เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 74433 บทพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนา
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 16:24

ตาบกุดั่นพลอยประดับ

ตาบ คือ เครื่องประดับหน้าอก เป็นแผ่น


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 16:25

กุดั่น คือ เครื่องประดับเพชรพลอยหรือกระจกบนพื้นทองคำ เช่น คราวงานพระเมรุ สมเด็จย่า เห็นพระโกศกุดั่นสวยงาม เป็นต้น


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 16:34

บานพับ  คือ พาหุรัด

อาจเป็นกนกต้นแขน


สร้อยนวมนั้นบางทีเรียกนวมนาง

พาหุรัด ต้องเลยสำเพ็งไปนิด เดินไม่เหนื่อย  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

พาหุรัด เป็นเครื่องประดับต้นแขน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 16:39

พระฉายตั้งเตียงสุวรรณตรงบัญชร


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 16:43

ทรงเครื่องสุคนธ์ธารปรุงเกสร

หมายถึงน้ำอบ น้ำปรุง ที่ได้อบร่ำจากเกสรดอกไม้ไทยต่าง ๆ  นำใส่ขวดโหลแก้วเจียระไน

ถ้าจะให้งามต้องลดหลั่นกันไป ๓ ใบ


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 21:05


อ้างถึง
ตำราขี่ม้าฬ่อแพน(สมัยใหม่เขียน ล่อแพน)ยังอยู่         ม้าฬ่อแพนคือ  คนขี่ม้าถือแพนหางนกยูงออกมาล่อช้างให้ไล่      เป็นการละเล่น

ที่ว่าเป็นการละเล่น  กรุณาบอกด้วยว่าเล่นที่ไหนอย่างไร
เด็กๆ สมัยนี้เห็นจะไม่เข้าใจว่าเล่นทำไม  เล่นแล้วได้ประโยชน์อย่างไร
นอกจากจะคิดว่า  วอนถูกช้างกระทืบตายเท่านั้น

ข้อนี้ขอจอง แต่อดใจรอหน่อยนะจ๊ะ
กลับบ้านไปหาข้อมูลก่อน
จะลอกลงมาทั้งดุ้น ไม่ตัด ไม่ขาด ไม่เกิน ยิงฟันยิ้ม


วิธีหัดช้างรบ จะทำอย่างไรบ้าง ฉันไม่เคยพบในตำรา แต่ยังมีตำราขี่ช้างแต่ครั้งสมเด็จพระนารายณ์ฯ  ซึ่งหอพระสมุดฯ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕
ปรากฏอยู่ในตำรานั้นว่าถึงการซักซ้อมช้างรบหลายอย่าง มีซ้อมชนเป็นต้น สำหรับพระเจ้าแผ่นดินทอดพระเนตร คล้ายกับการกีฬา
และยังมีเป็นประเพณีสืบมาจนกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ฉันได้ทันเห็นหลายอย่าง สังเกตดูพอเป็นเค้าได้ว่า การฝึกหัดช้างรบนั้น หัดให้กล้าอย่างหนึ่ง
หัดให้อดทนต่อการบาดเจ็บอย่างหนึ่ง และหัดให้ทำตามคนขี่ บังคับในทันทีอย่างหนึ่ง ลักษณะการซ้อมช้างรบมีหลายอย่าง เรียกว่า “บำรูงา”
อย่างหนึ่ง   “ล่อแพน” อย่างหนึ่ง “ผัดพาน” อย่างหนึ่ง “แทงหุ่น” อย่างหนึ่ง “ล่อช้างน้ำมัน” อย่างหนึ่ง
(ฉันไม่เคยเห็นช้างบำรุงงา แต่นอกจากนั้นเคยเห็นทั้ง ๔ อย่าง) เดี๋ยวนี้สูญไปหมดแล้ว จึงจะพรรณนาไว้ในนิทานนี้

ซ้อมช้างอย่าง “ล่อแพน” นั้น สำหรับซ้อมช้างไล่ เวลารบไม่จำต้องใช้ช้างตกน้ำมันเหมือนช้างชน แต่ซ้อมถวายทอดพระเนตรอย่างกีฬา
ใช้ช้างตกน้ำมันเสมอ มีที่ท้องสนามชัย ทอดพระเนตรบนพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ หมอควาญขี่ช้างผูกเครื่องมั่นหลังเปล่า
มายืนอยู่ที่หัวสนามทางด้านเหนือ กรมม้าเลือกม้าตัวดีที่คล่องแคล่วและใจกล้าตัวหนึ่ง ผูกเครื่องแผงอย่างเต็มยศให้ขุนม้าผู้เชี่ยวชาญขี่
ขุนม้านั้นก็แต่งตัวเต็มยศโพกผ้าสีทับทิมขลิบทอง  มือถือ “แพน” ทำด้วยไม้รวกยาวสัก ๖ ศอก  ผูกผ้าสีเป็นปล้องๆ ในจนพู่ที่อยู่ปลายรำแพน
ขับม้าสะบัดย่างเข้าไปจนถึงหน้าช้าง ชักม้าหันหน้ากลับแล้วยื่นปลายแพนเข้าไปล่อใกล้ๆ ช้าง พอช้างขยับไล่ก็ขับม้าวิ่งล่อมาในสนาม
แต่มิให้ห่างช้าง ถือแพนเอาปลายล่อให้ช้างฉวย ดูเหมือนถือกันว่า ถ้าช้างฉวยเอาแพนได้ก็เป็นช้างชนะ ถ้าฉวยไม่ได้ก็เป็นม้าชนะ
ไล่กันมาหวิดๆ จนคนดูออกเสียวไส้ เห็นได้ว่าม้าและคนขี่ดีหือเลว ด้วยมีม้าบางตัวไม่กล้าเข้าใกล้ช้าง และคนขี่บางคนพอช้างไล่
ก็ขับม้าหนีเตลิดเปิดเปิง ชวนให้เห็นว่าขลาดเกินไป ในตำราว่าถ้าช้างฉวยได้แพน ให้หมอควาญหยุดไล่ และรำขอเล่นหน้าเยาะเย้ย
ถ้าช้างไม่ได้แพน ก็ให้ไล่ตลอดจนถึงปลายสนามแล้วหยุดไล่เป็นเสร็จการล่อแพน บางทีเปลี่ยนช้างเปลี่ยนม้าให้ล่อสองเที่ยวหรือสามเที่ยวก็มี

มีเรื่องเล่ากันมาว่า  เมื่อรัชกาลที่ ๓  มีช้างงาของหลวงตัวหนึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ  ขึ้นระวางชื่อว่า “พลายไฟพัทธกัลป์” แต่คนเรียกกันเป็นสามัญ
ตามชื่อเดิมว่า “พลายแก้ว” เป็นช้างฉลาดแต่ดุร้ายตกน้ำมันทุกปี แทงคนที่ไปล่อตายหลายคน จนขึ้นชื่อลือเลื่อง ถึงมีรูปภาพเขียนไว้
(อยู่ที่ในพิพิธภัณฑสถาน) ช้างพลายแก้วตัวนั้นอยู่มาจนถึงในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเกล้าอยู่หัว มีม้าพระที่นั่งตัวหนึ่ง
ขึ้นระวางเป็น “เจ้าพระยาสายฟ้าฟาด” เป็นม้าขี่คล่องแคล่วฝีตีนดี ทั้งเต้นและวิ่งใหญ่ก็รวดเร็ว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรด
ถึงเกิดอยากทรงม้าสายฟ้าฟาดตัวนั้นล่อแพนช้างพลายแก้วเวลาตกน้ำมัน ตรัสสั่งให้มีการล่อแพนพลายแก้วที่สนามในวังหน้า
เสด็จทรงม้าสายฟ้าฟาดสะบัดย่างเข้าไปถึงหน้าช้างแล้วชักตลบหลัง ทรงยื่นแพนล่อช้างตามตำรา พอพลายแก้วขยับตัวจะไล่
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ก็ทรงกระทบพระบาทขับม้าจะให้วิ่ง แต่อย่างไรม้าสายฟ้าฟาดเข้าใจว่าโปรดให้เต้นก็เต้นน้อยย่ำอยู่กับที่ไม่วิ่งหนีช้าง
แต่หมอช้างที่ขี่พลายแก้ววันนั้นปัญญาไว คงเป็นคนสำคัญที่กรมช้างเลือกสรรไป เขาแก้ไขด้วยใช้อุบายก้มตัวลงเอามือปิดตาพลายแก้วทั้งสองข้าง
แล้วขับเบนให้วิ่งไล่เฉไปเสียทางอื่น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จึงพ้นอันตราย เล่ากันมาอย่างนี้

(นิทานโบราณคดี เรื่องที่ ๒๑ จับช้าง (ภาคปลาย))
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 21:54

"ทรงยกทองท้องช้ำระกำไหม"

หมายถึงผ้าที่ทำการทอแบบพิเศษ ที่เรียกว่า ผ้ายก เพื่อให้เกิดมิติ เป็นลาย เป็นดอกขึ้นมา บางครั้งเอาดิ้นเงิน ดิ้นทองสอดผสม ก็เรียกว่า ผ้ายกทอง

ระกำ เป็นการปักผ้าเป็นดอกเพิ่มเข้าไปอีก เพื่อความงาม ถ้าด้ายทำด้วยไหม ก็เป็น ระกำไหม


แล้ว ท้องช้ำ ล่ะคะ คืออะไร  ฮืม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 16 ก.ค. 11, 21:59

การฝึกช้าง "ล่อแพน"


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 17 ก.ค. 11, 00:32

การขี่ช้่างน้ำมันใการม้าฬ่อแพน   การขี่ช้างน้ำมันไล่คน   การขี่ช้่างน้ำมันบำรูงา

น่าจะนำมาคุยกันในวันหน้า     รวมทั้งการรำของ้าวอันเป็นยอดวิทยายุทธ์สุดยอดของอาวุธโบราณของไทย




เรื่อง ทองซ้ำนั้น   คงต้องขอคำอธิบายขยายความจากคุณหลวงเล็ก  เพราะท่านมีตำรามาก



ท้าวสันนุราชใน "คาวี"  เมื่อเตรียมตัวจะไปหานางจันท์สุดา

   หยิบภูษามาทรงแล้วลูบคลำ             ยกทองท้องซ้ำชอบพระทัย

ตอนอื่น ๆ  ที่ไม่สำคัญ ท่าน

   นุ่งนอกอย่างวางขายกรายกรีดริม       สีทับทิมคล้องคอพอพระทัย



บทละคร  พระราชนิพนธ์รัชกาลที่สอง เรื่อง "สังข์ศิลป์ชัย"  ตอน ท้าวเสนากุฏ  จะออกไปหานางประทุม

   นุ่งผ้ายกทองท้องซ้ำ                      คาดเข็มขัดทองคำชมพูนุท
  

แวะไปอ่าน  ภาคผนวก ค  บททรงเครื่องที่ปรากฏในบทละครเรื่องต่าง ๆ  ใน  การศึกษา และการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับ
การแต่งกายยืนเครื่องโขน - ละครรำ
กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่  ๒๕๕๐
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 17 ก.ค. 11, 08:57



ท้องช้ำ  นะคะ  ไม่ใช้ ท้องซ้ำ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 17 ก.ค. 11, 09:27


       การที่อิเหนาไปอยู่ที่เมืองหมันหยา  ไม่กลับกุเรปัน  และได้เขียนสารไปถึงพระบิดา

ใช่จะขัดบัญชานั้นหาไม่              แต่จนใจได้เกินสะเทินจิต

จะคืนหลังยังนครนั้นสุดคิด          ด้วยโทษผิดติดตัวกลัวอาญา

อิเหนาได้สั่งอำมาตย์ยาสาให้ไปกราบทูลว่า

ท้าวดาหาคงไม่ยกพระธิดาให้แล้ว  จะไปทำไมอีก   อยากยกให้ใครก็ได้


ท้าวกุเรปันขอเลื่อนการแต่งงานไป

ท้าวดาหารู้ทัน

จะรีรอง้อไปไยเล่า                       อันลูกเราเขาไม่ประสงค์


พระมารดาของบุษยาเสียใจมาก  กอดบุษบาแล้วครวญว่า

เสียที่ที่เกิดมา                            ในตระกูลเทวาอันสูงศักดิ์

รูปทรงยงยิ่งนรลักษณ์                   แต่อาภัพอัปลักษณ์กว่าฝูงชน

การที่เป็นหม้ายขันหมาก  ไม่ได้ยกขันหมากมาจริงแต่ได้ตกลงกันแล้ว

เป็นการขายหน้ามาก  เพราะ

ในแว่นแคว้นแดนชวาจะลือทั่ว           จะนินทาว่าชั่วไม่รู้หาย

บุษบาเมื่อทั้งพ่อและแม่มีความคิดเช่นนี้   นางคงโศกเศร้ามาก

นางระเด่นบุษบา                           พักตราสร้อยเศร้าแสนทวี

เหตุการณ์เป็นอย่างนี้อยู่หนึ่งปีเต็ม

       มะเดหวี  ซึ่งเลี้ยงดูบุษบามาเหมือนลูก  จึงชวนไปเที่ยวสวน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 17 ก.ค. 11, 09:49


     การจะไปไหนก็อาบน้ำแต่งตัว

ในประเทศเขตร้อนของเรานี้    นิยมความสะอาด    ไม่ว่าไพร่ผู้ดีก็สามารถอาบน้ำแต่งตัวทาแป้งน้ำได้

บุษบาไม่รื่นเริง  เมื่อไปถึงพระตำหนักในสวนก็แวะไปงีบ  เพราะอากาศร้อน     

นางกำนัลก็ไม่สนุก  นั่งกันเงียบ ๆ     มีแต่นางกำนัลเด็ก ๆที่ไปวิ่งเก็บดอกไม้กัน

เมื่อบุษบาตื่นแล้ว  ก็ทาน้ำอบคลายร้อน  ไม่ผัดหน้า  หรือแต่งตัว

มะเดหวีเอาใจพาไปชมดอกไม้  และเก็บมาแซมผม        นางกำนัลก็เล่นน้ำในสระ

นางบุษยานั่งอยู่กับมะเดหวี   รู้สึกสะบายใจขึ้นบ้าง 


นายช่างเขียนได้วาดรูปตอนนี้ไว้


เมื่อบ่ายแก่แล้ว  นางบุษบาก็อาบน้ำ  ผัดแป้ง  แต่งตัว  นุ่งผ้าสีเขียว  สไบทรงซับสีทับทิม   ใส่มงกุฏทับทิมล้วน  เพื่อกลับวัง

นายช่างได้วาดภาพนี้ไว้     

การแต่งตัวของนางนี้  โสภาผุดผ่องละอององค์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 17 ก.ค. 11, 09:57



คนอ่าน อิเหนา  ถามกันว่า รูปบุษบาชิ้นไหนจะสวยกว่ากัน   รูปตื่นนอนหรือรูปทรงเครื่อง

เรื่องนี้ผู้มีโวหารดีย่อมสามารถแสดงความคิดอ่านได้กว้างขวาง

ศิลปินภาพเหมือนเลื่องชื่อของเมืองไทยนั้นเมื่อจะร่างรูปสาวงาม   ท่านขอให้สาวล้างแป้งน้ำมันออกก่อน

เพื่อดูผิวแท้ ๆ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 17 ก.ค. 11, 10:24

       เมื่อช่างเขียนวาดรูปแล้ว  ก็ม้วนกระดาษซ่อนไว้ที่โพกหัว  แล้วมุ่งหน้ากลับเมือง

เสด็จปู่ที่เป็นเทวดาอยู่ในสวรรค์  ต้องการลงโทษอิเหนา   จึงลงมาหยิบรูปบุษบาแต่งเต็มยศ

ขณะช่างนอนหลับอยู่  นำไปทิ้งที่ทางไปเมืองกะหมังกุหนิง(ย่อเรื่อง)

ช่างเขียนจึงเหลือรูปบุษบาเมื่อตื่นนอนมาถวายจรกา

จรกาดูรูปแล้วสลบ

ถามว่า  ถึงสลบเชียวหรือ        กลอนบอกว่า  รสรักรึงใจดังไฟกัลป์  และอีกตอนหนึ่งบอกว่า  ความรักสลักแน่นในอุรา
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 17 ก.ค. 11, 10:33


จรกาดูรูปแล้วสลบ

ถามว่า  ถึงสลบเชียวหรือ        กลอนบอกว่า  รสรักรึงใจดังไฟกัลป์  และอีกตอนหนึ่งบอกว่า  ความรักสลักแน่นในอุรา


เป็นไปได้ อาจจะเนื่องจากตื่นเต้นสุดขีด ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง มือไม้เริ่มชา เส้นประสานส่วนกลางตกอยู่ในภาวะช็อค เลือดสูบฉีดสู่สมองไม่ทัน เลยเป็นลมไปชั่วขณะ...หมอตี๋ราชประสงค์กล่าว  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง