เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
อ่าน: 56700 ช่วย แปล กลอนนี้ให้ทีครับ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 13 ก.ค. 11, 08:12

1. "แลมีกรงวานรเผือกตั้งตรงเฉลียงในแพด้านหลังตรงท้ายช้าง" เคยได้ยินว่ามันมีเหตุผลบางประการเกี่ยวกับเรื่อง "สัตว์เผือก" นี้ ประมาณว่าเป็นสิ่งสิริมงคลหรืออะไรทำนองนี้ใช่ไหมขอรับ

      สัตว์เลี้ยงไว้คู่กับช้างเผือก สัตว์ที่จะนำมาเลี้ยงไว้คู่กับช้างเผือกมี ๒ ชนิด คือ ลิงเผือก และกาเผือก เพราะถือกันว่าสัตว์ทั้งสองชนิดนี้เป็นของคู่บุญของช้างเผือก และจะป้องกันสิ่งอวมงคลที่จะมาสู่ช้างเผือกได้

ทำไมต้องเป็นลิง และ กา ยังเป็นปริศนารอคำเฉลย   ฮืม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 13 ก.ค. 11, 08:45

เอาภาพโป๊ะ...เอ๊ย..ไม่ใช่ๆๆ  ภาพแพดอกบวบ เลือกลำไม้ไผ่ขนาดใหญ่ชั้นดี มาผูกมัดไว้ด้วยกัน ด้านในมีอากาศ ลอยน้ำได้และภาพนี้เป็นภาพแพลงสรงในสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ

ด้วยสมเด็จวังบูรพา อันเป็นที่หลานรักยิ่ง ทรงเป็นแม่กองก่อสร้างแพให้สมพระเกียรติยศ เชิดชูวงศ์ตระกูล ดำริว่าเป็นแพที่มีความงามสุดขีด เมื่อเสร็จงานแล้วรื้อทิ้งก็เสียดาย จึงโปรดให้จำลองไว้ด้วยแผ่นเงินแท้บริสุทธิ์ ให้ชาวสยามได้เห็นความงดงาม เห็นทีไรต้องก้มกราบงาม ๆ ด้วยความงามสุดขีด

-ขุนหนุ่มสยาม เคยเห็นแพรับช้างเผือก ที่ทำจำลองไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ หรือไม่
ถ้าเคยเห็นอยากทราบว่าใครทำ  และมีประวัติความเป็นมาอย่างไร เดี่ยวนี้อยู่ที่ไหน

เห็นกำลังเล่นกันอย่างสนุก เลยเข้าคลุกวงในเสาวนาบ้าง

อันแพรับช้างเผือกที่ใต้เท้ากล่าวถึงนั้นกระผมหาได้พบพานไม่ เพราะช่วงชีวิตเกิดมา ช้างเผือกก็ไม่ได้ส่งลงแพมาจากกรุงเก่าแล้ว
แต่มีข้อมูลที่ใต้เท้าถามออกขุน (หรือหลวง ฮืม) หนุ่มสยามไว้ ดังนี้

"เมื่อพระยาช้างเผือก พระเศวตอุดมวารณ์มาจากเมืองนครลำปาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙
ระยะนั้นไม่มีช้างเผือกมาสู่พระบารมีหลายปีจนไม่มีตัวกรมการที่จะจำแบบอย่างทำแพรับช้างเผือกได้
แบบแผนแพช้างเผือกหาที่ในกรุงเทพฯ ก็ไม่ได้ ต้องถึงปรึกษากันใน
กระทรวงมหาดไทยว่าจะทำอย่างไร ไปนึกขึ้นได้ถึงพระยาทวาราวดีภิบาล (แจ่ม โรจนวิภาต)
ซึ่งเป็นผู้เคยทำเหลืออยู่คน ๑  ต้องเรียกตัวขึ้นมาจากมณฑลนครศรีธรรมราช
ขอแรงให้เป็นนายงานทำแพช้างเผือก แล้วให้ต่อตัวอย่างตั้งรักษาแบบไว้ในกระทรวง
มหาดไทย
ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้"

แต่ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงนิพนธ์ว่า "ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้" นั้น ก็เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙
จนป่านนี้ก็เป็นเวลา ๙๕ ปี แล้ว มิรู้ว่าแพช้างเผือกจำลองของเจ้าคุณทวาราวดีภิบาล
จะยังอยู่ที่กระทรวงมหาดไทยหรือไม่ ฮืม


ตอบนายสะอาด แห่งแขวงเมืองประทุมธานี

ที่ท่านว่ามานั้น  ตรงแก่ประสงค์ของเรายิ่งนัก  สมควรปรบมือเป็นรางวัลสัก ๓๐ แปะ

แพจำลองนั้น  ปัจจุบันยังอยู่ดีทุกประการ   แม้ผู้ใดต้องประสงค์จะทอดทัศนาแพจำลองดังกล่าว
จงไปดูได้ที่พิพิธภัณฑ์โรงช้างต้น  ถ.อู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ
ใกล้กับรัฐสภาอันทรงเกียรติ  นั้นเถิด


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 13 ก.ค. 11, 08:51

1. "แลมีกรงวานรเผือกตั้งตรงเฉลียงในแพด้านหลังตรงท้ายช้าง" เคยได้ยินว่ามันมีเหตุผลบางประการเกี่ยวกับเรื่อง "สัตว์เผือก" นี้ ประมาณว่าเป็นสิ่งสิริมงคลหรืออะไรทำนองนี้ใช่ไหมขอรับ

      สัตว์เลี้ยงไว้คู่กับช้างเผือก สัตว์ที่จะนำมาเลี้ยงไว้คู่กับช้างเผือกมี ๒ ชนิด คือ ลิงเผือก และกาเผือก เพราะถือกันว่าสัตว์ทั้งสองชนิดนี้เป็นของคู่บุญของช้างเผือก และจะป้องกันสิ่งอวมงคลที่จะมาสู่ช้างเผือกได้

ทำไมต้องเป็นลิง และ กา ยังเป็นปริศนารอคำเฉลย   ฮืม

ลิงเผือกและกาเผือกนี้  ท่านว่าเป็นสัตว์คู่บารมีของพระยาช้างเผือก
ว่ากันว่า  ก่อนที่จะพบช้างเผือกแต่ละเชือก  มักจะพบลิงเผือกและกาเผือกก่อนเสมอ
และเมื่อได้ขึ้นระวางช้างเผือกแล้ว  ก็จะนำลิงเผือกและกาเผือกมาเลี้ยงไว้
ใกล้ๆ กับพระยาช้างเผือกด้วย  ความทราบมาดังนี้  ใครมีข้อมูลอื่นอีกก็ว่ามา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 13 ก.ค. 11, 08:55

พิพิธภัณฑ์โรงช้างต้นของคุณหลวงคงป็นที่นี่กระมัง



http://travel.thaiza.com/detail_194004.html

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 13 ก.ค. 11, 09:03

ตอนแรกก็แปลบทร้อยกรอง
ต่อมาย้ายไปเครื่องอานพานพระศรี
โยกอีกทีไปออกประพาสเล่นบัว
สุดท้ายเข้าเรื่องช้างเผือก

รู้สึกหลุดวงโคจรไปแล้วเนี่ยะ
(หลุดไปไกลด้วย หลุดจนออกนอกแพ.. เอ้ย!!! ทางช้างเผือกแล้ว)
 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม


ผมคิดว่า  เจ้าของกระทู้ที่มาขอความช่วยเหลือคงจะงงเป็นไก่ตาแตกว่า
ทำไมแค่ขอให้ช่วยแปลกลอนเสภาไม่กี่บท   ความเห็นและคำตอบที่ได้
ถึงยาวมากขนาดนี้  แถมเจ้าตัวอาจจะงงต่อไปอีกว่า  แล้วจะเอาตรงไหน
ไปเขียนส่งอาจารย์ดี   เพราะแต่ละคนที่มาตอบก็ล้วนแต่ชำนาญการกันทุกคน
จึงสำแดงเดชกันกระจัดกระจายหลายสาขาวิชา  ประหนึ่งว่ายกห้องสมุดมาให้

อันที่จริง  การแปลร้อยกรองไม่ใช่ของยาก  แต่ผู้แปลต้องรู้ศัพท์ สำนวน
และรู้ที่มาที่ไปของเรื่องจึงจะแปลได้ตลอดรอดฝั่ง  

เราทุกคนยินดีช่วยทำการบ้าน  แต่ไม่มีการแปลให้โดยตรง  เพราะผู้ถามดูจะสบายเกินไป
เราจึงป่วน เอ๊ย ช่วยแนะแนวทางให้ท่านตามสมควร  และคิดว่าท่านจะหาทางเดินต่อไปได้เอง
ถ้าไม่เข็ดก็มาให้ช่วยอีกได้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 13 ก.ค. 11, 09:17

ขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างถวายฎีกายังรอแปลอีกหลายบท

http://www.b.yimwhan.com/board/show.php?user=windchimedream&topic=18&Cate=6

ชาวเรือนไทยชอบใจบทไหนเชิญหยิบยกมาช่วยกันแปลแบบเรือนไท้... เรือนไทย ได้

สนุกดี

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 13 ก.ค. 11, 10:24

แพรับช้างเผือก เป็นอย่างนี้ใช่หรือไม่



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 13 ก.ค. 11, 11:01

^
งดงามมากเลยครับ คุณกะออม

หากนำคำบรรยายของคุณวันดีได้อธิบายแล้ว มาอ่านประกอบไปด้วย และเห็นภาพไปด้วย ก็จะเกิดสุนทรียภาพ อีกมากมาย

ขอบคุณ คุณกะออมที่นำมาให้ชมแพรับช้างเผือกครับ

++++++++++++++++++++++

ขออนุญาตยกข้อความคุณวันดี ที่อธิบายเรื่องขนาดใหญ่โตของแพ นำมาซ้ำเพื่อให้ใกล้ชิดกับภาพ

พร้อมกันแล้วทั้งชุมนุม   ติดอาวุธเพียบ  ด้วยบารมี ความอยากประลองยุทธปัญญามหาศาล



คุณพระเศวต ฯ ทปษ ส่วนตัวของดิฉัน    ติดต่อพ่นลม  มาเมื่อหัวค่ำ  ถามเรื่องแพรับช้างเผือก  ท่านก็อู้อี้อึดอัดอกเอย


ดิฉันไปอ่านมาตอนบ่ายว่า ลักษณะของแพที่แห่ช้างเผือกลงมา


       ภายในแพกว้างขนาด ๓ ห้อง  เรียกว่าแพประธาน   มีเฉลียงรอบและมีประตูด้านหน้า ๑ ประตู   มีบังสาด ๑(ปัจจุบันคือ กันสาด)

เป็นฝาปิดค้ำสำหรับกั้นพื้นรอบแพได้รอบโรง        ฝาบังสาดด้านนอกกรุผ้าแดง   ด้านในบุผ้าขาว  ประดับลายฉลุทองน้ำตะโก

หลังคาแพดาดด้วยผ้าแดง   ประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์  ลงรักปิดทองน้ำตะโก       ตรงมุมแพประดับราชวัติห้าชั้นสีขาวลายพิมพ์


ในโรง(แพ)  มีแท่นกับหลักหมอ  และเสาตะลุงเบญจพาดซึ่งตัวเสาล้วนหุ้มด้วยผ้าขาว   ส่วนยอดเสาทาสีทอง    ที่แพด้านตรงศรีษะช้าง 

กั้นเป็นเพดานด้วยผ้าขาวแขวนลอย


เพดานนี้เขียนยันต์ด้วยเส้นทอง   และแขวนพวงใบไม้สำหรับปัดรางควาน ๕ ชนิด  คือ ใบเงิน  ใบไทร  ใบโพธิ์  ใบมะเดื่อและใบเลียบ

โดยมัดรวมเป็นพวงเดียวกัน      ก้านใบไม้นั้นหุ้มผ้าขาว


ที่เสาเฉลียงในแพตรงหน้าช้างผูกพระกรรภิรมย์   พร้อมตั้งโต๊ะหมู่เครื่องบูชา    ซึ่งอัญเชิญพระชัยหลังช้างมาตั้งเป็นประธาน

แลมีกรงวานรเผือกตั้งตรงเฉลียงในแพด้านหลังตรงท้ายช้าง



ขณะที่ช้างจะขึ้นจากแพประธาน  จะเดินผ่านมายังแพลูกบวบ   สะพานเชือกที่ทอดจากฝั่งมายังแพประธาน   สองข้างจะกั้นฉนวนบังตา

ด้านในสะด้วยใบไม้สด   ทั้งนี้เพื่อมิให้ช้างสำคัญตื่นเพราะแปลกที่  และขึ้นจากแพได้ง่าย



ท่านผู้ใดรู้จักใบเลียบ  กรุณาเล่าให้ฟังหน่อยนะคะ     

สงสัยเรื่องไม้ระงับเพื่อการปัดรังควานมานานปีแล้ว    นางนพมาศก่อนจะเข้าวังก็นั่งบนตั่งเหยียบไม้ระงับนี้

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 13 ก.ค. 11, 12:12

ดีกระนั้นแล   นึกสงสารเจ้าของกระทู้จัง
เขาคงตกใจปลาตลี้ไปแล้ว   ยิงฟันยิ้ม

ขุนช้างถวายฎีกามาถึงแพรับช้างเผือกได้  มันส์มากจริง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 13 ก.ค. 11, 12:22



ขุนช้างเขียนฎีกาเองด้วยนะคะ       ติดคุกมาแล้วไม่เข็ด

ผลของคดีก็น่าจะเล่ากันไว้บ้าง   จขกท  จะได้ทราบ

เรื่องที่นักเรียนต้องการความช่วยเหลือบ่อย คือ  ศึกกระหมังกุหนิง    ถ้าคุณหลวงเล็กรับเป็นเจ้าของเรื่อง

นักรบทั้งปวงก็จะออกซ้อมฝีมือกันได้
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 14 ก.ค. 11, 08:38



ขุนช้างเขียนฎีกาเองด้วยนะคะ       ติดคุกมาแล้วไม่เข็ด

ผลของคดีก็น่าจะเล่ากันไว้บ้าง   จขกท  จะได้ทราบ

เรื่องที่นักเรียนต้องการความช่วยเหลือบ่อย
คือ  ศึกกระหมังกุหนิง   
ถ้าคุณหลวงเล็กรับเป็นเจ้าของเรื่อง
นักรบทั้งปวงก็จะออกซ้อมฝีมือกันได้


ผมยังไม่ประสงค์จะรับนิมนต์ตามที่คุณวันดีเสนอมา
จะให้เป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์บ่อยๆ ไม่ดีหรอก เหนื่อย
เชิญท่านอื่นเป็นหัวเรือใหญ่แทนเถิด  แล้วจะไปผสมโรงช่วยป่วน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 14 ก.ค. 11, 08:48

คุณหลวงเลือกเอาได้เลยว่าจะไปผสมโรงช่วยป่วนที่กระทู้ไหน

ช่วยถอดความให้หน่อยค่ะ เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

ช่วยดูคำแปลกลอนนี้หน่อยครับผม ไม่รู้ผมแปลถูกมั๊ย

ช่วยแปลบทละครอิเหนา ตอย ศึกกะมังกุหนิง หน่อยค่ะ (( มี 3 ย่อหน้า ))

ช่วยหน่อยคับ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 14 ก.ค. 11, 09:12

^ ไม่ประสงค์จะเลือกแม้แต่กระทู้เดียว
เพราะไม่อยากซ้ำรอยหรือขุดของเก่ามาเล่น

ถ้าจะเล่าเรื่องนี้  คงจะตั้งกระทู้ใหม่ดีกว่า
ปูพื้นฐานให้รู้เรื่องคร่าวๆ  แล้วค่อยเข้าเรื่อง
อภิปรายแตกหน่อแตกกอแตกแขนงให้ยุ่งเหยิงเป็นเซิงฟัก
กะว่า เป็นกระทู้ต่อเนื่องสัก ๕-๖ กระทู้ ท่าจะเหมาะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 14 ก.ค. 11, 09:13



ความรู้นั้นก็พาจะไล่ตามกันได้  แต่แรงดึงดูดใจ แบบ เธอะ วีคเกส ลิ้งค์  แบบว่าไม่มี อ่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 14 ก.ค. 11, 09:21


อภิปรายแตกหน่อแตกกอแตกแขนงให้ยุ่งเหยิงเป็นเซิงฟัก


ขอให้คุณหลวงเล็ก ช่วยอธิบาย "เซิงฟัก" ให้ด้วยครับ ว่าคำนี้ที่มาได้อย่างไร  ฮืม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 20 คำสั่ง