เอาภาพโป๊ะ...เอ๊ย..ไม่ใช่ๆๆ ภาพแพดอกบวบ เลือกลำไม้ไผ่ขนาดใหญ่ชั้นดี มาผูกมัดไว้ด้วยกัน ด้านในมีอากาศ ลอยน้ำได้และภาพนี้เป็นภาพแพลงสรงในสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
ด้วยสมเด็จวังบูรพา อันเป็นที่หลานรักยิ่ง ทรงเป็นแม่กองก่อสร้างแพให้สมพระเกียรติยศ เชิดชูวงศ์ตระกูล ดำริว่าเป็นแพที่มีความงามสุดขีด เมื่อเสร็จงานแล้วรื้อทิ้งก็เสียดาย จึงโปรดให้จำลองไว้ด้วยแผ่นเงินแท้บริสุทธิ์ ให้ชาวสยามได้เห็นความงดงาม เห็นทีไรต้องก้มกราบงาม ๆ ด้วยความงามสุดขีด
-ขุนหนุ่มสยาม เคยเห็นแพรับช้างเผือก ที่ทำจำลองไว้ในสมัยรัชกาลที่ ๕ หรือไม่
ถ้าเคยเห็นอยากทราบว่าใครทำ และมีประวัติความเป็นมาอย่างไร เดี่ยวนี้อยู่ที่ไหน
เห็นกำลังเล่นกันอย่างสนุก เลยเข้าคลุกวงในเสาวนาบ้าง
อันแพรับช้างเผือกที่ใต้เท้ากล่าวถึงนั้นกระผมหาได้พบพานไม่ เพราะช่วงชีวิตเกิดมา ช้างเผือกก็ไม่ได้ส่งลงแพมาจากกรุงเก่าแล้ว
แต่มีข้อมูลที่ใต้เท้าถามออกขุน (หรือหลวง

) หนุ่มสยามไว้ ดังนี้
"เมื่อพระยาช้างเผือก พระเศวตอุดมวารณ์มาจากเมืองนครลำปาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ ระยะนั้นไม่มีช้างเผือกมาสู่พระบารมีหลายปี
จนไม่มีตัวกรมการที่จะจำแบบอย่างทำแพรับช้างเผือกได้ แบบแผนแพช้างเผือกหาที่ในกรุงเทพฯ ก็ไม่ได้ ต้องถึงปรึกษากันใน
กระทรวงมหาดไทยว่าจะทำอย่างไร ไปนึกขึ้นได้ถึงพระยาทวาราวดีภิบาล (แจ่ม โรจนวิภาต) ซึ่งเป็นผู้เคยทำเหลืออยู่คน ๑
ต้องเรียกตัวขึ้นมาจากมณฑลนครศรีธรรมราช ขอแรงให้เป็นนายงานทำแพช้างเผือก
แล้วให้ต่อตัวอย่างตั้งรักษาแบบไว้ในกระทรวง
มหาดไทย ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้"
แต่ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงนิพนธ์ว่า "ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้" นั้น ก็เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙
จนป่านนี้ก็เป็นเวลา ๙๕ ปี แล้ว มิรู้ว่าแพช้างเผือกจำลองของเจ้าคุณทวาราวดีภิบาล จะยังอยู่ที่กระทรวงมหาดไทยหรือไม่