เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8]
  พิมพ์  
อ่าน: 74299 บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 27 ก.ค. 11, 15:33

สายง่อง หมายถึง สายโยงคางม้าไม่ให้หงายในเวลาที่ขึ้นที่ชัน ผูกติดขลุม โยงลงมาคล้องสายรัดทึบตรงระหว่างหน้าขา (2 ภาพบน)
ขลุม เป็นสายที่รัดอยู่บริเวณปากและหัวม้า (2 ภาพล่าง)





บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 27 ก.ค. 11, 15:49

สายถือ หมายถึง สายบังเหียน ทำด้วยหนัง ผูกติดกับปลายห่วงเหล็กซึ่งผ่าปากม้า ใช้สำหรับบังคับม้าให้เลี้ยวไปตามความต้องการ

สองภาพบนเป็นเหล็กปากอ่อนใช้สำหรับบังคับม้าที่ไม่ดื้อ ตัวที่บังคับง่ายนิสัยดี เหล็กปากแบบนี้ม้าจะสบายปากกว่าแบบแข็ง
สายบังเหียนจะต่อมาจากห่วงเหล็ก เป็นสายที่ห้อยลงมาด้านล่างแล้วอ้อมไปด้านหลังสำหรับผู้ขี่จับเวลาขี่ หรือใช้จูงม้าเวลาเดิน

สองภาพล่างเป็นเหล็กปากแข็ง สำหรับม้าดื้อที่บังคับยาก จะมีสองห่วงบนกะล่าง ส่วนเหล็กตรงกลางจะอยู่ในปากม้า
ห่วงล่างจะต่อกับสายบังเหียน ห่วงบนจะต่อกับขลุมขี่เส้นที่พาดผ่านท้ายทอยม้า





บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 27 ก.ค. 11, 16:03

สะบัดย่าง หมายถึง อาการที่ม้าเดินเหยาะย่างอย่างสง่างามพร้อมกับสะบัดหางด้วย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 27 ก.ค. 11, 16:10

ดีครับ  คุณดีดี   หายหน้าหายตาไปนานเลยนะครับ

เอ...รู้สึกว่าภาพที่เอามาลงประกอบคำอธิบายของคุณดีดี
จะดูเป็นสมัยใหม่และเป็นฝรั่งไปหน่อยนะครับ  แต่ก็พออนุโลมครับ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 27 ก.ค. 11, 16:38

ม้าแซง เรียกม้าที่มีหน้าที่แทรกขนานไปข้าง ๆ ในกระบวนแห่หรือ กองทัพว่า ม้าแซง
ในสมันรัชกาลที่ 4 เคยมีโรงม้าแซงตั้งอยู่บริเวณระหว่างสนามไชยไปถนนบำรุงเมือง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 02 ส.ค. 11, 15:53


ในฐานะผู้ดำเนินเรื่องก็ขยับเรื่องไปก่อน   ทั้งนี้จะไปหยุดเมื่อจบศึกกระหมังกุหนิงแล้ว
ท่านอื่นจะปรารถนาไปต่อ  ขอเชิญเปิดกระทู้ใหม่เทอญ

ขอย้อนไปถึง อิเหนา  ที่อยู่เมืองหมันยา  กับจินตหรา  สการะวาตี  และมาหยารัศมี

ดะหมังจากกรุงกุเรปันได้นำสารจากท้าวกุเรปัน

สารนั้นเล่าเรื่องว่ากรุงดาหามีปัจจามิตรมาล้อมกรุง   ขอให้อิเหนาไปช่วย  เพราะถึงจะไม่ต้องการบุษบา 

บุษบาก็เป็นน้อง(ญาติผู้น้อง)

และพ่อของบุษบาก็เป็นอา


สารจากท้าวกุเรปัน  ตัดพ้ออิเหนามากมาย  จนเป็นที่นิยมท่องใส่กัน  หรือนำมาตั้งปัญหายอดนิยม(สมัยนู้น....)ต่อไป

"แม้นมิยกพลไกรไปช่วย             ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี
 อย่าดูทั้งเปลวอัคคี                   ตั้งแต่นี้ขาดกันจนวันตาย"

เรื่องการตัดลูกไม่ให้เผาผีนี้  แสดงว่าโกรธมาก


อิเหนาชักสงสัยว่า  "บุษบาจะงามสักเพียงไร  จึงต้องใจระตูทุกบุรี"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 02 ส.ค. 11, 16:11


พ่อของอิเหนาได้ส่งสารมาถึงพ่อของจินตหราด้วย

การเหน็บแนมเจ็บปวดมากสำหรับคนอ่าน  ซึ่งก็เป็นเขยเล็กของท้าวกุเรปันเอง


       "ในลักษณ์สารา                        ว่าระตูหมันหยาเป็นใหญ่

มีราชธิดายาใจ                                แกล้งให้แต่งตัวไว้ยั่วชาย

จนลูกเราร้างคู่ตุนาหงัน                       ไปหลงรักผูกพันมั่นหมาย

จะให้ชิงผัวเขาเอาเด็ดดาย                    ช่างไม่อายไพร่ฟ้าประชาชน"


       ท้าวหมันหยาอ่านแล้วเกรงใจพ่ออิเหนามาก  เพราะตัวเป็นเจ้าเมืองเล็ก

เลยสั่งอิเหนาว่า

แม้นมิยกพลขันธ์ไปพันตู                      หาให้อยู่กับจินตหราไม่


พันตูในที่นี้  รัตนมาลา  หน้า ๖๐๕  อธิบายว่า


"ต่อสู้  มาจากคำในถาษามลายูว่า "บันดู"  ว่าช่วยเหลือหรือสงเคราะห์"
ในภาษาไทยความหมายเปลี่ยนไป


นักรบคนหนึ่งแถวนี้  อยากได้พจนานุกรมเล่มนี้มาก  โปรดไปหาแถวถนนราชดำเนินเถิด    อย่าช้าอยู่ไฉน
ดูใครๆเขาออกมารำเลย        จะบอกให้ฐานคุ้นเคย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 03 ส.ค. 11, 17:19


อิเหนาไปลาจินตหรา

จินตหราตัดพ่อต่อว่ามากมาย

พระจะไปดาหาปราบศึก                          หรือรำลึกถึงคู่ตุนาหงัน
ด้วยสงครามในจิตยังติดพัน                      จึงบิดผันพจนาไม่อาลัย


จินตหราแค้นใจเพราะเกรงอิเหนาจะไปเจอบุษบาที่ลือกันมาว่างามมาก  และมีศักดิ์ของราชธิดาเมืองใหญ่ด้วย

กลอนไพเราะเหลือหลาย

แล้วว่าอนิจจาความรัก                             พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล
ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป                        ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 03 ส.ค. 11, 23:36


อิเหนาได้ไปลานางมาหยารัศมี และ สการะวาตีด้วย  กำชับให้ฝากตัวกับจินตหรา

อิเหนาปลดสังวาลที่ทรงอยู่ให้จินตหรา
จินตหราเปลื้องสไบที่ทรงอยู่ให้ไว้ดูต่างหน้า  แสดงว่าจินตหราเป็นนักวางแผนที่ดีเข้าใจในการยั่วยวน

อิเหนาถอดแหวนให้มาหยารัศมี      มาหยารัศมีถวายปิ่น  อิเหนารับแล้วก็คงเก็บใส่กล่องไว้จะนำติดตัวไปคงไม่สดวก
จะชมระหว่างเดินทางในป่าคงพอไปได้

นางสการะวาตีถอดสะพังมณี(เครื่องประดับหู  จะแปลว่าต่างหูเฉยๆก็ไม่มีอ้างอิงค่ะ)ได้ซาโบะ  คือผ้าสะพักของอิเหนามาแทน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 03 ส.ค. 11, 23:57


ช้างทรงของอิเหนานั้น  ซับมัน  หลังดี  ต้องลักษณะที่เรียกว่าหางบังคลอง

หลังดีนั้นคือหลังเรียบเหมาะกับการเป็นช้างทรงในการเดินทาง

หางบังคลองนั้นนักเรียนไปหาศัพท์ได้จากพจนานุกรม

การเคลื่อนกองทัพเป็นไปตามตำราพิชัยสงคราม  คือหันไปในทิศที่เห็นมงคลในวันเวลานั้น

มีพราหมณ์มีโหรมาส่ง   มีการฟันไม้ข่มนามโดยปุโรหิต  โดยเลือกกิ่งไม้ที่เป็นชื่อของศัตรู  หรือใช้ท่อนกล้วยจารึกอักษรมาแทนตัว

การใช้ปุโรหิตเป็นผู้ฟันนี่ประหยัดแม่ทัพไปได้  เพราะปุโรหิตคงเลือกเอากาบกล้วยออกเสียหลายชั้น  ฟันตูมลงไป  ต้นกล้วยก็ขาดทั้งนั้น

มีการโห่ร้องด้วยเสียงดังสร้างกำลังใจ   พลังของเสียงที่มีอำนาจนั้น  ทำให้แผ่นดินกระเทือนได้

ทหารปืนใหญ่ก็มีฝรั่งมารับจ้าง  จุดปืนใหญ่

พราหมณ์ก็เบิกโขลนทวาร   คือเปิดประตูให้ทหารเคลื่อนพล

เรื่องนี้น่าจะมีสาวๆเมืองหมันหยามาร้องไห้ส่งทัพอยู่ไม่น้อย

ประเพณีธรรมเนียมของรัตนโกสินทร์ก็พร้อมมูลในเรื่องนี้

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 04 ส.ค. 11, 00:11


เครื่องแต่งตัวช้างนั้น    เคยมีการสนทนาระหว่างสหายอาวุโสหลายท่านมาแล้ว 

สหายนักรบผู้อ่อนอาวุโสต่างก็มีตำราช้างกันคนละหลายเล่ม

มิสมควรที่ท่านผู้ชำนาญการจะลองภูมิท่านผู้ใดเลย




อิเหนาเดินทางมาหลายวันเพราะศึกไม่ได้มาล้อมเมืองอิเหนานี่
ได้ยินเสียงนกยูงร้องก็แว่วว่าเสียงเมีย   แสดงว่าเสียงนางทั้งสามแหลมหวีดหวิว
หรือไม่อย่างนั้นก็ดัง ก้อก ๆ  กระโต้งฮง  ซึ่งออกจะแปลกประหลาดอยู่สักหน่อย

กลิ่นดอกไม้ก็เตือนให้คิดถึงผ้าสไบที่จินตหราให้มา
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 04 ส.ค. 11, 00:40


เมื่อกองทัพอิเหนามาถึงทางที่จะแยกไปเมืองดาหา  พี่ชายต่างมารดาคือ กระหลัดตะปาตี คอยอยู่

ทัพทั้งสองก็เดินทางไปยังเนินทรายชายทุ่งนอกเมือง

อิเหนาส่งตำมะหงงให้เข้าไปแจ้งกับ ท้าวดาหาว่ากองทัพมาถึงแล้ว

ท้าวดาหาดีใจมากเพราะอิเหนารบเก่งแต่ไม่แสดงออก  รับสั่งกับตำมะหงงว่าไปเชิญเข้ามาในเมืองก่อน

ตำมะหงงผู้ชำนาญเพราะรับราชการมานานก็กราบทูลไปว่า  อิเหนาขอต่อสู้กับกองทัพศัตรูก่อน

ระเด่นสุหรานากงเจ้าชายแห่งเมืองสิงหัดส่าหรี  ผู้ยกทัพมาคอยอยู่แล้วก็ออกไปหาอิเหนา

สนทนากันเป็นที่ถูกใจเพราะวัยเดียวกัน       ท้าวดาหาประชดอิเหนาไว้อย่างไร  สุหรานากงเล่าละเอียด



     กองทัพกะหมังกุหนิงรู้ว่ามีกองทัพใหญ่มาช่วยแล้ว

ฝ่ายกะหมังกุหนิงมีท้าวกะหมังกุหนิง  พระอนุชาสององค์ และ วิหยาสะกำ

ในวันเคลื่อนพลท้าวกะหมังกุหนิงเห็นลางไม่ดีต่างๆ  เรื่องสำคัญคือนกบินตัดหน้าฉาน  อันเป็นข้อห้ามในตำราพิชัยสงคราม

ฝ่ายอิเหนามี อิเหนา  กะหรัดตะปาตี  สุหรานากง  สังคามาระตา และระเด่นดาหยน


เจ้่าชายที่ศักดิ์ศรีสูงคือ  สุหรานากง   เพราะตอนเกิด  เสด็จปู้วางกริชไว้ให้เหมือนกับอิเหนาเนื่องจากเกิดจากประไหมสุหรี

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 20 คำสั่ง