เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 16406 สืบเนื่องจากเรื่องบรรดาศักดิ์มหาดเล็ก
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 02 เม.ย. 01, 22:17

ขอบคุณคุณเทาชมพูและคุณ นกข.มากครับ จะตามอ่านต่อไป ได้ความรู้ดีๆ เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยครับ เดี๋ยวถ้ามีข้อมูลจะมาแจมอีก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 03 เม.ย. 01, 09:29

เคยได้ยินชื่อนายวรการบัญชามาเหมือนกัน
ไม่ใช่มหาดเล็ก
เข้าใจว่าบรรดาศักดิ์เดิมของท่านคงเป็นพระหรือพระยา
แต่ออกจากบรรดาศักดิ์ตามนโยบายจอมพล ป. ปี ๘๔ แล้วไม่ได้ขอคืน
ก็เลยมีคำนำหน้าว่า "นาย" และต่อด้วยราชทินนาม ค่ะ

คุณนกข.เคยได้ยินชื่อนายศรีเสนาสมบัติศิริ อดีตองคมนตรี และเอกอัครราชทูตไทยประจำญี่ปุ่นตอนสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไหมคะ
ท่านเคยเป็นพระยาศรีเสนา  แต่ไม่ได้ขอคืนบรรดาศักดิ์  จึงมีคำนำหน้าว่า" นาย" มาตลอดค่ะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 04 เม.ย. 01, 15:35

ขอบคุณครับ เป็นอย่างนี้เอง
สมัยเลิกมีบรรดาศักดิ์ ผมเห็นบางท่านใช้ราชทินนามเดิมเป็นนามสกุล และใช้ชื่อต้นชื่อเดิม (ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดก็ตัวท่านจอมพลเอง หลวงพิบูลสงคราม กลายเป็นจอมพลแปลก พิบูลสงคราม - เข้าใจว่านามสกุลท่านเดิมจริงๆ จะเป็น ขีตะสังคะ - ถ้าสะกดผิดก็ขออภัยด้วย)
ที่เอาราชทินนามมาเป็นชื่อต้น ไม่ได้เอาเป็นนามสกุล เห็นมีแต่เจ้าคุณศรีเสนาเท่านั้น
ถ้าอย่างงั้น นายวรการบัญชา ท่านนามสกุลอะไรครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 04 เม.ย. 01, 15:52

ชักงงแล้วเหมือนกัน    ไม่ทันได้นึกว่าพันเอกนายวรการบัญชาเป็นชื่อหรือนามสกุล  ขอตัวไปถามนักประวัติศาสตร์ตัวจริงก่อนนะคะ
ถ้าผิดเองทั้งหมดจะกลับมาบอกอีกที
ย้อนมาถึงสมัยคืนบรรดาศักดิ์ลงมาเป็น "นาย" เท่ากัน
มีหลายคนที่เอาราชทินนามมาใช้แทนนามสกุล เมื่อต้องคืนบรรดาศักดิ์ อย่างนายยง อนุมานราชธน    นายมหิธร ไกรฤกษ์   พลตรีอดุลย์ อดุลย์เดชจรัส
บันทึกการเข้า
แจ้ง ใบตอง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 04 เม.ย. 01, 17:50

นายวรการบัญชา น่าจะเป็นบรรดาศักดิ์เหมือนแบบมหาดเล็กหรือเปล่าครับ เพราะผมเคยได้ยินว่ามีบรรดาศักดิ์ นายวรกิจบรรหารด้วย  หรือว่าจะเป็นแค่ราชทินนามที่คล้องจองกัน ?....นายวรกิจบรรหาร  นายวรการบัญชา...
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 04 เม.ย. 01, 18:13

ถ้าเป็นงั้น สงสัยเป็นราชทินนามที่ตั้งใหม่ เดาว่า คงสมัย ร.6 (ซึ่งทรงมีหัวทางตั้งราชทินนามที่คล้องจองกันเป็นชุดๆ) จึงไม่อยู่ในทำเนียบมหาดเล็กเดิม
เดานะครับ
สมัยก่อนคำว่า นาย เป็นบรรดาศักดิ์มหาดเล็ก นายเพิ่งจะมาเป็นคำนำหน้าชื่อคน นายนั่น นายนี่ ได้สักสมัยรัชกาลที่ 4 หรือ 5 มั้ง นี่ผมเดานะครับ (สมัย ร. 6 จึงออกมาเป็นกฏหมายระเบียบชัดเจน เป็นนาย นาง นาวสาว เด็กชาย เด็กหญิง) ก่อนนั้นอาจจะนำหน้าชื่อกันว่า ออนั่น ออนี่ หรือไม่ก็ อ้าย ไปเลยเป็น อ้ายนั่นอ้ายนี่
อำแดงริด กับนายเหมือน เป็นเรื่องเกิดสมัย ร.4 แปลว่าตอนนั้นนายเหมือนเป็นนายแล้ว ฝ่ายหญิงยังเป็นอำแดงอยู่
เคยได้ยินเกร็ดว่านักเรียนไทยรุ่นแรกๆ ที่ไปเมืองนอก ต้องทำพาสปอร์ต จะมีชื่อต้นว่า นาย (Nai) ทุกคน เพราะสมัยก่อน ร.6 ยังไม่มีนามสกุลในสยาม สมมตินักเรียนไทยชื่อ นายแอบ ในภาษาไทย เขียนเป็นภาษาฝรั่งก็ว่า Mr. Nai Abb เลยกลายเป็นชื่อว่า นาย นามสกุล แอบ ไป ฝรั่งคงงงเหมือนกันว่าคนไทยผู้ชายธรรมดาไม่มียศมีตำแหน่ง ไหงชื่อว่า "นาย" กันหมด
เรื่องนักเรียนนอกนี่ทำให้นึกถึงบทความของคุณเทาชมพู ซึ่งผมว่าจะเรียนถามแล้วก็ลืม ว่า ดูเหมือนตั้งแต่ก่อนยุครัตนโกสินทร์ เราก็เคยส่งเด็กไทยไปเรียนที่ฝรั่งเศส สมัยพระนารายณ์ หรือเปล่าครับ แต่ตอนหลังเมื่อความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสเสื่อมลงเด็กไทยพวกนั้นจะเป็นยังไงต่อไปก็ไม่รู้
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 04 เม.ย. 01, 18:14

แฮะๆ ขออภัย อำแดงเหมือนกับนายริดครับ (ฤทธิ์?)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 04 เม.ย. 01, 18:42

คุณแจ้ง
รายนามมหาดเล็กหุ้มแพร เท่าที่มีในรัชกาลที่ ๖ ซึ่งรวมบรรดามหาดเล็กของเก่าไว้ เพิ่มมหาดเล็กของใหม่ขึ้นมา   ยังไม่พบชื่อนายวรกิจบรรหารและนายวรการบัญชาค่ะ
มีแต่นายพินัยราชกิจ -นายพินิจราชการ
นายพิจารณ์สรรพกิจ- นายพิจิตรสรรพการ

คุณนกข.
เรื่องเด็กไทยไปเรียนที่ฝรั่งเศสไม่อยู่ในพงศาวดารค่ะ แต่อยู่ในหนังสืออะไรเล่มหนึ่งซึ่งน่าจะเป็นการแต่งเสียมากกว่าบันทึก  อยู่ในกระทู้เก่าๆนี่ละค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 04 เม.ย. 01, 18:50

ย้อนกลับมาเรื่องจอมพล  มีข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ

ภายหลังเหตุการณ์วันมหาวิปโยค ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖  ทางราชการทหารดำริว่ายศจอมพลอันเป็นยศสูงสุดทางการทหารนั้น  ควรเป็นพระยศเฉพาะสำหรับองค์จอมทัพ
ต่อจากนั้นกระทรวงกลาโหมจึงมิได้ขอพระราชทานชั้นจอมพลให้แก่ผู้บัญชาการเหล่าทัพอีก    คงมีแต่อัตราเงินเดือนชั้นจอมพลสำหรับนายทหารผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการเหล่าทัพ หรือเทียบเท่า  สืบมาจนทุกวันนี้
ตราบจนถึงวันที่ ๑๙ สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯพระราชทานพระยศทหารให้พลเอกหญิง  พลเรือเอกหญิง  พลอากาศเอกหญิง  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ เป็นจอมพลหญิง จอมพลเรือหญิง และจอมพลอากาศหญิง
นับว่าทรงเป็นนายทหารหญิงพระองค์แรกในประวัติศาสตร์กองทัพไทยที่ได้ทรงดำรงพระยศเป็นจอมพล จอมพลเรือ และจอมพลอากาศ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 04 เม.ย. 01, 18:53

เรื่องมหาอำมาตย์ และเสวก เจอรายละเอียดเพิ่มขึ้นแล้ว  ว่างเมื่อไรจะเขียนเป็นบทความมาเพิ่มค่ะ
ตอนนี้ขอตัวไปตามหานายวรการบัญชาก่อนว่าเป็นชื่อหรืออะไรกันแน่
บันทึกการเข้า
นกข
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 04 เม.ย. 01, 20:55

ขอบคุณครับ
เพิ่งทราบว่าสมเด็จฯ ทรงเป็นจอมพลแล้ว ไม่ได้ตามข่าว ครั้งสุดท้ายที่ผมตามข่าวทางทหารถวายพระยศท่านเป็นนายพลเอก หลายปีมาแล้ว
ถ้าสมเด็จฯ ทรงเป็นจอมพล ก็คงจะต้องมีพระคทาจอมพลสำหรับพระองค์ ไม่ทราบว่าทางราชการทหารได้จัดทำถวายด้วยหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 04 เม.ย. 01, 21:10

เอาทีละเรื่องนะคะ
พันเอกนายวรการบัญชา  อดีตประธานวุฒิสภา มีชื่อและนามสกุลเดิมว่า บุญเกิด สุตันตานนท์ค่ะ
ส่วน "นายวรการบัญชา" ยังหาไม่พบว่าเป็นอะไรแน่  ทราบแต่ว่าเป็นชื่อพระราชทานเป็นพิเศษ

คทาจอมพลสำหรับพระองค์-ชอเวลาไปสืบหาข้อมูลก่อนค่ะ  ดิฉันก็ไม่เคยสังเกตสักที

ถามได้ถามเอานี่สนุกจังนะคะ   ไม่ถึงตาเราบ้างก็ให้รู้ไป
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 04 เม.ย. 01, 21:33

ขอบพระคุณคร้าบ...
เลยไม่กล้าถามต่อเลย แหะแหะ...
พยายามนึกภาพข่าววันสวนสนามและถวายสัตย์ปฏิญาณของทหาร ที่จัดที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ตอนต้นเดือนธันวา ใกล้ๆ กับวันเฉลิมฯ ในวันนั้นในหลวงทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบพระยศจอมพลทหารบก เหล่าอะไรรักษาพระองค์สักเหล่าหนึ่ง ไม่ทราบชัด ที่สีแดงๆ นะครับ เวลาที่ท่านทรงตรวจพลสวนสนาม จะทรงรับความเคารพจากแถวทหารโดยทรงใช้พระคทาจอมทัพแตะพระมาลา
แต่สมเด็จฯ นั้น ที่นึกออกทุกปีมาก็ทรงรับความเคารพด้วยการทรงกระทำวันทยหัตถ์ ("ตะเบ๊ะ") ตามธรรมดา อันนี้เท่าที่จำได้ เพิ่งมาสงสัยตอนที่ทราบจากคุณเทาฯ ว่าทรงเป็นจอมพลแล้วนี่เอง เพราะถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ต้องเป็นจอมพลถึงจะมีคทาจอมพลครับ พลเอกไม่ทราบว่าเขามีหรือเปล่า แต่ไม่เห็นเขาใช้กัน เห็นพลเอกก็ยังตะเบ๊ะอยู่
ดูเหมือนเครื่องหมายยศจอมพลก็จะมีคทาไขว้อยู่ด้วย
ผมว่าคุณเทาต้องเชิญอาจารย์อารียา ชุมสาย มาช่วยตอบแล้วครับ เธอยศอะไรแล้วก็ไม่ทราบ เมื่อก่อนนี้ยังเป็นผู้หมวดป๊อป ตอนนี้เป็นผู้กองหรือผู้พันรึยังไม่รู้ ... (รำพึงเฉยๆ ครับ ไม่ได้ตั้งคำถามคุณเทาชมพูครับ แฮ่ะๆๆๆ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 04 เม.ย. 01, 21:52

เห็นคุณนกข.คะยั้นคะยอจะให้เชิญน้องป๊อบมาตอบคำถามเกี่ยวกับทหาร
น้องป๊อบเธอเขียนภาษาไทยไม่ได้นะคะ  อ่านก็ไม่แน่ใจว่าอ่านได้มากน้อยแค่ไหน  จะอ่านกระทู้ตอบกระทู้คงต้องอาศัยล่ามจากเจนีวาแปลละมั้งคะ

และยากกว่านี้ คือดิฉันไม่รู้จักน้องป๊อบค่ะ
เมื่อไรดิฉันพอจะมีบารมีได้สักหนึ่งในร้อยของคุณหญิงหลุยส์หรือคุณแดงช่อง ๗   ความหวังของคุณนกข.อาจเป็นจริง

หรือว่าคุณนกข.มีวิธีติดต่อน้องป๊อบได้แล้ว ก็ขอเชิญให้ติดต่อ ด้วยความเต็มใจค่ะ
บันทึกการเข้า
เพื่อนเก่า
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 04 เม.ย. 01, 22:16

คงต้องตั้งกระทู้เป็นภาษาอังกฤษแล้วค่ะ
น้องป๊อบเธอเข้าใจได้แน่
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 19 คำสั่ง