เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5653 คุณหญิงเหรียญ ภาษาปริวัตร
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 02 ก.ค. 11, 10:10



       คุณหญิงเหรียญ  เกิดปี พ.ศ. ๒๔๓๗

เป็นธิดาคหบดี   บิดาชื่อ  นายกัก   มารดาชื่อ  นางฮวยจิ๋น

พี่สาวใหญ่คือ คุณหญิงเกษร  พิทักษ์ชลหาร

พี่ชายคือ  นายแสง  ธนบดี

คุณหญิงเป็นน้องคนเล็ก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 02 ก.ค. 11, 13:35


ถึงบิดามารดาจะมีเชื้อจีน  แต่ครอบครัวก็ใช้ชีวิตแบบไทย

คุณหญิงโกนจุกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐  อายุ ๑๓ ปี

ฐานะทางบ้านคงดีมากเพราะหนูเหรียญใส่เสื้อคอตั้งแขนยาว
จุกนั้นปักปิ่นอันโต   ห้อยเสมา  คาดเข็มขัดมีหัวประดับเพชรพลอย
ใส่กำไลก้านแข็งข้างละ ๔ วง  แหวนแปดนิ้ว   กำไลเท้าข้างละ ๔ วง
และใส่รองเท้าแบบตะวันตกด้วย

ท่านสมรสเมื่ออายุ ๑๖ ปี

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 02 ก.ค. 11, 14:08



หนังสืออนุสรณ์ไม่ได้เล่าถึงท่านเจ้าคุณ  ผู้รับราชการอยู่กระทรวงต่างประเทศ

แต่คุณทวีสุข  อิศรเสนาบุตรสาว  ได้เขียนถึงชีวิตครอบครัวในต่างประเทศไว้อย่างน่าสนใจ


คุณหญิงเหรียญมีบุตรีสองคนคือ

๑.  นางถวิล   โมกขะเวส  ภรรยา นายแพทย์ประชา
     
     มีบุตรธิดาคือ

     ๑.๑  พันเอก นายแพทย์ สุปรีชา  โมกขะเวส  สมรสกับ น.ส. สุมัณฑนา  ลำ่ซำ

     ๑.๒  น.ส. จินตนา  โมกขะเวส

     ๑.๓  นางสุชาดา  ภรรยา  นายอภิพงศ์  ชัยนาม
 
   

๒. นาง พิสูจน์พาณิชยลักษณ์(ทวีสุข)  ภรรยาหลวงพิสูจน์พาณิชยลักษณ์
   
    มีบุตรธิดาคือ
   
    ๒.๑   นางพัชรี  ไกรจิตติ  ภรรยานายสรรเสริญ

    ๒.๒   นางรัชดา   อิศรเสนา  ณ อยุธยา

    ๒.๓   นางสาวกัลยา   อิศรเสนา  ณ อยุธยา

    ๒.๔   นาย  พชร  อิศรเสนา  ณ อยุธยา   ภรรยาคือ ม.ล. สุรธีร์  เกษมศรี

    ๒.๕   นายพิรัฐ  อิศรเสนา  ณ อยุธยา    สมรส  นางมัทนะพาธา  วรมิศร์

    ๒.๖   นางมารินา   เวชชาชีวะ   ภรรยานายนิสสัย  เวชชาชีวะ

    ๒.๗   นางสร้อยสุดา  สุวรรณทัต  ภรรยานาย สถวิระ

    ๒.๘   นายพิพัฒนชัย   อิศรเสนา  ณ  อยุธยา

    ๒.๙   นายฉิมชยันต์  อิศรเสนา  ณ​อยุธยา  สมรสกับ น.ส. กัญจนารักษ์  เจริญชัย


รายนามหากผิดพลาดประการใด       กราบขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ที่นำเรื่องราวของท่านผู้ใหญ่มาลงก็เพื่อให้ความรู้เรื่องราวในอดีตและการใช้ชีวิตในต่างประเทศ


สายสกุลของคุณหญิงเหรียญ   มีเหลนถึง ๒๑  ราย  และมี โหลน หรือ ลื่อ ๑ ราย

ตามที่ลงไว้ในหนังสืออนุสรณ์

ถ้าเราไม่ศึกษาหาความรู้ในเรื่องสกุลวงศ์ของข้าราชการไทย  ก็ต้องไปหาอ่านในประเทศญี่ปุ่น และล่าสุดก็

ประเทศออสเตรเลียที่เข้ามากว้านหนังสืออนุสรณ์ของเรา  รับไม่อั้น  ในราคาเล่มละ ๑๐๐๐ บาท

หนังสืออนุสรณ์เหล่านี้   ดิฉันรวบมาจากกล่องหนังสือที่กำลังจะส่งไปต่างประเทศ

ได้กำชับสหายทั้งปวงว่า  ขอให้เก็บไว้ให้คัดเลือกก่อน

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 02 ก.ค. 11, 14:17



การตามหาหนังสืออนุสรณ์นั้น   หนึ่งต้องการเรื่องที่นำมาลง  ถ้าเป็นเรื่องที่หายาก  ไม่ได้พิมพ์มานาน  จัดเป็นเลิศ

ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือประวัติท่านผู้วายชนม์  และ สกุลวงศ์


บทความที่ คุณ พชร  อิศรเสนา  ณ อยุธยา นำมาลงเป็นบทความลงในหนังสือพิมพ์ข่าวพานิชย์

ระหว่างปี ๒๕๑๗ -  ๒๕๑๙  ต่อมาได้จัดพิมพ์เป็นเล่ม

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 02 ก.ค. 11, 19:31


คุณทวีสุข  อิศรเสนา  เล่าไว้ค่ะ


        "คุณพ่อเป็นข้าราชการกระทรวงต่างประเทศ   ต้องย้ายไปประจำในต่างประเทศหลายแห่ง

เราสามคนแม่ลูก  ก็ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลติดตามคุณพ่อไป        ครั้งแรกคุณพ่อไปเป็นอุปทูตประจำสถานทูตที่กรุงโตเกียว

เวลานั้นข้า ฯ อายุ ๗ - ๘ เดือน  คุณแม่ติดตามไปไม่ได้เพราะลูกยังเล็กอยู่    ต่อมาอีกสี่ปี  คุณพ่อได้เป็น

กงสุลใหญ่ประจำกัลกัตตา  ประเทศอินเดีย  คุณพ่อจึงเดินทางล่วงหน้าไปก่อน ๔ - ๕ เดือน    คุณแม่กับเราสองคน

จึงเดินทางออกตามไปถึงเมืองสิงคโปร์   ไม่มีเรือเดินทะเลที่จะเดินทางต่อไปถึงกัลกัตตา  เพราะเวลานั้นอยู่ในระหว่าง

สงครามโลกครั้งแรกและมีเรือใต้น้ำเยอรมันชื่อ "เอ็มเด็น" เข้ามาอาละวาดในมหาสมุทรอินเดีย   พวกเรือโดยสารที่

เคยเดินในแถบนั้นกลัวเรือเอ็มเด็น  ก็หยุดเดิน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 02 ก.ค. 11, 19:42



คุณพ่อโทรเลขมาบอกให้กลับกรุงเทพเสียเถิด  อย่ามาเสี่ยงอันตรายเลย     แต่คุณแม่ตั้งใจมั่นว่าต้องไป

ให้ถึงกัลกัตตาให้จงได้     เราต้องไปพักอยู่กับคุณลุงเส็ง  ซึ่งเป็นนักธุรกิจการค้าที่สิงคโปร์ถึงสามเดือน

คุณพ่อจึงให้เลขานุการสถานกงสุลมารับ      เราสามคนแม่ลูกก็ผจญภัยไปในทะเล    กลางคืนเรือต้องปิดไฟหมด

อยู่ที่กัลกัตตาสามปีแล้วกลับมากรุงเทพ    ไปพักอยู่กับคุณยายที่ตลาดน้อย  ซึ่งเป็นตึกใหญ่โบราณบริเวณกว้างขวาง

อยู่ได้ปีเดียวถึง พ.ศ. ๒๔๖๔  คุณพ่อได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาสถานทูตปารีส   เราก็อพยพไปปารีส    ท่านราชทูตคือ

พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์  กฤดากร

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 02 ก.ค. 11, 19:46



(เรื่องเรือ เอ็มเด็น นั้น    หนังสือเก่าของไทยเขียนไว้หลายเล่ม

มีบทความเรื่องประวัติเรือและประวัติผู้บังคับการพร้อมมูล

เมื่อว่างจะรวบรวมมาเล่าสู่กันฟัง)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 ก.ค. 11, 19:59



       สถานทูตไทยกรุงปารีสสมัยนั้น  เป็นชุมทางเจ้านายเสด็จผ่านไปมามิได้ขาด    คุณพ่อเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

ในสถานทูตก็มีโอกาสเฝ้าและรับใช้ทุกพระองค์        ต้องขอประทานเอ่ยพระนาม

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี  พระบรมราชินีในรัชกาล 

ซึ่งเสด็จประทับแรมที่ตำหนักที่ตำบล St. Clouds   ทรงพระเมตตาโปรดเกล้าให้คุณพ่อคุณแม่เฝ้าและร่วมโต๊ะเสวยเสมอ

ทูลกระหม่อมสมเด็จเจ้าฟ้าวไลอลงกรณ์   สมเด็จพระบรมชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี    สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวง

ลพบุรีราเมศร์     เสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครราชโบธิน และ พระองค์เจ้าหญิงประภาวสิต   เสด็จในกรมทรงเอื้อ

เจ้าคุณพ่อเป็นพิเศษ  เพราะทรงคุ้นเคยมาก่อนไปอยู่ปารีส   ทรงรู้จักตั้งแต่เจ้าคุณพ่อไปประจำที่ญี่ปุ่น

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 03 ก.ค. 11, 06:52

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี  พระบรมราชินีในรัชกาล 

ซึ่งเสด็จประทับแรมที่ตำหนักที่ตำบล St. Clouds   

ความตอนนี้น่าจะเป็น  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี  พระบรมราชินี  มากกว่าครับ

เพราะตลอดพระชนม์ชีพล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เคยเสด็จผ่านอินเดียเพียงครั้งเดียวเมื่อคราวเสด็จออกไปทรงศึกษาที่อังกฤษ พ.ศ. ๒๔๓๖  และเมื่อเสด็จกลับกรุงเทพฯ ใน พ.ศ. ๒๔๔๕  จตราบจนได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นเวลา ๑๕ ปี ก็ได้เสด็จต่างประเทศเพียงครั้งเดียว  คือเสด็จประพาสมลายูเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗     
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 03 ก.ค. 11, 11:24


ขอบพระคุณคุณวีมีค่ะ   เป็นความผิดของดิฉันเอง



ที่ว่าคุณแม่ได้เคยรับใช้เจ้านายนั้น  ก็คือไปเฝ้า    และที่ทำอยู่เสมอก็คือ  จะทรงโปรดเสวยอะไรก็ได้ทำถวายอยู่เป็นเนืองนิจ

แม้แต่ข้าราชการในสถานทูตสมันนั้น  เช่นเจ้าคุณศรีวิสารวาจา   เจ้าคุณราชวังสัน   หลวงวิจิตรวาทการเป็นต้น

ก็มารับประทานอาหารกันเสมอ  โดยมากเป็นเวลาอาหารค่ำ   คุณแม่ชอบทำอาหารไทยทุกมื้อเย็น

จึงมีใจคิดถึงคนโน้นคนนี้   ใครจะขึ้นมาหาใกล้เวลาเราจะรับประทานก็ชวนให้อยู่     บางเวลาพวกนักเรียนบางคนว่าง

ก็ขึ้นมาช่วยทำอาหารเลี้ยงกันอยู่เสมอ  อาทิคุณควง  อภัยวงศ์   คุณหลวงประดิษฐมนูธรรม  คุณหลวงคหกรรมบดี

ส่วนเจ้านายที่ยังทรงศึกษาในระยะนั้น  ก็ยังมีหลายองค์   เสด็จในกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาท    หม่อมเจ้าขจรจบกิติยากร

(ทรงศึกษาที่ดรงเรียนนายร้อย)   หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร (ท่านปู่แก่พรรษาอยู่ในปารีส  ทรงเรียนที่ Beaux Arts)

เจ้ากาวิละ ณ เชียงใหม่ และ คุณหลวงสุรณรงค์ ซึ่งประทับเรียนและอยู่ในปารีสเสด็จขึ้นมาเยี่ยมพวกเรา  และทรงกรุณา

มาเสวยด้วยเสมอ     คุณพ่อท่านก็เปิดบ้านรับแขกอยู่เรื่อย (สมัยนั้นไม่มีผู้ดูแลนักเรียน)       ยิ่งเป็นระยะปิดเทอมปลายปี

จะขึ้นปีใหม่  นักเรียนในฝรั่งเศสและนักเรียนอังกฤษข้ามมาฝรั่งเศสกันมาก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 03 ก.ค. 11, 11:43



โดยเฉพาะในวันขึ้นปีใหม่  ตรงกับวันเฉลิมพระชนม์พรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖   

ทางสถานทูตก็เปิดทำเนียบเลี้ยงเป็นงานประจำปี   ในระยะนั้น  ตอนบ่ายเวลาน้ำชา   นักเรียนโดยมากต่างก็ขึ้นมาที่บ้าน

เพื่อเยี่ยมคารวะเจ้าคุณพ่อ      คุณแม่ก็ทำขนมน้ำชาเลี้ยง   บางวันใครที่ยังไม่กลับจนค่ำก็รับประทานข้าวกันต่อเป็นที่สนุกสนาน

เจ้าคุณพ่อมีเรื่องเล่าคุยให้แขกฟังมากมาย   ตรงข้ามคุณแม่ส่วนมากชอบฟังเขาคุย         เจ้านายที่เสด็จจากอังกฤษก็มี

พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา  ทรงคุยเก่งมาก   บางวันเสด็จมาเสวยอาหารกลางวัน  ประทับจนบ่ายเวลาน้ำชา 

ต่อจนค่ำจนได้เวลาก็เสด็จไปเสวยข้างนอกโดยเชิญเจ้าคุณพ่อไปต่อ      คุณแม่เป็นผู้หญิงไทยก็ชอบอยู่แต่ในบ้าน

ออกไปบางครั้งบางคราวถ้าคณะทูตเชิญคู่

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 03 ก.ค. 11, 15:27



 
     ในระหว่าง ๕ ปีที่อยู่นั้น  ได้ย้ายไปประเทศอิตาลีชั่วคราว   โดยเจ้าคุณพ่อไปเป็นอุปทูตที่ประเทศนั้น   

หลังจากท่านราชทูตเจ้าคุณพิพัฒน์โกษาสิ้น   และยังไม่ได้แต่งตั้งทูตคนใหม่   เราสามคนก็ตามไป 

คุณแม่ก็เริ่มเรียนภาษาอิตาเลี่ยน  ส่งภาษากับกุ้ก(ผู้หญิง) เพราะต้องทำกับข้าวไทยอย่างที่เคยตอนเย็น

เจ้าคุณพ่อไปเป็นอุปทูตได้หนึ่งปี   ทางการก็แต่งตั้งเจ้าคุณสรรพกิจปรีชาเป็นราชทูต  ซึ่งอาวุโสกว่า

(ข้าฯ เรียกเจ้าคุณลุง  เพราะท่านใจดีมาก)     เจ้าคุณลุงมาที่บ้านเราเป็นประจำทุกครั้งที่ข้ามมาจากอังกฤษ

ก่อนไปเป็นทูตที่อิตาลี


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 03 ก.ค. 11, 15:33



       ระยะตอนท้ายในชีวิตราชการของเจ้าคุณพ่อ   เสด็จในกรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย (พระองค์เจ้าไตรทศประพันธุ์  เทวกุล)

ซึ่งเวลานั้นทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ  ทรงเป็นทั้งเจ้านายและเพื่อน   ได้ทรงแต่งตั้ง

ให้เจ้าคุณพ่อไปเป็นราชทูตประจำเยอรมัน    แต่เจ้าคุณพ่อเกิดป่วยก็เลยต้องกลับเมืองไทย

อีก ๓ ปีต่อมา   คุณแม่ท่านก็เป็นหม้ายเมื่ออายุได้  ๓๒
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง