เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8
  พิมพ์  
อ่าน: 74445 บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 08:36

"ทรงยกทองท้องช้ำ"

เปิดตำราผ้าไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา พบกลอนพรรณา  "ผ้ายกทองท้องแย่ง" อยู่หลายบทกลอน

องค์ประกอบของผ้าไทย ประกอบด้วย ๑. เชิงผ้า  ๒. ขอบข้าง  ๓. ท้องผ้า

ในส่วน "ท้องผ้า" คือพื้นที่มากที่สุด ไว้เดินลายผ้า และอาจจะเป็นไปได้ที่คุณหลวงเล็กสงสัยว่า "ผ้ายกทอง จะใช้ควบกับ ท้องซ้ำ"   

๑. ทางกลอนโดยให้ทอง รับสัมผัสกับ ท้อง

๒. ท้องซ้ำ และ ท้องแย่ง ปรากฎขึ้นมาในเนื้อหา

วิเคราะห์ได้ว่า ท้องซ้ำ น่าจะหมายถึง ลายผ้าที่อยู่บริเวณท้องผ้า มีลวดลายที่ซ้ำกันไปเรื่อย ๆ

และ ท้องแย่ง อาจจะหมายถึง ลายผ้าที่ผูกลายไทย ก้านแย่ง


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 11:06




รบกวนคุณหนุ่มไซมีส  หารูปแว่นตา สมัยก่อน พ.ศ. ๒๓๖๗ หรือ ค.ศ. 1186  ด้วยค่ะ

เพราะตำมมะหงงดาหาเมื่ออ่านสารนั้นใส่แว่นด้วย

คงมีผู้สนใจอยากดูแว่นโบราณ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 11:19


ใครเป็นใคร ในอิเหนา


จรกา               ระตูจรกาเป็นเจ้าเมืองจรกา
                     ผิวหน้าไม่เรียบ
                     จมูกใหญ่
                     เสียงแห้งแหบ
                     ผิวดำ
                     อ้วน
                     ใส่ชฎาไม่รับกับใบหน้า
                     รูปร่างเหมือนอย่างไพร่
                     ที่จริงจรกามารยาทอ่อนน้อม  เมื่อเห็นอิเหนาก็นั่งลงไหว้


ท้าวล่าสำ          พี่ชายของระตูจรกา  ครอบครองเมืองล่าสำ
                     รักน้องและตามใจ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 11:49

ใครเป็นใครใน อิเหนา

ท้าวกะหมังกุหนิง   ครองเมืองกะหมังกุหนิง
เป็นพระบิดาของระเด่นวิหยาสะกำ
รักลูกมากที่สุด
ชำนาญการต่อสู้ด้วยหอกและบังคับม้า
ตีกระบี่   มีลวดลายเพลงอาวุธและคล่องแคล่ว   คงทนอาวุธคือโดนแทงและฟันด้วยกระบี่  ไม่เข้า
เก่งการแทงกริชมาก
        อันเพลงกริชชวามาลายู                    กูรู้สันทัดไม่ขัดสน

การแทงกริชนั้น  กะหมังกุหนิงถือกริชด้วยมือขวา  และมีผ้าเช็ดหน้าในมือซ้าย
การร่ายรำเพื่อแสดงความว่องไวจะคล่องแคล่วในการหลบ  ใช้ผ้าเช็ดหน้าสะบัดไปมาด้วย

กริชของอิเหนาคมมากเพราะเสด็จปู่วางให้ในเบาะ  เป็นของเทวดาประทาน
กริชชั้นดีของชวานิยมทำจากโลหะจากอุกกาบาต   ศิลปากรนิยมว่ายาว ๗ นิ้ว
เรื่องราวของกริชนั้น  ถ้าจะศึกษาไว้บ้างว่าเป็นอาวุธสั้นของเพื่อนในทวีปเดียวกัน  ก็ไม่เสียหาย



ระตูปาหยัง   ครองนครปาหยัง
เป็นน้องท้าวกะหมังกุหนิง
มีพระธิดาสององค์สวยมาก   ไม่เกี่ยวกับอิเหนาตอนกะหมังกุหนิง


ระตูประหมัน   ครองเมืองประหมันสลัด
เป็นน้องท้าวกะหมังกุหนิง
มีพระโอรส และราชบุตรี


ระเด่นวิหยาสะกำ   โอรสท้าวกะหมังกุหนิง
รูปโฉมงดงาม    พ่อและแม่รักยิ่งกว่าชีวิต
ผิวเหลืองเหมือนทองคำ   คงจะทรงลงแป้งสารภีผสมละอองทองคำเป็นแน่แท้
พระพักตร์คมขำ
พระทนต์แดงเป็นสีทับทิม(เพราะเสวยหมากนั่นเอง)
พระขนง (คิ้ว) เข้มรับกับฟันสีทับทิม
พระเกศาปลายงอน  ยาวเพียงต้นพระศอ
รูปร่างดี  ได้สัดส่วนไม่ขัดสายตา


กะหมันหรา  ทหารเมืองกะหมังกุหนิง ผู้หยิบรูปนางบุษบาที่ตกอยู่ไปถวายเจ้าชาย
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 12:18


       ศึกกระหมังกุหนิงนั้นเป็นตอนที่ศิลปากรคิดว่าประชานิยม

จัดตัวแสดงพรึบพรับ  ทรงเครื่องสีต่างๆกัน  กั้นสัปทนสีต่างๆยืนแน่นหน้าเวที

การเสียดสีตัดพ้อในละครในนั้นถูกใจท่านผู้ชมมาก
     

ฝ่ายอิเหนา มี ๕ องค์คือ

อิเหนา

กะหรัดตะปาตี   พี่ชายต่างมารดาของอิเหนา   เมื่อพูดกับอิเหนาเรียกตัวเองว่า "ข้า"  และเรียกอิเหนาพระองค์"

สุหรานากง    โอรสสิงหัดส่าหรีกับประไหมสุหรี  มีกริชเสด็จปู่ประทานเหมือนกัน   ท้าวดาหาพูดกระทบอิเหนาอย่างไร
พระน้องเล่าละเอียด

ระเด่นดาหยน   ญาติผู้น้อยจากเมืองหมันหยา

สังคามาระตา   น้องเมียของอิเหนา  มีฝีมือในการรบเพราะตามอิเหนาอยู่ตลอด

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 12:19




รบกวนคุณหนุ่มไซมีส  หารูปแว่นตา สมัยก่อน พ.ศ. ๒๓๖๗ หรือ ค.ศ. 1186  ด้วยค่ะ

เพราะตำมมะหงงดาหาเมื่ออ่านสารนั้นใส่แว่นด้วย

คงมีผู้สนใจอยากดูแว่นโบราณ

ถ้า พ.ศ. ๒๓๖๗ ก็ตก ค.ศ. 1824 แว่นตาสมัยก่อนน่าจะทำตาเลนส์และแก้วคริสตัล กลม ๆ เหมือนครูไหวใจร้าย ที่ใส่ไว้สอดส่องนักเรียน


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 12:30



ขออภัย  ตั้งใจจะเทียบ จ.ศ.  เจ้าค่ะ

เป็นความหลงลืมของสาวน้อยผู้โดนเกณฑ์มาดำเนินเรื่อง

การอ่านหนังสือหรือดูหนังดูทีวีนั้น    ต่างคนต่างเล่า   เพราะมองเรื่องและความสำคัญต่างมุมกัน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 15:36


ท้าวกะหมังกุหนิงส่งทูตและของบรรณาการ ๑๕ หีบไปถวายท้าวดาหา  ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ

และให้ทหารไปตามใน้องชายทั้งสองคนมา  เล่าเรื่องให้ฟัง

น้องชายห้ามไว้เพราะเกรงบารมีสกุลเทวดา   ท้าวกระหมังกุหนิงก็บ่ายเบี่ยงว่าจะแย่งนางจากจรกาต่างหาก

น้องชายทูลว่า    ไฉนพระผ่านเกล้ามาเบาความ

เบาความ  หมายความว่า เชื่อง่าย

เป็นประโยคที่แรงทีเดียว


ท้าวกระหมังกุหนิงกล่าวว่า


       ไม่ย่อท้อ  ไม่กลัว
สงสารลูกชายที่จะต้องตายถ้าไม่ได้นาง
ถ้าวิหยาสะกำตาย   ท้าวกระหมังกุหนิงก็คงตายด้วย

ไหนไหนในจะตายวายชีวา               ถึงเร็วถึงช้าก็เหมือนกัน
ผิดที่ทำสงครามดูตามที                  เคราะห์ดีก็จะได้ดังใฝ่ฝัน

พี่ดังพฤกษาพนาวัน                      จะอาสัญเหมือนลูกดังกล่าวมา

ต้นไม้อะไรที่เมื่อออกลูกแล้วตาย      (ประโยคคำถามนี้เชิญต่างคนต่างคิด)
   
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 16:00



ดาหามีโอกาสได้รับทูตต่างเมืองอีกหนึ่งครั้ง      และช้างเริ่มปรากฎในกลอน


       คราวนี้เมื่อแขกเมืองจะเข้ามา     ได้ผูกม้า และช้างนางพระยา ไว้รับด้วย

ม้านั้นคือม้าทรง

ช้างนางพระยา  คือช้างพังลักษณะดี  ไม่ถึงระดับช้่างเผือก

ธรรมเนียมบ้านเมืองใน อิเหนา  คือ ต้นรัตนโกสินทร์ทั้งสิ้น   ดาหาก็มีทหารฝรั่งมารับราชการที่โรงปืนใหญ่ด้วย

เกณฑ์ฝรั่งอยู่ประจำรายไป           

ศิลปในการตั้งปืนใหญ่รายไปนั้น  คือระบบการยิงที่วางคนยิงหน้าที่ต่าง ๆกัน  สลับที่กัน    เพื่อรับหน้าที่ต่อกันได้ในเมื่อได้รับบาดเจ็บ

ในภาพยนตร์ไทยเรื่องหนึ่งที่ดูจากโทรทัศน์    คนจัดฉากวางปืนใหญ่ติดต่อกันเป็นแผง

ข้าพเจ้าตกใจไหวหวาดว่าอย่างนี้  แหะ ๆ   ตูมเดียวไปทั้งกรม


เรื่องช้างนั้น   สมาชิกเรือนไทยหลายท่านสามารถเลี้ยวเข้าหาและยกมาประกอบการสนทนาได้ทุกเรื่อง

ดังนั้นเราจะข้ามตอนนี้ไปก่อน

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 16:14


       
ศิลปในการตั้งปืนใหญ่รายไปนั้น  คือระบบการยิงที่วางคนยิงหน้าที่ต่าง ๆกัน  สลับที่กัน    เพื่อรับหน้าที่ต่อกันได้ในเมื่อได้รับบาดเจ็บ

ในภาพยนตร์ไทยเรื่องหนึ่งที่ดูจากโทรทัศน์    คนจัดฉากวางปืนใหญ่ติดต่อกันเป็นแผง

ข้าพเจ้าตกใจไหวหวาดว่าอย่างนี้  แหะ ๆ   ตูมเดียวไปทั้งกรม




เรื่องอะไรหนอ ถ้าถ้าใช้เพลงปี่อย่างฉุยฉาย ก็ออกเสียงชื่อภาพยนต์ว่า "อุอิโออัย" หรือ "อำอานอ๋มเอ็ดอ๊ะอะเออ๋วน" ใช่ไหมเอ่ย ถ้าปืนใหญ่เกิดแตกสักกรบอก ก็ตายกันทั้งแผงไปเลย.....จบข่าว...ปิดม่าน
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 18 ก.ค. 11, 23:43

มีความรู้เกี่ยวกับ กริช มาฝากค่ะ... ยิงฟันยิ้ม

กริช เป็นมีดสั้นแบบหนึ่ง ถือเป็นอาวุธประจำกายที่สำคัญบ่งบอกถึงความเป็นชายชาตรี ฐานะทางสังคมเศรษฐกิจ ยศถาบรรดาศักดิ์และชาติตระกูลของผู้เป็นเจ้าของ เป็นทั้งอาวุธและวัตถุมงคล ที่สามารถบอกถึงเหตุดีร้ายในชีวิตได้

กริช แบ่งตามลักษณะของใบกริชได้สองแบบคือ ตัวกริชแบบใบปรือ และตัวกริชคด
- ตัวกริชแบบใบปรือ ใบกริชรูปยาวตรง ส่วนปลายค่อย ๆ เรียวและบางลงจนบางที่สุดซึ่งอาจจะแหลมหรืออาจจะมนก็แล้วแต่ แบบนี้คล้าย ๆ กับรูปใบปรือ (ปรือ คือพืชน้ำชนิดหนึ่ง มีใบยาว บาง เรียว) กริชใบปรือบางเล่มจะมีร่องลึก ยาวขนานไปกับคมกริช บางเล่มมีร่องลึก 2 - 4 ร่องก็มี
- ตัวกริชคด ใบกริชจะมีลักษณะคดไปคดมา และค่อย ๆ เรียวยาวลงคล้ายกับเปลวเพลิง การทำกริชให้คดนั้นมีจุดประสงค์คือเมื่อใช้แทงจะทำให้บาดแผลเปิดกว้างกว่า และสามารถแทงผ่านกระดูกได้ด้วย
 
ใบกริช มีส่วนผสมของโลหะหลายชนิดหลอมรวมกัน การทำตัวกริชในสมัยโบราณมีวิธีการที่พิศดารกำกับด้วยคาถาอาคม ผู้ทำต้องใช้ทั้งความสามารถ กำลัง สมาธิ พลังจิต และศิลปะอันวิจิตรงดงาม

มีภาพกริชสองแบบมาให้ดูค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
ภาพบน กริชสกุลช่างชวา ใบกริชรูปใบปรือ 
ภาพล่าง กริชสกุลช่างชวาใบกริชคดแบบนาฆอ(นาค) มี 11 คด(เลาะ) คร่ำทองด้ามแบบบันจังของสุมาตรา ฝักแบบซันดังวาลิกัต ปลอกทองเหลืองดุนลาย



บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 01:52



ขอบคุณค่ะคุณ ดีดี    ข้อมูลกำลังต้องการอยู่พอดี

ไม่ทราบแน่คุณหลวงเล็ก  จะออกนำพลไปถึงไหน  สงสัยว่าไกลแน่

เมื่อถึงสามแยกกระหมังกุหนิงแล้ว    แหะ ๆ   ตัวใครตัวท่านนะคะ   

สหายทั้งปวงอยากเล่นอะไรด็เรียนท่านก็แล้วกัน   

สาเหตุที่ดิฉันต้องแยกทัพก็เพราะว่า  อิเหนาของดิฉันชุดนี้ซื้อลดราคามานานมากแล้ว

กว่าดิฉันจะอ่านไปถึงลมหอบ  และพบว่าไม่มีตอนลมหอบค่ะ (เหตุผลน่าจะรับฟังได้นะคะ)

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 08:16

การสยายผมเป็นธรรมเนียมแสดงถึงการไว้ทุกข์ด้วย

คิดว่า  สุนทรภู่คงเห็นจากพราหมณ์ที่กรุงเทพฯ นี่แหละครับ  เพราะธรรมเนียมพราหมณ์เมื่อได้บวชเป็นพราหมณ์โดยพิธีอุปนยายะแล้ว (จำไม่ได้ว่ามีหนังสืออะไรสักเล่ม บอกว่า พราหมณ์ไม่ได้บวชโดยพิธีอุปนยายะ แต่เป็นพิธีอย่างอื่น)  พราหมณ์นั้นจะไม่ตัดผมอีกเลย  พราหมณ์ที่เทวสถานโบสถ์ก็ยังถือธรรมเนียมเช่นนี้อยู่   พราหมณ์จึงมีผมยาวแต่ไม่ได้ปล่อยผมสยาย คงมุ่นผมเป็นมวยเอาไว้  จะปล่อยสยายก็ต่อเมื่อพราหมณ์ต้องเข้าร่วมเดินในกระบวนแห่พระศพหรือพระบรมศพเท่านั้น นัยว่าเป็นธรรมเนียมการไว้ทุกข์ของพราหมณ์มาแต่โบราณ   (ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  พราหมณ์ที่ร่วมเดินในกระบวนแห่พระโกศพระศพมาที่พระเมรุท้องสนามหลวง ก็สยายผมไว้ทุกข์เช่นกัน)  การที่พราหมณ์ไว้ผมยาวและมุ่นเป็นมวยไว้เช่นนี้  คงเป็นธรรมเนียมพราหมณ์มาแต่อินเดีย และได้ถ่ายทอดมาถึงไทยและดินแดนข้างเคียง  ซึ่งก็มีหลักฐานเป็นภาพสลักภาพวาดพราหมณ์มุ่นมวยผม

 ร้องไห้


นั่นแหละ  ที่ผมต้องการ  ถ้ามีภาพด้วยก็ครบถ้วน
เพราะเด็กๆ สมัยนี้อาจจะไม่เข้าใจธรรมเนียมนี้
ยิ่งไม่ใช่ธรรมเนียมของคนทั่วไปยิ่งนับวันจะลี้ลับสำหรับเด็กๆ
ทำให้อ่านวรรณคดีเก่าๆ ไม่เข้าใจ

ขอบคุณคุณเพ็ญฯ ที่มีแก่ใจค้นหามา
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 08:20

"ทรงยกทองท้องช้ำ"

เปิดตำราผ้าไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา พบกลอนพรรณา  "ผ้ายกทองท้องแย่ง" อยู่หลายบทกลอน

องค์ประกอบของผ้าไทย ประกอบด้วย ๑. เชิงผ้า  ๒. ขอบข้าง  ๓. ท้องผ้า

ในส่วน "ท้องผ้า" คือพื้นที่มากที่สุด ไว้เดินลายผ้า และอาจจะเป็นไปได้ที่คุณหลวงเล็กสงสัยว่า "ผ้ายกทอง จะใช้ควบกับ ท้องซ้ำ"   

๑. ทางกลอนโดยให้ทอง รับสัมผัสกับ ท้อง

๒. ท้องซ้ำ และ ท้องแย่ง ปรากฎขึ้นมาในเนื้อหา

วิเคราะห์ได้ว่า ท้องซ้ำ น่าจะหมายถึง ลายผ้าที่อยู่บริเวณท้องผ้า มีลวดลายที่ซ้ำกันไปเรื่อย ๆ

และ ท้องแย่ง อาจจะหมายถึง ลายผ้าที่ผูกลายไทย ก้านแย่ง

เป็นการสันนิษฐานที่เข้าทีมาก  เหมาะแล้วที่เล็งหาคนตอบไว้ไม่ผิดคน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 19 ก.ค. 11, 08:36

เมืองดาหาจัดแจงแต่งบ้านเมืองรับทูตเมืองล่าสำนั้นน่าสนุก
ทำให้เห็นลักษณะการรับทูตสมัยก่อนรัชกาลที่ ๕ ซึ่งยังใช้แบบแผน
อย่างเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา  ราชสาส์นนั้นสำคัญ
เสมอด้วยองค์พระเจ้าแผ่นดิน  จึงต้องขึ้นยานมาศแห่เข้าเมือง
ส่วนผู้นำราชสาส์นนั้น  เดินตามพระราชสาส์น ธรรมเนียมอย่างนี้
ฝรั่งมังค่าไม่เข้าใจ  เห็นว่าชาวสยามไม่ให้เกียรติทูต
แต่ไปให้เกียรติกระดาษของพระเจ้าแผ่นดิน

มีที่น่าสนใจอันหนึ่ง กล่าวไว้ในตอนแขกเมืองเข้าเฝ้า

"วันแขกเมืองจะเฝ้าพระภูมี
ก็จัดแจงแต่งที่ระดมกัน
เกณฑ์ให้ไพร่ใส่เสื้อเสนากุฏ
ถืออาวุธพาดตักมักกะสัน
สองข้างมรคาเข้ามานั้น
รั้วไก่กั้นกัลบาทนั่งราย
ราชนิกุลขุนนางตำแหน่งนา
เข้ามาพร้อมพรั่งทั้งสองฝ่าย
ต่างฝ่ายต่างนุ่งสมปักลาย
คาดเสื้อครุยกรุยกรายตามทำนอง
ขึ้นพระโรงเตรียมเฝ้าเบียดเสียด
หน้าที่นั่งตั้งเจียดเป็นแถวถ้อง
ชาวที่คอยไขม่านทอง
กิดาหยันถือจ้องกรับสัญญา"

จัดเต็มที่ทุกฝ่าย เพราะเป็นหน้าเป็นตาแก่บ้านเมือง

มีคำที่ควรสงสัย คือ เสื้อเสนากุฏ
หน้าตาเป็นอย่างไร ใครช่วยอธิบายพร้อมรูป

ส่วน รั้วไก่ นั่งกัลบาท  นั้น ใครจะแสดงความเห็นก็ยินดีรับฟัง

บรรทัดนี้ "ราชนิกุลขุนนางตำแหน่งนา
เข้ามาพร้อมพรั่งทั้งสองฝ่าย"
ทำให้นึกถึงถ้อยคำสมัยสุโขทัยว่า ทวยลูกเจ้าลูกขุน

ผมสงสัยต่อไปว่า นุ่งสมปักลาย แต่ทำไมเอาเสื้อครุยมาคาด
เขาคาดอย่างไร  เพราะเด็กสมัยนี้คงเป็นแต่การสวมเสื้อครุย
แต่คาดเสื้อครุยนี้  เดี๋ยวนี้คงไม่มีให้เห็นแล้ว

เจียด  นี่  หน้าตาเป็นอย่างไร 
ใครมีที่บ้านโปรดเอามาแสดงให้ดูหน่อย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 19 คำสั่ง