เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 15933 ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ของชมรมหน่อยนะครับ
หัวโบราณ
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


 เมื่อ 10 ก.ค. 11, 17:37

ขอสมัครเป็นสมาชิกใหม่ด้วยนะครับ  หลังจากได้แต่อ่านอยู่นาน

พอดีมีเรื่องขอความรู้จากผู้รู้ทั้งหลายหน่อยนะครับ
คือ  อยากรู้เกี่ยวกับ การจัดวางองค์ประกอบ หรือการวางลำดับชั้นตั้งแต่กษัตริย์จนถึงชาวบ้านในงานจิตรกรม
ทั้งฝ่ายในและฝ่ายนอก  มีในการเชื่อต่อกันยังงัยบ้างอ่ะครับ
เช่นการวางตำแหน่งการเข้าเฝ้า การให้ความสำคัญกับตำแหน่งแต่ละระดับชั้น
ถามเยอะเกินไปป่าวอ่ะรับ 
พอดีช่วงนี้หาข้อมูลเพื่อนำไปทำงานส่ง อ.อยู่อ่ะครับ  มึนๆงงๆมาก 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 ก.ค. 11, 19:36

เข้ามาทักทายครับผม

แวะมาแปะภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เรื่องรามเกียรติ์ จับตอนพระรามแต่งงาน ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 ก.ค. 11, 19:39

2.


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 ก.ค. 11, 19:42

วัดคงคาราม จ.ราชบุรี


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 ก.ค. 11, 19:46

วัดสุทัศน์ฯ


บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 10 ก.ค. 11, 19:57

นอกจากที่คุณsiamese แนะนำไปแล้ว ผมขอเพิ่มเติมงานที่วัดดุสิตารามอีกแห่งหนึ่งครับ
ในภาพนี้เป็นฉากตอนทำนายพระลักษณะ มีฉากกั้นแบ่งแสดงที่นั่งของฝ่ายในด้วยครับ

การจัดวางตำแหน่งของจิตรกรรมฝาผนังมักจะเน้นประธานของเรื่องเป็นหลัก เพื่อจัดวางลำดับความสำคัญ
ในการเล่าเรื่อง แม้ตัวเอกของเรื่องจะไม่ใช่กษัตริย์เขาก็มักจะเขียนให้ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 10 ก.ค. 11, 20:03

ขอขัดจังหวะหน่อยนะครับ อด "แซว" ไม่ได้จริงๆ

"อ่ะครับ"  นี่ มีหมายความว่าอย่างไรครับ หรือว่าจะเป็น "คำไทยที่หายไป"

และคำว่า "ยังงัย" นี่ น่าจะเป็นคำว่า "อย่างไร" ใช่ไหมครับ

บันทึกการเข้า
หัวโบราณ
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 10 ก.ค. 11, 20:06

ขอบคุณอย่างมากเลยครับ

แล้ววิธีการวางตำแหน่ง หรือลักษณะของตัวภาพแต่ละตัว  นอกจากตำแน่งของตัวภาพที่นั่งบนฐานที่ต่างกันแล้ว
และเครื่องแต่งกาย  เราพอจะมีอะไรที่สามารถ บ่งชี้ว่าแต่ละตัวภาพอยู่ในฐานะอะไร ได้บ้างอ่ะครับ


รบกวนผู้รู้ด้วยนะครับ

ผมต้องขอโทษเรื่องการพิมพ์ภาษด้วยนะครับ  แฮ่ๆ
พอดีติดภาษพูด  กับภาษที่ใช้พิมพ์คุยบน msn ไปหน่อยนะครับ  ขอบคุณที่เตือนครับ
จะปรับปรุงในครั้งต่อไปครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 10 ก.ค. 11, 20:16

จิตรกรรมไทยประเพณีมักเขียนเรื่องไม่หลากหลายมากนัก อย่างทศชาติ พุทธประวัติ
เพราะฉะนั้นคนที่ดูมักจะต้องพอเข้าใจเรื่องอยู่แล้วครับ

ผมยกตัวอย่างงานจากวัดช่องนนทรีครับ เล่าเรื่องพระวิฑูรบัณฑิต
ที่แม้ตัวเอกจะไม่ใช่พระราชาแต่ก็แต่งกายอย่างพระราชา
ทั้งนี้อาจจะมาจากความเข้าใจที่ว่า ตัวเอกของเรื่องเป็นพระโพธิสัตว์ก็ได้


บันทึกการเข้า
หัวโบราณ
อสุรผัด
*
ตอบ: 6


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 10 ก.ค. 11, 20:24

ขอบคุณมากครับ

พอดีช่วงนี้กำลังทำข้อมูลรายงานอยู่ 
ยังงงกับการเชื่อมโยงกันของกลุ่มตัวภาพในองค์ประกอบทั้งที่เกี่ยวเนื่องในปราสาท  และขบวนช้าง ม้าต่างๆอยู่เยอะครับ
เช่นการรับส่งอากัปกิริยาของเหล่านางสนม หรือเหล่าเสนาอยู่ครับ  ขอบคุณที่ช่วยแนะนำมากครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 10 ก.ค. 11, 20:28

อีกตัวอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือ จิตรกรรมฝาผนังจากพระที่นั่งพุทไธสวรรย์
เลือกฉากขบวนเสด็จของพระนางสิริมหามายาครับ จะสังเกตได้ว่ารอบๆพระนาง
แม้แต่คนแบกพระราชยานก็เป็นผู้หญิง นี่แสดงให้เห็นถึงการใส่รายละเอียด
ในการเล่าเรื่องสะท้อนธรรเนียมในแต่ละยุคสมัยเข้าไปครับ


บันทึกการเข้า
totoae
อสุรผัด
*
ตอบ: 1



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 ก.ค. 11, 20:38

ฝากเนื้อ - ฝากตัวด้วย ครับ เพิ่งเข้ามาใหม่
มีข่าวสารอันใด อัพเดทกันเยอะๆนะครับ  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 10 ก.ค. 11, 21:26

ขอบคุณอย่างมากเลยครับ

แล้ววิธีการวางตำแหน่ง หรือลักษณะของตัวภาพแต่ละตัว  นอกจากตำแน่งของตัวภาพที่นั่งบนฐานที่ต่างกันแล้ว
และเครื่องแต่งกาย  เราพอจะมีอะไรที่สามารถ บ่งชี้ว่าแต่ละตัวภาพอยู่ในฐานะอะไร ได้บ้างอ่ะครับ


การแต่งกายในจิตรกรรมไทย เท่าที่ผมทราบเบื้องต้น การแต่งกายจะแยกตามฐานะอย่างชัดเจน คือ

๑. กษัตริย์ จะทรงเครื่องประดับร่างกาย กรองคอ ชายไหว ชายแครง สวมเสื้อ หรือ ไม่สวมก็ได้ สวมเครื่องประดับศรีษะ และสีที่ใช้จะมีสีทองเป็นหลัก

๒. สตรีชนชั้นสูง จะทรงเครื่องประดับร่างกาย มีสังวาลย์ เครื่องประดับร่างกาย นุ่งจีบโจง สวมเครื่องประดับศรีษะ

๓. ชายมีฐานะทางสังคม เช่น ข้าราชการ นุ่งโจงกระเบนมีลายและสีพื้นหลาย ๆ สี เช่น เขียว แดง น้ำเงิน สวมเสื้อมีลาย และไม่มีลาย ไม่มีเครื่องประดับศรีษะ

๔. สตรีมีฐานะทางสังคม เช่น นางกำนัล นุ่งโจงกระเบนมีลาย ห่มผ้าสไบ ไม่มีเครื่องประดับศรีษะ

๕. ชายสามัญ นุ่งโจงกระเบนสีมอ ผ้าพื้นไม่มีลาย ไม่สวมเสื้อ

๖. สตรีสามัญ นุ่งโจงกระเน สีมอ ผ้าพื้นไม่มีลาย ห่มสไบ

๗. พราหมณ์ นุ่งขาว ห่มขาว

๘. พระสงฆ์ ห่มอย่างพระสงฆ์

๙. เทวดา นางฟ้า ไม่สวมเสื้อ มีเครื่องสวมศรีษะ มีเครื่องประดับตาบทิศ สร้อยสังวาลย์ นุ่งกางเกงมีชายไหว ชายแครง กางเกงมีลวดลาย


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 10 ก.ค. 11, 21:36

ชอบจิตรกรรมไทยยุคก่อนมีภาพถ่ายน่ะครับ ในหัวคนสมัยนั้นคงจะบริสุทธิ์จริงๆ ไม่เคยเห็นภาพถ่าย จึงไม่มีความคิดเรื่องทัศนวิทยาเข้ามารบกวน ไม่ต้องกลัวว่าวาดแล้วจะผิดเปอร์สเปคทีฟ


แต่ปัจจุบัน การจะกำจัดความคิดนี้ออกจากหัวมันยากจริงๆครับ จำได้่ว่าตอนเด็กๆมากๆ เวลาวาดรูป ต้องตีเส้นขึ้นมาเส้นนึง สมมติว่าเป็นพื้นดิน ทุกอย่างต้องวางอยู่บนพื้นดิน เพราะวาดให้ลึกเข้าไปในกระดาษไม่เป็น คนโบราณเอง มีเปอร์ อยู่ในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้เคร่งครัดมากจนรัดตัวเองไว้ ก็คงคล้ายๆกันมั้งครับ
บันทึกการเข้า
virain
นิลพัท
*******
ตอบ: 1655


AmonRain


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 ก.ค. 11, 10:08

บางทีช่างเขียนอาจจะไม่ได้เข้าใจระเบียบของราชสำนักมากมาย การจัดองค์ประกอบจึงกระทำในแง่สัญลักษณ์
ให้ดูเข้าใจง่ายมากกว่า เมื่อคนดูพอเข้าใจเนื้อเรื่องก็เป็นอันว่าเข้าใจตรงกัน

สัญลักษณ์ที่ใช้แบ่งก็ไม่พ้นเรื่องเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ที่มีระดับลดทอนต่างกันไป
แต่ก็มีข้อยกเว้นตามความสำคัญของแต่ละบุคคล อย่างเช่นนางสุชาดาอาจจะแต่งเครื่องทรง
อย่างชนชั้นกษัตริย์ก็ได้

เดี๋ยวจะลองหาภาพมาให้ชมเพิ่มเติมครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.09 วินาที กับ 20 คำสั่ง