เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
อ่าน: 74290 บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 10:23


ผมสงสัยต่อไปว่า นุ่งสมปักลาย แต่ทำไมเอาเสื้อครุยมาคาด
เขาคาดอย่างไร  เพราะเด็กสมัยนี้คงเป็นแต่การสวมเสื้อครุย
แต่คาดเสื้อครุยนี้  เดี๋ยวนี้คงไม่มีให้เห็นแล้ว


ใช่แล้ว

เสื้อครุยมีวิธีการใช้อยู่ ๓ วิธี คือ เวลาอยู่ในหน้าที่จะสวมเสื้อครุยทั้งสองแขน ถ้าอยู่นอกหน้าที่เอาออกมาม้วนคาดพุง แต่ถ้าสวมแขนเดียวอีกแขนหนึ่งพาดเฉียงบ่าแสดงว่าอยู่ในหน้าที่เข้ากรม

ส่วนอีกประการหนึ่งที่นำเอาเสื้อครุยมาคาดไว้ นัยว่าเข้าต่อหน้าผู้มีบรรดาศักดิ์กว่าตน เป็นการอ่อนน้อมกว่า
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 10:25

ผ้าสมปัก

ผ้านุ่งพระราชทานให้ขุนนางตามตำแหน่งใช้เป็นเครื่องแบบมาก่อนสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จะใช้เฉพาะในเวลาเข้าเฝ้าหรือในพระราชพิธี เป็นผ้าทอด้วยไหมเพลาะกลางผืนผ้าเป็นสีและลายต่าง ๆ สมปักมีหลายชนิด ได้แก่ "สมปักปูม" ถือว่าเป็นชนิดดีที่สุด "สมปักล่องจวน" เป็นสมปักที่ทอเป็นรอยยาว เป็นสมปักชนิดท้องพื้นมีเชิงลายเป็นรอยยาว เป็นสมปักชนิดท้องพื้นมีเชิงลาย นอกจากนี้มี "สมปักลาย" และ "สมปักริ้ว" ซึ่งเป็นผ้าสามัญที่พวกเจ้ากรมปลัดกรมนุ่งเท่านั้นมิใช่เป็นของพวกขุนนางชั้นผู้ใหญ่


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 10:30

ภาพ ทหารสวมเสื้อเสนากุฏ  ยิงฟันยิ้ม
จาก หนังสือ กระบวนพยุหยาตราสถลมารค สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช : หอสมุแห่งชาติ 2544


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 10:36

ภาพ ทหารสวมเสื้อเสนากุฏ  ยิงฟันยิ้ม
จาก หนังสือ กระบวนพยุหยาตราสถลมารค สมัยสมเด็จพระนารายณืมหาราช : หอสมุแห่งชาติ 2544

ขอตัวอย่างที่เป็นปัจจุบัน ไม่ทราบว่าหาได้หรือไม่
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 10:43

ภาพ ทหารสวมเสื้อเสนากุฏ  ยิงฟันยิ้ม
จาก หนังสือ กระบวนพยุหยาตราสถลมารค สมัยสมเด็จพระนารายณืมหาราช : หอสมุแห่งชาติ 2544

ขอตัวอย่างที่เป็นปัจจุบัน ไม่ทราบว่าหาได้หรือไม่

แบบนี้ครับผม ที่ใช้ในปัจจุบันนี้


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 10:45

เสื้อเสนากุฎ หมายถึง เสื้อทหารสมัยโบราณ พิมพ์เป็นลายสีรูป สิงห์ขบที่หน้าอกและต้นแขน สําหรับแต่งเข้ากระบวนแห่ ของหลวง

ภาพข้างล่างเป็น เสื้อเสนากุฏ แบบปัจจุบันค่ะ  ยิงฟันยิ้ม




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 11:04


เจียด  นี่  หน้าตาเป็นอย่างไร 
ใครมีที่บ้านโปรดเอามาแสดงให้ดูหน่อย


เจียด เป็นเครื่องประดับยศขุนนาง ทำด้วยเงิน


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 11:16

"รั้วไก่กั้นกัลบาทนั่งราย"

รั้วไก่ หมายถึง แผงราชวัติที่เป็นตาสี่เหลี่ยมสําหรับกันโรงพิธี, รั้วก่าย ก็ว่า
แผงราชวัติ หมายถึง รั้วที่ทําเป็นแผงปักเป็นระยะ ๆ มีฉัตรปักหัวท้ายแผง
กัลบาท น่าจะเป็นคำเดียวกับ กลาบาต ที่เคยถกกันแล้วในเรือนไทย เป็นการตั้งกองทหารรายทาง คล้ายคำว่า "Guard"

กระทู้: นั่งกลาบาตคืออะไร? มีลักษณะอย่างไร? http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3629.15
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 12:34

การสยายผมเป็นธรรมเนียมแสดงถึงการไว้ทุกข์ด้วย

คิดว่า  สุนทรภู่คงเห็นจากพราหมณ์ที่กรุงเทพฯ นี่แหละครับ  เพราะธรรมเนียมพราหมณ์เมื่อได้บวชเป็นพราหมณ์โดยพิธีอุปนยายะแล้ว (จำไม่ได้ว่ามีหนังสืออะไรสักเล่ม บอกว่า พราหมณ์ไม่ได้บวชโดยพิธีอุปนยายะ แต่เป็นพิธีอย่างอื่น)  พราหมณ์นั้นจะไม่ตัดผมอีกเลย  พราหมณ์ที่เทวสถานโบสถ์ก็ยังถือธรรมเนียมเช่นนี้อยู่   พราหมณ์จึงมีผมยาวแต่ไม่ได้ปล่อยผมสยาย คงมุ่นผมเป็นมวยเอาไว้  จะปล่อยสยายก็ต่อเมื่อพราหมณ์ต้องเข้าร่วมเดินในกระบวนแห่พระศพหรือพระบรมศพเท่านั้น นัยว่าเป็นธรรมเนียมการไว้ทุกข์ของพราหมณ์มาแต่โบราณ   (ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  พราหมณ์ที่ร่วมเดินในกระบวนแห่พระโกศพระศพมาที่พระเมรุท้องสนามหลวง ก็สยายผมไว้ทุกข์เช่นกัน)  การที่พราหมณ์ไว้ผมยาวและมุ่นเป็นมวยไว้เช่นนี้  คงเป็นธรรมเนียมพราหมณ์มาแต่อินเดีย และได้ถ่ายทอดมาถึงไทยและดินแดนข้างเคียง  ซึ่งก็มีหลักฐานเป็นภาพสลักภาพวาดพราหมณ์มุ่นมวยผม

 ร้องไห้


นั่นแหละ  ที่ผมต้องการ  ถ้ามีภาพด้วยก็ครบถ้วน
เพราะเด็กๆ สมัยนี้อาจจะไม่เข้าใจธรรมเนียมนี้
ยิ่งไม่ใช่ธรรมเนียมของคนทั่วไปยิ่งนับวันจะลี้ลับสำหรับเด็กๆ
ทำให้อ่านวรรณคดีเก่าๆ ไม่เข้าใจ

ขอบคุณคุณเพ็ญฯ ที่มีแก่ใจค้นหามา

นาลีวัณ หรือพราหมณ์ในพระราชสำนัก ที่สยายผมระหว่างเดินร่วมริ้วขบวนพระอิสริยยศในการเชิญพระโกศจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทไปยังพระเมรุ ท้องสนามหลวงนั้น การสยายผมของนาลีวัณ ถือเป็นการถวายความเคารพสูงสุดต่อพระศพ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 14:25


เมืองดาหาจัดแจงแต่งบ้านเมืองรับทูตเมืองล่าสำนั้นน่าสนุก
ทำให้เห็นลักษณะการรับทูตสมัยก่อนรัชกาลที่ ๕ ซึ่งยังใช้แบบแผน
อย่างเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา  ราชสาส์นนั้นสำคัญ
เสมอด้วยองค์พระเจ้าแผ่นดิน  จึงต้องขึ้นยานมาศแห่เข้าเมือง
ส่วนผู้นำราชสาส์นนั้น  เดินตามพระราชสาส์น ธรรมเนียมอย่างนี้
ฝรั่งมังค่าไม่เข้าใจ  เห็นว่าชาวสยามไม่ให้เกียรติทูต
แต่ไปให้เกียรติกระดาษของพระเจ้าแผ่นดิน


ไม่ใช่ไม่เข้าใจ แต่เป็นเล่นแง่ในการทูต หากผิดใจเกิดกันขึ้น ก็อ้างถึงสิทธิ์นำเรือรบเข้ากำลังหักหาญ ยึดแผ่นดิน

การที่จะเข้าผูกมิตรระหว่างประเทศ ต้องศึกษาธรรมเนียมกันและกันมาก่อนแล้ว ทางยุโรปถือว่าตนเป็น Authorized Representative ชอบด้วยอำนาจทั้งปวง ไม่ใช่มาไหว้กระดาษ ส่วนการต้อนรับทูตอย่างใหญ่ มีอีกครั้งเมื่อ ท่านเซอร์ จอห์น บาวริ่ง เสนอที่อยากจะให้สยาม ต้อนรับทูตอย่างใหญ่เสมอเมื่อครั้งรับทูตฝรั่งเศส สมัยสมเด็จพระนารายณ์

เหตุการณ์ไหว้กระดาษ (พระราชสาส์น) นี้ยังมีเหตุการณ์ที่ฝรั่งต้องเจอที่ปักกิ่ง สมัยจักรพรรดิ์เฉียนหลง มีราชทูตจากยุโรปส่งพระราชสาส์นมาขอทำการค้าด้วย ทางการจีนจึงนำพระราชสาส์น แห่ขึ้นเกี้ยวงดงาม ให้ราชทูตเดินตาม หลังจากนั้นมีพระบรมราชโองการตามออกมาให้คณะราชทูต ข้าราชสำนักชาวจีนต่างโค้งคำนับพระราชโองการ ด้วยถือเสมือนฮ่องเต้มาเอง แถมยังบังคับให้ชาวยุโรปคุกเข่า ก้มโค้งหมอบกับพื้น ๙ ครั้ง อย่างธรรมเนียมจีนอีกด้วย ... จีนถือว่าประเทศใหญ่ เป็นศูนย์กลางแห่งโลก มิเกรงกลัวผู้ใด
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 20 ก.ค. 11, 10:26

ส่ง อิเหนา เวอร์ชั่น คุณไชยา มิตรชัย มาให้ชม ระหว่ารอท่านอื่นๆ มาอัพ ค่ะ ยิงฟันยิ้ม
แต่ดูคุณ จินตหรา เวอร์ชั่นนี้ สว. ไปหน่อยนะคะ...

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 27 ก.ค. 11, 14:06

กลับมาเล่าเรื่องอิเหนากันต่อไปตามสไตล์คุณหลวง

เมื่อตำมะหงงเมืองดาหาได้คลี่ราชสารอ่านถวายท้าวดาหาแล้ว
ท้าวดาหามีพระดำรัสประภาด้วยคณะทูต  ๓  นัดตามธรรมเนียม
จากนั้นก็ประทานเสื้อผ้าแพรพรรณแก่คณะทูตเป็นรางวัล
พร้อมกับรับสั่งไปว่า  อีก ๓ เดือน ข้างหน้าจะจัดการตบแต่งจรกากับบุษบา
ตามที่ได้มีสารขอมานั้น   แล้วเสด็จขึ้น

คณะทูตได้เฝ้าถวายราชสารเสร็จตามประสงค์แล้วก็รีบออกเดินทางกลับทันที
เพื่อไปกราบทูลเรื่องที่ท้าวดาหาทรงยินดีรับของหมั้นไว้พร้อมกับกำหนดการที่จะจัดงานมงคล

ฝ่ายจรกาได้ทราบข่าวดีก็ดีใจ ปลาบปลื้มเสียไม่มีที่เปรียบ

ฟากท้าวดาหา ได้รับสั่งให้เสนา ๓ คนไปแจ้งข่าวทรงรับของหมั้นระตูจรกา
ให้เมืองกุเรปัน  กาหลัง และสิงหัดส่าหรีทราบ   พร้อมกับอธิบายเหตุผลว่า

"ด้วยระตูล่าสำบุรี
มาขอบุตรีให้อนุชา
ไม่ควรเคียงศักดิ์ก็เข้าใจ
แต่ได้ให้เขาตามวาสนา
จะแต่งการเท่าวงศืเทวา
พอแก้หน้าที่ได้ความอัประมาณ"

เรื่องนี้เมื่อทราบถึงท้าวกุเรปัน  ท้าวเธอก็ตรัสว่า

"พระน้องไม่ยั้งคิดนี้ผิดนัก
ให้เสียศักดิ์สุริย์วงศ์อสัญหยา
เมื่อเห็นดีให้ปันลั่นวาจา
จะรื้อมาบอกเล่าเราไย"

ส่วนท้าวกาหลังและท้าวสิงหัดส่าหรี ประทับอยู่ต่างเมืองกัน
แต่ในบทละครเกณฑ์ให้รับสั่งเป็นความอย่างเดียวกันว่า

"แต่แรกพระเชษฐาไม่หารือ
ปลงใจให้ระตูตุนาหงัน
อิเหนานั้นบรรลัยเสียแล้วหรือ
จะให้ไพร่พลเมืองเลื่องลือ
ไม่นับถือวงศาสุราลัย
ทั้งนี้สุดแต่พระเชษฐา
นครากุเรปันเป็นใหญ่
ถ้าพระองค์ยินยอมพร้อมใจ
เรามิได้แข็งขัดทัดทาน"

เสนาทั้งสาม เอาความที่พี่น้องทั้ง ๓ เมืองรับสั่งนั้น
มาทูลท้าวดาหา  ท้าวดาหาก็รับสั่งว่า

"ถึงจะเสียวงศ์วานก็ทำเนา
ตามแต่อนุชาจะว่าไป
ด้วยมิได้เจ็บช้ำน้ำใจเขา
อันความแค้นความอายของเรา
จะตราบเท่าสูญสิ้นดินฟ้า
ซึ่งยอมยกบุตรีให้ระตู
จะอดสูกระไรหนักหนา"

นั่นสิ  ลูกสารก็ลูกสาวเรา  จะมาเดือดร้อนอะไรกับเราด้วย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 27 ก.ค. 11, 14:14

มาจะกล่าวบทไป  กษัตริย์ ๓ พระองค์พี่น้องร่วมท้องเดียวกัน

พี่ชายชื่ออะไรไม่ทราบได้ แต่เรียกตามชื่อเมืองว่า ท้าวกะหมังกุหนิง
ท้าวมีโอรสชื่อ ระเด่นวิหยาสะกำ ฟันแดง หน้าตาคมขำ  ผิวดี
เป็นที่รักของบิดามารดามาก

ท้าวผู้น้องรองลงมา ครองเมืองปาหยัง ท้าวเธอมีธิดา ๒ พระองค์
ชื่อ ระเด่นรัตนาระติกา  ๑  และ  ระเด่นรัตนาวาตี ๑

ท้าวผู้น้องคนสุดท้าย  ครองเมืองประหมันสลัด
ท้าวเธอมีโอรส ชื่อ ระเด่นวิหรากะระตา
มีธิดา ชื่อ  ระเด่นบุษบาวิลิศ

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 27 ก.ค. 11, 14:28

ท้าวกะหมังกุหนิง ทรงเลี้ยงดูบำรุงบำเรอระเด่นวิหยาสะกำ
อย่างดี  จัดสาวสนมนางกำนัลมาคอยปรนนิบัติพัดวีไม่ขาด 
เช้าเย็นวิหยาสะกำประทับสดับเพลงดีดสีตีเป่าในห้องหอปราสาท
แต่อยู่มาวันหนึ่ง  เทวดาดลใจให้วิหยาสะกำดำริอยากเสด็จไปประพาสป่าบ้าง
(คงเบื่อพวกนางในเมือง   จะไปดูนางไม้ในป่าเขาบ้าง)

ก็รับสั่งให้พี่เลี้ยงเตรียมพลเตรียมม้าและอาวุธครบมือ
เพื่อเสด็จไปประพาสป่าหาเห็ด  ขุดหน่อไม้  แยงไข่มดแดง
หากะปอม  ยิงนกกาล่าเนื้อ  เก็บผักหักฟืน  มาทำอาหารเองดูบ้าง

เมื่อพลโยธีเตรียมตัวพร้อม  วิหยาสะกำยังไม่พร้อม  ขอไปสระสรงก่อน
เครื่องแต่งตัวไม่มีอะไรน่าสนใจ  ขอข้ามมาถึงตอนทูลลาท้าวกะหมังกุหนิง
ว่าไปป่าจักน้อยหนึ่ง  พ่อก็ใจดี  ตามใจลูก  บอกว่าไปเถอะบักหำน้อย
แล้วคืนมาไวๆ อย่าให้ทันเย็นย่ำค่ำมืด  อีพ่อสิเป็นห่วงหลายเด้อล่ะ
คุณลูกรับปากก็ฟ้าวยกพวกไปตีป่าทันที
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 27 ก.ค. 11, 14:39

อ๊ะ  ช้าก่อน  มีบทพรรณนาม้าต้นของวิหยาสะกำน่าสนใจ

"ม้าเอยม้าต้น                     เริงรนร่านร้องคะนองเสียง
ยกคอย่อท้ายร่ายเรียง           เผ่นโจนโผนเพียงม้ายนต์
ย่องย่ำทำพยศสะบัดย่าง       หักหันให้ข้างขวางถนน
ถูกน้อยซอยเต้นมากลางพล   คนเคียงข้างละคนคอยประจำ
ผูกเครื่องสุวรรณกุดั่นดาว       แวววาวชัชวาลอานคร่ำ
ใบโพธิ์พรายรายบุษราคัม      ง่องง้ำสายถือถักทอง
กิดาหยันโยธาม้าแซง           ขับแข่งควบตามเป็นแถวถ้อง
บ้างมุ่นหกผกเผ่นลำพอง       รีบกองหน้านำดำเนินไป"

บทนี้  มีคำศัพท์ที่เกี่ยวกับม้าหลายคำ  น่าสนใจ (ที่ทำตัวแดงไว้)
ผมอยากให้ช่วยกันอธิบายหน่อย

และอยากให้ช่วยหาข้อมูลเรื่องเครื่องอานม้าด้วย  ว่ามีอะไรบ้าง
แต่ละอย่างหน้าตาเป็นอย่างไร

กับเรื่องขบวนเจ้านายเสด็จด้วยม้า  ในอดีตเขาจัดกันอย่างไร

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 20 คำสั่ง