เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 16396 สืบเนื่องจากเรื่องบรรดาศักดิ์มหาดเล็ก
นิลกังขา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 04 เม.ย. 01, 23:57

อ้าว เป็นเสียยังงั้นไป...
ผมเห็นมีหนังสือที่เธอเขียนออกมาหลายเล่ม ถึงแม้เธอจะบอกว่าเธอเขียนเป็นภาษาอังกฤษแล้วให้แปลเป็นไทยอีกที ผมก็ไม่นึกว่าเธอจะอ่านหรือเขียนภาษาไทยไม่ถนัด หรือไม่ได้เลย
งั้นไม่สงสัยแล้วครับ ไม่มีข้อ กังขา (ใหม่) แล้วครับผม มีแต่ข้อกังขาเก่า รอการ วินิจฉัย อยู่เนี่ย ...
บันทึกการเข้า
ทวยเทพ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 05 เม.ย. 01, 00:37

คุณเทาชมพู ครับผมว่ามีนะครับเรื่องที่มีคนสมัยอยุธยาไปเรียนที่ฝรั่งเศสสมัยพระนารายณ์ ผมได้ยินผุ้ใหญ่เค้าคุยกัน บอกว่ามีบันทึกแล้วคนพวกนี้ก็ได้เข้ารีตเปลี่ยนชื่อเป็นฝรั่งเศส ถ้าผมได้เจอผู้ใหญ่ท่านนั้นอีกจะถามรายละเอียดมาให้ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 05 เม.ย. 01, 08:45

เคยอ่านพบแต่เข้าใจว่าเป็นเรื่องแต่งค่ะ  
ถ้าณทวยเทพช่วยเล่ามาให้ฟังกันจะดีมากเลยค่ะ  ขอบคุณล่วงหน้า
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 11 ธ.ค. 06, 13:02

 เพิ่งจะมาพบกระทู้นี้  ขออนุญาตเพิ่มเติมนะครับ

ราฃทินนาม นายวรกิจบรรหาร และ นายวรการบัญชา  เป็นราชทินนามมหาดเล็กชั้นหุ้มแพรพิเศษ  เทียบได้กับนายร้อยเอกของทหารบก  

ราชทินนามทั้งสองนี้มีมาก่อนรัชกาลที่ ๖ แล้วครับ  แต่จะมีมาแต่เมื่อไรไม่ทราบ

เมื่อครั้ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงเป็นสมเด็จพระยุพราชอยู่นั้น  ทรงมีขางวางรถม้าประจำพระราฃสำนักฃื่อ นายวรการบัญชา (เทียบ  อัศวรักษ์)  ท่านผู้นี้ต่อมาได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็น นายพลตำรวจโท พระบาคทาธรบดีสีหราชบาลเมือง (เทียบ  อัศวรักษ์) จำตำแหน่งท่านไม่ได้  จำได้แต่ว่าโปรดให้โอนย้ายไปจากอธิบดีกรมพระอัศวราฃ  

ราฃทินนามนายวรกิจบรรหารในรัชกาลที่ ๖ นั้น  เท่าที่ทราบมี ๒ ท่านๆ หนึ่งนามสกุล "รังควร" เป็นเจ้าของโรงพิมพ์ (คุณUp กรุณาตรวจสอบและขยายความให้ด้วยครับ  ท่านผู้นี้เป็นปู่ของคุณเชื้อพร  รังควร)  อีกท่านหนึ่งคือ นายประยงค์  ภมรมนตรี ซึ่งเป็นคู่แฝดผู้พี่ของพลโทประยูร  ภมรมนตรี

นายวรกิจบรรหาร (ประยงค์  ภมรมนตรี) และนายวรการบัญชา (บุญเกิด  สุตันตานนท์) สองท่านนี้เป็นนักเรียนทุนส่วนพระองค์ในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖  ออกไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา  นายวรกิจบรรหารไปเรียนวิชาอะไรจำไม่ได้แล้วครับ  ท่านผู้นี้ได้สมรสกับชาวอเมริกันแล้วไม่ได้กลับเมืองไทย  ส่วนนายวรการบัญชานั้นไปเรียนแพทย์  แต่ล้นเกล้าฯ สวรรคตเสียก่อนที่จะเรียนจบ  จึงเดินทางกลับประเทศไทย  แล้วได้เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง  ได้เป็นนิติศาสตร์บัณฑิต  ต่อมาได้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่หลายสมัย  ได้เป็นรองนายกรัฐมนตรี  ประธานวุฒิสภา  และรัฐมนตรีหลายสมัย
บันทึกการเข้า
วรชาติ
อสุรผัด
*
ตอบ: 4

รับราชการที่อเมกา


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 29 มิ.ย. 08, 15:40

สวัสดีครับ นายวรกิจบรรหาร และ นายวรการบัญชา เป็นสองนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าอยู่หัวพร้อมกันเพราะคุณงามความดีที่ได้ทำไว้ให้กับประเทศไทย นายวรการบัญชา หรือ จ้าววร เคยเป็นมหาดเล็กหลวงและคนสนิทเฝ้าห้องบรรทม เรื่องนั้นจริง เพราะคือปู่ของผมเอง ชื่อเดิมคือ บุญเกิด สุตันตานนท์ เป็นบุตรของ เจ้าหญิง กาบแก้ว ณ ลำพูน กับ พระพิจิตรโอสถ รอด สุตันตานนท์ ที่เป็นหมอในวัง และมีเชื้อสายจ้าวโดยตรง
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 30 มิ.ย. 08, 06:36

ขออนุญาตเรียนว่า "วรกิจบรรหาร" และ "วรการบัญชา" เป็น "ราชทินนาม" ไม่ใช่ "นามสกุล" ครับ ส่วน "ภมรมนตรี" และ "สุตันตานนท์" เป็น "นามสกุล" ซึ่งก็ไม่ได้พระราชทานในคราวเดียวกัน หากแต่ห่างกันหลายปี

ส่วน นายวรกิจบรรหาร (พงษ์ รังควร) เป็นบุตรของพระศิริไอศวรรย์ (พร รังควร)
นายวรกิจบรรหารเป็นเจ้าของโรงพิมพ์อักษรนิติ์ ที่นักเลงหนังสือเก่าๆ คงรู้จักกันดี
ได้เคยเกื้อหนุนนักเขียนชื่อดังหลายคน เช่น ยาขอบ, ศรีบูรพา, มาลัย ชูพินิจ, สด กูรมะโรหิต ฯลฯ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 30 มิ.ย. 08, 10:56

สนใจติดตามอ่านเรื่อง โรงพิมพ์อักษรนิตื์ เพราะ ยาขอบ และ คุณหมอบุญส่ง เลขะกุล เขียนเกี่ยวกับคุณชลอ  รังควรไว้ น่าอ่านเป็นที่สุด


ขอคัดลอกเรื่องโรงพิมพ์  จาก งานของคุณลุงสมบัติ พลายน้อย เรื่องสำนักพิมพ์สมัยแรก  สำนักพิมพ์ฅอหนังสือ  ๒๕๔๘ เพราะคงเป็นประโยชน์บ้างต่อผู้ที่สนใจ

พระศิริไอศวรรย์(พร  รังควร) เป็นบุตร อาจารย์ รง
เกิดเมื่อ  ๑๙ ธันวาคม  ๒๔๑๕
เป็นศิษย์วัดอยู่กับพี่ชายที่บวชอยู่ที่วัดนิเวศธรรมประวัติ อำเภอบางปะอิน  อยุธยา  เรียนหนังสืออยู่ที่วัดนั้น

เมื่อพี่ชายลาสิกขามารับราชการเป็น ขุนเทพวิหาร(ชม)  ก็ได้ตามมาเรียนหนังสือที่ตำหนักสวนกุหลาบ
เมื่อสอบได้ประโยค ๒  จึงลาออกรับราชการในกระทรวงวัง ครั้งกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยเป็นเสนาบดี

ได้เป็นขุนศรีรัตนารถ   เลื่อนเป็นจมื่นราชภัณฑารักษ์

ต่อมาเมื่อกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยย้ายไปเป็นเสนาบดีกระทรวงการคลัง ก็ได้ตามไปด้วย  จึงได้เลื่อนเป็นพระศิริไอสวรรค์
มีตำแหน่งในกรรมการเร่งพระราชทรัพย์

พระศิริไอสวรรย์(พร  รังควร) ชอบทำงาน  ได้ตั้งโรงพิมพ์อักษรนิติ์  บริษัทสะอาด รับจ้างขนอุจจาระในพระนคร  ตั้งโรงหีบฝ้าย 
โรงฟอกหนัง  โรงเลื่อยไม้ที่ตำบลทับกวาง  โรงสีข้าวที่พิจิตร


คุณพงษ์  รังควร เกิด ๒๔๔๑   เรียนหนังสือที่โรงเรียนราชวิทย์และโรงเรียนอัสสัมชัญ  โรงเรียนมัธยมวิลบราแฮมอคาเดมี ในรัฐแมซซาชูเสท สหรัฐอเมริกา
ได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาท บอสตันอยู่หนึ่งปี เรียนกฏหมาย  แต่ต้องเดินทางกลับประเทศไทยเพราะบิดาถึงแก่กรรม
ได้อุปสมบทที่วัดบวรนิเวศ ๑ พรรษา  ถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหารบก

รับราชการอยู่อาทิตย์เดียว พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้โอนไปประจำกองเรือยนต์หลวง  ได้รับพระราชทานยศเป็นเรือโท
และต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น นายวรกิจบรรหาร
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 30 มิ.ย. 08, 11:45

คุณชลอ  รังควร เป็นธิดาของ พระยาอมเรศสมบัติ(ต่วน  ศุขะวณิช)และคุณหญิงเล็ก
เมื่อสมรสกับคุณพงษ์  สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี ทรงพระกรุณาประกอบการสมรสให้ที่วังบางขุนพรหม


นายวรกิจบรรหารนั้นทำธุรกิจอีกมากมาย
ทำโรงงานผลิตกระแสร์ไฟฟ้าและโรงงานทำนำ้แข็งที่สุพรรณบุรี
มีบริษัท สยามรถยนต์(รถเมล์เขียว) สำนักงานอยู่บางขุนพรม
ร้านขายอุปกรณ์เรือยนต์  มีเรือขนาดใหญ่ให้เช่าท่องเที่ยวชายทะเล
เป็นเจ้าของเกาะกระดาษ

โรงพิมพ์นั้น คุณชลอเป็นคนดูแล  เพราะนายวรกิจบรรหารต้องไปดูแลทำสวนมะพร้าวอยู่ที่เกาะ
อ่านมาจากหนังสืออนุสรณ์ คุณชลอ รังควร  ว่า  นายวรกิจบรรหารซื้อเกาะมาจากหม่อมเจ้านิทัศนาธร ในราคา ๖,๐๐๐ บาทเงินผ่อน

ครอบครัว วรกิจบรรหารเป็นครอบครัวใหญ่   
ทราบว่าคุณชลอเป็นแม่เรือนที่ดูแลบุตรและธิดาอย่างดีเลิศ    ดูแลทำอาหารที่ลูกชอบ   ที่โต๊ะจะมีอาหารหลายจานสำหรับลูกคนนั้นคนนี้

เรื่อง กราบแม่ที่เท้า  ของ แม่ขวัญข้าว ลงในโลกหนังสือ  เล่าเรื่องราวของยาขอบ กับ คุณชลอไว้อย่างสมบูรณ์ละเอียดที่สุดแล้ว



หมอบุญส่ง เลขะกุล  เขียนเรื่อง  คิดถึงพระคุณ คุณผู้หญิง  อ่านแล้วก็ชื่นใจในเรื่องราวที่ดีงามถึงปานนั้น
"...หากผมจะต้องการสตางค์สักหนึ่งบาทหรือสองบาท  ผมก็ต้องมานั่งพับเพียบ  แล้วยกมือไหว้ขอท่าน และท่านก็ไม่เคยซักเลยว่า     
จะขอไปทำไม  และก็ไม่เคยตักเตือนสั่งสอนว่าอย่าใช้เปลืองนะ  เพราะท่านคงรู้อยู่แก่ใจแล้วว่า  ผมไม่เคยใช้สตางค์สุรุ่ยสุร่าย"

พี่ชายหมอบุญส่งทำงานอยู่ที่โรงพิมพ์     หมอตามมาอาศัยอยู่เมื่ออายุ ๑๕ ปี

"มีงานที่ทำเองโดยที่ไม่มีใครใช้  คือคอยเก็บธนบัตรที่คุณผู้ชายเหลือมาโยนไว้หน้าตู้กระจก  เอามาม้วน ๆแล้วใส่ไว้ต่างหากในกระป๋องบุหรื่การิค
ถ้าเป็นเศษสตางค์ห้าสตางค์สิบ  ก็เก็บไว้ในกระป๋องการิคอีกกระป๋องหนึ่ง   และถ้าเป็นแก้วแหวนเงินทองหรือสายสร้อย 
ผมก็รวมไว้ในกระป๋องบิสกิทอีกกระป๋องหนึ่ง   ใส่กุญแจลิ้นชักที่เก็บของแล้วก็เอากุญแจไปใส่ไว้ในกระเป๋าถือของคุณผู้หญิง"


ขอประทานโทษคุณเทาชมพู ในการออกทะเล
 นึกถึง  สด  กูมะโรหิต   กุหลาย สายประดิษฐ์  ยาขอบ(ที่คุณชลอเรียกว่า "Writer in Residence  ของโรงพิมพ์ อักษรนิติ์) นักเขียนกลุ่มสุภาพบุรุษ



บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 30 มิ.ย. 08, 20:12

ขอถามเพิ่มเติมครับ

รังควร  ที่ถูกควรอ่านอย่างไรครับ

รัง - ควน     หรือ      รัง - คะ - วอน  .............. ฮืม
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 30 มิ.ย. 08, 21:02

นามสกุล รังควร อ่านว่า "รัง-คะ-วอน" ครับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 30 มิ.ย. 08, 21:23

อ่านว่า  รัง-คะ-วอน  ค่ะ



คัดลอกมาจาก แม่ขวัญข้าว ด้วยความเคารพในความรู้และข้อมูล



"คุณชลอได้เขียนไว้ว่า   

เหตุที่ข้าพเจ้าไให้้อุปการะแด่  โชติ  แพร่พันธุ์ ทุกวิถีทางอันพึงอุปการะได้นั้น  สืบมาจากข้าพเจ้าเห็นว่า
เมืองไทยของเราหาคนที่เขียนหนังสือดี มีฝีปากคารมคมคายอย่างโชติ แพร่พันธุ์ ได้ยาก
ดังนั้น  การที่จะอุ้มชู โชติ แพร่พันธุ์ ให้อยู่ในฐานะเป็นปึกแผ่นปราศจากความหวาดกังวลในความเป็นอยู่
เพื่อเขียนหนังสือให้คนอ่านสืบไป เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าพึงกระทำอย่างยิ่ง

..............................................................
.................................................................

ไม่มีใครที่จะให้ความอุปการะนักเขียน  โดยปล่อยนักเขียนให้มีความคิดที่เสรีเป็นตัวของตัวเอง
หากจะมีก็จะเป็นการ "ขุนเลี้ยง" กันมากกว่า  โดยหวังจะให้นักเขียนยกยอปอปั้นตัวเอง  โดยหวังมีหน้ามีตาในสังคม
และอำนาจการเมือง

เพราะฉะนั้นลักษณะที่คุณนายชลอให้ความอุปการะแก่  โชติ  แพร่พันธุ์  จึงเป็นลักษณะที่งดงามในประวัติวรรณกรรมไทย

เพราะไม่ได้ไปกะเกณฑ์ ความคิดของ ยาขอบ
กลับปล่อยให้ ยาขอบ เขียนเรื่องได้อย่างสบายใจไม่เร่งรีบ

ไม่รีดความคิดของ ยาขอบ ออกมาเป็นตัวหนังสือเพื่อสร้างความร่ำรวยให้กับตนเองมาก ๆ เหมือนนายทุนบางคนในสมัยนี้
แต่กลับเอาอกเอาใจ บำรุงรักษาพยาบาล ยาขอบอย่างจริงจัง"



แม่ขวัญข้าวเล่าต่อไปว่า(เรื่องนี้ไม่เคยได้ยินมาก่อนจากที่ไหน แต่ก็ไม่ประหลาดใจ เพราะ นายและนาง วรกิจบรรหารเป็นที่กว้างขวางในวงสังคมปานใด/วันดี)

"เช่นเดียวกับ มนัส จรรยงค์  ที่พระยาสุรพันธเสนีย์ พ่อตาได้ขอร้องนายวรกิจบรรหาร ให้นำไปอยู่เกาะเพื่ออดเหล้าเช่นกัน"

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 01 ก.ค. 08, 07:19

มายืนยันอีกคนค่ะ
รังควร อ่านว่า รัง-คะ-วอน    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าทรงนำชื่อเดิมของบิดาพระศิริไอศวรรย์  คือ รง  มารวมกับชื่อเดิมของลูกชาย(พร) แล้วทรงแปลงเป็นบาลีอีกที  จากรง เป็น รงฺค  และ พร เป็น วร 
จึงเป็นนามสกุล  รังค(-) วร

ตอนเด็กๆจำได้ว่าได้ยินชื่อพันเอกนายวรการบัญชา   บ่อยๆ  ไม่ทางทีวีก็หนังสือพิมพ์   ท่านมีตำแหน่งใหญ่โตทางการเมือง แต่จำไม่ได้ว่าเป็นตำแหน่งอะไร  มารู้ในกระทู้นี้ว่าเป็นรัฐมนตรี
ที่จำได้เพราะแปลกจากคนอื่นๆที่เขามีชื่อมีนามสกุลกัน    แต่ท่านมียศทหารแล้วต่อด้วยราชทินนามที่ไม่คุ้นหู  เลยจำได้
พลเอกเจ้าพระยารามราฆพ คุ้นเคยกับพันเอกนายวรการบัญชาดี   สมัยท่านเป็นรัฐมนตรี   เจ้าคุณรามฯท่านก็ไปไหนมาไหนด้วยเสมอ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 01 ก.ค. 08, 07:23

เรื่องนามสกุลพระราชทาน
-สุตันตานนท์ (Sutanta^nanda) พระราชทานให้ ขุนพิจิตรโอสถ (รอด) แพทย์ประจำเมืองเชียงใหม่  ปู่ชื่อพระยาสุตันตะวิเชียร 
-ภมรมนตรี (Bhamaramontri) พระราชทานให้ นายพันตรี หลวงพรรฤกสรศักดิ์ (แย้ม)  อาจารย์โรงเรียนมหาดเล็กหลวง  ปู่ชื่อพระยาราชมนตรี (ภู่)

หาอ่านได้ที่เว็บนี้
http://www.amed.go.th/AboutUs/palace/sur_content.htm

(เว็บนี้แสดงตัวเลขพ.ศ.ผิดทั้งหมดค่ะ เลยเช็คไม่ได้ว่าได้รับพระราชทานเมื่อปีไหน)
บันทึกการเข้า
UP
แขกเรือน
องคต
*****
ตอบ: 516


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 01 ก.ค. 08, 08:27

มีเรื่องน่าสนใจสำหรับนามสกุล "รังควร" อีกคือในทะเบียฬนามสกุล กับในราชกิจจานุเบกษารวมทั้งพระราชหัตถเลขาพระราชทานนามสกุลนั้น สะกดต่างกัน ในทะเบียฬใช้ว่า "รังคะวร" ส่วนที่อื่นๆ ทรงสะกดว่า "รังควร" ครับ

ส่วนเลขระบุปีพระราชทานในทะเบียฬฯ ผมเข้าใจว่าทางผู้จัดทำใช้เลขคริสต์ศักราชครับ คิดว่าไม่ใช่การลงปีผิด เวลาสืบค้นครั้งแรกๆ ผมงงอยู่นาน จนลองมานั่งบวกลบคูณหารจึงได้ความว่าแท้จริงแล้วเป็น ค.ศ. ไม่ใช่ พ.ศ. ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 01 ก.ค. 08, 08:46

ถูกของคุณ UP ค่ะ
ดิฉันนึกออกขั้นแรกว่าเป็นหมายเลข ค.ศ. แต่ไม่ได้เช็คประวัติการพระราชทานนามสกุล  คิดว่าเริ่มใช้ปลายรัชกาลที่ ๖   ปี ๑๙๑๓ ๑๙๑๖  พวกนี้น่าจะเก่าไป
เพิ่งย้อนกลับไปบวกลบคูณหาร  จากปีพระราชทานนามสกุลเดิมของดิฉัน  ก็พบว่าใช่   เป็นปีพระราชทานนามสกุลจริงๆ

ย้อนกลับไปถึงปีพระราชทานนามสกุล
สุตันตานนท์ ได้รับพระราชทานเมื่อ  วันที่29 เดือนกันยายน  พ.ศ. 2457
ภมรมนตรี   ได้รับพระราชทานเมื่อ  วันที่25  ตุลาคม   พ.ศ. 2458

คุณวรชาติ คงจะเข้าใจว่า วรกิจบรรหารและวรการบัญชาเป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานพร้อมกัน  ความจริงคือ ราชทินนาม หรือบรรดาศักดิ์ทั้งสองนั้น ได้รับพระราชทานพร้อมกัน   แต่นามสกุล ได้รับพระราชทานห่างกันเป็นปี

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง