เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 74289 บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 14:51

จิตรกรทั้งสองคนไปถึงเมืองดาหาและสิงหัดส่าหรีแล้ว
ก็เข้าไปตีสนิทกับคนดูแลราชอุทยานสราญรมย์
จนคนดูแลราชอุทยานไว้ใจ

ระเด่นจินดาส่าหรี ปกติจะเสด็จไปประพาสราชอุทยาน ๗ วันครั้ง  
ครั้นถึงกำหนด  ก็ไปเชิญมะเดหวีให้เสด็จไปประพาสด้วย

ทั้งสองก็สรงน้ำแต่งองค์ทรงเครื่องตามลักษณะบทละครไทย  ดังนี้

"วารีรดเย็นฉ่ำสำราญ
ทรงเครื่องสุคนธ์ธารปรุงเกสร
พระฉายตั้งเตียงสุวรรณตรงบัญชร
บังอรทรงปรัดผัดพักตร์
ทรงยกทองท้องช้ำระกำไหม
สไบหน้าเจียระบาดตาดปัก
เข็มขัดเพชรพรรณรายสายชัก
ประจำยามจำหลักลงยา
สอดทรงสังวาลบานพับ
สร้อยนวมสวมทับพระอังสา
ตาบกุดั่นพลอยประดับระยับตา
ล้วนจินดาแวววามอร่ามเรือง
.....(เอาเท่านี้พอ)"

ตรงนี้ มีชื่อผ้า  เครื่องประดับหลายอย่างไม่เข้าใจ
ไม่ทราบว่าจะมีใครกล้าหาญช่วยอธิบายได้ไหม
ที่แน่ๆ  นายโรงราชประสงค์ น่าจะสันทัดมากกว่าคนอื่น
(ขอภาพประกอบคำอธิบายด้วยนะ อย่าต้องให้ทวงซ้ำ)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 14:52

อะไรเป็นอะไรในอิเหนา

ม้าของอิเหนา


       ม้าเอยม้าต้น                            สามารถอาจผจญไม่เต้นตื่น

พ่วงพีมีกำลังยั่งยืน                            ตัวรู้อยู่ปืนได้ทดลอง

อยู่ปืน  หมายความว่า ไม่ตื่นเสียงปืน

การนี้ต้องนำปืนมายิง   ไม่ใช่ยิงม้านะ   ยิงใกล้ๆพอได้ยินเสียง    ให้ม้าคุ้นกับเสียงดัง      ถ้าจุดพลุอย่าว่าแต่ม้าเลย  ช้างก็ไม่อยู่จ้ะ

บอกอีกทีด้วยความเศร้าใจว่าตำราม้าของเก่าของไทยเราน่ะ สูญ   ไปนานแล้ว

ท่าทางขี่ม้ารำทวนที่ขุนนางนายทหารไทยล้วนเรียนรู้จากสำนักท่านผู้ใหญ่ทั้งสิ้น       สูญ  ไปด้วยจ้ะ

เหลือชื่อท่าอยู่ในพจนานุกรมเรื่องศัพท์ยากในวรรณกรรม

ตำราขี่ช้างยังอยู่

ตำราขี่ม้าฬ่อแพน(สมัยใหม่เขียน ล่อแพน)ยังอยู่         ม้าฬ่อแพนคือ  คนขี่ม้าถือแพนหางนกยูงออกมาล่อช้างให้ไล่      เป็นการละเล่น

เพราะมีการรำเพลงอาวุธแลพหยอกล้อกันด้วย    ผู้ขี่ม้าและผู้บังคับช้างต้องรู้จังหวะกันอย่างดี

ในเรื่องอิเหนาไม่มีช้าง   แต่อยากอธิบายว่าตำราขี่ม้าของเก่าสูญไปแล้วจ้ะ

ช้างของเราอีกหน่อยก็สูญ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 14:59



โอโฮ   อย่าให้ต้องทวงซ้ำ


จะแย่งตอบก็มิกล้า   ไปหาตำรามาช่วยก่อน    จะรีบเดาโดยชำนาญก็เกรงจะโดนลูกหลง
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 15:02

      ม้าเอยม้าต้น                            สามารถอาจผจญไม่เต้นตื่น

พ่วงพีมีกำลังยั่งยืน                            ตัวรู้อยู่ปืนได้ทดลอง

อยู่ปืน  หมายความว่า ไม่ตื่นเสียงปืน

การนี้ต้องนำปืนมายิง   ไม่ใช่ยิงม้านะ   ยิงใกล้ๆพอได้ยินเสียง    
ให้ม้าคุ้นกับเสียงดัง      ถ้าจุดพลุอย่าว่าแต่ม้าเลย  ช้างก็ไม่อยู่จ้ะ


ก็เหมือนกับเวลาที่มีการสวนสนามที่ลานพระราชวังดุสิต
ม้าที่ทหารม้าเอามาขี่เข้าขบวนสวนสนามปิดท้ายในการสวนสนาม
ก็ต้องเอามาฝึกให้ไม่ตื่นเสียงเครื่องดนตรีวงโยธวาทิตด้วยเหมือนกัน
ไม่เช่นนั้น เดี่ยวเหมือน "อ้ายอู๊ด" ที่ต้องไปหยุดรถม้าในคลอง

ในการพระราชพิธีแรกนาขวัญ  เจ้าหน้าที่ก็ต้องเอาพระโค
ทั้งพระโคคู่เอก และพระโคสำรองมาฝึกให้ฟังเสียงประโคมดนตรี
ให้คุ้นเคยเสียก่อน  พระโคจะได้ไม่ตื่นตกใจเวลาอยู่ในพระราชพิธีจริง

อ้างถึง
ตำราขี่ม้าฬ่อแพน(สมัยใหม่เขียน ล่อแพน)ยังอยู่         ม้าฬ่อแพนคือ  คนขี่ม้าถือแพนหางนกยูงออกมาล่อช้างให้ไล่      เป็นการละเล่น

ที่ว่าเป็นการละเล่น  กรุณาบอกด้วยว่าเล่นที่ไหนอย่างไร
เด็กๆ สมัยนี้เห็นจะไม่เข้าใจว่าเล่นทำไม  เล่นแล้วได้ประโยชน์อย่างไร
นอกจากจะคิดว่า  วอนถูกช้างกระทืบตายเท่านั้น
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 15:12




ปรัด         (อ้างอิง รัตนมาลา  หน้า ๕๓๖)


ผัด  ปัด   พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย  อาจารยางกูร)  อธิบายความหมายของคำนี้ว่า
"หนึ่งในคำปัด  แผลงเป็นปรัด     ใช้ตามประสงค์  เหมือนกับว่า ทรงปรัด ผัดพักตร์ขจร  โดยความก็คง  ว่าปัดกายา"
ไวพจน์ประพันธ์


(ใช้รัตนมาลาบ่อยจนพลัดตกจากโต๊ะหนังสือไม้แดงหุ้มหนัง (หนังสือนะไม่ใช่ข้าพเจ้า)  ปกแข็งฉีกขาดตลอด)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 15:19

^ดีมาก คุณวันดี   หนังสือชำรุดพอซ่อมแซมกันได้
ความรู้ชำรุด  ซ่อมแซมยาก   โปรดอย่าได้ร้อนใจไปเลย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 15:40

ยังไม่มีใครมาไขเรื่องผ้าผ่อนท่อนสไบให้  จะขอเล่าเรื่องต่อไป

ระเด่นจินดาส่าหรีและมะเดหวีเมืองสิงหัดส่าหรีเสด็จไปประพาส
ราชอุทยานสราญรมย์  พร้อมพวกบรรดาบ่าวไพร่นางใน
โดยได้รับพระอนุญาตจากประไหมสุหรี   

ฝ่ายจิตรกรเอกที่มาเฝ้ารอวาดรูปที่สวนราญรมย์ก็ได้ดอกาสงาม
แอบซุ่มในสวนสราญรมย์มองดูระเด่นจินดาส่าหรี มือก็วาดสเก็ตรูป
วาดเสร็จก็ลงสีให้สวยงาม  ใช้เวลาไม่นานก็สำเร็จ

ตกเย็น ขบวนเสด็จกลับ  ช่างวาดภาพก็รีบกลับไปยังเมืองจรกา
เอาภาพวาดนางจินดาส่าหรี ขึ้นถวายให้ทอดพระเนตร
จรกาได้เห็นภาพวาดนั้นก็ดีใจ หยิบเอาชมอยู่ไม่เว้นวาย
การบ้านการเมืองก็ไม่เป็นอันทำ  เฝ้าแต่ดูรูปนางไอดอลอยู่ในห้องนอนของตน

บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 15:41


อ้างถึง
ตำราขี่ม้าฬ่อแพน(สมัยใหม่เขียน ล่อแพน)ยังอยู่         ม้าฬ่อแพนคือ  คนขี่ม้าถือแพนหางนกยูงออกมาล่อช้างให้ไล่      เป็นการละเล่น

ที่ว่าเป็นการละเล่น  กรุณาบอกด้วยว่าเล่นที่ไหนอย่างไร
เด็กๆ สมัยนี้เห็นจะไม่เข้าใจว่าเล่นทำไม  เล่นแล้วได้ประโยชน์อย่างไร
นอกจากจะคิดว่า  วอนถูกช้างกระทืบตายเท่านั้น

ข้อนี้ขอจอง แต่อดใจรอหน่อยนะจ๊ะ
กลับบ้านไปหาข้อมูลก่อน
จะลอกลงมาทั้งดุ้น ไม่ตัด ไม่ขาด ไม่เกิน ยิงฟันยิ้ม



ท่าทางขี่ม้ารำทวนที่ขุนนางนายทหารไทยล้วนเรียนรู้จากสำนักท่านผู้ใหญ่ทั้งสิ้น       สูญ  ไปด้วยจ้ะ

เหลือชื่อท่าอยู่ในพจนานุกรมเรื่องศัพท์ยากในวรรณกรรม


เรื่องขี่ม้ารำทวนเหมือนจะเคยอ่านผ่านๆ ตามา
รู้สึกจะเป็นทางบรรพบุรุษของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

อันนี้ไม่แน่ใจนะ
ขอกลับไปตรวจสอบข้อมูลก่อนครับผม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 15:50

ใจเย็น ๆ ซิท่าน ยังไม่ทันหายใจครบ ๓ ลา ก็พากันตั้งกระทู้ต่อไป ยังไม่ทันหาคำตอบเลย  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 16:06

"ทรงยกทองท้องช้ำระกำไหม"

หมายถึงผ้าที่ทำการทอแบบพิเศษ ที่เรียกว่า ผ้ายก เพื่อให้เกิดมิติ เป็นลาย เป็นดอกขึ้นมา บางครั้งเอาดิ้นเงิน ดิ้นทองสอดผสม ก็เรียกว่า ผ้ายกทอง

ระกำ เป็นการปักผ้าเป็นดอกเพิ่มเข้าไปอีก เพื่อความงาม ถ้าด้ายทำด้วยไหม ก็เป็น ระกำไหม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 16:12

"สร้อยนวมสวมทับพระอังสา"


สร้อยนวมเป็นเครื่องประดับแผงคอ แผงบ่า ทำด้วยทองหรือเงินถัก และประดับเพชร และพลอย เห็นได้ในเครื่องประดับในพิธีโสกันต์

พวกละครโขน ได้แปลงสร้อยนวมเป็น กำมะลอโดยใช้ปักผ้า ปักดิ้น เรียกใหม่ว่า "กรองคอ"


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 16:14

ผ้าตาด เป็นผ้าทอด้วยดิ้นเงิน ดิ้นทอง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 16:16

เข็มขัดเพชรพรรณรายสายชัก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 16:21

สอดทรงสังวาลบานพับ

สังวาล เป็นเครื่องประดับที่วางพาดเฉียงบ่า

บานพับ  การทำเครื่องทองแบบบานพับ หักไปซ้ายและขวาได้ ไม่ใช่แบบห่วงคล้อง


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 16:24

บานพับ  คือ พาหุรัด

อาจเป็นกนกต้นแขน


สร้อยนวมนั้นบางทีเรียกนวมนาง

เจียระบาด  คือ  ผ้าคาดเอว   บางครั้งจะเรียกว่า รัดพระองค์เจียระบาด



ในสาส์นสมเด็จ  สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตืวงศ์  ทรงประทานคำอธิบายไว้ว่า

ผ้าห้อยหน้าละครไทยเดิมเป็นชายผ้านุ่ง  คือ ชายแครงที่เรียกว่า  จารบาด
(อ้างอิง  เครื่องแต่งกายละคร  กรมศิลปากร  ๒๕๔๗  เล่มสีเขียว)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 20 คำสั่ง