยศเป็น มหาดเล็กสำรอง
เงินเดือนรับจริง ๒๐ บาท
๑/๑๐/๕๗ มหาดเล็กวิเศษ เงินเดือน ๔๐ บาท
๑๐/๘/๒๔๕๘ รองหุ้มแพร เงินเดือน ๔๐ บาท บรรดาศักดิ์ นายรองบำเรอบรมบาท
๑/๑/๒๔๖๑ หุ้มแพร เงินเดือน ๑๑๐ บาท บรรดาศักดิ์ นายเสนองานประภาศ
บรรดาศักดิ์ที่ได้รับ คือ
นายจ่าเรศ
หลวงสิทธินายเวร
เจ้าหมื่นสรร-เพชรภักดี
พระยาประชุมมงคลการ
พระยาอนุรักษ์ราชมณเพียร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 26 ก.ค. 11, 10:04
|
|
ท่านเจ้าคุณ(ในเวลานั้นมีบรรดาศักดิ์เป็น พระยาประชุมมงคลการ) และคุณพัวได้รับพระราชทานน้ำสังข์
เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีสมรสพระราชทานเมื่อ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐
ได้ให้กำเนิดบุตรชายฝาแฝดเมื่อเดือนกันยายน ๒๔๗๑ และเลี้ยงดูอย่างมีระเบียบคือให้นมเป็นเวลา ถ้ายังไม่ถึงเวลาก็ปล่อยให้ร้องไห้แข่งกัน
ชื่อที่ท่านเรียกบุตรทั้งสองก่อนได้รับพระราชทานชื่อคือ "ตุ่ยหลุ่ย" และ ต้อยล่อย"
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ พระราชทานชื่อว่า แก้วขวัญ ขวัญแก้ว
ต่อมาได้มีบุตรีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๗๕ สมเด็จพระพันวสาอัยยิกาเจ้าพระราชทานชื่อว่า เฉลิมพร
ได้ส่งไปเรียนที่สวิสเซอร์แลนด์และอังกฤษด้วยทุนส่วนตัว
ท่านผู้หญิงเล่าถึงท่านเจ้าคุณว่า ได้ทนุถนอมน้ำใจ และเมตตาปราณีต่อท่านตลอดมาเป็นเวลา ๔๘ ปีที่ใช้ชีวิตร่วมกัน
ท่านทั้งสองได้ซื้อบ้านที่ถนนเพชรบุรีด้วยทรัพย์สินที่ออมไว้ ได้ดำเนินชีวิตอย่างประหยัดมัสยัสถ์ จนสามารถซื้อที่ดินเพิ่มเติม
บุตรชายทั้งสอง ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระพันวสาอัยยิกาเจ้า ทรงชุบเลี้ยง พระราชทานค่าเล่าเรียน เสื้อผ้าและอุปกรณ์การศึกษา
มาตั้งแต่อายุสองขวบครึ่ง เมื่ออายุ ๑๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตามเสด็จ ฯ
ไปศึกษาต่อที่สวิสเซอร์แลนด์
ท่านผู้หญิงเล่าให้บุตรของท่านฟังว่า ไม่มีใครจะรู้ใจท่านดีเท่าท่านเจ้าคุณ จะไปไหนมาซื้อของฝากล้วนถูกใจ วานให้ซื้ออะไรให้
ก็ไม่ผิดหวัง เวลาท่านผู้หญิงตามเสด็จ ท่านไม่ได้ไปด้วยก็อุตส่าห์เขียนจดหมายไปคุยด้วยทุกวัน นับว่าท่านเป็นผู้มีบุญที่สุดที่ท่านเจ้าคุณ
ไม่เคยขัดใจเลย ท่านอยากอยู่ตึก ท่านเจ้าคุณชอบบ้านไม้หลังเก่าเพราะเป็นที่ระลึกในการสร้างตนเองมาด้วยกัน
ในที่สุดท่านผู้หญิงก็ได้อยู่ตึกสมปรารถนาเมื่ออายุ ๖๙ ปีแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 26 ก.ค. 11, 10:09
|
|
"ตุ่ยหลุ่ย" และ ต้อยล่อย" 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 26 ก.ค. 11, 14:38
|
|
ชีวิตราชการของเจ้าคุณอนุรักษ์ยาวนานถึง ๖๒ ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๖
จนวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๘
ท่านตกเป็นผู้ต้องหาในคดีกรณีสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ตั้งแต่
วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๐ - วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๔๙๑ เป็นเวลา ๗ เดือนกับสองวัน ท่านได้เขียนบันทึกส่วนตัวไว้
โดยมิได้เปิดเผยให้ภริยาและบุตรทราบตลอดอายุไข ด้วยเกรงว่าสมาชิกในครอบครัวจะไม่มีความเข้มแข็งอดทน
เมื่อพ้นทุกข์แล้ว ท่านมีมานะรับราชการสนองพระเดชพระคุณต่อมาอีกเป็นเวลานาน
ข้อความที่หนังสืออนุสรณ์ลงไว้ เป็นเรื่องที่ตัดทอนแล้ว แสดงความยึดมั่นในสัจจธรรมและพระบารมีของ
พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าทุกพระองค์
ข้อความต่อไปนี้ เป็นการเลือกคัดความจาก บันทึกส่วนตัวของพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร
๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐ (หน้า ๔๕ ในหนังสืออนุสรณ์)
บ่าย ๑๗.๐๐ น. ผู้บังคับการตำรวจสันติบาลและนายทหารหลายคนเข้ามาในบ้าน แจ้งว่า หัวหน้าคณะรัฐประหารให้มาเชิญไปพบ
ข้าพเจ้าได้ยอมตัวให้อยู่ในความอารักขา ได้ชี้แจงให้เขาฟังว่า น่าจะมีการเข้าใจผิดเกิดขึ้น เพราะข้าพเจ้าได้รับราชการมา ๓๔ ปีแล้ว บรรพชนได้เป็นข้าผู้จงรักภักดี สืบเนื่องไม่ขาดสายมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑
คืนนั้นข้าพเจ้าครุ่นคิดว่าเขาจับมาเพื่ออะไรกัน ข้าพเจ้าไม่ได้อยู่ในเวลาเกิดเหตุสวรรคต ข้าพเจ้าไม่ได้ติดต่อกับนักการเมืองคนใดเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 26 ก.ค. 11, 14:54
|
|
วันอังคารที่ ๑๘ พฤศจิกายน (หน้า ๔๖ ในหนังสืออนุสรณ์)
ถูกนำตัวไปที่พระที่นั่งอภิเสกดุสิต พบกรรมการหลายคน กรรมการเปิดประมวลกฎหมายอาญาให้ดู ซึ่งแสดงว่า การปิดบังอำพรางก็มีโทษเช่นกัน
ท่านผุ้ใหญ่คนหนึ่งพูดกับข้าพเจ้าว่า ข้าพเจ้าก็ย่อมจะรู้ความตื้นลึกหนาบางเพียงไร เราไม่ต้องการจะจับไว้ให้นาน เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้ใหญ่แล้ว จงเลือกเอาว่าจะเป็นพยานหรือจำเลย
พยานหรือจำเลย คำนี้ก้องอยู่ในหูข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่ได้รู้เห็นเหตุการณ์ที่จะตกอยู่ในฐานะเป็นพยานได้
ข้าพเจ้าไม่ได้ปิดบังอำพรางหรือกระทำการทุจริตอันใดที่จะตกเป็นจำเลยได้เช่นกัน
ข้าพเจ้าเพิ่งเข้ามารับราชการเป็นหัวหน้ากองมหาดเล็ก เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๔๘๙ เป็นเวลาเพียงเดือนเศษเท่านั้น ยังไม่ทันจะคุ้นเคยกับพระราชอัธยาศัยของพระองค์พอเพียง ที่จะทรงเล่าความในพระราชหฤทัยให้ฟังได้
ข้าพเจ้าไม่มีความรู้พอที่จะสนองจุดประสงค์ของกรรมการได้
ข้าพเจ้าพูดได้แต่ความจริงเท่าที่รู้เท่าที่เห็น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 26 ก.ค. 11, 15:09
|
|
(หน้า ๔๗)
ข้าพเจ้าเริ่มให้การตั้งแต่วันอังคารที่ ๑๘ พฤศจิกายน เสร็จสิ้นในในวันเสาร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน
ข้าพเจ้าได้สั่งไว้ว่า เรื่องอาหารการกินต่อไปขออย่าให้ทางบ้านต้องส่งเสียเป็นการลำบาก
อีกข้อหนึ่งขออย่าวิตกกังวลในเรื่องที่ข้าพเจ้าจะฆ่าตัวตาย เพราะข้าพเจ้าเชื่อในความซื่อสัตย์สุจริต และความเป็นผู้มีธรรมของ ข้าพเจ้าอีกด้วย
ข้าพเจ้าเคยได้บวชเรียนแล้ว
ชีวิตที่กลาโหมได้รับความเอาใจใส่จากเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ เป็นอย่างดี อาหารมีให้ ๓ เวลา บางคราวก็มีบะหมี่ ก๋วยเตี๋ยวและ ดำเย็น
การเหยียดหยามจากเจ้าหน้าที่ผู้น้อยก็ไม่มี เพราะโดยมากนายทหารผู้เป็นผู้บังคับบัญชาก็แสดงอัธยาศัยละมุนละม่อม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 27 ก.ค. 11, 10:15
|
|
หน้า ๔๘
ผ่านประตูลหุโทษ เมื่อ ๑๓.๐๐ น.
เวลา ๑๖.๐๐ น ถูกย้ายไปคุมขัง ๗ เขาจัดให้อยู่เว้นสองห้องต่อหนึ่งคน
ข้าพเจ้าอยู่ห้อง ๕๙ ซึ่งมีขนาดความยาวประมาณ ๓ ๓/๔ เมตร กว้าง ๒ เมตร สูง ๖ เมตรเศษ มีช่องเล็กหนึ่งตอนบนพอให้อากาศหายใจ ไม่ใช่ให้อากาศผ่าน ผนังด้านขวาของทางเข้ามีกรอบเตียง ปูไม้ทับบน กว้างประมาณ ๘๐ เซนติเมตร ยาวพอเหยียดเท้าได้ถนัด
ด้านหัวนอนมีหิ้งไม้อยู่หิ้งหนึ่ง มีรูปพระพุทธเจ้าปางเสวยอาหารบิณฑบาต พระหัตถ์ขวาอยู่ในบาตร พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงเหนือพระเพลา ภายใต้หิ้งมีอักษรเขียนว่า "พรสวรรค์ย่อมเป็นบำเหน็จของผู้ต่อสู้" ข้าพเจ้ากระพุ่มมือขึ้นกระทำสักการะ
ข้างประตูมีหิ้งกระจกมีรูปถ่ายขนาด ๘ นิ้วติดอยู่ เป็นพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ กำลังเสด็จผ่านทางปราสาทพระเทพบิดรด้านวัดพระศรี ฯ ทรงฉลองพระองค์เต็มยศ มีมหาดเล็กเชิญพระแสง และรูปข้าพเจ้ามัว ๆ อยู่กับสมุหราชองค์รักษ์ตามเสด็จอยู่เบื้องหลัง ภายใต้พระบรมรูปมีอักษรเขียนไว้ว่า "โชคย่อมอำนวยแก่คนกล้า" ข้าพเจ้าได้ยกมือขึ้นถวายบังคมด้วยความปิติยินดี แม้ในยามตกทุกข์ได้ยากเช่นนี้ ก็ยังได้เห็นพระโฉมของพระองค์ประดิษฐานอยู่เฉพาะหน้า เป็นที่พึ่งที่ระลึก ของผู้ที่มาอยู่ก่อนและตัวข้าพเจ้าในบัดนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 27 ก.ค. 11, 10:47
|
|
หน้า ๔๙
"ในตอนเย็นวันนั้น อาหารตามแบบมีข้าวแดง ฟักต้ม และน้ำพริก ข้าพเจ้าไม่ปริปากอย่างใด ประกอบกับความหิวโหยที่ตอนกลางวันไม้ได้รับประทานอะไรเลย ข้าพเจ้าก็ก้มหน้ารับประทานโดยรำลึกถึงคติธรรม ยาว ชีวิตํ นั้นไว้
ในตอนค่ำ ข้าพเจ้าได้รับแจกเสื่อผืนหนึ่ง มุ้งเตี้ย ๆ หลังหนึ่ง ผ้าห่มเล็ก ๆ สองผืน ข้าพเจ้าบอกกับผู้มีใจกรุณานำของที่จำเป็นนี้มาให้ว่าข้าพเจ้าขอสายมุ้งด้วย เขาหายไปครู่หนึ่ง แล้วกลับมาพร้อมด้วยเชือกกาบกล้วยที่ไปดึงมาใหม่ ๆ จากต้นกล้วยในบริเวณ พลางกล่าวว่า เขาไม่ให้เชือกกลัวจะผูกคอตาย
ข้าพเจ้าขอบคุณในความเมตตาอารีของเขาเป็นอย่างยิ่ง จะเป็นเชือกอะไรก็ได้ ขอแต่ให้สำเร็จประโยชน์ได้ พอที่เลือดเนื้อของข้าพเจ้าจะไม่ต้องตกเป็นภักษาหารแก่กลุ่มยุงซึ่งกำลังหึ่งร้องอยู่รอบด้าน
ขณะนี้เป็นเดือนพฤศจิกายน ลมพัดจากเหนือ อากาศค่อนข้างหนาว
เมื่อได้สวดมนต์กราบไหว้พระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กับขอพระบารมีพระมหากษัตราธิราชเจ้าทุก ๆ รัชกาลให้คุ้มครอง ปกปักษ์รักษาข้าพเจ้า แล้วก็เข้านอนเพื่อชดใช้ความเหน็ดเหนื่อยอลเวงของวันที่ผ่านมา
ข้าพเจ้านึกถึงคติสองข้อใต้หิ้งพระและหิ้งพระบรมรูป
"พรสวรรค์ย่อมเป็นบำเหน็จของผู้ต่อสู้"
"โชคย่อมอำนวยแก่คนกล้า"
ข้าพเจ้าได้ต่อสู้แล้ว ต่อสู้ด้วยความจริง กล้าพูดด้วยความจริง เป็นสัจจวาจา และธรรมจะช่วยคุ้มครองข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะต้องได้รับความอิสรภาพเป็นบำเหน็จ ข้าพเจ้าจะต้องมีโชคเป็นบุคคลที่มั่นคงทั้งถ้อยคำและน้ำใจ"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 28 ก.ค. 11, 15:49
|
|
หน้า ๕๐
"ข้าพเจ้าได้ย้ายไปอยุ่ห้อง ๔๖ ในลักษณะความกว้างยาว และเตียงประจำห้องในลักษณะเดียว กับห้อง ๕๙ ข้าพเจ้ามิได้เชิญพระพุทธรูปและพระบรมรูปไปด้วย เพราะข้าพเจ้าไม่มีสิทธิทำเช่นนั้น เพียงแต่อธิษฐานขอให้สถิตเสถียร อยู่ ณ ที่นั้น เพื่อคุ้มครอง และเตือนใจ แก่ผู้อับโชคในภายหน้่า
ข้าพเจ้ามีดวงไปรษณียากรฉบับหนึ่งซึ่งออกใช้ใหม่ ติดตัวมาตั้งแต่วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน โดยไม่ได้ตั้งใจ ในวันนั้นเป็นวันที่ข้าพเจ้าส่งจดหมายจากเมล์อากาศไปให้บุตรชายทั้งสอง พนักงานไปรษณีย์ได้มอบดวงไปรษณียากรใให้แทน เศษเงินทอน ข้าพเจ้าตื่นเต้นที่ได้เห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ บนดวงตราไปรษณียากรเป็นครั้งแรก จึงได้สอดใส่ไว้ในซองหนัง ก็พอดีพระบรมฉายาลักษณ์นั้นก็ได้เป็นเครื่องรางคุ้มกันข้าพเจ้าตลอดมา
ถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าก็ได้เชิญออกจากซองหนังกราบถวายพระพรชัยในยามยากของข้าพเจ้า"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 02 ส.ค. 11, 14:17
|
|
หน้า ๕๒
วันจันทร์ที่ ๒๕ ธันวาคม
"ได้รับคำสั่งพิเศษ พิเศษจริงๆ เพราะทำให้สภาพให้ข้าพเจ้ากลายเป็นสัตว์ไป ไม่ให้ใช้มุ้ง เป็นคำสั่งที่ผู้ตวบคุมต้องปฎิบัต มุ้งที่ทางการจ่ายให้ก็เป็นมุ้งผ้าดิบอย่างบางสูงสัก ๖๐ ซ.ม. โดยรอบกว้างยาวพอครอบตัวไว้ได้เท่านั้น
กระดาษดินสอก็ริบไปหมดมีไม่ได้"
หน้า ๕๔ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๐
"พัสดีมาตามให้ไปพันธนาการ
ตรวนแปดหุนสนิมเต็มถูกลากมาพันธนาการข้าพเจ้า
ตรวนทั้งสองข้างมีขนาดโตกว่าหัวแม่มือ สายโซ่เล็กกว่าเล็กน้อย น้ำหนักของโซ่ ๑๓ ข้อทำให้ขยับเขยื้อนตัวลำบากเป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าได้เอาผ้าเช็ดตัวผูกไว้ที่ข้อที่เจ็ดสำหรับหิ้วพอคลายความถ่วงลงไปได้บ้าง
ข้าพเจ้าตั้งปณิธานไว้ด้วยว่า จะไม่ยอมปลดเปลื้องกางเกงเวสปอยต์ตัวที่สวมอยู่จนกว่าตรวนคู่นี้จะถูกปลดออกจากตัวข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าต้องมาถูกจองจำครั้งนี้เพราะหน้าที่ราชการ ข้าพเจ้ายอมให้ใส่ตรวนกางเกงไปเถิด
ตัวข้าพเจ้าไม่มีความผิด ข้าพเจ้าไม่ยอมให้เหล็กมาเสียดสีเนื้อของข้าพเจ้า"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 02 ส.ค. 11, 14:30
|
|
หน้า ๕๕
"เขาบอกให้ข้าพเจ้าออกไปเดินเล่นออกกำลังตามเคย ข้าพเจ้าบอกว่าไปไม่ไหวสุดที่จะหิ้วตรวนไปได้ มันหนักเหลือหนัก
คนที่ใจดีบอกให้ข้าพเจ้าไปอาบน้ำเช่นแต่ก่อน ข้าพเจ้าตอบเขาว่าขอบใจละพ่อคุณ แต่ไปไม่ไหวจริง ๆ คอนตรวนไปกว่าจะถึงที่อาบน้ำ อาบแล้วคอนกลับมาอีก
ความชุ่มชื้นที่จะได้รับมันไม่คุ้มกับความต้องทรมาน
ดังนั้นในตอนบ่าย ข้าพเจ้าก็ลูบเนื้อลูบตัวอยู่ในห้องแทนการอาบน้ำ เพราะไม่ปรารถนาที่จะขยับเขยื้อนไปไหน นอกจากเขาจะเบิกตัวข้าพเจ้าไปสอบสวน
ข้าพเจ้าต้องกัดฟันอย่างลูกผู้ชาย ชีวิตคือการต่อสู้
ข้าพเจ้าจะต้องต่อสู้กับความยากลำบากทั้งนี้ไปจนกว่าจะสิ้นกรรม"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 03 ส.ค. 11, 16:09
|
|
หน้า ๕๕
"ข้าพเจ้าต้องนอนไม่มีทุ้งอยู่จนวันที่ ๒๔ ธันวาคม เมื่ออดีตรัฐมนตรีผู้ต้องหาถูกนำมาขังไว้ที่ขัง ๗ จึงได้รับอนุญาตให้ทางบ้านส่งมุ้งมาให้ได้ สิ้นความลำบากไปได้เรื่องหนึ่ง"
หน้า ๕๖
"วันที่ ๕ และวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๔๙๐ เขาเบิกตัวข้าพเจ้าไปยังกองสันติบาลเพื่อสอบสวน ในการไปสอบสวนครั้งหลังนี้ ตรวนได้กัดขาขวาของข้าพเจ้าเป็นแผลลึก ข้าพเจ้าจึงได้ขอร้องให้แพทย์กรุณาใส่ยาให้ข้าพเจ้า"
วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๔๙๐
"จากพระยาช้างสารที่ตกปลอกมาถึง ๔๐ วัน ฝนแห่งความเมตตาปรานี ก็ได้หยากลงมาต้องข้าพเจ้า อย่างไม่ได้ฝัน เขาถอดตรวน ๘ หุนออก เอาตรวนขนาดเล็กใส่ไว้แทนเฉพาะเท้าซ้ายที่ไม่ได้เป็นแผล"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 03 ส.ค. 11, 16:45
|
|
หน้า ๕๗
วันที่ ๒๗ เมษายน
ตรวนข้างเดียวห็ถอดออกไป
วันที่ ๑๗ มิถุนายน
ได้รับการปล่อยตัว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 03 ส.ค. 11, 16:56
|
|
ท่านเจ้าคุณได้เข้ารับราชการดังเดิม เพราะเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ มีความภักดีซื่อสัตย์สุจริตมาเป็นเวลาช้านาน
ไม่ปรากฎข้อบกพร่องแต่ประการใด
ชีวิตท่านรุ่งเรืองสว่างเหมือนเดิม
มีความก้าวหน้า ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในโอกาสต่าง ๆ
ท่านถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ ด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน
หนังสืออนุสรณ์เล่มนี้เป็นหนังสือที่น่าอ่านที่สุดเล่มหนึ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
smallhands
อสุรผัด

ตอบ: 14
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 02 ต.ค. 11, 21:30
|
|
จะหาอ่านได้ที่ไหนคะ อ่านแล้วน่าสนใจจริงๆค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|