เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 19648 อยากทราบประวัติของนายพลโท พระยาสโมสรสรรพการ(ทัด)
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 26 ก.ค. 11, 09:40

ยังอยู่ครับ  แต่ช่วงนี้ยังไม่ว่างลงต่อครับ  ขอทอดยาวๆ ไปก่อน
แต่รับรองว่าจะไม่ทิ้งแน่นอน 
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 26 ก.ค. 11, 12:49

ยังอยู่ครับ  แต่ช่วงนี้ยังไม่ว่างลงต่อครับ  ขอทอดยาวๆ ไปก่อน
แต่รับรองว่าจะไม่ทิ้งแน่นอน 

นึกว่าตกหลุมบ่อต่อแตน ตำบลบไตรตะกู
แถวเมืองเขมรเสียแล้ว
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 26 ก.ค. 11, 13:13


นึกว่าตกหลุมบ่อต่อแตน ตำบลบไตรตะกู
แถวเมืองเขมรเสียแล้ว

ไม่ทราบว่า  ตำบลบไตรตะกู แถวเมืองเขมร 
อยู่ใกล้แขวงเมืองอะไร  ช่วยระบุพิกัดให้ชัดเจนด้วย

ส่วนเรื่องตกหลุมบ่อต่อแตนนั้น 
เผอิญว่า  อ่านหนังสือนายกุหลาบมาบ้าง
ถึงแม้ท่องจำได้ไม่หมดทุกบรรทัด
แต่ก็พอจะจำได้   (อย่านึกว่ารู้อยู่คนเดียวนะครับ)
บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 26 ก.ค. 11, 19:03

ยังอยู่ครับ  แต่ช่วงนี้ยังไม่ว่างลงต่อครับ  ขอทอดยาวๆ ไปก่อน
แต่รับรองว่าจะไม่ทิ้งแน่นอน 

ขอบคุณครับนึกว่าจะลืมกระทู้นี้ไปแล้ว
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 27 ก.ค. 11, 11:15


นึกว่าตกหลุมบ่อต่อแตน ตำบลบไตรตะกู
แถวเมืองเขมรเสียแล้ว

ไม่ทราบว่า  ตำบลบไตรตะกู แถวเมืองเขมร 
อยู่ใกล้แขวงเมืองอะไร  ช่วยระบุพิกัดให้ชัดเจนด้วย

ส่วนเรื่องตกหลุมบ่อต่อแตนนั้น 
เผอิญว่า  อ่านหนังสือนายกุหลาบมาบ้าง
ถึงแม้ท่องจำได้ไม่หมดทุกบรรทัด
แต่ก็พอจะจำได้   (อย่านึกว่ารู้อยู่คนเดียวนะครับ)


อันว่า ตำบล "บไตรตะกู" นั้น
มีนามภาษาไทยว่า ตำบล "ลำลาดป่าตะโก"

พิกัดที่แน่ชัดหาทราบได้ไม่ ด้วยมิเคยเดินทางไปถึง
ทราบแต่จากรายงานทัพศึกเพียงว่า ตำบลนี้อยู่ในเส้นทางถอยของกองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
จากเมืองโจดก แดนญวน มาถึงเมืองเชิงกระชุม แดนเขมร นั้นแล
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 27 ก.ค. 11, 16:42

อันว่า ตำบล "บไตรตะกู" นั้น
มีนามภาษาไทยว่า ตำบล "ลำลาดป่าตะโก"

พิกัดที่แน่ชัดหาทราบได้ไม่ ด้วยมิเคยเดินทางไปถึง
ทราบแต่จากรายงานทัพศึกเพียงว่า ตำบลนี้อยู่ในเส้นทางถอยของกองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
จากเมืองโจดก แดนญวน มาถึงเมืองเชิงกระชุม แดนเขมร นั้นแล

ตอบมาเช่นนี้ 
แหม  อยากจะให้นายสะอาดเตรียมเสบียงออกเดินเท้าจากพระนคร
ไปเซอรเวย์ระยะทางตามหนังสืออานามสยามยุทธเสียจริงเชียว
ถ้าไม่พบตำบลที่เอ่ยมา  ก็ไม่ต้องกลับเมืองสยาม

โทษฐาน  ชอบแซวผู้หลักผู้ใหญ่
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 27 ก.ค. 11, 20:40

อันว่า ตำบล "บไตรตะกู" นั้น
มีนามภาษาไทยว่า ตำบล "ลำลาดป่าตะโก"

พิกัดที่แน่ชัดหาทราบได้ไม่ ด้วยมิเคยเดินทางไปถึง
ทราบแต่จากรายงานทัพศึกเพียงว่า ตำบลนี้อยู่ในเส้นทางถอยของกองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
จากเมืองโจดก แดนญวน มาถึงเมืองเชิงกระชุม แดนเขมร นั้นแล

ตอบมาเช่นนี้ 
แหม  อยากจะให้นายสะอาดเตรียมเสบียงออกเดินเท้าจากพระนคร
ไปเซอรเวย์ระยะทางตามหนังสืออานามสยามยุทธเสียจริงเชียว
ถ้าไม่พบตำบลที่เอ่ยมา  ก็ไม่ต้องกลับเมืองสยาม

โทษฐาน  ชอบแซวผู้หลักผู้ใหญ่


ใจก็อยากเดินทางแสวงหาความจริงในแถบโน้น

แต่ต้องป้อนอาหารนกอยู่เกือบทุกวี่ทุกวัน

ทำให้สละหน้าที่อันยิ่งใหญ่นี้ไม่ได้ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 30 ก.ค. 11, 19:46

ความเดิม

เด็กชายทัดนั่งเรือเดินทางตามบิดาที่ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวไปเมืองสระบุรี
ในระหว่างที่เด็กชายทัดพักแรมอยู่กับบิดาที่หาดเขาแก้ว  ได้มีโอกาสเฝ้าพระสัมพันธวงศ์เธอ
พระองค์เจ้ามงคลเลิศ ได้เสด็จมาประพาสที่เมืองสระบุรีด้วยเช่นกัน   

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ ได้ทรงชวนเด็กชายทัดไปเที่ยวเล่นสนุกหลายอย่าง
มีอะไรบ้าง  เชิญรับฟังได้บัดนี้

ล่อจับปูป่า


อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม  มีข้องสำหรับใส่ปู   เชือกสำหรับมัดปู  ไม้ไผ่เหลาเรียวโตเท่าก้านลาน
ปลายข้างหนึ่งผูกขนไก่เป็นพู่โตสักกึ่งนิ้ว  เรียกว่า  ดอกล่อ 

เตรียมอุปกรณ์พร้อมก็ออกเดินหาปูตาทุ่งนา   ตรวจดูตามปากรูที่มีไม่มีอะไรปกปิดปากรู
ปากรูเตียนดี  แสดงว่ามีปูอยู่  เอาดอกล่อแหย่ล่อลงไปลึกสักคืบเศษ  หรือลึกประมาณศอกหนึ่งบ้าง
แล้วดึงดอกล่อขึ้น  ทำอย่างนี้จนปูหนีบดอกล่อ (รู้สึกชักดอกล่อยากขึ้น)  จึงค่อยๆ ชัก
ดอกล่อออกมาช้าๆ  พอใกล้ปากรูให้กระตุกออกโดยเร็ว  ปูไม่ทันวางก้ามที่หนีบดอกล่อ
ก็จะติดออกมา  รีบจับปูใส่ข้อง   ปูป่านี้  มักกินกันสดๆ   จับเดี๋ยวนั้นกินเดี๋ยวนั้น
เขาว่าหวานอร่อยดี   เด็กชายทัดไม่กล้ากินอย่างเขา  เพราะเห็นเป็นของดิบ  ดูไม่สะอาด




บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 17 ก.ย. 11, 17:43

ผมยังรอติดตามกระทู้นี้อยู่ครับ  หายไปนานเชียว
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 20 ก.ย. 11, 08:22

รอหน่อยนะครับคุณchatchawan  ช่วงนี้งานเยอะ
เลยไม่รู้ว่าเอาเอกสารไปวางไว้ที่ไหน   ถ้าหาเอกสารเจอ
จะรีบเอามาเล่าต่อให้นะครับ
บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 20 ก.ย. 11, 20:18

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ และขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 14:42

เล่าต่อ 

การล่อปูนี้  สามารถจับปูได้วันละมากๆ หากมีความชำนาญ
แต่บางคนที่ไม่ชำนาญอาจจะล่อผิด  เนื่องจากจะมีสัตว์ชนิดหนึ่ง
ที่มักอาศัยอยุ่ในรูปู  คือ  ตัวบึ้ง  มีลักษณะคล้ายแมงมุม
ตัวมีขนรุงรัง มีก้ามคล้ายปู  ผู้ที่ล่อไม่ชำนาญมักล่อได้บึ้ง
ตัวบึ้งนี้ถ้าหากไปโดนขนพิษของมันเข้า  จะทำให้คันเป็นผื่น

ผู้ที่ล่อปูชำนาญแล้ว  เมื่อตรวจเห็นรูที่มีใยขาวๆ ที่ปากรู
จะไม่ล่อเลย  เพราะรูนั้นเป็นบึ้งอาศัยอยู่

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 26 ก.ย. 11, 14:56

ขุดตุ่น
(คำเตือน ผู้ใจขี้มักสงสารสัตว์ ไม่ควรอ่าน)

การขุดตุ่น  เริ่มต้นจากสำรวจหารูตุ่นให้ทั่วเสียก่อน
ตุ่นตัวใหญ่จะขุดรูใหญ่  ผิดกับปูที่ไม่สามารถจะพิจารณา
ขนาดตัวจากรูได้

เมื่อพบรูตุ่นแล้ว  ให้ตรวจดูขุยดินปากรู  ถ้าเป็นขุยเก่า
ไม่มีตัว   ถ้าเป็นขุยดินใหม่จะมีตัว   เมื่อพบรูตุ่นที่มีขุยดินใหม่แล้ว
คราวนี้ให้ตรวจดูปล่องที่ตุ่นขุดไว้สำหรับเข้าออกปล่องอื่นๆ
ซึ่งปกติตุ่นจะขุดรูให้หลายรูสำหรับไว้หนีศัตรู   
ถ้าไปตรวจดูปล่องให้ครบให้รอบคอบ  เวลาที่ลงมือขุดรูตุ่นจริง
ตุ่นจะหนีออกไปไม่ได้ตัว  ขุดเหนื่อยเปล่า

เมื่อพบรูปล่องของตุ่นแล้วให้อุดปล่องที่ตุ่นจะหนีออกได้ให้หมด
เว้นไว้บางรูให้ตุ่นหนีออกมา  โดยวางแร้วด้วงดักไว้ทุกปล่องที่ไม่ได้อุด
เมื่ออุดรูและวางกับดักไว้ทั่วแล้ว  ก็ลงมีขุดรูตุ่นได้

การขุดรูตุ่น  บางทีต้องขุดลึกมาก  แต่ยังไม่พบตัวตุ่น
ก็มีวิธีให้ตุ่นหนีออกมาโดยราดน้ำลงไปในรูให้มากๆ
เมื่อน้ำลงไปท่วมรูตุ่น  ตุ่นทนไม่ได้ก็จะหนีออกมาทางปล่อง
ที่วางกับดักติดแร้วด้วงก็สามารถจับได้   

บางรูขุดไม่ลึกนักก็พบตัวตุ่น  เวลาจับจะต้องเอาผ้าพันมือ
แล้วตะครุบจับตัวตุ่น   บางทีก็ทุบตุ่นตายบ้าง
บางทีก็ขุดเจอตุ่นที่มีลูก  ก็จับเอาลูกตุ่นมาเลี้ยงไว้
ตุ่นตัวใดที่ถูกจับตาย  ก็เอาย่างไฟพอสุก  ถลกหนัง
แล้วเอาเนื้อมาแกงกิน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 16:01

ลูกตุ่นที่จับมาได้นั้น  พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ
ได้ประทานแก่เด็กชายทัดให้นำมาเลี้ยงไว้   เด็กชายทัดได้เลี้ยงลูกตุ่นนั้น
จนโตเชื่องดี  สามารถเรียกให้มากินอาหารในมือได้  ถึงกระนั้น
ก็ต้องขังเอาไว้  เลี้ยงปล่อยไม่ได้   เพราะมันจะซุกซนเที่ยวไป
กัดอะไรต่ออะไรทั่วไปหมด  เครื่องที่ใช้ขังตัวตุ่น 
ถ้าเป็นไม้  ตุ่นก็จะกัดเป็นรูหนีออกไปได้  เพราะตุ่นมีฟันคมมาก

เด็กชายทัดจึงเอาตุ่มใบย่อมๆ มาใส่ดินไว้ครึ่งตุ่มขังตุ่นไว้
ตุ่นก็จะขุดรูอยู่ในตุ่มตามนิสัยสันดานของมัน   ถึงกระนั้น
ตุ่นที่เลี้ยงก็ไม่วายจะกัดตุ่มอีกเหมือนกัน  สัตว์อีกชนิดหนึ่ง
ที่มีนิสัยคล้ายกัน  คือ อ้น   รูปร่างเหมือนตุ่น  แต่ขนสีดอกเลา
ตุ่นและอ้นมีลักษณะคล้ายหนูพุก  เพียงแต่หน้าย่น  ตัวสั้น ตัวโตกว่าหนู

ตุ่นที่เด็กชายทัดได้รับประทานจากพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ
เลี้ยงมาได้ระยะหนึ่ง  วันดีคืนดี ตุ่นที่เลี้ยงไว้ก็กัดตุ่มทะลุเป็นรู
หนีออกไปได้   ตามหาเท่าไรก้ไม่เจอ  เด็กชายทัดเสียดายตุ่นนั้นมาก
ถึงกับร้องไห้น้ำตาไหล   มีผู้อื่นเห็นเข้าก็แต่งเป็นกลอนล้อเด็กชายทัดว่า

"โอ้เจ้าตุ่นตุ้นตุ๋นของฉันเอ๋ย   
เสด็จประทานให้หม่อมฉันมาไว้เชย
มาละเลยลอดช่องลงล่องไป"

ยุติเรื่องตุ่นแต่เท่านี้
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 27 ก.ย. 11, 16:55

จับกระต่าย

การจับกระต่ายต้องใช้คนมาก  เเครื่องประกอบการดักกระต่ายก็มีมาก
ต้องใช้เกราะตีให้เสียงดังๆ หรือถ้าไม่มีเกราะก็ใช้สิ่งอื่นๆ ที่ตีแล้วเสียงดัง
ต้องทำแผงไม้จากกิ่งไม้ขัดกัน  สูงประมาณ  ๒ ศอกเศษ  ยาว ๔ ศอก
หรือ ๕ ศอก  ทำแผงกิ่งไม้ไว้หลายๆ สิบอัน 

เมื่ออกไปถึงทุ่งนาป่าละเมาะ  ที่มีสุมทุมพุ่มไม้   ก็ออกตรวจดูหามูลกระต่าย
ถ้าตรงใดมีมูลกระต่ายมาก  แสดงว่ามีกระต่ายอาศัยอยู่แทบนั้น
ให้ปักแผงที่เตรียมมาเป็นรูปปีกกา หรือรูปปากชะนาง  คล้ายรั้วดักปลาทู
ที่เขาปักกันในทะเล  ที่ท้ายรั้วแผงนั้นให้เว้นไว้เป็นช่อง  เอาตาข่ายดัก
ไว้หลายๆ ผืน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.107 วินาที กับ 20 คำสั่ง