เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6721 เขาพระสุเมรุ ดาราศาสตร์และโหราศาสตร์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 01 เม.ย. 01, 05:28

สืบเนื่องจากกระทู้ของคุณนวล

href='http://vcharkarn.com/snippets/board/show_message.php?dtn=dtn5&number=437'
target='_blank'>http://vcharkarn.com/snippets/board/show_message.php?dtn=dtn5&number=437
/>


คุณนวลคะ  ดิฉันไปได้หนังสือของ "พลูหลวง"
มาจากงานสัปดาห์หนังสือ

ตีความว่าเขาพระสุเมรุ และภูเขา ทวีป
กับแม่น้ำอื่นๆไม่ใช่ภูมิศาสตร์โลกโบราณอย่างที่เข้าใจกัน
/>
แต่เป็นโลกและจักรวาล (galaxy)ค่ะ
/>
คุณนวลเข้ามากระแอมกระไอให้เสียงหน่อยนะคะ  
แล้วจะได้ไปพิมพ์มาแปะให้อ่านค่ะ

ขอเกริ่นเรียกน้ำย่อยไว้แค่นี้
/>


้อ้อ  "พลูหลวง" เป็นนามปากกาของอาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ
ศิลปินแห่งชาติ  หรือ น. ณ ปากน้ำ
ถือกันว่าเป็นปรมาจารย์ท่านหนึ่งในวงการศิลปะไทย
บันทึกการเข้า
คุณพระนาย
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 31 มี.ค. 01, 15:17

คุณนวลยังไม่เข้าผม ลองเข้ามาถามก่อน ที่ว่าโลกและจักรวาล นี่ยังไงเหรอครับ หมายถึงเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาลเหรอครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 31 มี.ค. 01, 16:28

หมายถึงว่าเขาพระสุเมรุ คือโลก ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ตามความเข้าใจของคนโบราณ
ทวีปทั้ง ๔ คือการแบ่ง ๑๒ ราศีออกเป็น ๔ ส่วนค่ะ  คนในทวีปเหล่านั้นคือลักษณะคนในราศีต่างๆ
แม่น้ำสีทันดร คืออากาศที่โอบล้อมโลกนั่นเอง
บันทึกการเข้า
เพื่อนเก่า
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 31 มี.ค. 01, 20:48

ไม่ใช่คุณนวล แต่สนใจอยากอ่านค่ะ  
ขอเข้ามาก่อนได้ไหมคะ  ยังหาชื่อไพเราะๆ ได้ไม่ถูกใจ ขอใช้ชื่อนี้ไปก่อนนะคะ  

ชอบเนื้อหาในเรือนไทยมากค่ะ  เคยสงสัยว่าทำไม ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย ไม่ได้มีโอกาสเรียนเรื่องราวแบบไทยๆ ใกล้ตัว   เสียดายค่ะ ถ้าได้เรียนรู้แบบนี้  คงจะทำให้ทำงานที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ได้ดีกว่านี้  คงจะ เข้าใจความเป็นมา ของสถาปัตยกรรมไทย  ตลอดจนแนวคิดในหลายๆเรื่อง
สามารถวิเคราะห์ แนวคิด  ความเชื่อต่างๆ ที่คล้ายๆหัวข้อข้างบน และนำไป ประสาน กับ แนวคิดสมัยใหม่
นำไปใช้งานได้ดีกว่าที่เป้นอยู่

แต่ได้เรียนรู้ตอนนี้ ก็คงจะไม่สายไปนะคะ
บันทึกการเข้า
ชาละวัน สองวัน
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 31 มี.ค. 01, 22:36

อยากทราบรายละเอียดด้วยครับ
สงสัยจากนิทานพื้นบ้าน "แก้วหน้าม้า" ตอนที่นางแก้วมณีไปตัดยอดเขาพระสุเมรุ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 31 มี.ค. 01, 23:28

คุณเพื่อนเก่าคงจะเข้ามาใหม่  ขอต้อนรับค่ะ คิดหาชื่อเพราะๆถูกใจคุณได้เมื่อไรค่อยวงเล็บชื่อเพื่อนเก่าต่อท้ายไว้ก็ได้
(คุณเป็นเพื่อนเก่าของดิฉันหรือเปล่าคะ?)
ตอนเรียนมหาวิทยาลัยดิฉันก็ไม่ได้เรียนแบบนี้เหมือนกันละค่ะ  
แต่อาศัยพื้นความรู้ในห้องเรียน  มาหาทางเดินต่อเอาเอง  
ขอบคุณที่ชอบเรือนไทย
การเรียนรู้ ไม่มีวันสายค่ะ

ส่วนเรื่องของพลูหลวง  เนื่องจากดิฉันไม่รู้เรื่องโหราศาสตร์  ก็เลยแกะอยู่หลายตลบแล้ว   พยายามถอดมาง่ายๆให้อ่านกัน
ขอผัดเป็นการบ้านส่งพรุ่งนี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพื่อนเก่า
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 31 มี.ค. 01, 23:57

ดิฉัน..ไม่บังอาจเทียบชั้นเป็นเพื่อนคุณเทาชมพูหรอกค่ะ



ถ้าจะคุ้นเคยรู้จักกันก็แถวๆ Internet cafe' นี่แหละค่ะ

ในโลกความจริง ว่ากันอีกทีนะคะ...

จะว่าไปแล้ว ก็เสน่ห์คุณเทาชมพูนั่นแหละค่ะที่ชักนำมาให้รู้จักที่นี่



เมื่อก่อน ดิฉันค่อนข้าง ต่อต้าน ศาสตร์บางเรื่อง  แต่เมื่อพบเห็นเหตุการณ์ ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต  มองโลกหลายแง่มุมเข้า  คิดไปคิดมา  จับโน่น ผสมนี่  ก็พบความมีเหตุผลแทรกอยู่บ้าง  ซ่อนอยู่บ้าง  



มีความเห็นว่า โหราศาสตร์ ก็น่าสนใจ  บางทีวิธีการสอนคน ในบางครั้ง

หลักสถิติ + จิตวิทยา + หลักธรรมทางศาสนา +หลักการทางวิทยาศาสตร์

ก็ทำให้คนเราคิดได้ มองทะลุปัญหาในบางเรื่องได้นะคะ คนเราบางที บอกกันตรงๆ ก็ไม่รู้แจ้ง เห็นจริงค่ะ



เคยพบเรื่องบางเรื่อง  ที่เราไม่ยอมรับความจริง มันซ่อนอยู่ใต้จิตสำนึกค่ะ  แล้วก็ดูเหมือนจะหลบอยู่หลัง ศาสตร์ ที่เราปฏิเสธมันนี่แหละค่ะ  พาให้เราสับสนไม่น้อยเลย  จากเรื่องบนเรือนไทย  พาไปไกลถึงจิตวิทยา ผสมไสยศาสตร์เข้าให้แล้ว
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 01 เม.ย. 01, 04:45

เมื่อก่อนตอนเด็กๆ  ดิฉันก็เคยคิดว่า  โหราศาสตร์ เป็นเรื่องงมงายเหมือนกันแหละค่ะ   แต่เมื่อมาค้นคว้าด้านดาราศาสตร์มากๆเข้า  จึงได้เข้าใจว่า  

มันมีความต่อเนื่องกันอยู่  มนุษย์เราตั้งแต่โบราฯการก่อนที่จะมีหนังสือเขียนด้วยซำ้  เงยหน้ามองห้ายามคำ่  ก็เห็นดาวแล้วค่ะ  ยิ่งเป็นสมัยก่อน  

หากลงมาหากินในที่โล่งๆ  ก็ยิ่งเห็นดาวได้มาก  ก็รู้จักสังเกตความเป็นไปในท้องฟ้ามานานแล้ว  สามารถอาศัยตำแหน่งตะวัน จันทรา และดวงดาว  

มาบอกเวลา และความเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลได้



ความจำกัดของคนสมัยก่อน  ที่ไม่มีแม้เครื่องบินที่บินสูงให้มองลงมาเห็นความโค้งของขอบโลก  ไม่มีเครื่องมืออะไรนอกจากสายตามาสังเกตการณ์  

แต่จากการสังเกตการณ์ที่ไม่ต่างกับที่เรามีอยู่  ก็สั่งสมความรู้ที่ได้มาจาก perspectives (ขออภัยค่ะ หาคำไทยเหมาะๆไม่ได้)  ที่มีอยู่  

นำมาสรรหาความหมายของมันไปตามความจำกัดของวิทยาการ  



เมื่อคนเริ่มเพาะปลูกทำกสิกรรม  ความสามารถที่จะต้องบอกฤดูกาลให้ได้แม่นยำขึ้น  มีความสำคัญอย่างใหญ่หลวงต่อความเป็นความตายของสังคม  

แม้ก่อนที่จะมีตัวหนังสือใช้กัน  คนโบราณก็มีความสามารถทำปฏิทินอย่างหยาบๆขึ้นใช้  ปฏิทินเหล่านี้มีความสำคัญมาก  

ที่จะบอกเวลาเริ่มต้นฤดูเพาะปลูก เก็บเกี่ยว เวลามาของฝนฟ้า หรือพายุที่เป็นอันตราย  



Stonehenge นี้ มีไว้เพื่อบอกวัน Vernal Equinox ไม่ทราบที่เราเรียกว่า วสันตสุวัษ หรือเปล่าคะ  ถ้าเรียกผิดช่วยแก้ให้ด้วยค่ะ  

ซึ่งเป็นเวลาที่เริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ  โดยเฉพาะในที่ละติจูดสูงๆ  ในฤดูหนาว เวลากลาววันจะสั้นกว่าเวลากลางคืน  

อากาศกลางคืนจะเย็นมากจนถึงเกิดนำ้ค้างแข็ง  ทำลายต้นอ่อนได้  หากเพาะปลูกเร็วเกินไป  พืชผลก็จะเสียหายได้  วัน Vernal Equinox คือวันที่

โลกเคลื่อนที่ผ่านมาส่วนที่หันซีกโลกภาคเหนือเขช้าหาดวงอาทิตย์มากขึ้น  เป็นวันที่กลางวันและกลางคืนจะยาวเท่ากัน  และที่สำคัญ  หลังจากนี้  

ช่วงเวลากลางวันจะยาวขึ้นเรื่อยๆ  พื้นโลกจะดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากขึ้น  และสามารถหล่อเลี้ยงต้นอ่อนให้เติบโตได้ดีขึ้น  จุดเริ่มต้นของ

Vernal Equinox นี้  ในสมัยเริ่มเกิดของดาราศาสตร์ หรือโหราศาสตร์  คือเมื่อหกพันปีก่อน  ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงกับกลุ่มดาวราศีเมษ (Aries)  

จึงถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่  



แต่ด้วยเหตุที่แกนหมุนของโลกควงส่ายเหมือนลูกข่าง  จะวนครบ ๑ รอบในทุกๆ ๒๖,๐๐๐ ปี  ทำให้ตำแหน่งของ Vernal Equinox (อันเป็นแนวที่  

ระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์  ตัดกับระนาบศูนย์สูตรของโลก)  เปลี่ยนไปเร่ือยๆ  แต่ตำราทางโหราศาสตร์ไม่เปลี่ยน  

ตำแหน่งของสิ่งก่อสร้างทางดาราศาสตร์โบราณอย่าง Stonehenge ไม่เปลี่ยน  เวลาจึงผ่านไปนานกว่าเราจะสามารถตีความได้ว่า  

สิ่งก่อสร้างเหล่านี้มีไว้เพื่ออะไร  



ในวัฒนธรรมโบราณต่างๆทั่วโลก  จะมีสิ่งก่อสร้างเพื่อหมายวันสำคัญของฤดูกาล  โดยอาศัยเงาแดด หรือตำแหน่งดวงดาวเป็นที่หมาย  

มีทั้งในชนเผ่าอินเดียนแดงในอเมริกา  คนในเกาะอังกฤษโบราณ  ของจีน อินเดีย อาหรับ ฯลฯ



พระเวทต่างๆในศาสนาฮินดู  มีหลักฐานว่า  ในสมัยแรกๆ  อาศัยดวงจันทร์เป็นเครื่องกำหนดเวลา  ที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ  คำว่า เดือน

ที่หมายถึงแวลา 1/12 ของปี  ในทุกภาษา  จะมีความเกี่ยวเนื่องกับ พระจันทร์ ทั้งนั้น   เลข ๑๒ นี้มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยสุมาเรียน เมื่อ

หกพันปีก่อนมาแล้ว  แต่การกำหนดเวลาด้วยดวงจันทร์นั้น  มีความคลาดเคลื่อนมาก  เพราะตำแหน่งของดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมาก  

กรอบอ้างอิงของเวลา  ที่เราสังเกตได้จากดวงจันทร์  และดวงดาว  จึงเหลื่อมกันมากเกินไป  ในอารยธรรมตะวันตก  ที่ชาวเมโสโปเตเมียเป็นผู้ริเริ่ม  

แล้วแผ่ขยายไปยังอียิปต์ กรีก เปอร์เซีย  จนแผ่ขยายมายังอินเดียในที่สุด  ใช้ตำแหน่งของดวงอาทิตย์เป็นสำคัญ  แต่การใช้ดวงอาทิตย์มาชึ้นั้น  

แม้จะคลาดเคลื่อนขน้อยกว่ามาก  แต่มันดูยากกว่า  เพราะแสงอันแรงกล้าของดวงอาทิตย์  กลบแสงริบหรี่ของดวงดาวในเวลากลางวันไปหมด  

การจะดูว่า  ในขณะนี้  ดวงอาทิตย์ "เสวยฤกษ์" หรือมีตำแหน่งพ้องกับจักราศีใด  ต้องอาศัยการออกไปดูดาวทันทีหลังตะวันพลบ  

หรือตื่นก่อนตะวันไปคอยดูว่า  กลุ่มดาวสุดท้ายก่อนลับหายไปกับยามคืน  เป็นกลุ่มดาวจักราศีอะไร  กว่าจะรู้อย่างนี้ได้  ก็ต้องอาศัยการสั่งสมความรู้

และการสังเกตการณ์จดบันทึกสืบทอดต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน  จึงจะสังเกตได้



มาสใัยปัจจุบัน  เมื่อเรามีปฏิทินใช้  และที่แย่ที่สุดก็คือ  เมื่อเรามีนาฬิกาใช้  คนเราก็เลิกอาศัยการดูเดือนดูดาวและตะวันมาบอกเวลาไป  

ทำให้ความรู้เหล่านี้สูญไปมาก  จากประสบการณ์ของตัวเอง  ที่ไปอยู่กับชาวบ้านในชนบท  เขามักไม่ผูกนาฬิกากัน  บางหมู่บ้านไม่มีใครมีนาฬิกาเลย  

แต่เขาก็อาศัยแหลนหน้าดูผ้ามาบอกเวลากันได้  ดิฉันถอดนาฬิกาเก็บไปไม่เท่าไหร่  มันก็เริ่มซึมเข้าไปไม่รู้ตัว  

อาศัยตำแหน่งตะวันก็บอกได้คร่าวๆได้ว่าเป็นเวลากี่โมงแล้ว  อาศัยความแหว่งความเต็มของเดือน  ก็พอจะบอกได้ว่า  อีกกี่วันจันทร์จะขึ้นเต็มดวง  

ให้ออกไปทำงานในนาหลังพลบได้อีก ฯลฯ



ความเจริญในสมัยปัจจุบัน  ทำให้ความรู้หลายๆอย่างเลือนไปจากความรับรู้ของเรา  ดิฉันไม่เชื่อว่า  

ตำแหน่งต่างๆของดวงดาวจะมีอิทธิพลอะไรกับชีวิตของตัวเอง  แต่เชื่อว่า  โหราศาสตร์ มีมากกว่าทำนายทายโชคอีกมากเลยค่ะ  สืบสาวไปให้ดีๆ  

จะรู้ได้ถึงพัฒนาการของอารยธรรมมนุษย์ได้มากเชียวค่ะ



ดิฉันเริ่มอ่านหนังสือพวก archeoastronomy มาหน่อย  แล้วก็เลยทึ่งกับความเป็นมาของความรับรู้ขจองคนเราต่อดวงดาวมาก  

มีบทความน่าสนใจมากที่ดิฉันไปเขียนไว้ที่ห้องเด็กวิทย์บ้างค่ะ  ไม่ทราบคุณเทาฯได้มีโอกาสเห็นหรือเปล่า  เป็นหลักฐานจาก

ตำราพระเวทเก่าแก่มากกว่าที่ตกทอดมายังของเราเสียอีก  แล้วเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้  เป็นแบบเบื้องต้น(preliminary)

เพราะต้องอาศัยความรู้หลายสาขามาจับเกี่ยวโยงเข้าด้วยกัน  เลยอยากอ่านฝ่ายคัมภีร์พระเวทที่คุณเทาจะหามาได้ด้วยมากเลยค่ะ



ขออภัยหากจะเขียนวกวนแล้วอ่านเข้าใจยาก  ตอนนี้ยังมึนๆอยู่ค่ะ



ดิฉัยแปะเรื่อง "ราศีไทย-ราศีฝรั่ง" ไว้ที่ห้องเด็กวิทย์ที่นี่ค่ะ



http://vcharkarn.com/snippets/board/show_message.php?dtn=dtn20&number=604' target='_blank'>http://vcharkarn.com/snippets/board/show_message.php?dtn=dtn20&number=604
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 01 เม.ย. 01, 04:48

ขออภัยอีกด้วยนะคะ  ที่พิมพ์ผิดมากเหลือเกิน  ต้องรีบออกไปข้างนอกเลยไม่มีเวลาทานให้ดีค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 01 เม.ย. 01, 10:17

ดาราศาสตร์(Astronomy) และโหราศาสตร์ (Astrology) เป็นศาสตร์ที่เหมือนกันอยู่อย่างคือสังเกตการโคจรของดวงดาวเป็นหลัก  เพื่อนำมาใช้กับการดำเนินชีวิต
ดิฉันเชื่อเรื่องปฏิทินดาราศาสตร์ของนักวิชาการสมัยโบราณ   เกี่ยวกับการปลูกพืชผล หรือเวลาในฤดูกาลต่างๆ
แต่เรื่องโหราศาสตร์   ยังก้ำกึ่งอยู่  ว่าดวงดาวมีอิทธิพลกับชะตาชีวิตคนมากน้อยแค่ไหน     โดยส่วนตัวเชื่อว่าดวงของคนมีจริง  แต่สิ่งที่แรงกว่าดวงคือกรรม หรือการกระทำของคนคนนั้นเอง
ทั้งนี้เพราะจำได้ถึงพระพุทธวัจนะ (ขอไม่ใส่ภาษาบาลีนะคะ  มันไม่จำเป็นแถมพิมพ์ยากด้วย) ว่า
ประโยชน์คือฤกษ์ของประโยชน์   ดวงดาวจะทำอะไรได้
คือการปฏิบัติอะไรลงไปนั้น  ขอให้ดูความสะดวกและความเหมาะสม  อย่าไปคำนึงถึงฤกษ์จากโหราศาสตร์อยู่เลย
แต่ที่คนไทยเรานับถือฤกษ์ยามกันมาตั้งแต่รบทัพจับศึกไปจนกระทั่งเรื่องตัดผม  ก็เพราะเรานับตามคตินิยมของพราหมณ์ บวกความเชื่อท้องถิ่นแต่ดั้งเดิมเสียมากกว่า

ดิฉันเข้าไปอ่านแล้วค่ะคุณพวงร้อย   ทุกทีเข้าเรือนไทยทาง favorites ไม่ได้ผ่านหน้าแรก  ขอบคุณมากในความรู้ที่มาแบ่งปันให้ทุกคนค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 01 เม.ย. 01, 12:39

ถอดความมาจาก "พลูหลวง "

" พลูหลวง" มองว่าเขาพระสุเมรุไม่ใช่จินตนาการของคนโบราณเกี่ยวกับภูมิศาสตร์โลกอย่างที่เข้าใจกัน   แต่ท่านได้เปรียบเทียบระเบียบการโคจรของดวงดาว และการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์สู่จักรราศีต่างๆ  ตามที่มีอยู่ใน คัมภีร์สุริยยาตร์ อันเป็นคัมภีร์การคำนวณปฏิทินดาราศาสตร์ของไทย  ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่สุโขทัย
เขาพระสุเมรุ คือโลก   คนโบราณถือว่าจุดที่ตนยืนอยู่บนโลกเป็นจุดสังเกตการณ์   สำรวจตรวจสอบการโคจรของดาวนพเคราะห์บนนภากาศ   และยังรู้ต่อไปอีกว่าดาวนพเคราะห์อะไรอยู่ใกล้หรือไกลตามลำดับ
หนังสือไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงรูปร่างของเขาพระสุเมรุว่า
อันว่าเขาพระสุเมรุราช  อันสูงได้ ๘๔๐๐๐ โยชน์  ใต้น้ำก็ได้ ๘๔๐๐๐ โยชน์  โดยหนาก็ได้ ๘๔๐๐๐ โยชน์
ขนาดสูง ยาว และหนา เท่ากันเช่นนี้  ชวนให้พลูหลวงคิดว่าเขาพระสุเมรุมีสภาพไม่ผิดอะไรกับลูกบอล  ได้อ้างอีกตอนในไตรภูมิพระร่วงว่า
แลเขาพระสุเมรุราชนั้นแลกลมไส้โดยรอบ

ไส้ ไม่ได้แปลว่า ไส้ นะคะ  มีคำนี้ปนอยู่มากในไตรภูมิ   เป็นคำประกอบประโยค  คล้ายๆ ไซร้   อ่านข้ามไปก็ได้   ไม่ทำให้ความหมายในประโยคเปลี่ยนไป

พลูหลวงสรุปว่าเขาพระสุเมรุกลมแบบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก  ก็คือโลกนั่นเอง

คนโบราณมองว่าโลกเป็นแกนกลางของจักรวาล มีดาวต่างๆรวมทั้งดวงอาทิตย์โคจรหมุนรอบโลก  เพราะถือตามสิ่งที่ตามองเห็น
แม่น้ำสีทันดรล้อมรอบเขาพระสุเมรึ  ถัดไปเป็นเขาสัตบริภัณฑ์ คือยุคุนธร อิสินธร กรวิก สุทัศน์ เนมินทร  วินันตกะ  และอัสสกรรณ ตามลำดับ
แต่ละทิวจะมีแม่น้ำสีทันดรสมุทรมาคั่นเป็นช่วงๆ ไปเสมอ
หว่างกลางของภูเขาแต่ละเทือก ที่โอบล้อมพระสุเมรุ เป็นรูปวงกลม คือเส้นทางเดินของดาวพระเคราะห์
แต่แดนกำแพงจักรวาฬเถิงเขายุคุนธร  หว่างกลางเป็นหนทางพระอาทิตย์แลพระจันทร์  แลพระนวเคราะห์  แลดารากรทั้งหลาย   แต่งเทียวไปมาในหนทางวิถี ให้เรารู้จักว่าเป็นปี แลเดือนวันคืน

เนื่องจากการโคจรของดาวพระเคราะห์เป็นวงกลม    ถ้ามองจากโลก จะเห็นดาวพระเคราะห์ผ่านกลุ่มดาวต่างๆ ซึ่งเรียกว่า ราศี  ในมุม ๓๖๐ องศาของวงกลมนั้น
ราศีหนึ่งมีระยะทางยาวเพียง ๓๐ องศา ตลอดเส้นรอบวง  คือเส้นทางโคจรของดวงดาวอันโอบโลกหรือเขาพระสุเมรุนั้น จึงมีอยู่ ๑๒ ราศีด้วยกัน
พระอาทิตย์จะโคจรไปตามราศีต่างๆ ใช้เวลาราศีละเดือน   เมื่อครบเส้นรอบวงกลมก็จะเป็น ๑๒ เดือนพอดี  ตรงกับ ๑ ปี
ราศีนั้นๆมีชื่อเหมือนเดือนที่เราเรียกกันปัจจุบันนี้   เริ่มเดือนแรกที่ราศีเมษ ไปจบที่ราศีมีน

ดิฉันยังไม่เข้าใจข้อหนึ่ง
พลูหลวง เริ่มต้นที่ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งมาจากตำราต่างๆของอินเดีย แต่การนับราศี  เป็นแบบสุริยคติ  (อ้างคัมภีร์สุริยยาตร์)     แต่สมัยอยุธยามาจนรัตนโกสินทร์ตอนต้น  โหรไทยคำนวณทางด้านจันทรคติ  
เห็นได้จากขุนช้างขุนแผน ซึ่งมีความเชื่อแบบไทย     ไม่มีการเอ่ยถึงราศีต่างๆเลย  เอ่ยถึงแต่วันจันทร์ถึงอาทิตย์ ข้างขึ้นแรม และปีนักษัตร
 
พลูหลวงกล่าวถึงไตรภูมิฯต่อไปว่า  กำหนดวิถีโคจรของดวงอาทิตย์เป็น ๓ ฤดู  โคณวิถีเป็นฤดูหนาว  อัชฌวิถีเป็นฤดูร้อน  และนาควิถีคือฤดูฝน
ทางหนึ่งชื่อว่าโคณวิถีแล    เมื่อระดูหนาวพระอาทิตย์เดินฝ่ายกำแพงจักรวาฬ   คือในเดือน ๑๒,๑,๒,๓ อันนี้ชื่ออชวิถี   แลเมื่อระดูร้อนเดินทางกลางคือว่าเดือน  ๔  ๕  ๖  ๗  ทางหนึ่งชื่อนาควิถี    เมื่อระดูฝนฝ่ายอุดรทิศ  คือเดือน ๘  ๙ ๑๐  ๑๑

ทวีปทั้ง ๔  คืออุตตรกุรุ   บุรพวิเทห   ชมพู  และอมรโคยาน   คือการแบ่ง ๑๒ ราศีออกเป็น ๔ ส่วน  โดยมีราศีเมษเป็นแกนกลางของอุตตรกุรุ   ล้อมรอบด้วยราศีมีนและพฤกษภ   ทิศตะวันออกมีอยู่ ๓ ราศี คือราศีเมถุน   กรกฏ  และสิงห์   เรียกว่าบุรพวิเทห   ทิศใต้คือชมพู  มีอยู่ ๓ ราศี คือกันย์ ตุลย์ และพิจิก   ส่วนอมรโคยาน มีอยู่ ๓ ราศี คือ ธนู มังกร กุมภ์

บุคคลในทวีปต่างๆก็คือบุคคลที่ถูกจำแนกออกโดยตำแหน่งลัคนาในดวงชะตา   อย่างในหนังสือกล่าวว่า
ฝูงคนอันอยู่ในอุตตรกุรุนั้นแล   หน้าเขาเป็น ๔ มุม  ดุจดังท่านแกล้งถากให้เป็น ๔ เหลี่ยม  กว้างและรีนั้นเท่ากันแล
อุตตรกุรุคือราศีมีน  เมษ พฤกษภ    บุคคลที่มีลัคนาอยู่ในอุตตรกุรุทวีป คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช   จะเห็นว่ามีดวงหน้าสี่เหลี่ยมทั้งสิ้น

การยกตัวอย่างข้อนี้ดิฉันไม่เห็นด้วยค่ะ  
๑)เราไม่รู้ว่ารัชกาลที่ ๒ ท่านมีพระพักตร์แบบไหน   ภาพที่เห็นก็วาดขึ้นในชั้นหลังทั้งนั้น    
๒)รัชกาลที่ ๕  เมื่อดูพระบรมฉายาลักษณ์เมื่อทรงพระเยาว์หลังโสกันต์ไปจนขึ้นครองราชย์  พระพักตร์เป็นรูปไข่ไม่ใช่สี่เหลี่ยม
๓)รูปหน้าของคนเปลี่ยนแปลงได้ตามวัย  และน้ำหนักรูปร่าง
๔)กรรมพันธุ์ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ลูกออกมามีโครงสร้างใบหน้าเหมือนพ่อ  แม่  หรือปู่ย่าตายาย   แม้จะเกิดคนละราศีกันก็ตาม
เห็นว่าข้อยกเว้นน่าจะมีมากมายกว่าหลักการข้อนี้
บันทึกการเข้า
นวล
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 01 เม.ย. 01, 17:28

มารายงานตัว รับฟังการบรรยายค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง