เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3421 อันเนื่องมาจาก การตั้งพระนามกรม
จมื่นฌองฌาค ล่ามโซ่ blacelet@hotmail.com
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 01 เม.ย. 01, 05:53

เรียน  ท่านผู้รู้
           กระผมมีข้อสงสัยในเรื่อง การตั้งพระนามกรม ดังนี้
1.ทำไมพระบรมวงสานุวงศ์บางพระองค์จึงมีพระนามกรม เป็นชื่อจังหวัด เช่น สมเด็จฯกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
2.ทำไมพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์มีพระนามกรมเป็น จังหวัดทางภาคเหนือ บางพระองค์เป็น จังหวัดภาคใต้  และบางพระองค์เป็น จังหวัดภาคตะวันออก ใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์
3.ทำไมพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ มิได้มีพระนามกรมเป็นชื่อจังหวัด แต่เป็นคำที่ประพันธ์ขึ้น เช่น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
3.มีการใช้จังหวัดในภาคอีสาน เป็นพระนามกรม หรือไม่
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 31 มี.ค. 01, 19:34

สงสัยว่าอาจจะตามแบบต่างประเทศก็ได้นะครับ
อย่างในอังกฤษมี ปรินซ์อ็อฟเวลล์ คือ ปรินซ์ชาลล์ ที่เป็นมงกฏราชกุมาร
หรือ เดอยุคต์ออฟเอ็ดดินเบอร์ก พระสวามีของควีนศ์อลิซาเบต
คิดว่าพระนามแบบนี้คงไม่มีในสมัยอยุธยา เคยได้ยินแต่พวกเจ้าเมือง
พระยาตาก พระยาพิษณุโลก ทำนองนั้น
บันทึกการเข้า
หมื่นทวยเทพ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 31 มี.ค. 01, 22:11

การตั้งกรมที่เป็นชื่อหัวเมืองเริ่มต้นในสมัยรัชการที่ 5 ครับ เพราะว่าได้แบบอย่่างมาจากประเทศอังกฤษอย่างที่คุณ Jor บอก ดังนั้นก่อนหน้ารัชกาลที่ 5 จึงเป็นคำปรพันธ์ที่ตั้งขึ้นมาให้คล้องจองกันตามลำดับกรมที่ตั้ง
ผมไม่แน่ใจอีกอย่างว่า รู้สึกว่าปรรดาลูกเธอที่เป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกจะได้เป็นชื่อเมืองที่มีความสำคัญ เมืองภาคอีสานก็มีครับ เช่นกรมหลวงนครราชสีมาไงครับ น่าจะมีแค่เมืองเดียวนะไม่แน่ใจรอคุณเทาชมพูตอบก็แล้วกันครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 31 มี.ค. 01, 23:16

พระนามเจ้านายทรงกรมที่เป็นชื่อเมืองต่างๆ เริ่มขึ้นในรัชกาลที่ ๕  ถ้าไปเห็นพระนามเข้าที่ไหน   ขอให้รู้ว่าพระองค์นั้นทรงเป็นพระราชโอรสธิดาในรัชกาลที่ ๕     เว้นแต่สมเด็จกรมหลวงนราธิวาสฯ ในรัชกาลปัจจุบัน
รัชกาลที่ ๑ ไม่มีพระนามที่มีชื่อเมือง  และพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรสถานมงคลก็ไม่มีเช่นกัน
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ ค่ะ ไม่อยู่ในเกณฑ์ของรัชกาลที่ ๕  
เจ้านายทรงกรมพระองค์อื่นๆที่เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ ก็เช่นกัน  ไม่มีพระนามเป็นชื่อเมือง เช่นกรมหลวงพรหมวรานุรักษ์( ต้นราชสกุลเกษมสันต์) กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม(ต้นราชสกุลทองใหญ่) ฯลฯ
พระนามที่ทรงกรมเป็นชื่อเมือง  กล่าวกันว่าพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงได้แนวคิดมาจากสหราชอาณาจักรอังกฤษ   ตำแหน่งเจ้านายหลายตำแหน่ง แสดงว่า เป็น Duke ของเมืองไหน    
เช่น Duke of York ซึ่งเป็นตำแหน่งมักจะได้แก่พระราชโอรสพระองค์รอง   อย่างเจ้าฟ้าชายแอนดรูว์ได้เป็น  แต่ถ้าเป็นมกุฎราชกุมารก็มีตำแหน่งเป็น Prince of Wales  อย่างเจ้าฟ้าชายชาลส์ได้เป็นอยู่ตอนนี้
พระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าชายองค์อื่นๆ ก็อาจจะได้เป็น Duke of Kent, Duke of Clarence  หรือ Duke of Lancaster   แล้วแต่...
ธรรมเนียมและตำแหน่งพวกนี้มีมาหลายร้อยปีแล้วค่ะ ตั้งแต่ยุคกลาง เมื่อคนแรกๆได้เป็น "เจ้า" ผู้ครองเมืองนั้นจริงๆ
ย้อนกลับมาทางฝ่ายไทย   แต่เดิมไม่ได้แบ่งเป็นภาคกลาง เหนือ อีสาน ใต้ฯ อย่างเดี๋ยวนี้  แต่การปกครองแบ่งหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี  มีความสำคัญลดหลั่นกันลงไป ตามความใหญ่เล็กของเมือง
พระนามเจ้านายที่เป็นตามชื่อเมือง ก็กำหนดสอดคล้องกับฐานันดรของเจ้าฟ้า หรือพระองค์เจ้า แล้วแต่ว่าจะประสูติจากพระมเหสี หรือเจ้าจอมมารดา
อย่างเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ  ทรงกรมเป็นกรมหลวงนครราชสีมา   ซึ่งเป็นหัวเมืองชั้นเอก  แต่พระองค์เจ้ารังสิต ทรงกรมเป็นกรมขุนชัยนาท หัวเมืองชั้นโท  
พระนามที่ทรงกรมนี้จะไม่เปลี่ยน  แต่ลำดับการทรงกรมจะเลื่อนขึ้นได้  จากขุนไปหลวง ไปพระ และไปพระยาในที่สุด   ตามความดีความชอบในหน้าที่ปฏิบัติราชการของเจ้านายแต่ละพระองค์ และตามเหตุผลอื่นๆที่สมควรด้วย
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 01 เม.ย. 01, 00:48

ในรัชกาลที่ 6 7 และ8 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเจ้านายให้ทรงกรมบ้างไหมครับ? และใช้ชื่อจังหวัดหรือเมืองหรือเปล่า? เดาว่าไม่มี ตามที่คุณเทาชมพูบอกว่าส่วนมากเป็นพระราชโอรสใน ร.5 ยกเว้นสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ในรัชกาลปัจจุบัน

ผมไม่แน่ใจว่ามีกฏเกณฑ์อะไรที่ชัดเจนอยู่หรือไม่ในการเลือกชื่อเมืองพระราชทานให้เจ้านายทรงกรม แต่เดาว่าอาจมีเกณฑ์ที่ไม่เป็นทางการอยู่บ้าง จำได้ว่าใน เกิดวังปารุสก์ เล่มแรกๆ นั้น (ดูเหมือนอยู่ในเล่ม 1) พระองค์จุลฯ ทรงเล่าว่าตอนที่ท่านยังเด็กอยู่ก็คิดอย่างเด็กๆ อยากจะเป็นเจ้าทรงกรมบ้างตามพ่อท่าน (ใช่กรมหลวงพิษณุโลกไหมนะ? ) และใช้ชื่อเมืองใกล้ๆ กับพิษณุโลกเป็นพระนามทรงกรมในจินตนาการของท่าน จำรายละเอียดไม่ได้ครับ

ในรัชกาลปัจุบัน ถ้าถือว่าสมเด็จพระราชบิดาทรงกรมเป็นกรมหลวงสงขลาฯ มาก่อน เมื่อสถาปนาให้ลูกท่าน คือสมเด็จพระพี่นางฯ ทรงกรม ก็เลยใช้ชื่อเมืองทางใต้ด้วย หรือเปล่าไม่ทราบ
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 เม.ย. 01, 03:51

"สมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ในรัชกาลปัจจุบัน"

คือใครคะ  กรุณาให้รายละเอียดอีกหน่อยด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
N.K.Kh.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 เม.ย. 01, 06:26

I understand that you have been away from Thailand for a while indeed, Khun Puangroi.

H.R.H Princess Galyani Vadhana, Royal Elder Sister to H.M. the King, has been promoted to be Princess of Narathivat krab.
บันทึกการเข้า
จ้อ
แขกเรือน
สุครีพ
******
ตอบ: 1081

แต่งงานแล้วจ้า ...


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 01 เม.ย. 01, 09:32

แฮ่ะๆๆๆๆ ไม่มีอะไรเพิ่มเติมหนอกครับ
แวะมาบอกว่าผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับคุณนกข.
ขนาดพึ่งออกจากเมืองไทยไม่นานนะนี่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 01 เม.ย. 01, 09:41

เพิ่งนึกได้ถึงเจ้านายทรงกรมได้อีก ๒ พระองค์ค่ะ ในรัชกาลที่ ๗ หรือ ๘
กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิต  พระองค์เจ้าจุมพฏพงษ์บริพัตร  พระโอรสในเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต (ต้นราชสกุลบริพัตร) ทรงกรมเป็นชื่อเมืองตามแบบพระชนก  
นับเป็นข้อยกเว้นอีกองค์หนึ่ง  นอกเหนือจากสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสฯ
กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประะพันธ์ (พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร) เป็นพระโอรสในกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์    (ต้นราชสกุลวรวรรณ )
ชาวเทวาลัยรุ่นคุณปุ่คุณย่า เอ่ยพระนามท่านเพียงสั้นๆว่า เสด็จในกรม หรือพระองค์วรรณ    เพราะท่านเคยเสด็จมาสอนหนังสือที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ    เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว  ก่อนทุกคนในห้องนี้เกิดค่ะ
บันทึกการเข้า
หมื่นทวยเทพ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 01 เม.ย. 01, 17:04

ผมก็นึกขึ้นได้อีก 3 องค์นะครับ พระองค์เจ้าอ๊อสคาร์นุทิศ ในสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิ์พงษ์(จักรพันธ์)เป็นกรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ สถาปนาในสมัยรัชกาลที่ 6 และพระองค์เจ้านิพันธ์ภาณุพงษ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าฯกรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช(ภาณุพันธ์)เป้นกรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดชในสมัยรัชกาลที่ 6  หม่อมเจ้าอลงกฎในกรมหลวงอดิศรอุดมเดช(สุขสวัสดิ์)รัชกาลที่ 7 สถาปนาเป้นกรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ หม่อมเจ้าไตรทศประพันธ์ในสมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ(เทวกุล)รัชกาลที่ 6 สถาปนาเป้นกรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย หม่มเจ้าธานีนิวัติในกรมขุนพิทยลาภพฤติธาดา(โสณกุล)รัชกาลที่ 6 สถาปนาเป็นกรมหมื่นพิทยลาภพฤติยากร
บันทึกการเข้า
จมื่นฌองฌาค ล่ามโซ่
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 01 เม.ย. 01, 17:29

เรียน  ท่านผู้รู้
           กระผมเคยอ่านเจอมาว่าการตั้งพระนามกรมเป็นชื่อจังหวัดนั้นมี ระเบียบแบบแผนที่แน่นอนนะครับ  คิดว่าอ่านเจอในนิตยสาร"สกุลไทย"กระมัง ส่วนที่สงสัยอีกเรื่องคือ จ.สงขลา และ จ.นราธิวาส นี่ เป็นหัวเมืองเอกหรืออย่างไรครับ เพราะ ทั้ง 2 พระองค์ ทรงมีพระราชอิศริยยศเป็น เจ้าฟ้า  

ด้วยความเคารพ
จมื่นฌองฌาค ล่ามโซ่
บันทึกการเข้า
หมื่นทวยเทพ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 01 เม.ย. 01, 17:47

เมื่อกี้ 5 องค์ต่างหากครับ ขอเพิ่มเติม  พระองค์เจ้าเสรฐวงศ์วราวัตร ในสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิ์พงษ์(จักรพันธ์)เป็นกรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ์สถาปนาในสมัยรัชกาลที่ 6
คิดว่าในสมัยนั้นเมืองสงขลาน่าจะเป็นเมืองชั้นเอก ส่วน นราธิวาส นั้นน่าจะเป็นอย่างที่คุณ กนข ว่าชื่อพระบิดาเป็นชื่อเมืองทางใต้ลูกท่านก็น่าจะใช้ชื่อเมืองทางใต้ด้วยและเพื่อความคล้องจองของชื่อที่ทรงตั้ง "กรมหลวงสงขลานครินทร์"  "กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์"  หรือไม่น่าจะลองไปหาหนังสือที่ทำแจกเนื่องในงานวันพระราชทานชื่อในครั้งนั้นดูสิครับ
บันทึกการเข้า
หมื่นทวยเทพ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 01 เม.ย. 01, 17:53

เพิ่มเติมครับ...หม่อมเจ้าชายนักขัตรมงคลในกรมพระจันทบุรีนฤนาถ(กิติยากร)รัชกาลที่ 9 ทรงสถาปนาเป็นกรมกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง