เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 74434 บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 15 ก.ค. 11, 12:52



พิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๖๔    สมเด็จพระปิตุฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี  พระอัครราชเทวี  โปรดให้จัดพิมพ์ในงานฉลองพระชันษาซายิด

ในปี ๒๔๕๙   วรรณคดีสโมสรยกย่องว่า  เป็นยอดของบทละครรำ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 15 ก.ค. 11, 13:21



ครูสมิท ที่ตั้งโรงพิมพ์ที่บางคอแหลม  ได้พิมพ์บทละคอนอิเหนา พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ ในปี ๒๔๑๗

ขอประทานยืมมาจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

แปลกมากที่หนังสือชุดนี้ไม่มีปรากฎในมือนักอ่านหนังสือเก่าหรือนักสะสมแต่อย่างใด

ทั้งๆที่หนังสือวรรณคดีชุดอื่นที่ครูสมิทพิมพ์ยังมีตกทอดเป็นหลักฐาน
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 15 ก.ค. 11, 13:23

พาน้องหนู "บุษบา"มาร่วมรายการ

เทียนจุดเวียนพระพุทธา       ตัวข้าฯ บุษบาขออธิษฐาน
เทียนที่เวียนนมัสการ         บันดาลให้หทัยสมปรารถนา
ดลจิตอิเหนา                 ให้เขามารักข้าฯ
ขอองค์พระปฏิมา            เมตตาช่วยคิดอุ้มชู
ขอเทียนที่เวียนวน           ดลฤทัยสิงสู่
ให้องค์ระเด่นเอ็นดู          อย่าได้รู้คลายคลอน
 

*อ้า...องค์พระพุทธา        ตัวข้าฯ  บุษบาขอกราบวิงวอน
ข้าฯ  สวดมนต์ขอพระพร     วิงวอนให้  หทัยระเด่นปรานี
รักอย่าเคลือบแฝง            ดังแสงเทียนริบหรี่
ขอองค์ระเด่นมนตรี          โปรดมีจิตนึกเมตตา
ขอเทียนที่เสี่ยงทาย         ดลให้คนรักข้าฯ
รักเพียงแต่บุษบา           ดั่งข้าฯนี้ตั้งใจ   (ซ้ำ  * )


กล่าวไว้ในกระทู้โน้นว่าไม่เคยอ่านเรื่องอิเหนาเลย แต่มีหนังสือชุดนี้มากว่าสามสิบปีแล้ว ฉบับพิมพ์โดยแพร่พิทยา สำนักวังบูรพา คงต้องขุดมาอ่านซะที

ที่ไม่ได้อ่านก็เพราะติดขัดกับศัพท์ทางวรรณคดีนี่แหละ



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 15 ก.ค. 11, 13:40


เราจะทำความเข้าใจกันก่อนนะคะว่า  มีกษัตริย์เชื้อสายเทวดา สี่ องค์  ต่างครอบครองนครใหญ่ที่รุ่งเรืองต่างๆ กัน

คือ กรุงกุเรปัน  ดาหา  กาหลัง  และสิงหัดส่าหรี

มเหสีเอกของสองนครแรกมาจากนครหมันหยา    พระธิดาองค์สุดท้องชื่อ จินดาส่าหรี แต่งกับพระญาติ ชื่อ ระเด่นมังกัน

และครอบครองหมันหยาต่อมา  มีธิดาคือ จินตหรา

ตัวเอกของเราคือ อิเหนา อยู่เมืองกุเรปัน    จินตหราอยู่หมันหยา  และ บุษยาอยู่เมือง ดาหา   ล้วนเป็นญาติสนิท  แต่การนับถือตำแหน่งเมืองใหญ่

ไม่นับหมันหยา

พ่อของอิเหนาตามตัวลูกชายไม่ได้  ก็ทรงเขียนมาด่าท้าวหมันหยาเป็นการระบายพระอารมณ์


     การอ่านสารบัญนั้นมีประโยชน์มาก    จะได้ทราบว่าใครเป็นใคร  ใครพี่  ใครน้อง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 ก.ค. 11, 14:32


อิเหนา  มีพี่ชายต่างมารดาชื่อ  กะหรัดตะปาตี  เป็นลูกมเหสีที่ ๔  ตำแหน่งลิกู
มีคนไม่ทราบว่า กะหรัดตะปาตีเป็นใคร


พระมหานครทั้งสี่นี้มีตำแหน่งมเหสีเรียงกัน ๕ ตำแหน่ง
คือ ประไหมสุหรี   
มะเดหวี
มะโต
ลิกู   และ
เหมาลาหงี

ไม่ต้องใส่ใจมากค่ะ เพราะไม่มีบทบาทอะไร  นอกจากมะเดหวีเมืองหมันหยา   ผู้ดูแลนางบุษบา

อิเหนา  จินตะหรา  และ บุษบา   เกิดไล่เรี่ยกัน

สียะตรา น้องร่วมท้องของบุษบา อ่อนกว่าบุษบา ๕ ปี

น้องร่วมท้องของอิเหนา คือ นางวิยะดาเกิดเมื่ออิเหนาเป็นหนุ่มแล้ว
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 ก.ค. 11, 14:42

สมเด็จพระมารดาของหมันยา  คือ พระมารดาของประไหมสุหรีกุเรปัน  ประไหมสุหรีดาหา รวมประไหมสุหรีหมันหยา

สิ้นพระชนม์

ท้าวหมันหยาก็ตั้งพระศพไว้ในปราสาท    และสั่งอำมาตย์ให้บอกเมืองขึ้นให้ตัดไม้มาใช้ในการพระศพ

และแจ้งไปให้พระพี่นางที่เป็นประไหมสุหรีกุเรปัน  และ ประไหมสุหรีดาหา ทราบ

เมืองกุเรปันส่งอิเหนาไปแทนตัวพระมารดาที่ท้องแก่(ท้องนางวิยะดา)


เรื่องการสร้างพระเมรุนี้  ประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์มีไว้ครบครัน

ดิฉันได้อ่าน อิเหนา เล่มใหญ่เมื่ออายุยังน้อยมาก  อ่านไปก็สงสัยว่าธรรมเนียมหลายอย่างเหมือนธรรมเนียมไทยจัง

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 ก.ค. 11, 15:04


มาถึงตอนนี้ก็อ่านสารบาญไปได้สะบาย


นางจินตะหรานั้นน่าจะมีจริตอันงามเพราะเมื่อไหว้อิเหนานั้นอายเหนียม

อิเหนามองดูว่านางงามเสงี่ยม เจียมจิต  เพราะนั่งแอบหลังพระมารดา

แต่สบสายตาอิเหนา

ในกลอนว่า    กัลยาอายเอียงเมียงมัน       
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 ก.ค. 11, 15:10





ปาเตะขุนนางผู้ใหญ่

เห็นเหตุการณ์ไม่ชอบกล  จึงคิดว่า

เสียแรงพระชุบเลี้ยงถึงเพียงนี้        ได้มั่งมีอยู่เย็นเป็นสุข
จะมานิ่งนอนใจให้เกิดยุค             เห็นความจะลามลุกวุ่นวาย


ได้เขียนสารไปทูลท้าวกุเรปันว่าอิเหนาหลงพระบุตรี

และท้าวหมันหยาและพระมเหสีเป็นใจ


          จดหมายนี้เก็บความได้ดีมาก   "แย้มเยื้อนเหมือนจะให้เยาวมาลย์"


ต่อมาท้าวกุเรปันได้จ๊วกท้าวหมันหยาอย่างแสบว่า

มีลูกสาวให้แต่งตัวไว้ยั่วชาย


ที่จริงท้าวหมันยาก็เป็นเขยเล็ก     ท้างกุเรปันเป็นเขยใหญ่

ไม่น่าจะโกรธถึงเพียงนี้


คงแค้นที่อิเหนาเขียนสารมาบอกเลิกบุษบา


   อันการที่จัดแจงไว้                  อย่าให้มีอาลัยเลยกับข้า

แม้นใครมาขอบุษบา                  จงให้ตามปรารถนาเขานั้น













บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 11:22

คุณวันดี ปูพื้นหินอ่อนมาอย่างดี
เพื่อเข้าสู่ตอนศึกท้าวกะหมังกุหนิง
ที่นักเรียนหลายคนทั่วประเทศ
อาจจะกำลังอ่านไปกุมขมับไป

อันที่จริง  เรื่องอิเหนานี้  เป็นวรรณคดีที่ออกจะอาภัพ
ที่ว่าอาภัพเพราะคนสมัยนี้ไม่ใคร่รู้จัก
ผิดกับสามก๊ก รามเกียรติ์  ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี
ที่คนส่วนใหญ่รู้จัก  แม้จะไม่เคยอ่านก็ตาม
หากเป็นสมัยรัชกาลที่ ๗ ขึ้นไป  
เรื่องอิเหนาเป็นหนังสือยอดนิยมเรื่องหนึ่ง
นักประพันธ์สมัยก่อนมักเอามาอ้างถึงบ่อยๆ

สมัยนี้  คนแทบไม่พูดถึงเรื่องอิเหนากันเลย
เรารู้ล่ะว่า เป็นวรรณคดีที่วรรณคดีสโมสรยกย่อง
ให้เป็นยอดของวรรณคดีกลอนบทละคร
แต่เด็กนักเรียนไม่เคยรู้เรื่องวรรณคดีเรื่องนี้มาก่อน
แถมชื่อตัวละครก็ไม่คุ้นหู  และบางทีก็จำไม่ได้ด้วย
เมื่อถูกกำหนดให้เรียน  โดยที่ไม่มีพื้นฐานมาก่อน
ย่อมลำบาก  ยิ่งการเรียนสมัยนี้  ต่อให้ครูอธิบายดีเยี่ยมอย่างไร
แต่ถ้าเด็กไม่มีพื้นหรือไม่สนใจที่จะไปค้นต่อแล้ว
ย่อมเป็นยาขมที่ต้องรับประทานอย่างทุกข์ทรมานใจ

และต้องไม่ลืมว่า  เด็กเขาเรียนหลายวิชา
ไม่ว่า ฟิสิกซ์ เคมี คณิต ภาษาอังกฤษ สังคม ฯลฯ
เขาต้องแบ่งสมองไปเรียน จดจำ ทำความเข้าใจวิชาอื่นๆ
การให้เรียนวรรณคดีเก่าให้เข้าใจย่อมถูกวิชาอื่นๆ เบียดบัง

ฉะนั้น  เราควรจะช่วยเด็กๆ ให้ทำความเข้าใจวรรณคดีเก่า
เพื่อให้เรียนหนังสือได้สนุก  รื่นรมย์ และเข้าใจมากขึ้น (หรือเปล่า?)



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 11:30

เล่มนี้ก็อิเหนา ในพระนิพนธ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ อธิบายดีครับ


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 11:37

ผมจะจับความต่อจากที่ระเด่นวันดีเล่าไว้

เริ่มที่ตอนกล่าวถึงระตูจรกาแห่งเมืองจรกา
กำลังหาสาวมาเป็นคู่ครอง  ได้มีบัญชาให้
ช่างเขียนไปลอบวาดรูปนางทั้งหลายทั้งชวา
มาให้ดูหลายครั้ง  ก็ยังไม่พบนางที่สบใจ
จึงปรึกษากับเสนาข้าราชบริพาร  
ว่าเออ  ยังมีธิดาเมืองไหน
ที่ยังไม่ได้เอามาพิจารณาเป็นคู่ครองบ้าง

จะว่าไป  ระตูจรกานี่ก็เรื่องมากไม่สมกับรูปร่าง

ดังกลอนที่พรรณนารูปจรกาว่า

"ระตูรำพึงถึงองค์        ด้วยรูปทรงอัปลักษณ์หนักหนา
ดูไหนมิได้งามทั้งกายา     ลักษณาผมหยักพักตร์เพรียง
จมูกใหญ่ไม่สง่าราศี       จะพาทีแห้งแหบแสบเสียง
คิดจะหากัลยาเป็นคู่เคียง   ที่งามเพียงสาวสวรรค์ให้เกื้อองค์"

วิธีคิดของจรกานี่น่าสนใจดี  รูปตัวไม่งาม
แต่อยากหาคู่ครองงามมาชดเชยความไม่งามของตน


เอ  พักตร์เพรียง นี่หมายความว่ากระไรหนอ?
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 11:42



พระมหานครทั้งสี่นี้มีตำแหน่งมเหสีเรียงกัน ๕ ตำแหน่ง
คือ ประไหมสุหรี   
มะเดหวี
มะโต
ลิกู   และ
เหมาลาหงี



ขอใส่ใจนิดนึง คงไม่เป็นการรบกวนนะขอรับ เพราะว่าเป็นภาษาไทย อ่านตามสำเนียงชวา หากทราบถึงที่มา แล้วจะได้อรรถรส เพิ่มขึ้น

ประไหมสุหรี  = มเหสีเอก = พระบรมราชินี

มะเดหวี = มเหสีองค์ที่สอง รองจากประไหมสุหรี

มะโต = มเหสีองค์ที่สาม

ลิกู = มเหสีองค์ที่สี่

เหมาลาหงี = มเหสีองค์ที่สี่ (ในเรื่องอิเหนา ไม่มีตำแหน่งนี้ พบตำแหน่งเหมาลาหงี ได้จากเรื่องดาหลัง กษัตริย์แห่งวงศ์เทวัญ)

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 11:46

เอ  พักตร์เพรียง นี่หมายความว่ากระไรหนอ?

รอยอินท่านอธิบายไว้

เพรียง ๑ [เพฺรียง] น. เรียกผิวหนังที่ขรุขระอย่างหน้าออกฝีว่ามีลักษณะเป็นเพรียง.

เป็นคำไทยที่หายไปคำหนึ่ง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 11:48

เอ  พักตร์เพรียง นี่หมายความว่ากระไรหนอ?

รอยอินท่านอธิบายไว้

เพรียง ๑ [เพฺรียง] น. เรียกผิวหนังที่ขรุขระอย่างหน้าออกฝีว่ามีลักษณะเป็นเพรียง.

เป็นคำไทยที่หายไปคำหนึ่ง

 ยิงฟันยิ้ม

ดีครับ  แต่ผมสงสัยแล้วทำไมต้องเรียกว่า หน้าเพรียง ล่ะ
ใคร่ทราบที่มา
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 11:50

เอ  พักตร์เพรียง นี่หมายความว่ากระไรหนอ?

รอยอินท่านอธิบายไว้

เพรียง ๑ [เพฺรียง] น. เรียกผิวหนังที่ขรุขระอย่างหน้าออกฝีว่ามีลักษณะเป็นเพรียง.

เป็นคำไทยที่หายไปคำหนึ่ง

 ยิงฟันยิ้ม

ดีครับ  แต่ผมสงสัยแล้วทำไมต้องเรียกว่า หน้าเพรียง ล่ะ
ใคร่ทราบที่มา

ลองนึกถึงเพรียงที่เกาะตามท้องเรือซิครับ หรือไม่ เพรียงตามโขดหิน คงจะเละเทะแบบนั้นหรือ  ฮืม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 20 คำสั่ง