Wandee
|
หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ
ณ วัดโสมนัสวิหาร
วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๙
ตำนาน กรมทหารบกราบที่ ๑ มหาเเล็กรักษาพระองค์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุวงศวรเดช
รายละเอียดมหาศาล มีชื่อบุคคลต่างๆมากมาย
นามบุคคลและสถานที่บางแห่งที่ทรงตรัสอ้างถึงย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วเป็นอันมาก
จะขอคัดลอกบางตอนที่หาอ่านยากมาฝาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 05 ก.ค. 11, 15:25
|
|
พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ลายพระหัตถ์หวัด) ราชสาสน
หลวงสรจักรนั้น ยังไม่ได้เป็นพันโท เพราะฉะนั้นตั้งเป็นพระ
ก็จะสูงเกินพวกพ้องไปสักหน่อย เอาเพียงจมื่นเห็นจะดีกว่า
เพราะฉะนั้นให้เปลี่ยนใหม่ เขียนสัญญาบัตรให้เป็น
จมื่นพัลลภพลาธิการ
ลายเซ็น
อ่าน การได้รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ ในหน้า ค
ปรากฎว่าได้รับพระราชทานเลื่อนจาก หลวงสรจักรานุกิจ เป็น จมื่นพัลลภพลาธิการ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๕
อีกสามปีต่อมาจึงได้เลื่อนเป็น พระพัลลภพลาธิการ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 05 ก.ค. 11, 15:40
|
|
สำเนาพระเสาวนีของสมเก็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ ๖
ถึงพระยาพิชัย ตามขอสินพรมานั้น สินนั้นฉันได้ให้เงิน ๘๐๐ บาท
ส่วนพรนั้นขอให้พระยาพิชัยรณรงค์สงคราม จงมีความเจริญด้วย
อายุ วรรณ สุข พละ จงทุกประการ
กับขอให้พระยาพิชัยจงจำไว้ว่าตัวเปนทหารมหาดเล็กอยู่เสมอ
และอย่าลืมว่าฉันเองก็เปนทหารมหาดเล็กผู้หนึ่งเหมือนกัน
พระราชเสาวนีดำรัสสั่ง
ณ วังพญาไท
วันที่ ๑๕ เมษายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๐
(รักษาตัวสะกดเดิม)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 05 ก.ค. 11, 15:57
|
|
ประวัติ
ชื่อเดิม ทองดี ชื่อสกุลเดิม จารุทัต
เปลี่ยนชื่อเป็นจารุทัต ชื่อสกุลเป็น พิชัยรณรงค์สงคราม
บิดาชื่อนายหรุ่น จารุทัต
มารดาชื่อ นางเทศ จารุทัต
เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๕
ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๙๕ ด้วยโรคตับวาย และไตไม่ทำงาน
รวมอายุ ๗๐ ปีบริบูรณ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 05 ก.ค. 11, 16:15
|
|
สมรสกับคุณหญิงพิศ พิชัยรณรงค์สงครามเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗
มีบุตรธิดาคือ
๑. นายสุหัท
๒. นายจักร์
๓. นางงามพิศ โชคิพุกกณะ
๔. นายสุวรรณลักษณ์
๕. นางทองเพ็ญ ปลีหจินดา
๖. นางฉันทนา อุตะมะโยธิน
๗. นางพราวพิศ พนมวัน ณ อยุธยา
๘. นางสาว สุภาพิศ พิชัยรณรงค์สงคราม
๙. นายคันชีพ
๑๐. นางสาวเพี้ยนพิศ พิชัยรณรงค์สงคราม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 05 ก.ค. 11, 16:18
|
|
เมื่อคุณหญิงพิศ ได้ถึงแก่กรรม ได้สมรสกับนางบุบผา พิชัยรณรงค์สงคราม มี ธิดาคือ
๑. กุณฑล
๒. กะมะลา
๓. ชะนิกา
๔. อาวระณี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 05 ก.ค. 11, 16:26
|
|
พลตรี พระยาพิชัยรณรงค์สงคราม และคุณหญิงพิศ พิชัยรณรงค์สงคราม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 05 ก.ค. 11, 16:45
|
|
ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูค่ะ
ชอบตอนท่านไปกราบทูลขอสินขอพรนะคะ
ในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เงิน แปดร้อยบาท ทำอะไรได้เยอะเชียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 05 ก.ค. 11, 17:48
|
|
๒. นายจักร์
ในวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๓ หรือ ร.ศ.๑๒๙ ตรงกับปีจอ บุตรชายคนที่ ๒ ของ พันตรีหลวงสรจักรานุกิจ (ทองดี จารุทัต) และนางพิศ จารุทัต ได้ถือกำเนิดขึ้น และต่อมาได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ประทานนามว่า "จักร"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 05 ก.ค. 11, 18:54
|
|
จมื่นพัลลภพลาธิการนั้นเป็นราชทินนามของผู้บังคับกองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งมีนายพันโทหญิง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ทรงเป็นผู้บังคับการพิเศษ เพราะเดิมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นปฐมผู้บังคับการกรมนี้ด้วยพระองค์เอง เมื่อมีพระราชกิจมากขึ้นจึงทรงมอบหมายให้ผู้ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นนายพันโท ผู้บังคับการกรมต่างพระองค์ โดยทรงเป็นผู้บังคับการพิเศษมาตลอดรัชสมัย
ถึงรัชกาลที่ ๖ ทรงเป็นนายพันเอกผู้บังคับการพิเศษ และทรงตั้งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ เป็นนายพันโท ผู้บังคับการ แล้วต่อมาล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงนำนายทหารในกรมทหาราบที่ ๑ เฝ้าฯ สมเด็จพระพันปีถวายเครื่องยศนายพันโท ผู้บังคับการพิเศษกองพันที่ ๒ จากนั้นจึงเป็นประเพณีสืบต่อมาที่สมเด็จพระบรมราชินีจะทรงดำรงพระยศเป็นนายพันโท ผู้บังคับการพิเศษกองพันที่ ๒ ต่อมา คือ นายพันโทหญิง สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี นายพันโทหญิง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี นายพันโทหญิง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 05 ก.ค. 11, 19:18
|
|
พระยาพิไชยรณรงค์สงครามนั้นเดิมก็เป็นบรรดาศักดิ์และราชทินนามของเจ้าเมืองสระบุรี ซึ่งเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา ชื่อเต็มคือ พระยาพิไชยรณรงค์สงคราม รามภักดีบดินทรนรินทรเสนา มหานิคมธานีศรีมไหศวรรย์ ศักดินา ๓,๐๐๐ ขึ้นกรมมหาดไทย http://th.wikipedia.org/wiki/ทำเนียบหัวเมือง 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 05 ก.ค. 11, 19:27
|
|
ถนนพิชัยรณรงค์สงครามที่สระบุรี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 06 ก.ค. 11, 08:57
|
|
พระนิพนธ์ของ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุวงศวรเดช
ทหารมหาดเล็กไล่กา
"ลำดับนั้นมีบุตรในราชตระกูล และข้าราชการที่ยังมีอายุย่อมเยาว์เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวังหลายคนด้วยกัน
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดเด็กพวกนั้นรวมกันฝึกหัดขึ้นเป็นทหารตามยุทธวิธีอย่างใหม่ในสมัยนั้น ทหารเด็ก ๆ
พวกนั้นเรียกว่า "ทหารมหาดเล็กไล่กา" คือสำหรับไล่กาที่บินมารบกวนข้าวสุกในเวลาทรงบาตร และตั้งแถวยืนรับเสด็จในที่นั้นทุกเวลาเช้า
มีจำนวนในขั้นแรกประมาณสัก ๑๒ คน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา
ภาณุพันธุพันธุวงศวรเดช แต่เมื่อยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์อยู่นั้น กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระยาเทววงศ์วโรปการแต่เมื่อดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าเทวันอุไทยวงศ์ ทั้งสองพระองค์ซึ่งในเวลานั้นยังทรง
พระเยาว์รุ่นราวคราวเดียวกัน เป็นนายทหารมหาดเล็กไล่กาพวกนั้นอันมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันทุกคน และผู้เป็นทหารมหาดเล็ก
พวกนี้ล้วนเป็นเด็กไว้ผมจุกโดยมาก อันควรนับว่าเป็นแต่ชั้นการเล่น ๆ หรือจะนับว่าเป็นแต่ชั้นนักเรียนทหารก็ดี
ถึงกระนั้น ทหารพวกนี้ก็ได้มีนามว่า "ทหารมหาดเล็ก" เป็นครั้งแรก และเป็นเหตุให้เกิดมีกรมทหารมหาดเล็กที่จริงจัง สืบเชื้อนาม
เป็นหลักฐานต่อมา"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 06 ก.ค. 11, 09:15
|
|
ทหารสองโหล
"ทรงพระราชดำริจัดมหาดเล็กข้าหลวงเดิมที่เฝ้าพระฉากเป็นทหารมหาดเล็กขึ้นอีกพวก ๑ เมื่อปลายปี ๒๔๑๑
ทหารมหาดเล็กข้าหลวงเดิมพวกนี้มีตัวทหารอยู่ ๒๔ คน จึงเรียกว่าทหารสองโหล มีนายทหารเป็นผุ้ควบคุม
อย่างชั้นนายหมู่ คือ นายเจียมมหาดเล็กข้าหลวงเดิมผู้หนึ่ง ซึ่งภายหลังได้เป็นพระพรหมประสาทศิลป
ทหารมหาดเล็กพวกนี้เดิมยังไม่มีหน้าที่รักษาการอันใด และไม่มีเวรผัดเปลี่ยนประจำการอย่างใด
ถึงเวลาเช้าเย็นก็มาประชุมฝึกหัดทหารเท่านั้น โปรดเกล้า ฯ ให้คัดเลือกนายทหารในกรมทหารหน้านายหนึ่งซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า "นายดาบ"
มาเป็นครูฝึกหัด คือ นายดาบเล็ก ซึ่งภายหลังได้เป็นนายพันตรี หลวงรัตรณยุทธ
ครั้นพ้นเวลาฝึกหัดแล้วก็เข้ามาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในพระบรมมหาราชวัง เมื่อถึงเวลาเสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
ก็มีตำแหน่งเฝ้าอยู่ในหมู่มหาดเล็ก กระทำราชการตามหน้าที่เดิมในพระฉาก
เมื่อการฝึกหัดเจริญขึ้นแล้ว โปรดเกล้า ฯ ให้เข้าแถวยืนรับเสด็จในเวลาเสด็จออกพระชาลาพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
และต่อมาได้มีหน้าที่การแห่ตามเสด็จณสถานที่ต่าง ๆ ด้วยกัน"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 06 ก.ค. 11, 09:53
|
|
คัดลอกโดยย่อ
ในปี ๒๔๑๓ พระยาสุรศักดิ์มนตรี จางวางมหาดเล็กได้คัดเลือกบุตรราชตระกูลและบุตรข้าราชการหนุ่ม ๆ
จากเวรมหาดเล็กทั้งสี่เวร คัดเลือกได้ ๗๒ คน ตั้งขึ้นเป็นกองมหาดเล็ก สำหรับรักษาพระองค์อย่างใกล้ชิด
เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยสนิทสนม ทหารสองโหลเดิมนั้นก็เข้ารวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย
ราชการนอกจากเข้ากระบวนตามเสด็จแล้ว มีการฝึกหัดเป็นพื้น
ครูฝึกหัดคือ นายดาบเล็กครูทหารเดิม
นายดาบเริก ต่อมาเป็น นายร้อยเอกหลวงวิชิตหาญศึก
นายดาบลี่ ภายหลังเป็นนายร้อยเอกขุนยุทธไกรรณการ
นายดาบรอด
การฝึกเป็นการฝึกทางยุทธวิธี คำบอกทหารเป็นอย่างอังกฤษ เหมือนอย่างเดิมซึ่งนายดาบพวกนี้ได้รับความรู้มาแต่ก่อนแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|