เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4254 เงินเดือนของ พลตรี พระยาเสนีณรงค์ฤทธิ์ (มล. เล็ก สนิทวงศ์)
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


 เมื่อ 07 ก.ค. 11, 10:07

ได้นำหนังสือเก่าๆ ขึ้นมาอ่าน  ได้พบ สำเนาประวัติรับราชการ ของ พลตรี พระยาเสนีณรงฤทธิ์ (มล. เล็ก สนิทวงศ์)
ในส่วนของ เงินเดือน เบี้ยหวัด บำเหน็จบำนาญ ซึ่งได้บันทึกไว้ว่า

- เมษายน   ๒๔๔๒      ได้รับเงินเดือนๆ ละ               ๔  บาท
.............
.............
๑ เมษายน  ๒๔๗๑               "                       ๗๐๐  บาท

- สิงหาคม  ๒๔๗๕       ได้รับเบี้ยหวัดตามส่วนแบ่งอัตราเงินเดือน พล.ต. ชั้น ๓


อยากทราบว่าหลังการจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี ๒๔๗๕ แล้ว  ลักษณะของ "เงินเดือน" ของข้าราชการในขณะนั้น
เป็นเช่นไรครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 ก.ค. 11, 10:28

พระราชบัญญัติเงินเดือนและค่าพาหนะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๔๗๖

- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนอกจากข้าราชการประจำการ ได้รับเงินเดือนในสมัยประชุม เดือนละ ๒๕๐ บาท นอกสมัยประชุม ๑๐๐ บาท
- ถ้าเป็นข้าราชประจำได้รับเบี้ยประชุมเฉพาะสมัยในประชุม เดือนละ ๒๐๐ บาท

- ประธานสภาและรองประธานสภา นอกจากจะได้รับประโยชน์ในฐานะเป็นสมาชิกแล้ว ได้รับเงินเพิ่มพิเศษประจำตำแหน่งประธาน เดือนละ ๔๐๐ บาท ส่วนรองประธาน เดือนละ ๒๐๐ บาท
บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 07 ก.ค. 11, 10:32

ท่านผู้นี้เป็นสามีของท่านผู้หญิงโพยม(ณ นคร)เสนีณรงค์ฤทธิ์ นี่ครับ

อยากทราบประวัติท่านครับ ว่ามาจาก ราชสกุล สนิทวงศ์ สายไหน

ไม่ทราบว่ามีประวัติท่านมั้ยครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 07 ก.ค. 11, 10:37

ข้าราชการกระทรวงยุติธรรม

๑ แผนกการเมือง
 ประจำแผนก ๘๐-๑๐๐ บาท
 เสมียน        ๓๔-๕๐ บาท

๒ แผนกตรวจสอบเรื่องราวและความเห็น
ประจำแผนก ๑๑๐-๑๓๐ บาท
 เสมียน        ๕๕-๗๕ บาท


สำนักงานปลัดกระทรวง
๑ ปลัดกระทรวง         ๘๐๐ - ๑๐๐๐ บาท

กองกลาง
หัวหน้ากอง    ๔๐๐ - ๕๐๐ บาท

แผนกโต้ตอบ
หัวหน้าแผนก   ๒๐๐ - ๒๘๐ บาท
ประจำแผนก    ๑๑๐ - ๑๓๐ บาท
เสมียน               ๕๕-๗๕ บาท
เสมียน               ๓๔-๕๐ บาท
เสมียน               ๒๐-๓๐ บาท

แผนกรับส่ง
ประจำแผนก        ๑๑๐ - ๑๓๐ บาท
เสมียน               ๕๕-๗๕ บาท
เสมียน               ๓๔-๕๐ บาท
เสมียน               ๒๐-๓๐ บาท
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 07 ก.ค. 11, 10:46

ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย

๑ แผนกการเมือง
 หัวหน้าแผนก ๑๔๐-๑๙๐ บาท
 ประจำแผนก  ๘๐ - ๑๐๐ บาท
 เสมียน        ๓๔-๕๐ บาท
 เสมียน         ๒๐ - ๓๐ บาท

๒ แผนกตรวจสอบเรื่องราวและความเห็น
 หัวหน้าแผนก   ๒๐๐ - ๒๘๐ บาท
 ประจำแผนก  ๘๐-๑๐๐ บาท
 เสมียน        ๕๕-๗๕ บาท
 เสมียน        ๓๕-๕๐ บาท
 เสมียน        ๒๐-๓๐ บาท


สำนักงานปลัดกระทรวง
ปลัดกระทรวง         ๘๐๐ - ๑๐๐๐ บาท
ผู้ช่วยปลัดกระทรวง  ๕๐๐ - ๖๐๐ บาท

กองกลาง
หัวหน้ากอง    ๔๐๐ - ๕๐๐ บาท

แผนกรับส่ง
หัวหน้าแผนก      ๒๐๐ - ๒๘๐ บาท
ประจำแผนก      ๘๐ - ๑๐๐ บาท
เสมียน              ๓๔ - ๕๐ บาท
เสมียน              ๒๐ - ๓๐ บาท

แผนกโต้ตอบ
หัวหน้าแผนก   ๒๐๐ - ๒๘๐ บาท
ประจำแผนก     ๘๐ - ๑๐๐ บาท
เสมียน               ๕๕-๗๕ บาท
เสมียน               ๓๔-๕๐ บาท
เสมียน               ๒๐-๓๐ บาท

กองคลัง
หัวหน้ากอง         ๔๕๐ - ๖๐๐ บาท

แผนกเงิน
หัวหน้าแผนก            ๒๐๐-๒๘๐ บาท
ประจำแผนก           ๑๔๐ - ๑๙๐ บาท
ประจำแผนก            ๘๐ - ๑๐๐ บาท
เสมียน               ๕๕-๗๕ บาท
เสมียน               ๓๔-๕๐ บาท
         
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 ก.ค. 11, 10:58

                             พลตรี พระยาเสนีณรงค์ฤทธิ์

ชื่อตัว          หม่อมหลวง เล็ก                 ชื่อสกุล    สนิทวงศ์

เกิด            วันพฤหัสบดี  แรม ๙ ค่ำ  เดือน ๒  ปี ระกา  ฉศก  จ.ศ. ๑๓๔๖  วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๘

ชื่อบิดา        พระตำรวจเอก พระยานาวาพลานุโยค (ม.ร.ว. ชม  บุตรพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์  หม่อมเขียน)

ชื่อมารดา     คุณหญิง คง   โรจนแพทย์

ชื่อภริยา      คุณหญิงพโยม  เสนีณรงค์ฤทธิ์
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 ก.ค. 11, 11:07

กระทรวงการคลัง

สำนักงานปลัดกระทรวง
ปลัดกระทรวง   ๘๐๐ - ๑๐๐๐ บาท
ผู้ช่วยปลัดกระทรวง  ๕๐๐ - ๖๐๐ บาท
หัวหน้ากอง      ๔๐๐ - ๕๐๐ บาท
หัวหน้าแผนก   ๒๐๐ - ๒๘๐

กองเงินตรา
หัวหน้ากอง        ๔๕๐ - ๖๐๐ บาท
หัวหน้าแผนก     ๒๐๐ - ๒๘๐ บาท

กองรักษาที่หลวง
หัวหน้ากอง       ๔๐๐ - ๕๐๐ บาท

กองกษาปณ์
หัวหน้ากอง       ๓๐๐ - ๔๐๐ บาท
ช่าง                 ๓๔ - ๕๐ บาท
ช่างโรงงาน       ๘๐ - ๑๐๐ บาท
ช่างโรงงาน       ๕๕ - ๗๕ บาท
ช่างโรงงาน       ๓๔ - ๕๐ บาท

กรมบัญชีกลาง
อธิบดี         ๖๕๐ - ๑๐๐๐ บาท
ผู้ช่วยอธิบดี  ๔๕๐ - ๖๐๐ บาท
ข้าหลวงตรวจการ ๓๐๐ - ๔๐๐ บาท
ผู้ช่วยข้าหลวงฯ   ๒๐๐ - ๒๘๐ บาท

ในส่วนภูมิภาค
คลังจังหวัด   ๒๐๐ - ๒๘๐ บาท
คลังจังหวัด   ๑๔๐ - ๑๙๐ บาท
ประจำแผนก  ๑๑๐ - ๑๓๐ บาท
ประจำแผนก   ๘๐ - ๑๐๐ บาท
เสมียน          ๕๕ - ๗๕ บาท
เสมียน           ๓๔ - ๕๐ บาท
เสมียน           ๒๐ - ๓๐ บาท
พนักงานดูเงิน    ๕๕ - ๗๕ บาท

กรมศุลกากร
อธิบดี      ๖๕๐ - ๙๐๐ บาท
ผู้ช่วยอธิบดี   ๔๕๐ - ๖๐๐ บาท

กรมสรรพสามิต
อธิบดี      ๖๕๐ - ๙๐๐ บาท
ผู้ช่วยอธิบดี   ๔๕๐ - ๖๐๐ บาท
ข้าหลวงตรวจการ      ๓๐๐ - ๔๐๐ บาท
ผู้ช่วยข้าหลวงฯ       ๒๐๐ - ๒๘๐ บาท

กรมสรรพากร
อธิบดี      ๖๕๐ - ๑๐๐๐ บาท
ผู้ช่วยอธิบดี   ๔๕๐ - ๖๐๐ บาท
ข้าหลวงตรวจการ (ชั้นพิเศษ)      ๔๐๐ - ๕๐๐ บาท
ข้าหลวงตรวจการ      ๓๐๐ - ๔๐๐ บาท
ผู้ช่วยข้าหลวงฯ       ๒๐๐ - ๒๘๐ บาท
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 ก.ค. 11, 11:28

ข้าราชการกระทรวงมหาไทย

กรมตำรวจ
อธิบดี  ๖๕๐ - ๑๐๐๐ บาท
รองอธิบดี  ๖๐๐ - ๗๐๐ บาท
พันตำรวจเอก  ๔๕๐ - ๖๐๐ บาท
พันตำรวจโท   ๓๐๐ - ๔๐๐ บาท
พันตำรวจตรี   ๒๐๐ - ๒๘๐ บาท

ร้อยตำรวจเอก   ๑๔๐ - ๑๙๐ บาท
ร้อยตำรวจโท     ๑๑๐ - ๑๓๐ บาท
ร้อยตำรวจตรี     ๘๐ - ๑๐๐ บาท

จ่านายสิบตำรวจ     ๖๕ - ๗๕ บาท

สิบตำรวจเอก   ๓๔ - ๕๐ บาท
สิบตำรวจโท    ๒๒ - ๓๐ บาท
สิบตำรวจตรี    ๑๖ - ๒๐ บาท

พลตำรวจสมัคร  ๒๐ - ๓๐ บาท
พลตำรวจ          ๔ บาท
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 07 ก.ค. 11, 11:32

กระทรวงหมาดไทย

กองมหันตโทษ
ผู้บัญชาการ          ๔๕๐ - ๖๐๐ บาท
สารวัตรเรือนจำ    ๒๐๐ - ๒๘๐ บาท
พัศดีเอก           ๑๔๐ - ๑๙๐ บาท
พัศดีโท            ๑๑๐ - ๑๓๐ บาท
พัศดีตรี             ๘๐ - ๑๐๐ บาท
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 07 ก.ค. 11, 12:46

ขอบพระคุณ คุณ Siamese ที่ได้กรุณาหาข้อมูลมาให้  แต่ดูเหมือนการสื่อสารของผมจะบกพร่องไปหน่อย

เมื่อ "คณะราษฎร์" ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ และประกาศใช้ "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว"
เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕  ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีคนแรกชื่อ "พระยามโนปกรณ์นิติธาดา"
สภาผู้แทนราษฎรจัดตั้งคณะยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้น  และจัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๗๕  เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของชาติไทย
และประกาศใช้ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม"  เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕

รัฐบาลของ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ถูก รัฐประหาร เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๗๖ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีคนที่ ๒ ชื่อ "พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา"

จากข้อความของคุณ Siamese ที่ว่า  "พระราชบัญญัติเงินเดือนและค่าพาหนะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๔๗๖"  นั่นแสดงว่า พรบ. นี้น่าจะประกาศใช้โดย
รัฐบาลของ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ภายใต้ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม" พ.ศ. ๒๔๗๕

เมื่อผมได้อ่านบันทึกเรื่อง เงินเดือน เบี้ยหวัด บำเหน็จบำนาญ ของ พล.ต. พระยาเสนีณรงค์ฤทธิ์ ผมมีความรู้สึกเหมือนข้อความแฝงนัยอยู่บางประการ  เนื่องจากในขณะ
ช่วงเวลาที่ฝุ่นยังไม่ทันจางดี ยังไม่แน่ใจว่าใครเป็นใคร (อ่านได้จากเรื่อง "สี่แผ่นดิน") ข้าราชการต่างๆ จะได้รับความเสมอภาคจากรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
หรือไม่   ไยบันทึกจึงกล่าวว่า "ได้รับเบี้ยหวัดตามส่วนแบ่งอัตราเงินเดือน พล.ต. ชั้น ๓" ทำไมจึงไม่บอกจำนวนตัวเลขไว้ทั้งๆ ที่ตลอด ๒๐ ครั้งที่ได้รับการปรับอัตรา
เงินเดือนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๒-๒๔๗๑ ได้ระบุตัวเลขไว้เอาทุกครั้ง

เมื่อได้อ่านพบเข้าผมจึงมีความสงสัยว่ารัฐบาลในขณะนั้นอาศัยกฎหมายใดตั้ง "ส่วนแบ่งอัตราเงินเดือน" ของข้าราชการต่างๆ   เรื่องนี้น่าจะมีอยู่ในบันทึกด้านเอกสารของทาง
ราชการบ้างนะครับ  ผมเห็นว่าน่าจะเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางประวัติศาสตร์ที่ควรจะค้นคว้าเพื่อทำการศึกษาต่อไปครับ

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 07 ก.ค. 11, 13:19

อัตราเงินเดือนทหารเรือ ที่ปรับใหม่และมีผลบังคับใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 07 ก.ค. 11, 13:34

พระราชบัญญัติเพิ่มเงินเดือนเฉพาะตัว (พ.ศ. ๒๔๖๒)

บุคคลที่ได้รับตำแหน่งในราชการโดยความเรียบร้อยมาช้านาน แต่ด้วยเหตุผลบางประการ เจ้ากระทรวงไม่มีโอกาศจะเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น ข้าราชการผู้นั้นต้องได้รับเงินเดือนเป็นอัตราประจำตำแหน่งเดิมอยู่นาน ๆ

ทรงพระราชดำริว่า ข้าราชการที่สามารถ และตั้งใจ ปฏิบัติราชการในหน้าที่โดยความเรียบร้อย ย่อมนับว่าเป็นผู้ได้ประกอบความดีความชอบในราชการอยู่ส่วนหนึ่งเหมือนกัน สมควรจะพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณแก่ข้าราชการเหล่านี้

ข้อ ๑ ข้าราชการทีลักษณะดังกล่าวต่อไปนี้ คือ
(ก) ตำแหน่งที่มีเงินเดือนต่ำกว่า ๒๐๐ บาท
(ข) ตำแหน่งที่มีเงินเดือนต่ำกว่า ๖๐๐ บาท
(ค) ตำแหน่งที่มีอัตราเงินเดือนวางไว้เป็นลำดับเลื่อนชั้นกันได้
(ง) ข้าราชการที่รับราชการโดยมีวันราชการ ติดต่อกันมายังไม่ครบ ๒๐ ปี

ข้อ ๒ ข้าราชการผู้ใดจำพวกที่กล่าวในข้อ ๑ มีอัตราเงินเดือนตั้งไว้ โดยกำหนดตามตำแหน่งหน้าที่เป็นเกณฑ์ เมื่อได้รับเงินเดือนอัตราขั้นสูงในตำแหน่งของตนเกินกว่า ๕ ปี อนุญาตให้ได้รับเงินเดือนเพิ่มพิเศษเฉพาะตัวได้ไม่เกิน ๑ ใน ๔ ของอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดประจำตำแหน่งตน แต่ไม่เกิน ๑๐๐ บาท

ข้อ ๔ ถ้าข้าราชการผู้ได้รับอนุญาตเพิ่มเงินเดือนพิเศษเฉพาะตัว แล้วต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งมีอัตราเงินเดือนสูงกว่าตำแหน่งเดิม ให้ลดจำนวนเงินเดือนเพิ่มพิเศษเฉพาะตัวลง เท่ากับ จำนวนเงินที่ได้เพิ่มขึ้น

และถ้าข้าราชการผู้นั้นได้เพิ่มเงินเดือนขึ้นไปจนเท่ากัน หรือ เกินจำนวนเงินเดือนเพิ่มพิเศษเฉพาะตัวที่ผู้นั้นเคยได้รับอยู่เดิมแล้ว ให้งดจ่ายเงินเดือนเพิ่มพิเศษเฉพาะตัวนั้นเสีย
บันทึกการเข้า
willyquiz
องคต
*****
ตอบ: 501


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 07 ก.ค. 11, 14:16

จากตารางอัตราเงินเดือนทหารเรือของคุณ Siamese ที่ได้นำมาแสดง นั่นแสดงว่าท่านเจ้าคุณกินเงินเดือนเต็มขั้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๑ แล้ว

เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๗๓ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งราชองครักษ์เวร

เมื่อวันที่  ๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๓ ท่านเจ้าคุณได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า

แต่พอมาถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ท่านต้องมารับ "เบี้ยหวัด" ตามส่วนแบ่งอัตราเงินเดือน พล.ต. ชั้น ๓  ทั้งๆ ที่อายุของท่านเจ้าคุณเพิ่งจะ ๔๗ ปีเท่านั้น
นั่นแสดงว่าท่านเจ้าคุณได้ถูกปลดประจำการแล้ว   และ "ตามส่วนแบ่งอัตราเงินเดือน" ของทหารที่ปลดประจำการในขณะนั้นมีโครงสร้างอย่างไร
มีหลักมีเกณฑ์ หรือเป็นไปตามความพอใจของ "คณะราษฎร์"   ส่วนนี้ไม่ทราบว่าคุณ Siamese พอมีข้อมูลอยู่บ้างไหมครับ
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 07 ก.ค. 11, 15:09

เท่าที่เคยทราบมา

ผู้ถูกปลดจากราชการ (ไม่ว่าจะ "รับราชการมานาน" หรือ "หย่อนความสามารถ")
จะได้รับพระราชทานเงินเดือนกึ่งหนึ่งของเงินเดือนสุดท้าย

อย่างเจ้าคุณเสนีย์ณรงค์ฤทธิ์ ตำแหน่งสุดท้ายในระบอบเก่า คือผู้บัญชาการกองพลที่ ๔ (นครสวรรค์)
พอเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ถูกปลดจากราชการพร้อมนายพลในกองทัพบกอีกนับสิบท่าน
(เหลืออยู่แค่ 2 ท่านคือ ปลัดทูลฉลองกระทรวงกลาโหม และสมุหราชองครักษ์)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง