เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
  พิมพ์  
อ่าน: 160536 แม่นำเจ้าพระยา
มีนกร
อสุรผัด
*
ตอบ: 41


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 06 ก.ย. 14, 20:20

อาจารย์ครับ รูปที่3 ถ่ายติดบ้านเก่าผมด้วยครับ(บ้านพักครูร.ร.พรพินิจพิทยาคาร ติดกับวัดบางกะจะ) ขออนุญาตเก็บไว้ดูครับ คิดถึงจัง  ยิงฟันยิ้ม
เกือบทุกปีบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยา มาบรรจบกับแม่น้ำป่าสักนี้จะต้องมีเรือบรรทุกทรายลำใหญ่ๆ มาล่มให้เห็น เพราะน้ำเชี่ยวมากๆ เป็นที่มาของชื่อตำบลสำเภาล่ม เพราะล่มกันมาหลายร้อยปีแล้ว เมื่อก่อนตอนเด็กๆบริเวณป้อมเพชรมีอาชีพ ดำน้ำพ่นทรายงมสมบัติเก่า หน้าน้ำได้หยุดเรียนกันยาวๆ
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 10 ก.ย. 14, 19:48

ขึ้นฝั่งก่อนครับ  เป็นกำลังใจให้นักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติหญิงและผู้ฝึกสอนครับ
เล่นให้สนุก ใช้เวลาอีกนิด ทานนมสดทุกๆวัน ร่างกายจะได้สูงใหญ่ขึ้นอีก สู้ๆครับ


วันนี้ ไปงานนี้มาครับ โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ประเดน การรับฟังสภาพปัญหาของลุ่มน้ำและแนวทางการแก้ไข ภาคกลาง
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 10 ก.ย. 14, 20:23

ภาพนี้ชัดไหมครับ มองจากหมู่บ้านญี่ปุ่น


บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 10 ก.ย. 14, 20:37

ที่หมู่บ้านญี่ปุ่น ใต้วัดพนัญเชิง ริมฝั่งเจ้าพระยา กรุงเก่า



บันทึกการเข้า
แมวเซา
อสุรผัด
*
ตอบ: 44


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 13 ต.ค. 14, 09:18

เกือบทุกปีบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยา มาบรรจบกับแม่น้ำป่าสักนี้จะต้องมีเรือบรรทุกทรายลำใหญ่ๆ มาล่มให้เห็น เพราะน้ำเชี่ยวมากๆ เป็นที่มาของชื่อตำบลสำเภาล่ม เพราะล่มกันมาหลายร้อยปีแล้ว เมื่อก่อนตอนเด็กๆบริเวณป้อมเพชรมีอาชีพ ดำน้ำพ่นทรายงมสมบัติเก่า หน้าน้ำได้หยุดเรียนกันยาวๆ
ขออนุญาตร่วมกระทู้ด้วยอีกคนครับ
คือผมสนใจเรื่องแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณนี้เนื่องจากติดตามเรื่องการเดินทาง ยกทัพเรือของชาวสยามในสมัยกรุงเทพฯครับ(เคยโพสท์ในเว็ปอื่นไว้บ้าง)

การเดินทางช่วงนี้อาศัยแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหญ่ ด้วยเรือพายอย่างยาว การพายเรือในแม่น้ำช่วงนี้ผมตั้งข้อสังเกตุว่าคนเดินทางในสยามยุคก่อนจะต้องพายเรือช่วงน้ำกำลังขึ้น คือแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงนี้น้ำจะไหลย้อนขึ้นไปถึงทางแยกใหญ่ของสายน้ำ แยกไปเป็นแม่น้ำน้อย

แต่เมื่อหมดเวลาช่วงน้ำขึ้น เขาจะหาทางหลบกระแสน้ำเชี่ยวเข้าไปพายในคลองที่เลียบขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งจะเบาแรงฝีพายได้มากกว่า ผมมองว่าเป็นเทคนิคการเดินทางของชาวสยามลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เมืองสยามมีคลองลักษณะนี้ที่สำคัญ เช่น คลองถนน คลองเปรมประชากร ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันออกและสมัยนั้นยังไม่ได้ขุด

แต่ส่วนมากกองทัพเดินทางมาในลำคลองฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อไปออกฝั่งตะวันตกเกาะกรุงศรีอยุธยา เขาพายเรือกันทั้งคืนจนฟ้าสาง มาสว่างเอาที่คลองคูเมืองด้านเหนือของเกาะเมืองขณะมุ่งไปหัวรอ เป็นจุดรวมสายน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่ง

การเดินทางช่วงนี้ก็เคยมีปรากฏอยู่ในนิราศภูเขาทองของสุนทรภู่ด้วย แสดงว่าสมัยก่อนเขาหลบกระแสนัเชี่ยวทางตะวันออกไปทาฟากตะวันตกของตัวเกาะอยุธยานะครับ
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 22 พ.ย. 14, 23:10

๑๗ พ.ย.๕๗



บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 06 ต.ค. 16, 07:59

เจ้าพระยา ที่อยุธยาวันนี้
หลายวันมานี้พบเห็นนักข่าวหลายสำนัก แถวบ้าน แต่ไม่ได้คุยกัน คาดว่ามารายงานเรื่องน้ำ ติดตามข่าวดูว่าจะเป็นแต่ข่าว ตรงความจริงบ้างไม่บ้าง
อยากคุยกับชาวเรือนไทยบ้าง พรุ่งนี้นะครับ
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 08 ต.ค. 16, 21:07

วันนี้ ไม่มีอะไรน่าห่วงสำหรับชาวกรุง นอกจากฝนจะตกเหนือความคาดหมาย
พื้นที่จมน้ำริมฝั่งเจ้าพระยาจากสิงห์บุรี ถึงอยุธยาก็ที่เดิมๆ  แต่อาจจมสูงกว่าเดิมเสียอีก เมื่อเขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำมาปริมาณเท่าเดิม
และก็ไม่น่าห่วงว่าจะเหมือน ปี ๕๔
   
แต่น่ากลัวสำหรับพื้นที่เดิมๆริมฝั่ง
ผมว่าวันนี้รัฐกำลังรองของ

บันทึกการเข้า
unicorn9u
มัจฉานุ
**
ตอบ: 65


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 10 ต.ค. 16, 09:27

อำเภออินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี บางพื้นที่นี่ เริ่มมากางเต้นท์บนถนนกันแล้วครับ น้ำเข้าแล้ว
อำเภอเมืองแถวๆบางแค น้ำก็เข้าแล้วเช่นกัน ตอนนี้กำลังเร่งวางกระสอบทราย

ที่บ้านก็เฝ้าระวังกันสุดๆ
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 11 ต.ค. 16, 05:20

ผมได้แต่ถามญาติๆแถวบางบาล เสนา ผักไห่ และก็พูดคุยกับพรรคพวกบ้าง
ก็เดือนที่แล้วน้ำเจ้าพระยาขึ้นมาสูงสุดครั้งหนึ่งแล้วลดไป
ถามว่าชาวบ้านแถวบางบาล เสนา ผักไห่ ซึ่งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเดือดร้อนไหม  
คำตอบก็เดิมๆ เดือดร้อน และก็เป็นแบบนี้มานานแล้ว แต่ต่างกันที่ค่อยเป็นค่อยไป
ยอมรับได้ ระยะหลังๆนี่ชักทำใจยาก
ที่ว่ารองของคือ ปล่อยน้ำมาทางเจ้าพระยาเท่านั้น  
ผลคือคนสองฝากฝั่งที่ลุ่มจึงเดือดร้อน  น้ำท่วมพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัยบางแห่ง ต้นทุนการอยู่อาศัยสูงขึ้น การทำมาหากินยากขึ้น
เกิดการเปรียบเทียบเรื่องการดูแล การให้ความช่วยเหลือและชดใช้ จากรัฐ
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 13 ต.ค. 16, 07:51

น้ำที่ปล่อยออกมาท่วมแล้วไหลลงทะเล
ที่เหลือเข้าอ่างและแก้มลิง เหนือเขื่อนเจ้าพระยา
โชคดี พายุไม่เข้าไทยแต่ก็ส่งผลกระทบ ทำให้ลุ่มน้ำตอนบนฝนชุก
การลองของเห็นผล น้ำเมื่อเดือนที่แล้ว กระทบต่อความเป็นอยู่ของชุมชนริมฝั่ง
ปทุม กทม ปากน้ำ ยังไม่เดือดร้อน  รอดูกลางเดือนนี้
ฝนที่ชุกเหนือเขื่อนยังผลให้น้ำมากเกินพอดี
รอบนี้รัฐคงบริหารจัดการน้ำตามแผนที่วางไว้ คือส่งออกอย่างรวดเร็วทุกทาง
ประกอบกับเขื่อนป่าสักฯ ก็ต้องระบายเช่นกัน ผลคือสองฝั่งเจ้าพระยาน้ำมากกว่าเมื่อคราวที่แล้ว และยังสูงขึ้นอีก
ทั้งๆที่รัฐบอกว่าได้ระบายเข้าแก้มลิงที่ผักไห่ เสนา บางบาลแล้ว




บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.036 วินาที กับ 19 คำสั่ง