เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
อ่าน: 160642 แม่นำเจ้าพระยา
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 11 มี.ค. 12, 22:11

ปัญหาน้ำท้นสองฝั่งเจ้าพระยาเป็นเรื่องปกติ แต่ที่ผ่านมาไม่น้อยกว่ายี่สิบปี น้ำท้นฝั่งเจ้าพระยาสูงขึ้นๆตลอดมา 
แต่รัฐไม่สนใจและไม่เคยชดใช้

วันนี้อยากเห็นรัฐออกมาบอกระดับน้ำว่า ที่หนึ่งๆจะท้นฝั่งที่กี่เมตร 
เช่นบอกว่าท้นฝั่งที่นครสวรรค์ หนึ่งเมตร ที่สิงห์บุรี  ที่อยุธยาและปทุมธานีจะเป็นกี่เมตร
และรัฐจะประกันได้ไหมว่า จะท้นฝั่งไม่เกินกี่เมตร และถ้าเกินจะทำอย่างไร

จริงๆแล้ว ณ วันนี้ท้องถิ่นต่างๆก็คงหาทางป้องกันน้ำแล้ว
นั่นก็หมายความว่าพื้นที่รับน้ำลดลง
รัฐควรบอกความลาดเอียงของพื้นที่ จากนครสวรรค์ถึงปากอ่าวไทยด้วย ก็จะดี 
ทั้งนี้ก็เพื่อเตรียมการตั้งรับที่เหมาะสม
อยากให้รัฐสนใจคนสองฝั่งลำน้ำมากๆ จริงๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 12 มี.ค. 12, 11:16

รัฐบาลมั่นใจแผนรับมือน้ำท่วมปี 2555 ทั้งบริหารจัดการน้ำในเขื่อน-ขุดลอกคูคลอง และห้ามประชาชนต่อเติมหรือก่อสร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำ

นายอนุรักษ์ นิยมเวช ส.ว.สรรหา ตั้งกระทู้ถามด่วนนายกรัฐมนตรี เรื่องการดำเนินการเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยก่อนเข้าสู่ฤดูฝน เนื่องจากคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำฝนในปีนี้จะมีมากเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา พร้อมสอบถามถึงมาตรการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล และแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีประชาชนสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปยังแม่น้ำลำคลอง

ทั้งนี้ นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงโดยยืนยันว่ารัฐบาลโดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือ กยน. ได้เตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาน้ำท่วมในปี 2555 อย่างเป็นระบบ ขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตและกรมชลประทาน ดูแลการพร่องน้ำโดยคำนึงถึงความต้องการบริโภคและปริมาณการเก็บกักน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิตติ์จะมีที่ว่างเก็บน้ำสองเขื่อนรวมกันประมาณ 12,600 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมมั่นใจต่อการวางระบบเตือนภัยที่วางไว้ ว่าจะสามารถให้ข้อมูลกับประชาชนอย่างทันท่วงที

ด้านนายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รมช.มหาดไทย กล่าวว่า ขณะนี้กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท ได้รับมอบหมายแผนงานจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือ กยน. ให้ป้องกันน้ำไม่ให้ล้นตลิ่งและเข้าไปท่วมทุ่งอย่างเป็นระบบ

พล.ต.ท.ชัชจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม ระบุว่า รัฐบาลจะเริ่มดำเนินการตามโครงการขุดลอกคูคลองในล่องน้ำทั่วประเทศทั้งแม่น้ำสายหลักและสาขา เพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ซึ่งจะเริ่มดำเนินการได้กลางเดือนมีนาคมนี้ และจะเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน นอกจากนี้จะร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นในการป้องกันและห้ามประชาชนต่อเติมสิ่งก่อสร้างที่จะขัดขวางทางไหลของน้ำ
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 13 มี.ค. 12, 22:28

ริมแม่น้ำน้อย ที่เสนา


บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 18 มี.ค. 12, 22:56

ขอบคุณรัฐ ที่จะบริหารจัดการน้ำให้ได้ผลดี
คนแถวบ้านผมเขาไม่ได้กลัวน้ำท่วมกันมากนัก เพราะเป็น วิถีชีวิตในรอบปีอยู่แล้ว
สองปีหลัง  ๕๓-๕๔  น้ำมากและมากผิดปกติ ติดต่อกัน คนสองฝั่งน้ำ เลยหวาด
ต้องดีดบ้านกันอีกรอบ เงินที่สะสมไว้ก็ร่อยหลอลงไป  บางท่านถึงกับน้ำตาตกใน
บอกว่า ช่วงชีวิตที่เหลือนี้ คงหาไม่ได้อีกแล้ว  
แต่ ที่โชคดีก็คงมี  คาดว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตคงใช้น้ำได้เต็มที่
แล้วค่าไฟชาวบ้าน จะลดลงบ้างไหมหนอ  
โทษใครดีครับ
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 28 มี.ค. 12, 22:04

และแล้วค่าไฟฟ้าเดือนนี้ก็แพงกว่าเดือนนี้เมื่อหลายๆปีที่ผ่านมา

เมื่อวานอ่านพบว่า  ผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคกลางหลายจังหวัดต้องหาแหล่งพักน้ำในปีนี้
แสดงว่ารัฐมีการเตรียมการเพื่อฤดูน้ำหลาก แต่ที่ยังไม่มีข่าวคราวก็ คือคลองระบายน้ำต่างๆที่ทุ่งรังสิต
และก็ไม่รู้ว่าการขยายคลองระพีพัฒน์ ได้ดำเนินการหริอไม่
คิดในทางบวก แนวโน้มปีนี้น้ำคงไม่มากเท่าปีที่ผ่านมา
รัฐเลยมาเลื่อยๆ มาเรียงๆ
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 22:10

ข่าวนี้คงทำให้คุณ puyum สบายใจขึ้นบ้างนะคะ

วิกฤต น้ำท่วมปลายปี 2554 ที่ผ่านมา "กรมชลประทาน" ตกเป็นจำเลยในอันดับต้น ๆ ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักถึงประสิทธิภาพในการทำงานในฐานะเป็นหน่วยงานหลักในการ บริหารจัดการน้ำ ไม่แพ้ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ที่รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ตั้งขึ้นเพื่อรับมือมหาอุทกภัยโดยเฉพาะ มาปีนี้ ขณะนี้กรมชลประทานมีความพร้อมในการรับมือน้องน้ำมากน้อยแค่ไหน "ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์ "เลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ" อธิบดีกรมชลประทาน ในหลายประเด็นที่คนไทยควรได้รู้

- หลายฝ่ายมองว่าแผนรับมืออุทกภัยยังไม่คืบหน้า

ส่วนที่เรากำลังทำเร่งด่วนเป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อรับมือหน้าฝนปีนี้ ส่วนใหญ่มีความคืบหน้า และยังไม่มีการแจ้งว่าไม่ทันหน้าฝน หลายเรื่องเร่งดำเนินการอยู่ เช่น การปรับปรุงสถานีสูบน้ำ ปรับปรุงซ่อมแซมประตูน้ำ คันกั้นน้ำ ฯลฯ การเปลี่ยนเครื่องสูบน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสูบและระบายน้ำ เช่นปรับเปลี่ยนจากที่สูบน้ำได้ 3 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 6 ลูกบาศก์เมตร เป็นต้น

จริง ๆ แล้ว หลังเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปี 2554 ก็มีเตรียมรับมือในปีนี้และปีถัดไปทันทีเป็นมาตรการเร่งด่วน ทั้งเรื่องการก่อสร้าง การบริหารจัดการน้ำในเขื่อนหลักที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยให้กรมชลฯทำเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน ยึดการป้องกันอุทกภัยเป็นหลัก ซึ่งเราได้ปรับเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน โดยยึดหลักสมดุลน้ำ ใช้สถานการณ์น้ำแต่ละช่วงมาบริหารจัดการ

นอกจากนี้ยังมีเรื่อง การกำหนดพื้นที่รับน้ำนอง ซึ่งขณะนี้รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯเป็นคนพิจารณาในการตัดยอดน้ำ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ตั้งแต่ท้ายเขื่อนหลักลงมา

คือ เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ จนมาถึงเขื่อนเจ้าพระยา ส่วนพื้นที่ที่ 2 คือ จากเขื่อนเจ้าพระยามาถึง จ.พระนครศรีอยุธยา โดยใช้น้ำท่วมปี 2554 เป็นฐาน สำหรับพื้นที่รับน้ำนองจะดูพื้นที่ที่มีศักยภาพในการรับน้ำ และมีมาตรการชดเชยที่เหมาะสม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ คาดว่าจะนำเสนอรัฐบาลในเร็ว ๆ นี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 22:11

 กระบวนการจัดการเป็นอย่างไร

เมื่อ เราได้พื้นที่ที่มีศักยภาพแล้ว ก็จะให้คอมพิวเตอร์คำนวณใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ เรียกว่า ทำการจำลองซิมูเลชั่น คำนวณน้ำที่จะเข้าไปในพื้นที่รับน้ำ ตัดยอด ใช้พื้นที่เท่าไหร่ เมื่อเราตัดยอดน้ำที่เราพอใจ ขั้นตอนต่อไปคือ จะให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ทั้งในส่วนกรมชลฯ จังหวัด เข้าไปช่วยดู ปล่อยน้ำลงพื้นที่ลุ่ม พื้นที่นา ให้สอดคล้องกับกระทรวงเกษตรฯ และสอดคล้องกับที่เรากำหนดคือ ให้ทำนาปีละ 2 หน ฉะนั้นช่วงที่ตัดน้ำเข้าก็จะตัดช่วงที่ไม่ได้ทำนา แต่ก็ต้องมีการชดเชยให้ชาวนาในอัตราที่เหมาะสม มาตรการเร่งด่วนคือ การซ่อมเสริม ระบบสาธารณูปโภค ระบบคัน ประตูน้ำ เครื่องสูบน้ำ ก็ต้องให้แล้วเสร็จก่อนฤดูฝน

- เป็นห่วงเรื่องมวลชนไม่เข้าใจบ้างมั้ย

ก็ต้องประชาสัมพันธ์ พูดจากัน ผมว่าถ้าเราพูดชัดเจน ชดเชยในอัตราที่เหมาะสม ชาวบ้านก็ไม่น่าจะมีปัญหา

- อุปสรรคในการดำเนินงาน

ยัง ไม่มี ยกตัวอย่าง กระบวนการอีออกชั่น อย่างน้อยต้องใช้เวลา 45 วัน ถึงจะได้ตัวผู้รับจ้าง แต่เนื่องจากแผนป้องกันน้ำท่วมเป็นเรื่องเร่งด่วน กรมบัญชีกลางจึงกำหนดแนวทางดำเนินการโดยให้สามารถใช้วิธีพิเศษได้ เราก็ดำเนินการโดยวิธีพิเศษ โดยเน้นย้ำว่า ต้องทำอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้

- การป้องกันน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจ

เราจัดทำระบบป้องกัน ตั้งแต่คันกั้นน้ำ การลอกคูคลอง การปรับปรุงสถานีสูบน้ำ เพิ่มจำนวนสถานีสูบน้ำ ซึ่งวันนี้เราไม่ได้แบ่งเรื่องท้องถิ่น เพราะอยู่ในพื้นที่ข้างล่าง ตั้งแต่อยุธยา ปทุมธานีลงมา ถือเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ไปจนถึงอ่าวไทย โดยพิจารณาร่วมกัน ทั้งในส่วนกระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพย์ มีการกำหนดร่วมกันว่า ใครทำส่วนไหนอย่างไร เพื่อให้เป็นระบบเดียวกัน

อย่าง แนวคันกั้นน้ำกรมชลฯ ด้านพื้นที่ตะวันตก แนวคันกั้นน้ำคลองพระยาบันลือ ถึงแม้จะเป็นคันของกรมชลฯ ได้มอบให้กรมทางหลวงเป็นคนทำ เพราะมีเรื่องถนนด้วย ส่วนเราก็ดูแลเรื่องคลอง เรื่องประตู เป็นการแบ่งงาน เพื่อให้งานเสร็จเร็ว ซึ่งได้ยกระดับเท่ากับความสูงน้ำท่วมปีที่แล้ว และบวกไปอีก 50 ซม. เพื่อที่จะป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจ หากมีน้ำหลากขึ้นมา ก็ยังกำหนดทิศทางให้น้ำออกซ้ายขวาได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 22:11

 - พื้นที่บางส่วนของเมืองนนท์ ปทุมธานี กทม. น้ำจะไม่ท่วม ?
ต้องนิยามคำว่าน้ำท่วมด้วย (นะ) เพราะท่วม 1 เซนติเมตร ก็บอกว่าท่วม เพราะปีที่แล้ว เราเจอน้ำท่วมสูงเป็นเมตร ท่วม 2-4 เดือน ฉะนั้น ปีนี้หากเกิดฝนตกในพื้นที่ใดสักที่หนึ่ง น้ำท่วม 5-10 เซนติเมตร แต่อธิบดีกรมชลฯบอกไม่ท่วม ผมก็ตายสิ

แต่ผมคิดว่า คิดว่าพื้นที่เศรษฐกิจอาจจะไม่ท่วมทั้งหมด อยุธยาอาจจะบางอำเภอ หรือปทุมธานี นนทบุรี อยู่ทั้ง 2 ฟากของแม่น้ำเจ้าพระยา บางส่วนก็อาจจะท่วม แต่ไม่ทั้งหมด

อย่างปทุมธานี เราป้องกันตั้งแต่แนวคันของโครงการพระยาบันลือ ฉะนั้นจะมีแนวคันที่เลียบแม่น้ำท่าจีน ฉะนั้นหากน้ำท้ายเขื่อนมีปริมาณมาก ก็จะผลักเข้าพื้นที่น้ำนอง เมื่อถึงพื้นที่เศรษฐกิจ เราก็กันไม่ให้เข้าพื้นที่เศรษฐกิจ โดยพยายามให้น้ำไหลไปในทิศทางที่กำหนด และอย่างที่บอก แล้วเราก็จะมีสถานีสูบน้ำทั้งที่ปรับปรุงและเพิ่มเติม

- อำนาจในการบริหารจัดการน้ำของกรมชลฯปีนี้อยู่ที่ใคร

ก็ อยู่ที่ซิงเกิลคอมมานด์ แต่แน่นอนว่าข้อมูลในการตัดสินใจอยู่ที่เรา ฉะนั้นถ้าเราเสนอหรือบอกไป แล้วเขาโอเค ก็จบ เพราะเมื่อก่อนไม่มีใครรับผิดชอบเรื่องน้ำ มีกรมชลฯกรมเดียว

ทั้งที่เรื่องน้ำเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ ถ้ามีภัยทางน้ำมา แล้วคุณไม่ให้กรมชลฯไปสร้างอะไร

ฉะนั้น เมื่อเกิดภัยทางน้ำ คุณยังให้กรมชลฯรับผิดชอบอยู่เหรอ ในเมื่อคุณไม่ให้เงินมา แต่ทุกคนติดภาพว่า ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง เป็นเรื่องของกรมชลฯ แต่วันนี้ไม่ใช่เรื่องของกรมชลฯคนเดียวอีกต่อไป

- หากปีนี้เกิดน้ำท่วมซ้ำรอยปี 2554 ใครควรรับผิดชอบ

คำ สั่งจะมาจากซิงเกิลคอมมานด์ ถามว่ากรมชลฯ ผมก็สั่งให้นายประตูน้ำไปเปิดปิดประตูน้ำได้ แต่ถ้ามีคนขวางอยู่ 100 คน ผมก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว ฉะนั้นวันนี้น้ำเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ

- โอกาสน้ำท่วมปีนี้มีมากน้อยแค่ไหน

ผม ว่าน้อยมาก เพราะเหตุการณ์ปีที่แล้ว น้ำมากและมาต่อเนื่อง ทั้งฝนทั้งพายุ คือ ปกติพายุมา ฝนตก 5 วัน 10 วันก็จบ ทัพหน้ามาระลอกหนึ่งก็ผ่านไป อีกครึ่งเดือนพายุมาอีกลูก เป็นทัพหลัง แต่ปีที่แล้วมาทัพเดียว

แต่ ปีนี้เราใช้ข้อมูลปี 2554 เป็นฐาน ถ้าน้ำมาแบบปีที่แล้วเราก็ต้องกันให้ได้ แต่โดยข้อเท็จจริง แนวโน้มของน้ำจะไม่มากเท่าปีที่แล้ว ที่สำคัญ เราเตรียมตัวดีกว่าปีที่แล้วมาก

ผมคิดว่า เรื่องท่วมเป็นเมตร ไม่มีแน่นอน หรือท่วม 1 อาทิตย์ในพื้นที่เศรษฐกิจก็ไม่น่าจะเกิด แต่ไม่อยากบอกว่าไม่ท่วมเลย เพราะปีนี้เราเตรียมตัวดี ป้องกันดี

ที่มา  http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1334859243&grpid=03&catid=&subcatid=
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 22 เม.ย. 12, 22:34

ขอบคุณครับ ปีนี้น้ำคงไม่มากเหมือนปีที่ผ่านมา
ธรรมชาติดูเหมือนว่าจะผิดปกติ ร้อน ฝนตกพายุลมแรง แผ่นดินไหวถี่ขึ้น
เมื่อวานพบหลาน เขาขึ้นมามาจากแท่นเจาะน้ำมัน บอกว่ารอบเดือนที่ผ่านมา
ก๊าซธรรมชาติพุ่งแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
หลบร้อนไปดูลิเกหลังโรงดีกว่า


บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 22 เม.ย. 12, 22:39

แถมอีกสองนาง



บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 02 พ.ค. 12, 22:20

แล้วบ้านเราก็มีอะไรใหม่ๆให้ติดตามกันอีก ทั้งที่เป็นเรื่องที่ชินชากันไปแล้ว
แผ่นดินทรุดตัว ตลิ่งพัง แผ่นดินไหว ไฟประทุ พายุแรง
แต่มันมาสำคัญตรงที่จะทำให้ชาวเมืองหล่วงเดือดร้อน นี่ซิ
บังเอิญไฟไม่คุที่ กทม ชาวเมืองเลยพราดโอกาสไป
วันนี้น้ำแห้งขอดที่เจ้าพระยาและสาขา คนทั่วไปไม่เดือดร้อน แต่สองฝั่งน้ำ ก็เหมือนเดิมอีก
ทั้งเจ้าพระยาและป่าสัก เรือลากจูงพ่นควันพุ้ยน้ำ และจะตามมาด้วยตลิ่งพัง
ไม่ทราบว่าแผนการระบายน้ำเป็นอย่างไร ผลจึงออกมาแบบนี้
เข้าตำราว่า หนีเสือปะจระเข้
ผู้เชี่ชาญเรื่องน้ำหายไปไหนหมดครับ

วันก่อนมีข่าว่าทหาร ขุดลอกคูคลองในเมืองได้ตามเป้าหมาย ขอบคุณครับ
และจะขุดคลองระบายน้ำจากเจ้าพระยาออกแม่กลอง ก็เห็นด้วย
แต่ขอให้จริงอย่างว่านะขอรับ
บันทึกการเข้า
germanman96
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 04 พ.ค. 12, 16:13

ที่บ้านยายผมกลายเป็นสีเขียวน่าตกใจมาก ไม่น่าเชื่อเล่นไม่ได้เลยเดี๋ยวนี้
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 26 พ.ค. 12, 21:40

ทุ่งมะขามหย่อง หรือ ทุ่งมะขามหยอง
วานนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จทุ่งมะขามหย่อง ที่พระนครศรีอยุธยา คงได้ชมการถ่ายทอดสดกันแล้ว
ที่ตั้งทุ่งมะขามหย่องคือ  ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา ที่นี่ไม่เรียกชื่ออำเภอเมือง เหมือนจังหวัดอื่นๆ   
ความสำคัญ  ปัจจุบันเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดประมาณ ๒๕๐ ไร่ ประกอบด้วยพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย และสวนสาธารณะ รายละเอียดอื่นคงทราบ
จากการถ่ายทอดสดแล้ว
แต่ที่อยากจะเล่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ ชื่อและลำน้ำเจ้าพระยา
ชื่อทางการขณะนี้คือทุ่งมะขามหย่อง  ใครทราบคำแปลช่วยกรุณาด้วย แต่ถ้าเป็น ชื่อฉะเพราะคงไม่ต้องแปล
แต่ผมได้รับคำบอกเล่าจากผู้อาวุโสที่เคารพท่านหนึ่ง พื้นเทท่านอยู่บริเวณนั้น
ท่านเล่าว่า ผู้เฒ่าผู้แก่ ท่านบอกว่า  ทุ่งมะขามหยอง  ไม่ใช่ หย่อง

ท่านว่าเป็นที่แห้งแล้ง ห่างไกล ผู้คนไม่อยากผ่าน
ผมไม่แน่ใจคำว่า หยอง จะเป็น หย่องได้หรือไม่ 
ก็บอกให้ทราบเท่านั้น
แต่เมื่อกรุงแตก  แม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้ไหลผ่านบริเวณนี้
แม่น้ำเจ้าพระยาปัจจุบัน ตั้งแต่ บ้านหัวดุม ผ่านบ้านใหม่ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าบ้านใหม่หางกระเบน ขึ้นไปทางเหนือ ก่อนถึงบ้านกุ่ม เรียกบ้านทางหลวง  จนถึงแยกคลองบางบาล  เป็นลำน้ำที่เปลี่ยนทางเดินใหม่เเมื่อร้อยกว่าปีมานี้  เดิมผู้เฒ่าเล่าว่าเป็นทางเดินลัด  ทางควายเดินลงน้ำ ชาวบ้านเรียกว่าทางหลวง 
ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม คือคลองบางบาลปัจจุบัน แต่ไม่ตลอดคลอง

 
บันทึกการเข้า
puyum
พาลี
****
ตอบ: 245


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 05 มิ.ย. 12, 22:22

ก่อนที่จะเขียนเรื่องทุ่งมะขามหย่อง สองสามวัน  เพื่อนจากพิษณุโลก โทรมาถามว่า
แม่น้ำที่ไหลผ่าน หน้าวัดพนัญเชิง คือ แม่น้ำป่าสัก ใช่ไหม
ผมบอกไปว่า เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา  แล้วก็ลืมเรื่องนี้ไป
แต่เมื่อจะมาต่อเรื่องคลองบางบาล
ก็กลับไปทบทวน เรื่องการเปลี่ยนแปลงของลำน้ำเจ้าพระยาจากบางแก้วถึงบางไทร แล้วไปที่ต้นฉบับเดิม ก็พบว่า บทความได้รับการ แก้ไขใหม่เมื่อเดือน เมษายน ที่ผ่านมา จึงตัดมาฝาก 
การเปลี่ยนแนวของแม่น้ำเจ้าพระยาจากบางแก้วถึงบางไทร [/b]
   การเปลี่ยนแนวของแม่น้ำเจ้าพระยาในตอนต่าง ๆ นั้น  ส่วนใหญ่เกิดจากการขุดคลองลัดระหว่างคุ้งของแม่น้ำเจ้าพระยาเองเพื่อต้องการให้ระยะทางสั้นเข้า การคมนาคมจะได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น  การขุดคลองลัดนี้ หากไม่สามารถควบคุมน้ำที่จะให้ไหลผ่านคลองได้ น้ำย่อมกัดเซาะคลองลัดซึ่งเป็นทางตรงให้กว้างออกไปและลึกลง  ในขณะเดียวกันแม่น้ำเดิมซึ่งเป็นทางอ้อมก็จะแคบเข้าและตื้นขึ้นจนถึงระยะหนึ่ง คลองลัดก็จะเปลี่ยนสภาพจากคลองกลายเป็นแม่น้ำ ส่วนแม่น้ำเดิมก็จะเปลี่ยนในทางตรงกันข้าม คือจากแม่น้ำเป็นคลองไป  การเปลี่ยนแนวในลักษณะเช่นนี้ เมื่อเปลี่ยนไปแล้วก็แล้วกัน และใช้แนวที่เปลี่ยนใหม่เป็นแนวแม่น้ำ ไม่มีข้อยุ่งยากในการเรียกชื่อทั้งแนวเดิมและแนวใหม่
   แต่การเปลี่ยนแนวแม่น้ำจากสามแยกบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาขึ้นไป มีข้อยุ่งยากทั้งในการเรียกชื่อและแนวแม่น้ำ ดังจะเห็นได้จากแผนที่มาตราส่วน  1 : 50,000  ของกรมแผนที่ทหารบกฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2504 (สำรวจ พ.ศ.2497 – 2498)   ใช้ชื่อแม่น้ำทั้งที่แยกไปบางปะอินทางตะวันออก  และสีกุกทางตะวันตกว่าแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองทาง  เมื่อดูต่อขึ้นไป แม่น้ำทางตะวันออกคงเรียกแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านเกาะเมืองอยุธยาตั้งแต่ป้อมเพชรไปถึงหัวแหลม แล้วผ่านบ้านใหม่ไปออกที่วัดจุฬามณี ในท้องที่อำเภอบางบาล  ส่วนทางตะวันตกจากสีกุกขึ้นไปลำน้ำมีขนาดเล็กลงเรียก แม่น้ำบางบาล และตอนที่ผ่านอำเภอบางบาลก่อนจะไปออกที่วัดจุฬามณีเรียก คลองบางบาล
   ครั้งค้นแผนที่ซึ่งพิมพ์ก่อนขึ้นไปคือพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2498 (พิมพ์ตามต้นฉบับเดิม พ.ศ.2469 สำรวจ พ.ศ.2459)  แม่น้ำที่แยกไปทางตะวันออกหามีชื่อเขียนไว้ไม่  และตอนจากบ้านใหม่ขึ้นไปถึงวัดจุฬามณีก็มีขนาดเล็กเป็นเพียงคลองเรียก คลองบ้านกุ่ม  ส่วนที่แยกไปทางตะวันตกยังคงเรียกแม่น้ำเจ้าพระยา  แม้ลำน้ำจากสีกุกขึ้นไปถึงวัดจุฬามณีจะไม่ได้เขียนชื่อไว้ แต่ก็มีขนาดกว้างกว่าในฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2504 มาก  เห็นชัดว่าเป็นแม่น้ำ เข้าใจว่าในสมัยนั้นคงเรียกตอนนี้ว่า แม่น้ำเจ้าพระยาด้วย  ถ้าไม่เรียกแม่น้ำเจ้าพระยาก็คงขาดตอนไป  เพราะเรียกทางที่ลงมาบ้านใหม่ว่าคลองบ้านกุ่มเสียแล้ว
   จากเรื่องอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยา  ซึ่งหลวงสินธุกิจปรีชา เรียบเรียงเมื่อ พ.ศ.2486 มีกล่าวไว้ตอนหนึ่ง ดังนี้.-
   “เมื่อแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไหลผ่านพื้นที่ราบนี้มาก  ก็ได้แตกแขนงใหญ่ออกเป็น  3 แขนง  ด้วยกันคือ
     ก.   แม่น้ำสุพรรณบุรี  แยกออกทางฝั่งขวาที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท แล้วไหลผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี ไปออกทะเลที่สมุทรสงคราม
     ข.   แม่น้ำน้อย  แยกออกทางฝั่งขวาที่ตอนใต้จังหวัดชัยนาท และไหลขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยา  แล้วเลี้ยวเข้าบรรจบกันที่ตำบลสีกุก อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
     ค.   แม่น้ำลพบุรี  แยกออกทางฝั่งซ้ายที่บางพุทรา  จังหวัดสิงห์บุรี  ไหลผ่านจังหวัดลพบุรี  ไปบรรจบกับแควป่าสักที่จังหวัดอยุธยา  ครั้นแล้วจึงไหลรวมกันไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา  ที่อำเภอราชคราม (คืออำเภอบางไทรปัจจุบัน)  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”
     ข้อความข้างบนนี้จะเห็นได้ว่า  ในระยะนั้นเรียกลำน้ำจากสีกุกขึ้นไปถึงวัดจุฬามณี  ว่าแม่น้ำเจ้าพระยา  และจากบางไทรไปบางปะอิน เกาะเมืองอยุธยา ว่าแม่น้ำป่าสัก
      จากแผนที่ทั้ง 2 ฉบับ พอจะกล่าวได้ว่า แม่น้ำเจ้าพระยาจากวัดจุฬามณี  ซึ่งเรียกตามแผนที่ฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2498 ว่า ปากคลองบ้านกุ่ม และพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2504 ว่า ปากคลองบางบาล ลงมาถึงบางไทร  ได้เปลี่ยนแนวที่เคยลงทางอำเภอบางบาล สีกุก มาทางบ้านใหม่เกาะเมืองอยุธยา บางปะอิน ในระหว่าง พ.ศ.2459 ถึง พ.ศ.2497  แต่จะเปลี่ยนแน่นอนเมื่อใดนั้นยังหาหลักฐานไม่พบ
    เป็นที่ทราบกันดีว่า  พระนครศรีอยุธยาที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1893 นั้น  สร้างขึ้นบริเวณที่แม่น้ำสายใหญ่  3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำป่าสัก มาประสบกัน ซึ่งทรงเห็นว่าเป็นที่สำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นที่บริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหารแล้ว ยังเป็นประตูบ้านของเมืองเหนือทั้งปวดอีกด้วย แนวของแม่น้ำทั้ง 3 สายในเวลานั้นคงเป็นดังนี้ แม่น้ำลพบุรีไหลลงมาทางเหนือทางลำน้ำบ้านม่วง มาถึงมุมพระนครตรงทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่วัดแม่นางปลื้ม แล้วเลี้ยวไปทางตะวันตกตามคลองเมือง ซึ่งขณะนั้นยังเป็นลำน้ำใหญ่ เป็นแม่น้ำด้านเหนือของพระนคร ไปบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งไหลลงมาทางตะวันตกเฉียงเหนือทางบ้านใหม่ที่หัวแหลม มุมพระนครทางตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วแม่น้ำเจ้าพระยาไหลลงมาทิศใต้ เป็นแม่น้ำด้านตะวันตกของพระนคร  ถึงมุมพระนครทางตะวันตกเฉียงใต้ จึงเลี้ยวไปทางตะวันออก เป็นแม่น้ำด้านใต้พระนคร ไปบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก ซึ่งไหลมาทางตะวันออกทางคลองข้าวสาร หน้าวัดสุวรรณดารารามเดี๋ยวนี้ ที่ป้อมเพชรมุมพระนครทางตะวันออกเฉียงใต้  ต่อจากนั้นแม่น้ำเจ้าพระยาจึงไหลลงทางใต้ เมื่อผ่านบางปะอินแล้วเลี้ยวไปทางตะวันตกไปออกบางไทร
     พระนครศรีอยุธยาเมื่อแรกสร้าง มีเพียงแม่น้ำเพียง 3 ด้าน คือ ด้านเหนือแม่น้ำลพบุรี  ด้านตะวันตกและด้านใต้แม่น้ำเจ้าพระยา  ส่วนด้านตะวันออกนั้น แม่น้ำป่าสักยังไหลลงทางคลองหันตรา (บางแห่งว่าทางคลองวัดเดิม ซึ่งเดี๋ยวนี้เป็นคลองแยกจากคลองหันตราอีกทีหนึ่ง) มาออกคลองข้าวสาร ยังอยู่ห่างจากพระนคร  จึงได้ขุดลำคูขื่อหน้า คือ แม่น้ำป่าสักในปัจจุบัน จากแม่น้ำลพบุรีตรงมุมพระนครทางตะวันออกเฉียงเหนือมาออกแม่น้ำที่ป้อมเพชร เป็นลำน้ำด้านตะวันออกของพระนคร เป็นอันว่าพระนครศรีอยุธยาเป็นเกาะ มีลำน้ำล้อมรอบทั้ง 4 ด้านตั้งแต่นั้นมา
     แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี และแม่น้ำป่าสัก บริเวณพระนครศรีอยุธยาทั้ง 3 สายนี้ มีการเกี่ยวโยงถึงกันและกันมาก และต่างก็เปลี่ยนแนวใหม่ด้วยกันทั้งนั้น  หากจะไม่นำการเปลี่ยนแนวของแม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำป่าสักมากล่าวไว้ด้วย  ก็ดูเรื่องนี้จะขาดความสมบูรณ์ไป  ครั้นจะนำมารวมกล่าวไว้เรื่องก็จะยาวไป  และที่สำคัญก็อาจเขียนเรื่องนี้ไม่ทันเวลา  ฉะนั้น จึงขอนำไปกล่าวเป็นเรื่องหนึ่งในโอกาสต่อไป
     เมื่อกล่าวมาถึงตอนนี้  ข้อความในตอนต้นที่ว่า แม่น้ำเจ้าพระยาจากบ้านใหม่ ผ่านเกาะเมืองอยุธยา  บางปะอินมาบางไทร เป็นแนวที่เปลี่ยนใหม่ระหว่าง พ.ศ.2459 ถึง พ.ศ.2497  กลับกลายเป็นแนวเดิมไป  ส่วนแนวแม่น้ำทางอำเภอบางบาล สีกุก บางไทร ก็กลายเป็นแนวใหม่ของแนวนี้อีกชั้นหนึ่ง
     ในเมื่อการณ์กลับกลายเป็นเช่นนี้  ทั้งได้พบจากตำนานกรุงเก่าที่พระยาโบราณราชธานินทร์ เรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ.ศ.2450  ตอนหนึ่งว่า
     “ต่อมาในราว 50 – 60 ปี ล่วงมานี้  มีทางน้ำเกิดขึ้นใหม่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ข้างวัดจุฬา ตำบลบ้านกุ่ม สายน้ำพัดแรงจัด กัดคลองลึกกว้างมาบรรจบแม่น้ำบ้านใหม่ มะขามหย่อง เป็นทางตรง”
     ซึ่งแสดงโดยชัดเจนว่า คลองบ้านกุ่มไม่ใช่แม่น้ำเดิม และคลองนี้มีขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2400 นี้เอง  ฉะนั้น แนวแม่น้ำตอนเหนือบ้านใหม่จึงขาดหายไป
     ได้พบข้อความเกี่ยวกับแม่น้ำตอนเหนือบ้านใหม่นี้ ในเรื่องปิดน้ำบางแก้ว จากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ตอนหนึ่ง ดังนี้
     “ในปีระกาเบญจศกนั้น (พ.ศ.2356)  โปรดให้เจ้าพระยายมราช (น้อย)  ซึ่งได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาอภัยภูธรที่สมุหนายก  เมื่อเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (กุน)  ถึงอสัญกรรม  เป็นแม่กองเกณฑ์คนเมืองนครราชสีมา  ตลอดจนเมืองเวียงจันทน์  และหัวเมืองฝ่ายตะวันออกเมืองนครราชสีมาออกไป เข้ามาระดมกันทำทำนบกั้นลำน้ำที่เมืองอ่างทอง  เพื่อจะให้สายน้ำไหลเข้าทางคลองบางแก้ว ซึ่งตื้นเขิน ให้กลับใช้เรือเดินได้ตลอดปีดังก่อน
     เนื้อความที่กล่าวในพระราชพงศาวดารตรงนี้ ผู้ที่ไม่ได้ทราบเรื่องทางน้ำในประเทศนี้แต่โบราณมา แม้จะไปดูที่คลองบางแก้วในเวลานี้น่าจะประหลาดใจว่า ทำไมจึงเกณฑ์คนเข้ามาทำทำนบปิดลำแม่น้ำเจ้าพระยาในครั้งนั้น  อันความจริงที่เป็นมาแต่เดิมนั้น ลำแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้ลงทางหน้าเมืองอ่างทองทุกวันนี้  ลำแม่น้ำเข้าทางบางแก้วมาทางคลองเมืองกรุงเก่า ลงทางวัดพุทไธศวรรย์ มาออกตรงป้อมเพชร แม่น้ำตอนใต้บางแก้วเดิมเป็นแค่คลองขุดมาต่อลำแม่น้ำน้อย  แต่สายน้ำมาเดินเสียทางคลองขุดนี้ กัดแผ่นดินกว้างลึกออกไปเป็นลำแม่น้ำทางบางแก้วจึงตื้นเขินขึ้นทุกที จนใช้เรือไม่ได้ในฤดูแล้ง  ด้วยเหตุนี้ จึงไปทำทำนบปิดทางใหม่ซึ่งน้ำกัด ประสงค์จะให้สายน้ำกลับไปเดินทางบางแก้วซึ่งเป็นลำแม่น้ำเดิม  แต่ทำนบซึ่งทำเมื่อปีระกาญเบญจศกนั้นทานกำลังไม่อยู่  ถึงฤดูน้ำเหนือหลากทำนบก็พังไม่ได้ประโยชน์ดังคาด  สายน้ำลำแม่น้ำเจ้าพระยาจึงลงมาทางเมืองอ่างทองตราบเท่าทุกวันนี้”
     จากพระนิพนธ์นี้เป็นอันได้ความว่า  แม่น้ำเจ้าพระยาแต่เดิมลงทางคลองบางแก้วเดี๋ยวนี้  แต่บริเวณพระนครศรีอยุธยา หากแม่น้ำลงทางคลองเมืองก็ต้องมาจากลำน้ำบ้านม่วง ซึ่งเป็นแม่น้ำลพบุรีสายเดิม  แม่น้ำลพบุรีสายเดิมจะต้องมาบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างน้อยก็ต้องไม่ต่ำกว่าวัดวรนายกรังสรรค์ อำเภอบางปะหัน ปากคลองบ้านม่วงในปัจจุบัน ซึ่งอยู่เหนือพระนครขึ้นไปมาก  ไม่ใช่แม่น้ำ  3 สาย มาประสบกันที่บริเวณพระนคร
     ในตำนานกรุงเก่านั้นเอง  ได้พบข้อความที่กล่าวถึงลำน้ำบ้านใหม่  อีกตอนหนึ่งว่า
     “แม่น้ำอีกสายหนึ่งแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางแก้ว ลงบางนางร้า มาทุ่งบ้านนนทรี ออกปากน้ำพุดเลา บรรจบแม่น้ำสายที่มาจากแม่น้ำลพบุรีที่มุมพระนครด้านตะวันตก ซึ่งเรียกว่า หัวแหลมนั้น”
     เมื่อพิจารณาแผนที่ฉบับสำรวจเมื่อ พ.ศ.2429  จะเห็นว่า แนวลำน้ำบ้านใหม่ คือ คลองบางแก้ว  และก่อนจะบรรจบแม่น้ำลพบุรีที่อำเภอมหาราช เลี้ยวลงคลองบ้านแจ้ง คลองบางนางร้า คลองบ้านรี คลองนนทรี ซึ่งแผนที่ฉบับสำรวจต่อมาเมื่อ พ.ศ.2497 – 2498 เรียก 2 คลองหลังนี้ว่า คลองบางแพ่ง มาออกบ้านใหม่ ผ่านคลองพุดเลาซึ่งเรียกว่าปากน้ำพุดเลา มาหัวแหลม ตรงตามที่กล่าวไว้ในตำนานกรุงเก่า  และเมื่อยังหาหลักฐานที่ดีกว่านี้ไม่ได้  ฉะนั้น ในชั้นนี้จึงขอสันนิษฐานว่า ลำน้ำบ้านใหม่ คือ แม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ที่ลงทางบางแก้วมาพระนครศรีอยุธยาไปก่อน  ถ้านำเอาข้อความในสาส์นสมเด็จภาค 45  ที่กล่าวถึงแม่น้ำน้อยไว้ตอนหนึ่งว่า
     “มีแม่น้ำน้อย (ที่ตั้งเมืองสรรค์)  อีกสายหนึ่งมาใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บ้านอ่างทองข้างใต้บางแก้ว  แล้งลงมาผ่านบ้านป่าโมกมาออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางไทร”  และอีกตอนหนึ่งว่า “อยู่มาคงเป็นเพราะขุดคลองลัดจากแม่น้ำเจ้าพระยา จากบางแก้วมาทะลุแม่น้ำน้อย ใกล้ ๆ บ้านอ่างทอง  ตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา”
     มาประกอบก็พอที่จะประมวลเรื่องการเปลี่ยนแนวของแม่น้ำเจ้าพระยาจากบางแก้วถึงบางไทรได้ตามลำดับดังนี้
     เดิมแม่น้ำเจ้าพระยาไหลลงทางคลองบางแก้ว คลองบ้านแจ้ง คลองบางแพ่ง มาออกบ้านใหม่ ผ่านพระนครศรีอยุธยา บางปะอิน มาบางไทร
     ครั้นในสมัยอยุธยา ได้ขุดคลองลัดจากบางแก้วลงมาบรรจบแม่น้ำน้อยที่อ่างทองซึ่งอยู่ใต้ลงไปเล็กน้อย  คลองลัดในแผนที่แสดงไว้ชัดเจนว่าขุดออกจากท้องคุ้ง  น้ำจึงไหลลงทางคลองลัดแรงทำให้แม่น้ำทางบางแก้วลงไปตื้นเขินโดยลำดับ  มาจนปลายสมัยอยุธยา  หรือต้นสมัยรัตนโกสินทร์ แม่น้ำเจ้าพระยาจึงเปลี่ยนแนวมาทางแม่น้ำน้อยสายเดิม  คือจากบางแก้วมาป่าโมก  วัดจุฬามณี  บางบาล  สีกุก  มาบรรจบกับแม่น้ำตามแนวเดิมที่บางไทร  นับเป็นการเปลี่ยนครั้งที่ 1
     ด้วยเหตุที่เกาะเมืองอยุธยาเป็นที่รวมของแม่น้ำใหญ่ถึง  3 สาย  นอกจากนี้ยังมีคลองหัวสะพาน ซึ่งขุดขึ้นในสมัยอยุธยา  และคงเป็นคลองขนาดใหญ่  เพราะปรากฏว่าในสมัยนั้นมีเกาะมหาพราหมณ์  อยู่ในคลองนี้ ขุดจากแม่น้ำน้อยสายเดิมที่ใต้อำเภอบางบาลมาต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใต้บ้านใหม่  ฉะนั้น แม้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ลงทางบางแก้วจะตื้นเขินกลายเป็นคลองไป  แม่น้ำตอนใต้บ้านใหม่ลงมาจึงยังคงเป็นแม่น้ำอยู่  ทั้งความทรงจำที่ว่า พระนครศรีอยุธยาตั้งอยู่บนแม่น้ำเจ้าพระยาได้มีมาช้านาน  แม้ในแผนที่จะไม่ได้เขียนชื่อแม่น้ำเจ้าพระยากำกับแนวแม่น้ำไว้  สามัญชนก็ยังคงเข้าใจและเรียกว่าแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ตามเดิม
     ต่อมาประมาณ พ.ศ.2400 ได้ขุดคลองบ้านกุ่มจากวัดจุฬามณี เป็นคลองลัดมาลงแม่น้ำที่บ้านใหม่ และก็ขุดออกจากท้องคุ้งเช่นเดียวกัน น้ำไหลลงทางคลองนี้แรงและเชี่ยวจัด ทำให้แม่น้ำทางอำเภอบางบาลตื้นและแคบเข้า ในเวลาไม่ถึงร้อยปี แม่น้ำเจ้าพระยาจากวัดจุฬามณี ก็เปลี่ยนแนวกลับมาทางบ้านใหม่ เกาะเมืองอยุธยา บางปะอิน บางไทร ซึ่งเป็นแม่น้ำเดิม นับเป็นการเปลี่ยนเป็นครั้งที่ 2 และยังคงเป็นอยู่มาจนทุกวันนี้
     ที่สีกุกก็เช่นเดียวกับที่เกาะเมืองอยุธยา  โดยเป็นที่รวมของแม่น้ำสีกุก  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำน้อยในปัจจุบัน  และแม่น้ำน้อยสายเดิมซึ่งเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่เปลี่ยนเป็นครั้งที่ 1  และเป็นคลองบางบาลในปัจจุบัน  ฉะนั้น แม้ลำน้ำทางคลองบางบาลจะตื้นเขิน  แม่น้ำจากสีกุกลงมาบางไทร ก็ยังคงเป็นแม่น้ำอยู่และก็เพิ่งเปลี่ยนมาไม่นาน  ในแผนที่ฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2504  จึงยังคงเรียกว่าแม่น้ำเจ้าพระยา  เป็นอันว่าในแผนที่ฉบับนี้ แม่น้ำเจ้าพระยามี  2 ทาง  ดังกล่าวมาแล้วในตอนต้น
     เป็นที่น่ายินดีว่าในอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1 ซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ.2506 ได้เรียกแม่น้ำน้อยต่อจากสีกุกมาจนออกบางไทร นับว่าเป็นไปตามหลักวิชาการ เช่น ที่หลวงสินธุกิจปรีชา เคยเรียกแม่น้ำจากป้อมเพชรผ่านบางปะอิน มาบางไทร ในเมืองแม่น้ำเจ้าพระยายังลงทางบางบาล สีกุก บางไทร ว่า แม่น้ำป่าสัก
     เรื่องนี้ขอจบลงด้วยข้อความว่า การเปลี่ยนแนวของแม่น้ำเจ้าพระยาจากบางแก้วถึงบางไทร เปลี่ยนโดยการขุดคลองลัดจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปต่อกับแม่น้ำสายอื่นทั้ง 2 คราว  และมีข้อยุ่งยากในการเรียกชื่อทั้งแนวเดิมและแนวใหม่ เป็นข้อแตกต่างไปจากการเปลี่ยนแนวของแม่น้ำเจ้าพระยาในตอนอื่น ๆ แต่ก็หวังว่า จากเรื่องนี้พอที่จะช่วยให้ข้อยุ่งยากบรรเทาลงไปได้บ้าง

ผู้เรียบเรียง : อดุล    อิ่มโอชา
23  มิถุนายน  2512
ที่มา : หนังสือ บทความบางเรื่อง
โดย แผนกสถิติวิจัย  กองแผนงาน  กรมชลประทาน 
27  มิถุนายน  2515
แก้ไขล่าสุด (วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน 2012 เวลา 19:36 น.)
 
Copyright © 2012 สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กรมอาคารที่ทำการฝ่ายวิชาการ ชั้น 4 กรมชล

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 05 มิ.ย. 12, 22:32

ขอบคุณครับ ปีนี้น้ำคงไม่มากเหมือนปีที่ผ่านมา
ธรรมชาติดูเหมือนว่าจะผิดปกติ ร้อน ฝนตกพายุลมแรง แผ่นดินไหวถี่ขึ้น
เมื่อวานพบหลาน เขาขึ้นมามาจากแท่นเจาะน้ำมัน บอกว่ารอบเดือนที่ผ่านมา
ก๊าซธรรมชาติพุ่งแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
หลบร้อนไปดูลิเกหลังโรงดีกว่า

แหม เห็นลิเกแล้วนึกถึง "กระต่ายเต้น"

จันทราลอยแจ่มฟ้าเด่น คืนเดือนเพ็ญมองเห็นเย็นตา....
โบราณคนเก่าเล่าว่า   ยายตาทำนาสองคน....  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 10
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง