เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 15934 ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 10:35

อย่างหนึ่งที่เห็นลักษณะเด่น เมื่อจัดองค์ประกอบภาพในลักษณะที่มี การวาดตัวปราสาทราชวัง ตัวเมือง กำแพงเมือง จะจัดวางเป็นรูปสามเหลี่ยม
องค์ประกอบกษัตริย์จะตรงกลาง ลงมาเป็นระดับขุนนาง และบุคคลทั่วไป


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 10:40

ลองจัดสามเหลี่ยมเข้าภาพดู


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 10:42

ภาพงานพระเมรุ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 10:51

ท้าวมาลีวราชว่าความ


บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 22:12

ไอ้เราก็นึกว่ชมรมฯจะร้างซะแล้ว โล่งใจเลยที่เห็นยังมีคนสนใจอยู่ สวัสดีสมาชิกชมรมทุกท่าน ร่วมทั้งท่านอาวุโสตางๆที่เข้ามาตอบกระทู้ หัวหน้าชมรมฯเลยคิดว่าชีวิตนี้เลยยังมีหวังแม้จะน้อยนิดก็ตาม ว่าด้วยเรื่องที่ถามมา ต่างคนก็ต่างความคิดสุดที่จะวิเคราะห์ อีกเรื่องนึงที่ชัดเจนในงานจิตรกรรมไทยก็คือการใช้สีจำแนกสถานภาพของบุคคล
     คตินิยมในการเขียนภาพจิตรกรรมไทยโดยทั่วไป มีลักษณะรูปแบบเป็นภาพสัญญลักษณ์นิยม สัญญลักษณ์นิยมนี้ปรากฎชัดเจนกับภาพประเภทบุคคล คือ การกำหนดรูปแบบบุคคลประเภทต่างๆในภาพให้สัมพันธ์กับคติที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนเป็นคตินิยม(Myhology)ในที่สุด เช่นการกำหนดว่า พระนารายณ์มี4กร พระอินทร์กายสีเขียว หนุมานเป็นลิงสีขว(เผือก)จากที่กล่าวมานั้นเป็นที่สังเกตได้ว่า ในภาพจิตรกรรมไทยได้ใช้สีกำหนดฐานะและความสำคัญของรูปแบบให้แตกต่างกันออกไป ลำดบของสีที่ปรากฎบนพื้นผิวของรูปแบบบุคคล อาจจะลำดับฐานะและความสำคัญแห่งรูปแบบบุคคลโดยสรุปได้ดังนี้ 
    1.ผิวสีทอง เป็นผิวสีเนื้อ ภาพพระพุทธเจ้า
    2.ผิวสีขาว เป็นผิวเนื้อ ภาพบุคคลที่มีฐานะเป็นท้าวพระยามหากษัตริย์
    3.ผิวสีขาวนวล ครีม เป็นผิวเนื้อ ภาพบุคคลประเภทที่มีฐานะบุคคลชั้นสูง
    4.ผิวสีดินตัดหรือสีน้ำตาลอ่อน เป็นผิวเนื้อ ภาพบุคลประเภทไพร่พล หรือสามัญชน
    5.ผิวสีคล้ำ หรือสีหมึก เป็นผิวเนื้อภาพประเภท "กาก"หรือคนชั้นต้ำ ไพร่ คนชั่ว
    นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเส้นและรูปทรง เข้ามาเกียวข้องอีกมากมายเกินกว่าจะบรรยายได้หมด ขอแนะนำให้ไปหาอ่านเอาในหนังสือชื่อ"การเข้าถึงศิลปะในงานจิตรกรรมไทย"โดย อาจารย์ ชลูด นิ่มเสมอ สำนักพิมพ์กรมศิลปากรพิมพ์เมื่อปี 2532 ครับ
    รูปประกอบจากวัดกำแพงบางจาก,กันมาตุยาราม,รามเกียรติ์ในกรอบกระจกวัดสุทัศน์เทพวราราม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 23:27


สวัสดีค่ะคุณ jean1966

       น้อมรับความรู้ที่แบ่งปันกันมา     ความคิดที่แตกต่างกันกระตุ้นให้มี

การสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 12 ก.ค. 11, 07:31

นางเบญจกายในภาพพร้อมหนุมาน งดงามมากครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 12 ก.ค. 11, 14:34

องค์ประกอบสามเหลี่ยมน่าสนใจมากครับ
สวัสดีครับพี่ยีนส์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 12 ก.ค. 11, 14:51

องค์ประกอบสามเหลี่ยมน่าสนใจมากครับ
สวัสดีครับพี่ยีนส์


ใช่ครับคุณ virain สีเหลี่ยมผืนผ้าก็มี เช่น ภาพเทพชุมนุม

ส่วนภาพไตรภูมิ ก็เป็นวงกลม ผสมสามเหลี่ยม

ผมเข้าใจว่า การนำสามเหลี่ยมมาใช้ในจิตรกรรมไทย และงานสถาปัตยกรรมไทย ตลอดจนข้าวของเครื่องใช้ของไทยทั้งหลาย ผูกพันกับหลักไตรภูมิ ส่วนภาพวาดที่เน้นสามเหลี่ยม อาจจะให้ความรู้สึกสูง ชะลูดขึ้นสู่ด้านบน ดูแล้วไม่หนักทับตัวเองกระมังครับ


บันทึกการเข้า
หัวโบราณ
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 12 ก.ค. 11, 22:03

โอ้  บ้านนี้ช่างอบอุ่นที่สุด

ขอบคุณทุกความคิดเห็นมากมายเลยครับ
ได้ความรู้เยอะและครบถ้วนมาก
กำลังว่าจะมาถามเรื่องการวางตำแหน่งตัวภาพในแต่ละระดับ
ก็ได้ท่านผู้รู้มาตอบให้แล้ว  ขอบคุณมากมายเลยครับ
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 12 ก.ค. 11, 22:51

ด้วยความเอื้อเฟื้อไฟล์ภาพ......โดยมิหวง...........จากคุณ jean1966แห่งเรือนไทย
วัดบ้านนอกเล็กๆแห่งหนึ่งในกาญจนบุรี ก็ได้ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามด้วยฝีมือช่างท้องถิ่น ที่แม้อายุน้อย แต่ความตั้งใจสูง มาประดับผนังโบสถ์
โดยช่างวาดได้จำลองความงามของแม่พระธรณีจากวัดชมพูเวก มาไว้ด้วยศรัทธา

ทุกท่านที่เกี่ยวข้องได้ฝากขอบคุณเวปเรือนไทยและคุณjean1966


 ยิ้มกว้างๆ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 12 ก.ค. 11, 22:56




สว่างและแจ่มใสเหมือนน้ำใจผู้ให้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง