เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5524 มาตรา ชั่ง ตวง วัด
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



 เมื่อ 03 ก.ค. 11, 17:41

   ปรมาณูในพระพุทธศาสนา

   ๑  ธัญญามาส        เป็น        ๗     อูกา
   ๑  อูกา               เป็น        ๗     ลิกขา
   ๑  ลิกขา             เป็น        ๓๖    รถเรณู
   ๑  รถเรณู            เป็น        ๓๖    ดัชชารี
   ๑  ดัชชารี            เป็น        ๓๖    อณู
   ๑  อณู                เป็น        ๓๖   ปรมาณู

อ้างถึง - บุญมี เมธางกูร, ชีวิตภายหลังความตาย (หรือตายแล้วเกิดได้อย่างไร)

ดังนั้น ๑ ธัญญามาส จะมีเท่ากับ ๘๒,๓๐๑,๑๘๔ ปรมาณู
หรือ ๑ ปรมาณู จะเท่ากับ ๑.๒๑๔ (๑๐-๘) ธัญญามาส




บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 03 ก.ค. 11, 18:06

มาตราในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา ความว่า -

๓๖ ปรมาณู ซึ่งเป็นวิสัยแห่งทิพยจักษุเป็น ๑ อณู
๓๖ อณู เป็น ๑ ตัชชารี
๓๖ ตัชชารี เป็น ๑ รถเรณู
๓๖ รถเรณู เป็น ๑ ลิกขา
๗ ลิกขา เป็น ๑ อูกา
๗ อูกา เป็น ๑ ธัญญมาสะ คือเมล็ดข้าว
๗ ธัญญมาสะ เป็น ๑ อังคุลี คือนิ้ว
๑๒ อังคุลี เป็น ๑ วิทัตถิ คือคืบ
๒ วิทัตถิเป็นรตนะ คือศอก
๗ รตนะเป็น ๑ ยัฏฐิ
๒๐ ยัฏฐิ คือ ๑ เส้น
๑๕ วาเป็นอุสภะ
๘๐ อุสภะ คือ ๑๔๐ เส้น เป็น ๑ คาพยุต
๔ คาพยุต คือ ๕๖๐ เส้น เป็น ๑ โยชน์
๕๐๐ ชั่วธนู เป็น ๑ โกสะ
๔ อัมพนะ เป็น ๑ กรีสะ
๒๘ ศอก เป็น ๑ อัพภันตระ

อ้างถึง - พระอมราภิรักขิต (เกิด) วัดบรมนิวาส, บุพพสิกขารรณนา
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 03 ก.ค. 11, 18:23

1 นาโนเมตรจะมีขนาด หนึ่งส่วนพันล้านของหนึ่งเมตร คือ 10-9 เมตร
ขนาดที่เล็กที่สุดที่สายตาของมนุษย์จะมองเห็นได้ คือ 10,000 นาโนเมตร หรือ 10-5 เมตร คือ 0.01 มิลลิเมตร
ดังนั้น 1 ปรมาณู จะมีความยาว 0.01/36 = 0.000278 มิลลิเมตร ซึ่งก็เท่ากับ 2.78(10-7) เมตร

ขนาดของอะตอมของไฮโดรเจนประมาณ 10-10 เมตร
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 03 ก.ค. 11, 19:58

- ภิกษุใดถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมยได้ราคา ๕ มาสก ภิกษุนั้นเป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
(คู่มือธรรมทายาท ฉบับวัดพระธรรมกาย)

- อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของเขามิได้ให้ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาทั้งหลายจับโจรได้แล้ว ประหารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่าเจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ดังนี้ ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
(พระมหานิ่ม วัดสุทัศนเทพราราม, พระบาฬี พระภิกษุปาติโมกข์ ภิกษุณีปาติโมกข์ และคำแปลภาษาไทย, ๒๔๕๘)

- ในอทินนาทานสิกขาบทที่ ๒ ความว่า ภิกษุใดลักเองหรือใช้ให้ผู้อื่นลัก ซึ่งทรัพย์ข้าวของที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต มีราคาแต่บาทหนึ่งขึ้นไป ด้วยบาทแห่งมคธประเทศ ทีตั้งอยู่ ณ บ้านหรือในป่า หรือตั้งอยู่ในน้ำ ในบก ในอากาศ ในที่ใดๆ ก็ดี อันมีเจ้าของหวงแหนอยู่ด้วยเถยยจิต โดยอาการแห่งการลักต่างๆ คือฟ้องร้อง เบียดบัง หลอกลวง สับเปลี่ยน ฉ้อชิง ข่มเหง ขว้างทิ้ง ใดๆ ก็ดี ภิกษุนั้นเป็นปาราชิก
(บุพพสิกขาวรรณนา)

จะวิเคราะห์หาค่าแห่งทรัพย์ ๕ มาสกหรือบาทหนึ่งนั่นแหละครับ ... อ้างคัมภีร์ซะยืดยาว ...
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 ก.ค. 11, 21:00

... ก็แลบาทในอทินนาทานนั้น โดยบาลีว่า ๕ มาสกเป็นบาทหนึ่งในเมืองราชคฤห์ในครั้งนั้น เพราะบาลีว่า เตน โข ปน สมเยน ราชคเห ปญฺจมาสโก ปาโท โหติ ดังนี้ เมื่อจะรู้จักมาสก พึงรู้มาตราในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา ว่า จตฺตาโร วิหโย กุญฺชา เทว กุญฺชา มาสโก ภเว ดังนี้ก่อนว่า หนัก ๔ เมล็ดข้าวเปลือกเป็น กุญชา คือกล่ำน้อย หนัก ๒ กุญชา เป็นมาสก คือถั่วขาวก็ว่า ๕ มาสกนั้นเป็นบาทหนึ่ง มาตรานี้เป็นกลางจะใช้ในทอง และก และเงิน และวัตถุใดๆ ก็ได้

มาสกในบาลี จะเป็นมาสกแห่งทองหรือนากหรือเงิน ก็ไม่กล่าวไว้ในบาลีและอรรถกถา แต่ในอรรถกถากล่าวว่า ๒๐ มาสกเป็นกหาปณะหนึ่ง เพราะเหตุนั้น ๕ มาสก ซึ่งเป็นส่วนที่ ๔ แห่งกหาปณะจึ่งเป็นบาทหนึ่งในเมืองราชคฤห์ในครั้งนั้น

และท่ากล่าวต่อไปว่าโดยลักษณะนั้นในชนบททั้งปวง ให้พึงรู้ส่วนที่ ๔ แห่ง นีลกมหาปณะ เป็นของเก่า เป็นบาทหนึ่ง ใช่ส่วนที่ ๔ แห่งกหาปณะอื่น มีรุทรทามกกหาปณะเป็นต้น แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอดีตอนาคต ท่านก็บัญญัติปาราชิกด้วยบาทซึ่งเป็นส่วนที่ ๔ แห่งนีลกหาปณะนั้น ...

(อ้างถึง - บุพพสิกขารรณนา)

ทำให้ทราบว่ากหาปณะหนึ่งก็แค่ ๔ บาทเท่านั้นเอง ...
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 04 ก.ค. 11, 12:48

แต่ในฎีกาห่งอุตตรินิจฉัยบอกตำราทำนีลกหาปณะและประมาณราคาบาทไว้ดังนี้ว่า กหาปณะที่เจือกันนั้นแลชื่อว่านีลกหาปณะ ด้วยวาลักษณะต้องตามตำราเก่า ย่อมปรากฎอยู่ในนีลกหาปณะนั้นแท้ ให้เอาทอง ๕ มาสก เงิน ๕ มาสก ทองแดง ๑๐ มาสก เป็น ๒๐ มาสกด้วยกัน ผสมกัน ปนโลหะคือเหล็กสักเมล็ดข้าวเปลือกหนึงด้วยเพื่อจะประนเนื้อ เอาลงเบ้าหลอม ทำเป็นรูปตีตราอักษรและรูปเท้าช้างเป็นต้นอันใดอันหนึ่งลงไว้ นี้แลชื่อว่านีลกหาปณะเพราะเป็นของไมมีโทษ ในประเทศใดนีลกหาปณะนั้นไม่มี ในประเทศนั้นให้เอาทองหนัก ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือกเป็นราคา ๑ บาท

ภิกษุลักของราคาเท่าราคาทองหนัก ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือก เป็นปาราชิก ...

...

ทองหนัก ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๕ กล่อม คิด ๑๖ หนักเป็นเงินสองสลึงเฟื้องในสยามประเทศนี้เป็นบาท ๑ ในอทินนาทานสิกขาบท ตามอุตตรินิจฉัยฎีกา
ก็แลของในสยามประเทศนี้ราคาไม่ยั่งยืน บางคราวขาย ๑๖ หนักบ้าง ๑๗ หนักบ้าง บางคราวขาย ๑๘ หนักบ้าง ๑๙ หนักบ้าง ซึ่งคิดมาแต่ ๑๖ หนักนี้เพื่อจะให้สมกันกับนีลกหาปณะซึ่งท่านบอกตำราไว้นั้น ...

(บุพพสิกขาวรรณนา)



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 04 ก.ค. 11, 12:56

มาว่ากันต่อเรื่องมาตราชั่ง ...

๒   เมล็ดงา             เป็น   ๑   เมล็ดข้าวเปลือก
๔   เมล็ดข้าวเปลือก  เป็น   ๑   กล่อม   เป็น   ๑   พัส
๒   กล่อม               เป็น   ๑   กล่ำ     เป็น   ๒   พัส    เป็น   ๑   อัฐ
๒   กล่ำ                  เป็น   ๒   อัฐ      เป็น   ๑    ไพ
๔   ไพ                   เป็น   ๑   เฟื้อง
๒   เฟื้อง                เป็น   ๑   สลึง
๔   สลึง                 เป็น   ๑   บาท
๔   บาท                 เป็น   ๑   ตำลึง
๒๐  ตำลึง               เป็น   ๑   ชั่ง
๒๐  ชั่ง                  เป็น    ๑   ตุล
๒๐  ตุล                  เป็น    ๑   เภภ

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 ก.ค. 11, 13:11

ในที่นี้ผมจะใช้ทองคำแท่งบริสุทธิ์ 96.5 % ตามมาตรฐานในประเทศไทย เป็นหลักในการคำนวณ ซึ่งหนัก 15.244 กรัม

น้ำหนัก 1 บาท จะเท่ากับน้ำหนักข้าวเปลือก 512 เมล็ด เท่ากับ 15.244 กรัม ดังนั้นข้าวเปลือก 20 เมล็ด จะมีน้ำหนักเท่ากับ 15.244/512*20 = 0.595 47 กรัม หรือประมาณ 0.6 กรัม

ราคาทองคำแท่งรับซื้อวันนี้ (๔ กรกฏาคม ๒๕๕๔) เท่ากับ 21,500 บาท

ดังนั้นราคาทองน้ำหนักเท่ากับข้าวเปลือก ๒๐ เมล็ด เท่ากับ 0.59547/15.244*21500 = 839.84 บาท

ความเห็นเรื่องการลักทรัพย์ของภิกษุอันมีค่าตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไปจากเวปของวัดสามแยก


http://www.samyaek.com/board2/index.php?topic=1791.0

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 04 ก.ค. 11, 13:22

มาดูที่มาตราตวงบ้าง

๑๕๐    เมล็ดข้าวเปลือก     เป็น     ๑     หยิบมือ
๔        หยิบมือ             เป็น     ๑     กำมือ
๔        กำมือ               เป็น     ๑     ฟายมือ
๒        ฟายมือ              เป็น     ๑     กอบมือ
๔        กอบมือ              เป็น     ๑     ทะนาน
๒๐      ทะนาน               เป็น     ๑     สัด
๕๐      สัด                   เป็น     ๑     บั้น
๒        บั้น                   เป็น     ๑    เกวียน

เครื่องอุปกรณ์การตวง   http://www.oknation.net/blog/print.php?id=682501

  
บันทึกการเข้า
konkao
ชมพูพาน
***
ตอบ: 125


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 04 ก.ค. 11, 14:11

เอามาฝากจ้า (ภาคเครื่องวัด)

http://www.oknation.net/blog/kru-podjanard/2011/04/15/entry-1

(ภาคเครื่องตวง)

http://www.oknation.net/blog/kru-podjanard/2011/01/29/entry-1

(ภาคเครื่องชั่ง)

http://www.oknation.net/blog/kru-podjanard/2010/11/14/entry-1
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 04 ก.ค. 11, 15:38

สิ่งที่แย่ที่สุดสมัยที่ยังเป็นนักเรียนคือ เริ่มต้นเรียนด้วยหน่วยวัดไทยและหน่วยวัดระบบ BS ในวัยเด็ก มาต่อด้วยหน่วยวัดระบบ mks สมัยมัธยม และมาเกือบตายด้วยหน่วยวัดระบบ SI ผสมระบบ mks กับ BSสมัยเรียนมหาวิทยาลัย

ต้องแปลงหน่วยกันวุ่นไปหมด

ยกตัวอย่างหน่วยวัดผสมผสานอย่างลงตัวมากๆ คือการซื้อขายไม้ท่อน เรียกกันเป็น "ยก" หน้าตัดไม้วัดด้วยหน่วย "นิ้ว" ความยาวของไม้วัดด้วยหน่วย "เมตร"

แผ่นไม้อัดวัดความหนาด้วยหน่วย "มิลลิเมตร" วัดขนาดความกว้างยาวด้วยหน่วย "ฟุต"

หน่วยวัดแรงอัด แรงดันของอากาศและน้ำ วัดด้วยหน่วย ปอนด์/ตารางนิ้ว (psi)ก็ได้ บาร์ (bar) ก็ได้ กิโลกรัมต่อตารางมิลลิเมตร (kg/cm 2) ก็ได้ ปาสกาล (Pascal or N/mm 2)ก็ได้

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง