เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 9716 เรือนไทยมีห้องครัวแล้วนะคะ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 08 ก.ค. 11, 17:36

ถ้าคุณไปที่ www.google.com พิมพ์คำว่า "น้ำพริกกระท้อน"    ลงไป จะเห็นว่ามีวิธีทำอยู่หลายเว็บ   ดิฉันก็ไม่ทราบว่าตำรับไหนจะถูกใจคุณ  คงต้องเลือกเอง
แต่ดิฉันมีตำรับเก่าเรียกชื่อว่า น้ำพริกสะท้อนผัด  ใส้ส้มเหม็นด้วย แปลกดี     แล้วจะไปตั้งกระทู้ในห้องครัวค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 08 ก.ค. 11, 21:22

ลองเลย

http://www.google.co.th/search?hl=th&biw=1600&bih=689&q=น้ำพริกกระท้อน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 26 ก.ค. 11, 15:49



มัสหมั่น

       เมื่อเรามีห้องวิเสทนิยมแล้ว  จะไม่แวะมาอ่านและสนทนาก็เหมือนเด็กอยู่บ้านท้ายซอย

บ้านปากซอยเขามีโหมโรงกันตูม ๆ         ตัวยังไม่ออกจากบ้านแต่หัวใจมันโลดไปแล้ว


       หยิบหนังสือ ประติทินบัตร แล จดหมายเหตุ  ที่สำนักพิมพ์ต้นฉบับนำมาพิมพ์ใหม่

สนใจบรรณาธิการมานานแล้วเพราะนายนิล  เปรียญ บรรณาธิการ(ไม่สามารถทราบได้ว่าเป็นใคร)  มีตำราทำกับข้าวฝรั่งไม่น้อยเลยทีเดียว

สำนักพิมพ์ บางกอกประสิทธิการก็ตั้งอยู่ที่ แพขาว  ปากคลองวัดประยูรวงศาวาส  หน้าบ้านราชทูตของเจ้าคุณภาสกรวงษ์นั่นเอง

ทีนี้ ประติทินบัตร พิมพ์ขึ้นในปี ร.ศ. ๑๐๘  หรือ พ.ศ. ๒๔๓๒

ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ที่ถือกันว่าเป็นตำรากับข้าวเล่มแรกที่เป็นชิ้นเป็นอันที่สุดนั้นพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี ร.ศ. ๑๒๗ - ๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๑ - ๒๔๕๒) เอง

ทั้งนี้ทั้งนั้น  ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์เป็นผู้เขียนทั้งสองเล่มเอง   มีรายละเอียดแตกต่างกันนิด ๆ

จึงจะขอนำมาเล่าสู่กันฟัง  เรื่อง มัสหมั่น

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 26 ก.ค. 11, 16:48


มัสหมั่นไก่  ใน ประติทินบัตร แล จดหมายเหตุ


พริกแห้งหนัก     ๒ บาท
หอมหนัก        ๑๑ สลึง
ตะไคร้หนัก       ๑ เฟื้อง
รากผักชีหนัก    ๒  สลึง
ดอกจันหนัก     ๑ เฟื้อง

กระวานหนัก     ๑ เฟื้อง
อบเชยหนัก     ๑ เฟื้อง
พริกไทยหนัก   ๑ เฟื้อง
ยี่หร่าหนัก       ๑ เฟื้อง
ลูกผักชีหนัก     ๑ สลึง
เยื่อเคยหนัก     ๑ บาท

คั่วของเหล่านี้ในกระทะให้หอม  แล้วตำเป็นน้ำพริก

เอาน้ำมันหมูหนัก ๓ บาทใส่หม้อ  ใส่เนื้อไก่หนัก ๔๖ บาทตัดเป็นท่อนโต ๆเอาลงผัด  ใส่น้ำพริก  คนให้ทั่ว

ใส่น้ำกะทิ  น้ำกะทิหนัก  ๗๙​​  บาท  เคี่ยวไป

ใส่น้ำปลาหนัก ๕ บาทสองสลึง  น้ำตาลหม้อ ๕ บาท  น้ำส้มมะขามคั้นข้น หนัก ๑๐ บาท

ไก่จวนจะสุก  ใส่หอมหัวใหญ่ ๘ หัว  ถั่วยี่สงคั่วปอกเอาแต่เนื้อ   ใยกานพลูสด

ท่านผู้หญิงบอกว่า  แกงมัสหมั่นอย่างนี้เป็นของไทย


แขกเขาใช้น้ำมันเนยไม่ได้ใช้น้ำมันหมู   และเขาไม่ได้ใช้ตะไคร้ด้วย
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 28 ก.ค. 11, 09:17

อ่านตำราทำมัสหมั่นแล้วเกิดสงกะสัยใคร่รู้ว่า ส่วนผสมที่บอกเป็นน้ำหนักนั้น

หากเทียบมาตราส่วนที่ใช้กันในปัจจุบัน จะเท่ากับ กี่กรัม หรือ กี่ช้อนโต๊ะคะ

สงสัยมานานแล้วค่ะ ตำรา่ยาสมุนไพรเก่า ๆ ก็พูดน้ำหนักเป็น บาท สลึง เฟื้อง

ซึ่งคนรุ่นหลังจะคุ้นหูว่านั่นคือ ชื่อ ราคา หรือ ค่า เงินไทยโบราณ
บันทึกการเข้า
wayu
อสุรผัด
*
ตอบ: 9


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 28 ก.ค. 11, 09:46

ร้านทอง
เวลาซื้อเข้า..... ๑ บาท เท่ากับ ๑๕.๒๔ กรัม
เวลาขายออก... ๑ บาท เท่ากับ ๑๕.๒๔๔ กรัม


4 ไพ เป็น 1 เฟื้อง
2 เฟื้อง เป็น 1 สลึง
4 สลึง เป็น 1 บาท
4 บาท เป็น 1 ตำลึง
20 ตำลึง เป็น 1 ชั่ง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 28 ก.ค. 11, 14:55


ขออภัยค่ะ   ตั้งใจจะมาเล่าต่ออยู่

อัตราเทียบตวงด้วยภาชนะ


๑  ช้อนเกลือ  หนักประมาณ   ๑ เฟื้อง
๒ ช้อนเกลือ                     ๑ สลึง
๒ ช้อนกาแฟ                    ๒ สลึง
๒ ช้อนน้ำชา                    ๑ บาท
๒ ช้อนหวาน                    ๒ บาท
๔ ช้อนโต๊ะ                      ๘ บาท
๘ ช้อนโต๊ะ                      ๑ ถ้วยหูขนาดใหญ่รับประทานอาหารเช้า หนัก ๑๕ บาทเศษ
๑๖ ช้อนโต๊ะ                    ถ้วยแก้วสูงหนึ่งไปน์ ฤา ๑ ปอนด์ หนัก ๓๐ บาทเศษ



อัตราเครื่องตวง
๑๐๐    เมล็ดข้าว             เป็น        ๑ ใจมือ
   ๔    ใจมือ                              ๑ กำมือ
   ๔    กำมือ                             ๑ จังออน
   ๒    จังออน                            ๑ ทะนาน
 ๒๐    ทะนาน                            ๑ สัด
 ๔๐    สัด                                 ๑ บั้น
  ๒     บั้น                                ๑ เกวียน

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 19 คำสั่ง