เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 10748 '' นครนายก '' ....... ชื่อนี้มีที่มา ????
bangplama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 01 ก.ค. 11, 07:54

แม่ ยก .. ยิงฟันยิ้ม

หลัง๓ก.ค.อาจมี พ่อ ยก ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
bangplama
ชมพูพาน
***
ตอบ: 168



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 05 ก.ค. 11, 11:21

น่าสงสารนครนายกที่จะถูกเบียดตกขอบ
เลยขอมากอบกู้กระทู้ไว้สักสัปดาห์
ถ้าหาประเด็นใหม่ๆไม่ได้ก็คงปล่อยไปตามระเบียบครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 05 ก.ค. 11, 11:55

มาต่ออายุให้กระทู้อีกคนค่ะ

ยกบัตร
คุณหลวงยกบัตร .....

เกี่ยวกับ ยกเว้นการเก็บอากรค่านา ป่ะ... ยิงฟันยิ้ม

ขออ้างรอยอินตามเคย

ยกกระบัตร   (โบ) น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับ อรรถคดีตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงานรักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียนเป็น ยุกกระบัตร ก็มี.

ถ้าเขียนเป็น ยุกกระบัตร ได้  คำว่ายก ในที่นี้คงไม่ได้แปลว่า เว้น?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 05 ก.ค. 11, 11:59

ศาสตราจารย์ นพ. วิจารณ์ พานิช เขียนในเรื่อง ยุกระบัตร / ยกระบัตร / ยกกระบัตร ไว้ว่า

คำว่า ยุกระบัตร นั้นในพระไอยการอาชญาหลวงเขียนว่า ยุกรบัตร ซึ่งควรถือว่า เป็นคำที่เก่าที่สุดและถูกต้องที่สุด พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร ทรงสันนิษฐานไว้ทางหนึ่งว่า คำว่า ยุกฺต ใช้เรียกข้าราชการชั้นอาลักษณ์ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ตำแหน่งดังกล่าวไม่ได้มีความสำคัญเหมือนตำแหน่งยุกระบัตรของไทย คำว่า ยุกฺต ในภาษาอังกฤษแปลได้หลายความหมาย รวมทั้ง “ถูกต้อง, เหมาะสม, สมควร, อันพิสูจน์แล้ว” (right, fit, proper, proved) ตรงกับคำบาลีว่า ยุตฺต แปลว่า อันควร, สมควร ดังปรากฎความในพระธรรมศาสตร์ว่า “ยุตฺตายุตฺตชานโก” ซึ่งโบราณาจารย์แปลว่า “มีปกติรู้ซึ่งลักษณะอันควรแลมิได้ควร” ข้อความนี้สำคัญเพราะตรงกับหน้าที่หลักของยุกระบัตรในเรื่องของการวินิจฉัยข้อกฎหมายและการตัดสสินความว่า สิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควร  ส่วนคำว่า บัตร นั้นเพี้ยนมาจากคำว่า “บาตร” แปลว่า “ที่ปรึกษา, อมาตย์ของพระเจ้าแผ่นดิน” (king’s counseller or minister) โดยอนุโลมหมายถึง ข้าราชการของพระเจ้าอยู่หัว คำว่า ยุกฺต + บาตร จึงมีนัยได้ทั้งคุณสมบัติและหน้าที่ กล่าวคือ ๑ ข้าราชการของพระเจ้าอยู่หัวผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม และ ๒ เป็นข้าราชการผู้พิจารณาว่า สิ่งใดควรและสิ่งใดไม่ควร

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 05 ก.ค. 11, 14:52

^ ตามที่คุณหมอวิจารณ์  พานิช เขียนถึงที่มาของคำว่า ยุกรบัตร
โดยอ้างพระดำริของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ นั้น
น่ารับฟังอยู่  แต่...

ตามการสันนิษฐานที่ว่า ยุกรบัตร มาจาก คำว่า ยุกฺต + บาตร
ลำพังฟังจากข้อสันนิษฐานอาจจะเป็นไปได้  แต่ก็ไม่พบว่า
มีหลักฐานอะไรที่แสดงให้เห็นว่า  ในดินแดนแถบนี้เคยใช้คำว่า ยุกฺต + บาตร
(ยุกฺตบาตร) ในความหมายที่ไปในทำนองเดียวกับ ยุกรบัตร เลย
และโดยธรรมชาติของคนในแถบนี้  แม้จะได้รับเอาคำภาษาบาลีสันสกฤตมาใช้อยู่มาก 
แต่ก็มักไม่นิยมสร้างคำขึ้นมาใหม่  เพื่อให้มีความหมายใหม่ใช้ขึ้นโดยเฉพาะ
ถึงจะมีการประสมคำ  ก็ประสมคำที่มีใช้อยู่แล้ว  ส่วนคำใดที่ไม่มีที่ใช้
หรือไม่เคยใช้อยู่ก่อน  อยู่ดีๆ จะเอามาประสมขึ้นเป็นคำใหม่  ย่อมไม่ใช่ธรรมชาติ
ของการสร้างคำใหม่ขึ้นใช้ของคนโบราณในดินแดนแถบนี้

อีกทั้ง การกล่าวว่า "คำว่า ยุกระบัตร นั้นในพระไอยการอาชญาหลวงเขียนว่า ยุกรบัตร
ซึ่งควรถือว่า เป็นคำที่เก่าที่สุดและถูกต้องที่สุด"  ก็ไม่น่าจะเป็นวิธีการที่ถูกต้อง
แต่ควรถือว่า  เป็นรูปคำเก่าที่สุดเท่าที่พบในเอกสารโบราณ  (แต่อาจจะถูกต้องหรือไม่ก็ได้
ซึ่งโอกาสที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากรูปคำดั้งเดิมมีสูงมาก  เนื่องจากคนสมัยก่อน
มักเขียนหรือสะกดคำตามที่อ่านออกเสียง  ยิ่งต่างคนต่างเขียนด้วยแล้ว
ยิ่งมีรูปคำแตกต่างกันไปตามความเข้าใจและการอ่านออกเสียงคำนั้นๆ 
คำคำเดียวอาจจะเขียนได้หลายแบบ  สุดแต่ใครจะเขียนอย่างไร  หรือเรียนมาแต่ครูคนใด)
การสันนิษฐานดังกล่าวอาจจะทำให้หลงทางได้  ทั้งนี้เพราะในกฎหมายตราสามดวง
หรือในเอกสารโบราณอื่นๆ ก็เขียนยุกรบัตรได้หลากหลายแบบ

จำได้ว่า จิตร ภูมิศักดิ์  เคยกล่าวว่า  คำว่ายุกรบัตรนี้ ไทยเอามาจากวัฒนธรรมเขมร
แต่น่าเสียดายที่จิตรไม่ได้แสดงตัวอย่างไว้ให้ดูด้วย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง