เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 19647 อยากทราบประวัติของนายพลโท พระยาสโมสรสรรพการ(ทัด)
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 28 มิ.ย. 11, 14:38

ประวัติการของนายพลโท  พระยาสโมสรสรรพการ  อย่างพิสดาร


พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด  ศิริสัมพันธ์)  มีปู่ชื่อ ม่วง
นายม่วงนี้เป็นน้องของกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย
(เจ้าจอมมารดาเรียมในรัชกาลที่ ๒ และเป็นพระราชชนนีในรัชกาลที่ ๓)
นายม่วงตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา 
ตรงปากคลองตลาดขวัญแง้มใต้

นายม่วงได้รับราชการเป็นมหาดเล็ก  ต่อมา  ได้เป็นที่พระนนทบุรี
ในสมัยรัชกาลที่ ๒ 

พระนนทบุรี (ม่วง) มีบุตร ๓ คน  ดังนี้
บุตรคนที่ ๑ ชื่อ โต  ไม่ได้รับราชการ  เพราะสติฟั่นเฟือน
ธิดาคนที่ ๑ ชื่อ น้อย  รับราชการเป็นเฒ่าแก่ในพระบรมมหาราชวัง
บุตรคนที่ ๒ ชื่อ สองเมือง  ได้รับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๓

นายสองเมือง ต่อมา เมื่อพระนนทบุรี (ม่วง) ถึงแก่กรรมแล้ว
ได้เป็นที่พระนนทบุรีสืบต่อจากบิดา   แล้วได้เป็นที่พระยาจันทบุรี

ครั้นต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ ๔  พระยาจันทบุรี (สองเมือง)
ได้ย้ายจากเมืองจันทบุรีเข้ามารับราชการในพระนคร
และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นที่พระยาอาหารบริรักษ์
แล้วเลื่อนเป็นพระยาไกรโกษาเป็นบรรดาศักดิ์ที่สุด
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 28 มิ.ย. 11, 14:49

นายทัด เป็นบุตรคนที่ ๑๐  ในบรรดาบุตรของพระยาไกรโกษา (สองเมือง)
จำนวน  ๑๒ คน  และธิดา  ๙ คน 

นายทัดเกิดเมื่อวันจันทร์  เดือน ๖  แรม ๓ ค่ำ  ปีจอโทศก  ๑๒๑๒
ที่เมืองจันทบุรี  มารดาชื่อ นางลำไย 

ปี ๒๓๙๔  บิดาได้ย้ายเข้ามารับราชการที่เมืองนนทบุรี
จึงได้ย้ายตามบิดามาพร้อมกัน  คุณเฒ่าแก่น้อย ผู้เป็นป้าเห็นนายทัด
ก็มีความรักใคร่จึงออกปากขอไปเลี้ยงไว้ที่เรือนของท่านในพระบรมมหาราชวัง
โดยได้ปล่อยออกมาเยี่ยมบ้านบ้างบางเวลา
และเมื่อเฒ่าแก่น้อยต้องไปรับราชการเป็นเวลานานๆ ก็จะกลับมาอยู่บ้านกับมารดา

บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 28 มิ.ย. 11, 20:39

ขอบคุณมากๆครับที่เสียสละเวลามาลงให้ครับ  ผมติดตามหาประวัติท่านอยู่รู้สึกว่าคุณป้าจะทำหายมั้งครับที่เหลือก็เห็นมีแต่รูปท่านกับใบพระราชทานนามสกุลไม่รู้ว่าใช้ลายพระหัตถ์ ร.6 หรือเปล่าไม่แน่ใจ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 29 มิ.ย. 11, 10:20

พอเด็กชายทัด  อายุได้ ๓ ขวบเศษ  บิดาได้พาไปพร้อมกับพี่ชาย ๑ คนและน้องชาย ๑ คน
เข้าเฝ้าฯ ถวายตัวเป็นข้าหลวงในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
ในพระราชพิธีสมโภชขึ้นพระอู่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์

พระยาสโมสรสรรพการ ได้เล่าไว้ด้วยว่า  เมื่อไปเข้าเฝ้าฯ ถวายตัวนั้น
รัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าฯ ให้เข้าไปอยู่ในพระราชฐานฝ่ายใน ในพระบรมมหาราชวัง
และโปรดเกล้าฯ พระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๖ บาท

เมื่อไปอยู่ในเขตพระราชฐานฝ่ายใน   คุณเฒ่าแก่น้อย ซึ่งเป็นป้าได้รับหน้าที่เลี้ยงดูหลานทั้ง ๓ คน
อยู่ที่เรือนของท่าน  ซึ่งอยู่ในหมู่ตำหนักหอและตำหนักกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร
ทั้งนี้  เพราะคุณป้าน้อยได้ทำหน้าที่เป็นพระอภิบาลและได้รับพระกรุณาจากเจ้านาย
ผู้มีบรรดาศักดิ์ในสายราชินิกูลนี้หลายพระองค์ 

ต่อมา  คุณป้าน้อย  ได้ส่งพี่ชายและน้องชายของเด็กชายทัดออกมาอยู่ที่บ้าน
คงเหลือแต่เด็กชายทัด คนเดียวที่ยังอยู่ในพระบรมมหาราชวัง

เด็กชายทัดอายุย่าง ๗ ขวบ  คุณป้าน้อยได้สอนหนังสือให้ตามแต่จะมีเวลาว่าง
คือ  ในเวลาที่ไม่ได้ขึ้นเฝ้าฯ ถวายงาน
และในยามที่เสด็จฯ ไปประพาสที่ต่างๆ นอกพระบรมมหาราชวัง
เด็กชายทัดจึงสามารถอ่านเขียนหนังสือได้บ้าง

แต่บิดาเห็นว่า ถ้าให้คุณป้าสอนหนังสือเช่นนี้  เด็กชายทัดจะรู้หนังสือน้อยนัก
จึงได้ไปขอตัวเด็กชายทัดจากคุณป้าน้อยออกมาอยู่ที่บ้านบ้างบางเวลา
และเมื่อเด็กชายทัดมาอยู่บ้าน  บิดาก็จัดให้พี่รุ่นใหญ่ที่รู้หนังสือดีแล้วสอนหนังสือให้
เมื่อเวลาเข้าไปอยู่วังก็มีคุณป้าสอนหนังสือให้เช่นเดิม

พออายุ ๘ ขวบเศษ  เด็กชายทัดก็อ่านออกเขียนได้  พอพ้นจากเวลาอ่านเขียนแล้ว
บิดาก็ได้สอนให้เด็กชายทัดทำกิจการงานบ้านต่างๆ  ตามแต่กำลังเด็กพอจะทำได้

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 08:34

บิดามักใช้เด็กชายทัดทำกิจต่างๆ มากกว่าบุตรคนอื่น 
ตกว่าไม่ใช่เวลาเรียนหนังสือแล้ว  ต้องไปคอยรับใช้บิดา
หรือไม่ บางทีก็ไปนั่งอ่านหนังสือใกล้ที่บิดานั่ง  ให้บิดาช่วยสอนอ่านหนังสือ
และบิดายังได้สอนให้รู้จักใช้คำพูดสูงต่ำ สำหรับเลือกใช้กราบทูลเจ้านาย
หรือพูดกับขุนนางข้าราชการและผู้ใหญ่   นอกจากนี้ก็ยังได้สอนให้จดจำ
ถ้อยคำที่บิดาและแขกที่มาเยี่ยมบิดาพูดกันเพื่อเป็นตัวอย่าง
ในการเรียนรู้และใช้คำต่อไป  คำพูดใดไม่ดี ไม่สุภาพ คำใดดี สุภาพ
บิดาก็ได้ชี้แจงให้เด็กชายทัดเข้าใจทั้งสิ้น

วิธีการสอนของบิดาเจ้าคุณสโมสรสรรพการ
เป็นการสอนที่เข้าท่าดีมาก  ปัจจุบันเห็นจะหาได้ยาก
เพราะผู้ใหญ่สอนให้เด็กพูดสุภาพ  แต่ตัวผู้สอนกลับพูดแต่คำไม่สุภาพ
กลายเป็นแม่ปูสอนลูกปูเดินไปเสียหมด

เมื่อเด็กชายทัดเจริญอายุมากขึ้น  พอจะทำงานการต่างๆได้
บิดาก็ได้สอนให้ทำงานที่ต้องใช้กำลังมากขึ้น  มีพายเรือ
แจวเรือ  ทำนา เป็นที่สุด


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 08:48

เรื่องบิดาหัดให้เด็กชายทัดทำนา

เจ้าคุณสโมสรสรรพการ  ได้เล่าเรื่องหัดทำนาไว้น่าสนใจดังนี้
ที่บ้านบิดานั้น มีที่นาอยู่ ๑ ไร่  เมื่อถึงฤดูทำนา  บิดาจะหัดให้บุตรทุกคน
ทำนาตามแรงกำลังที่พอจะทำได้  มีตั้งแต่หัดไถ  หว่านกล้า  ดำนา 
ไล่นก  เกี่ยวข้าว  นวดข้าว  ขนและหาบข้าวเข้ายุ้งฉาง  บุตรคนใดมีกำลัง
ทำการแผนกใดได้  ก็แบ่งหน้าที่กันทำทุกคน 
คงมีแต่การนำดคมาเทียมแอกไถนั้นที่ต้องให้ผู้ใหญ่มาเทียมให้
เพราะเกินกำลังเด็ก  เรียกว่าเมื่อถึงฤดูทำนาแล้ว 
ก็มีงานหน้าที่ใก้ทำตลอดหน้านา  เพราะบิดาฝึกให้บุตรทุกคน
ได้ทำเป็นทุกอย่างในการทำนา

การที่ฝึกหัดทำนานี้  บิดาว่า  หัดทำนาไว้แล้วดี   
หากภายหน้า ตกว่าไม่มีวาสนาแล้ว  คือไม่ได้ทำราชการ
จะได้ทำมาหากินเช่นราษฎรสามัญได้

เป็นการสอนที่ดีมาก  คนสมัยนี้คงไม่สอนกันแล้ว
เพราะมุ่งแต่จะสอนให้ทำงานดีๆ  เด็กเดี๋ยวนี้เลยทำงานอื่นไม่เป็น
นอกจากสิ่งที่โรงเรียน มหาวิทยาลัยสอนเท่านั้น

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 30 มิ.ย. 11, 12:33

เรื่องบิดาหัดให้เด็กชายทัดทำนา

เจ้าคุณสโมสรสรรพการ  ได้เล่าเรื่องหัดทำนาไว้น่าสนใจดังนี้
ที่บ้านบิดานั้น มีที่นาอยู่ ๑ ไร่  เมื่อถึงฤดูทำนา  บิดาจะหัดให้บุตรทุกคน
ทำนาตามแรงกำลังที่พอจะทำได้  มีตั้งแต่หัดไถ  หว่านกล้า  ดำนา  
ไล่นก  เกี่ยวข้าว  นวดข้าว  ขนและหาบข้าวเข้ายุ้งฉาง  บุตรคนใดมีกำลัง
ทำการแผนกใดได้  ก็แบ่งหน้าที่กันทำทุกคน  
คงมีแต่การนำโคมาเทียมแอกไถนั้นที่ต้องให้ผู้ใหญ่มาเทียมให้
เพราะเกินกำลังเด็ก  เรียกว่าเมื่อถึงฤดูทำนาแล้ว  
ก็มีงานหน้าที่ใก้ทำตลอดหน้านา  เพราะบิดาฝึกให้บุตรทุกคน
ได้ทำเป็นทุกอย่างในการทำนา
...

แก้ไขคำพิมพ์ผิด


เรื่องบิดาหัดให้เด็กชายทัดยิงปืน

การหัดอีกอย่างที่บิดาบังคับให้บุตรทุกคนต้องหัด คือ การหัดยิงปืน
บรรดาบุตรทั้งหลาย  ถ้าใครโตพอจะจับปืนมั่นแล้ว ท่านจะให้หัดปืนทั้งสิ้น
ในครั้งนั้น มีแต่ปืนคาบศิลาเท่านั้น  แต่เลือกเอาปืนขนาดย่อมๆมาใช้หัด

การหัดยิงปืนของบิดาเจ้าคุณสโมสรสรรพการมีขั้นตอนการหัดเป็นลำดับดังนี้

หัดเบื้องต้น  เอาปืนคาบศิลาขนาดย่อมมาถอดศิลาปากนกออกเสียก่อน
แล้วเอาไม้ใส่ไว้แทน   เช้าๆ ให้บุตรมาหัดนั่งเล็งทุกวัน ใช้เวลานานพอสมควร

จากนั้นเมื่อเล็งปืนได้นิ่งพอแล้ว   ก็จะหัดให้ลั่นนกปืน  โดยมีเกณฑ์ว่า
เมื่อลั่นนกปืนแล้ว  ต้องไม่ยวบไหว  ต้องนิ่ง

ถัดจากนั้น  เอาเบี้ยวางบนปืน  แล้วหัดให้ลั่นนกปืน  โดยไม่ให้เบี้ยตกจากปืน

เมื่อลั่นนกปืนโดยเบี้ยไม่หล่นแล้ว  ก็เอาไม้ที่ใส่แทนศิลาปากนกออก
เอาศิลาปากนกมาใส่ตามเดิม  แล้วหัดให้ลั่นนกปืน  ทั้งนี้  เมื่อลั่นนกปืนแล้ว
มีประกายไฟออกมาจากศิลาปากนกแล้ว  ต้องไม่สะดุ้งตกใจ
และเบี้ยที่วางบนปืนต้องไม่หล่นจากปืน  ฝึกไปจนนิ่งดี

จากนั้น  จึงใส่ดินชนวน  ให้หัดเล็งแล้วลั่นนกปืน  เมื่อมีไฟวาบขึ้น
ต้องไม่ตกใจกลัว  ไม่สะดุ้ง   ปืนต้องประทับนิ่งดี

ต่อจากนั้น  หากประทับปืนได้นิ่งดีแล้ว  ก็จะบรรจุดินเปล่า  ไม่ใส่ลูกปืน
ฝึกให้ยิงโดยไม่ใส่ลูกปืน  จนปืนที่ประทับนั้นนิ่งดี

จากนั้น  จะเอาลูกปืนใส่ปืนให้เล็งยิงหมายเป้า ซึ่งอยู่ห่างจากปากกระบอกปืน ๓ วา
มีวงดำเป็นหมายเป้าโต  ขนาด ๑ นิ้ว  หัดยิงให้ถูกวงดำกลางเป้า
เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอนการฝึกยิงปืน

ในการฝึกหัดยิงปืนนั้น  บรรดาบุตรได้ฝึกหัดปืนแล้ว
มีบุตรคนที่ ๓ ของบิดา  ที่ดูจะมีฝีมือยิงปืนได้ดีกว่าทุกคน
ซึ่งต่อมาได้เป็นที่หลวงเสน่ห์สรชิต  รับราชการอยู่ในพระราชวังบวร
บุตรคนอื่นนอกนั้น  เป็นแต่พอยิงได้บ้าง  หลวงเสน่ห์สรชิตนี้
ต่อมาได้รับหน้าที่ฝึกหัดน้องๆ ยิงปืนแทนท่านบิดาด้วย
บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 02 ก.ค. 11, 19:42

ประวัติการของนายพลโท  พระยาสโมสรสรรพการ  อย่างพิสดาร


พระยาสโมสรสรรพการ (ทัด  ศิริสัมพันธ์)  มีปู่ชื่อ ม่วง
นายม่วงนี้เป็นน้องของกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย
(เจ้าจอมมารดาเรียมในรัชกาลที่ ๒ และเป็นพระราชชนนีในรัชกาลที่ ๓)
นายม่วงตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา 
ตรงปากคลองตลาดขวัญแง้มใต้

นายม่วงได้รับราชการเป็นมหาดเล็ก  ต่อมา  ได้เป็นที่พระนนทบุรี
ในสมัยรัชกาลที่ ๒ 

พระนนทบุรี (ม่วง) มีบุตร ๓ คน  ดังนี้
บุตรคนที่ ๑ ชื่อ โต  ไม่ได้รับราชการ  เพราะสติฟั่นเฟือน
ธิดาคนที่ ๑ ชื่อ น้อย  รับราชการเป็นเฒ่าแก่ในพระบรมมหาราชวัง
บุตรคนที่ ๒ ชื่อ สองเมือง  ได้รับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๓

นายสองเมือง ต่อมา เมื่อพระนนทบุรี (ม่วง) ถึงแก่กรรมแล้ว
ได้เป็นที่พระนนทบุรีสืบต่อจากบิดา   แล้วได้เป็นที่พระยาจันทบุรี

ครั้นต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ ๔  พระยาจันทบุรี (สองเมือง)
ได้ย้ายจากเมืองจันทบุรีเข้ามารับราชการในพระนคร
และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นที่พระยาอาหารบริรักษ์
แล้วเลื่อนเป็นพระยาไกรโกษาเป็นบรรดาศักดิ์ที่สุด


ธิดาคนที่ 2 รับราชการเป็นเฒ่าแก่ในพระบรมมหาราชวัง 
รับราชการเป็นเฒ่าแก่ เฒ่าแก่คือตำแหน่งอะไรหรอครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 02 ก.ค. 11, 22:37

ธิดาคนที่ 2 รับราชการเป็นเฒ่าแก่ในพระบรมมหาราชวัง  
รับราชการเป็นเฒ่าแก่ เฒ่าแก่คือตำแหน่งอะไรหรอครับ

รอยอินท่านอธิบายไว้เท่านี้

เถ้าแก่ น. ตําแหน่งข้าราชการฝ่ายในในพระราชสํานัก.

ตำแหน่ง "เถ้าแก่" หรือ "เฒ่าแก่" หรือ "คุณเฒ่าแก่" เป็นตำแหน่งของข้าราชการในพระราชสำนักใหญ่เป็นอันดับสองรองจากตำแหน่ง "คุณท้าว"

"เฒ่าแก่" มีด้วยกัน ๒ ประเภท คือ

๑. เคยเป็นเจ้าจอมในรัชกาลก่อน ๆ เรียกว่า "เจ้าจอมเถ้าแก่" มีหน้าที่ฝึกหัดข้าราชสำนักฝ่ายใน

๒. มิได้เป็นเจ้าจอม เรียกว่า "คุณเฒ่าแก่" มีหน้าที่ออกไปประสานกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับฝ่ายหน้า

คุณหลวงมาเมื่อไหร่ คงได้คำตอบละเอียดกว่านี้

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 05 ก.ค. 11, 14:23

คุณเพ็ญฯ ตอบไว้ชอบแล้ว  ผมไม่จำเป็นต้องตอบซ้ำความให้ยาว
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 06 ก.ค. 11, 16:17

พระยาไกรโกษา (สองเมือง) บิดาท่านเจ้าคุณสโมสรสรรพการ
เป็นผู้เคร่งครัดในเรื่องศีลห้าอย่างยิ่ง  ท่านได้เข้มงวดกวดขันเรื่องนี้แก่บุตรทุกคน
หากบุตรคนใดล่วงศีลห้าที่เป็นสำคัญ  มีการเสพสุรายาเมา
หรือล่วงกาเมสุ มิจฉา เป็นต้น  ท่านจะไล่บุตรคนนั้นออกจากบ้านทันที
ปรากฏว่ามีบุตรของพระยาไกรโกษาหลายคนที่ถูกไล่ออกจากบ้าน
หนึ่งในจำนวนนั้นก็มีหลวงเสน่ห์สรชิต พี่ชายเด็กชายทัด รวมอยู่ด้วย

โดยหลวงเสน่ห์สรชิตนี้  เมื่อถูกไล่ออกจากบ้านแล้ว
ได้ไปรับราชการเป็นมหาดเล็กอยู่ในพระราชวังบวร
และได้เป็นที่หลวงเสน่ห์สรชิตเพราะมีฝีมือยิงปืนแม่น

เมื่อบุตรรุ่นใหญ่ถูกบิดาไล่ออกจากบ้านหลายคนเข้า
ภาระในการทำงานบ้านก็ตกอยู่กับบุตรชั้นรองลงมา
ได้แก่ เด็กชายทัด  ซึ่งขณะนั้นอายุได้ ๙ ขวบ  
ต้องทำหน้าที่ภารกิจต่างๆ มากขึ้นกว่าเดิม  
และเป็นที่โปรดปรานของบิดา  มักถูกเรียกใช้หรือให้ติดตามบิดาไปด้วยเสมอๆ

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 06 ก.ค. 11, 16:38

ในการที่ต้องติดตามบิดานั้น  พระยาสโมสรสรรพการได้เล่าเหตุการณ์ไว้ตอนหนึ่งว่า

คราวหนึ่ง  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปประพาสที่เมืองสระบุรี
เมื่อขบวนเรือพระที่นั่งผ่านมาประทับที่หน้าเรือนพระยาไกรโกษา (สองเมือง)
ได้มีรับสั่งให้หาพระยาไกรโกษา (สองเมือง)ลงไปเฝ้าในเรือพระที่นั่ง
เมื่อพระยาไกรโกษาเฝ้าเสร็จแล้วขึ้นมาบนเรือนได้มาสั่งเด็กชายทัด
ให้ไปสั่งบ่าวไพร่ในเรือนจัดเตรียมเรือ  เครื่องใช้ที่จำเป็นในการเดินทางไกล
และเสบียงกรังให้พร้อมแล้วให้เด็กชายทัดลงเรือเดินทางตามบิดาขึ้นไปเมืองสระบุรี
เมื่อสั่งดังนี้แล้ว   พระยาไกรโกษาก็ลงเรือพระที่นั่งตามเสด็จไปในขบวนทันที

ฝ่ายเด็กชายทัดได้ฟังบิดาสั่งอย่างนั้นแล้วก็ทำการตามที่บิดาสั่งทุกประการ
แล้วนั่งเรือพร้อมบ่าวไพร่ตามบิดาขึ้นไปสระบุรี   ซึ่งใช้เวลาเดินทางหลายคืน
กว่าจะตามขบวนเสด็จทัน  

เด็กชายทัดนั่งเรือรอนแรมมาจนถึงหาดหน้าเขาแก้ว  ก็ได้พบบิดาที่นั่น
บิดาได้กำลังให้คนทำที่พักแรมอยู่ที่หาดนั้น  เด็กชายทัดได้พักแรมกับบิดาอยู่นั่น
และได้มีโอกาสติดตามบิดาขึ้นเฝ้าด้วยทุกวัน  และได้ตามเสด็จด้วยหลายครั้ง
จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าทรงคุ้นเคย ตรัสทักเด็กชายทัดว่า
"เจ้าหนูมาด้วยหรือ" เช่นนี้อยู่บ่อยๆ  การที่บิดาตามเสด็จในคราวนั้น
เพราะต้องรับหน้าที่เป็นผู้จ่ายข้าวให้แก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จ

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 06 ก.ค. 11, 16:54

ในเวลาที่พระบาสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองสระบุรีคราวนั้น
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ ได้เสด็จขึ้นไปประพาสที่นั้นด้วย
โดยได้ดปรดให้ปลุกที่ประทับอยุ่ด้านใต้ของหาดหน้าเขาแก้วนั้น 
ซึ่งห่างกันพอเห็นที่พักของพระยาไกรโกษา (สองเมือง)
เจ้านายพระองค์นั้น ได้เสด็จมาทรงเยี่ยมบิดาถึงที่พักแรมเพื่อทรงพระปฏิสันถารด้วย
เจ้านายพระองค์นั้นได้เห็นเด็กชายทัดเข้าก็พอพระทัย
ถึงกับรับสั่งว่าจะทรงพาเด็กชายทัดไปเที่ยวเล่นด้วยกัน
หลังจากวันนั้น เมื่อถึงเวลาเสด็จประพาสแห่งใดแล้ว
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ ก็โปรดให้จัดม้ามีคนจูง
มาพาเด็กชายทัดไปตามเสด็จด้วย

การเที่ยวเล่นของพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ นั้น
มีเกร็ดสนุกดีทีเดียว  ถึงขนาดทำให้เด็กชายทัดจดจำได้
และนำมาเล่าไว้ในอัตชีวประวัติอย่างละเอียดยาวหลายหน้า
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 07 ก.ค. 11, 16:34

แก้ไขคำผิด

ในเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองสระบุรีคราวนั้น
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ ได้เสด็จขึ้นไปประพาสที่นั้นด้วย
โดยได้โปรดให้ปลูกที่ประทับอยู่ด้านใต้ของหาดหน้าเขาแก้วนั้น 
ซึ่งห่างกันพอเห็นที่พักของพระยาไกรโกษา (สองเมือง)
เจ้านายพระองค์นั้น ได้เสด็จมาทรงเยี่ยมบิดาถึงที่พักแรมเพื่อทรงพระปฏิสันถารด้วย
เจ้านายพระองค์นั้นได้เห็นเด็กชายทัดเข้าก็พอพระทัย
ถึงกับรับสั่งว่าจะทรงพาเด็กชายทัดไปเที่ยวเล่นด้วยกัน
หลังจากวันนั้น เมื่อถึงเวลาเสด็จประพาสแห่งใดแล้ว
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ ก็โปรดให้จัดม้ามีคนจูง
มาพาเด็กชายทัดไปตามเสด็จด้วย

การเที่ยวเล่นของพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามงคลเลิศ นั้น
มีเกร็ดสนุกดีทีเดียว  ถึงขนาดทำให้เด็กชายทัดจดจำได้
และนำมาเล่าไว้ในอัตชีวประวัติอย่างละเอียดยาวหลายหน้า
บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 25 ก.ค. 11, 20:32

มารออ่านต่อครับคุณ luanglek หายไปนานเลยไม่ทราบว่ายังอยู่หรือเปล่าครับ ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 20 คำสั่ง