bhijja
อสุรผัด

ตอบ: 4
|
พอดีเจอรูปนี้จากหนังสือเรื่องเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในหัวข้อแพรห่มจุลจอมเกล้าสำหรับฝ่ายในน่ะครับ
คำบรรยายรูปก็บอกแต่เพียงว่า "ภาพแสดงการห่มผ้าแพรปักทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษประดับพวงตราทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพร้อมเครื่องยศ"
แต่ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นผู้ใดน่ะครับ ทราบแต่เพียงคร่าว ๆ ว่าเป็นผู้ได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษเท่านั้นเองครับ
ท่านผู้ใดที่ทราบหรือมีข้อมูลอะไรเพิ่มเติมขอรบกวนชี้แจงให้ทราบด้วยนะครับ ขอบคุณมาก ๆ ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ritti018
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 16 มิ.ย. 11, 15:27
|
|
เอ่อ.........ท่านผู้หญิงตลับ ยมราช(2411-2474) ภริยาของ เจ้าพระยายมราช(ปั้น สุขุม)รึปล่าวครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 16 มิ.ย. 11, 16:10
|
|
ลองเทียบภาพคุณหญิงตลับ พ.ศ. 2460
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 16 มิ.ย. 11, 16:11
|
|
พ.ศ. 2463
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 16 มิ.ย. 11, 16:18
|
|
พ.ศ. 2445
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
bhijja
อสุรผัด

ตอบ: 4
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 16 มิ.ย. 11, 16:29
|
|
โอ้ ขอบคุณคุณ ritti018 กับคุณ siamese มาก ๆ เลยครับ ถ้าท่านใดมีประวัติหรือเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจของท่านผู้หญิงตลับก็โพสเพิ่มเติมได้นะครับ ขอบคุณทุกท่านมาก ๆ อีกครั้งครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 02:02
|
|
ตอนท่านอยู่เมืองนอก ท่านทำอาหารไทยถวายเจ้านายเล็ก ๆ ตลอด เป็นที่โปรดปราน
พระมารดาของเจ้านายก็พระราชทานวัตถุดิบออกไปให้เสมอ
หลังจากกลับมาเมืองไทยแล้ว ท่านปั่นเนยเอง และนำไปถวายเจ้านายเหล่านั้นตามโอกาสอันควร เพราะจะเสวยของใครก็ไม่โปรดเท่า
ดิฉันอ่านเอกสารโบราณฉบับหนึ่งที่ลงข่าวว่า ท่านผู้หญิงเสริฟปลาทูทิฟฟิน ให้กับชาวต่างประเทศที่มาเยี่ยมที่บ้านศาลาแดง
ทิฟฟินคืออาหารจานเดียว ใช้เรียกกันอยู่ใน บริติช อินเดีย เป็นอาหารเบา กินพออิ่ม
หนังสือพิมพ์ฝรั่งในเมืองไทยก็เสนอข่าวเป็นเชิงเสียดสี ในหลวงเรียกท่านเจ้าคุณไปเฝ้าแล้วทรงยื่นบทความให้ดู แต่มิได้รับสั่งอะไร
มหาเศรษฐีไทยต้อนรับนักข่าวต่างประเทศในยามสิบโมงเช้า สั่งอาหารจากโรงแรมหรูมาให้ เมนูสุดพิสดาร
เมื่อเจ้าบ้านจัดอะไรมา แขก(ในที่นี้คือฝรั่ง)ก็ควรก้มหน้ากินโดยดี
สหายชมรมนักอ่านของดิฉันล้วนเป็นผู้มีมารยาทยอดเยี่ยมทั้งสิ้น เสนออาหารอะไรไม่เคยปฎิเสธ "อึ้งย้ง" (วันดี) ปลื้ม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 07:10
|
|
อ่านเนื่องในหลวงพระราชทานหนังสือพิมพ์ให้เจ้าคุณเสนาบดอ่านแล้ว ชวนให้นึกถึงเรื่อง "ศศิวิไลซ์๐ ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยมีพระราชวิจารณ์ถึงฝรั่งที่เข้ามาเมืองไทยในยุคนั้นว่า มีอยู่ ๒ ประเภท คือ ประเภทหนึ่งที่เข้ามาทำราชการในเมืองไทย พวกนี้มักจะคบค้าสมาคมแต่พวกดียวกันแล้วมักจะดูหมิ่นคนไทยว่าเป็นชนชั้นต่ำ อีกพวกหนึ่งเป็นพวกฝรั่งพเนจนที่เข้ามาแสวงโชคในเมืองไทย ฝรั่งพวกนี้มักเป็นฝรั่งชั้นต่ำที่ไม่มีความรู้ เมื่อเข้ามาบ้านเราก็มาเอาใจคนไทยเพื่อแสวงประโยชน์ ข้างคนไทยก็เห็นว่าได้คบกับฝรั่งเป็นของโก้เก๋ ผลสุดท้ายเมืองไทยจึงป่วยเป็นโรค "ศิวิไลซ์"
สรุปแล้วฝรั่งก็ไม่ใช่ดีเลิศไปกว่าคนไทย จริงไหมครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 09:18
|
|
ท่านผู้หญิงตลับ อยู่ในสกุล ณ ป้อมเพชร์ เป็นบุตรีของพระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรา (นาค ณ ป้อมเพชร์) อดีตผู้รักษากรุงเก่า กับ ม.ร.ว. ลำเจียก (ภุมรินทร์) และเป็นพี่สาวของพระสมุทบุรานุรักษ์ (ขำ) ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาวรุณฤทธีศรีสมุทปราการ พระยาเพชร์ชฎา และ "พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์)" ตามลำดับ
มีเกร็ดเล่าว่า ขณะประทับแรมที่อ่างศิลา พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลแก่พระสมุทบุรานุรักษ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองสมุทปราการ ในความจริงคือพระสมุทฯเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว โดยยังไม่ได้คิดขอพระราชทานนามสกุล เพราะเรื่องนี้ยังไม่ได้ปรึกษาญาติที่สืบจากบรรพบุรุษเดียวกัน แต่เมื่อได้เข้าเฝ้าถวายบังคมแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชกระแสขึ้นก่อนว่า "ถ้าจะมาขอนามสกุลละกระมัง" (ระหว่างนั้นกำลังทรงพระสำราญในการทรงพระราชดำรินามสกุลข้าราชบริพารที่ใกล้ชิด) ท่านก็เลยกราบบังคมทูลสนองพระราชกระแสรับสั่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงคุ้นเคยกับพระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรา (นาค) อดีตผู้รักษากรุงฯ บิดาของพระสมุทบุรานุรักษ์ และทรงคุ้นเคยกับท่านผู้หญิงยมราช (ตลับ สุขุม) พี่สาวของพระสมุทฯ จึงได้ทรงเล่าในท่ามกลางผู้เข้าเฝ้าถึงบรรพบุรุษของพระสมุทฯว่า เป็นคนในบ้านสมเด็จพระปฐมบรมราชชนกในรัชกาลที่ 1 ตั้งบ้านอยู่บริเวณป้อมเพชร์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถือเป็นข้าหลวงเดิม ลูกหลานก็สืบเชื้อสายตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บริเวณป้อมเพชร์ต่อๆกันมา โปรดเกล้าฯตั้งลูกหลานเป็นผู้ช่วยผู้รักษากรุงฯบ้าง ผู้รักษากรุงฯบ้าง ต่อๆกันมาหลายชั่วคน นับเป็นสกุลเก่าอยู่ในกรุงศรีอยุธยา แล้วทรงรับสั่งว่า "จะให้ว่า 'ณ อยุธยา' ก็ไม่ได้ เพราะ 'อยุธยา' เป็นของฉัน" หมายถึงราชสกุลจักรี ก็ทรงให้ราชเลขานุการที่ตามเสด็จเขียนบัตรตั้งนามสกุล ทรงลงพระปรมาภิไธย "วชิราวุธ ป.ร." พระราชทานแก่พระสมุทบุรานุรักษ์ (ขำ) ว่า "ณ ป้อมเพชร์" เขียนเป็นอักษรโรมันว่า "na Pombejra"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 09:26
|
|
บุคคลที่มีชื่อเสียงบางท่านในสกุล ณ ป้อมเพชร
มหาอำมาตย์ตรี พระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร) อธิบดีกรมราชทัณฑ์คนแรกของประเทศ ท่านผู้หญิงตลับ สุขุม ภริยา มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ) ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยา ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ท่านเป็นบุตรีของพระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร์) กับ คุณหญิงเพ็ง ชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา (สุวรรณศร) ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร ราชบัณฑิต คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ท.พญ.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ภริยา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหลานยายของนางอัมพา สุวรรณศร (น้องสาวของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์) บุตรีพระยาชัยวิชิตวิศิษฏ์ธรรมธาดา (ขำ ณ ป้อมเพชร)
ขอถามคุณ V_Mee ว่านามสกุล ณ ป้อมเพชร สะกดอย่างไรกันแน่ เพราะมีทั้ง ณ ป้อมเพชร์ และ ณ ป้อมเพชร (ไม่มีการันต์) ดิฉันเช็คจากเว็บวังพญาไท เรื่องนามสกุลพระราชทาน สะกดว่า ณ ป้อมเพชร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 09:49
|
|
ท่านผู้หญิงตลับ พร้อมด้วยพระวิจิตรวรสาส์น อุปทูตสยาม ณ กรุงลอนดอน (เจ้าพระยายมราช(ปั้น สุขุม)) ถ่ายไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ในชุดเจ้าสาวที่สวยงามครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 18 มิ.ย. 11, 18:08
|
|
เรียนคุณ V_Mee ที่นับถือ
ข้อมูลและความเป็นมาของ ฝรั่งนักเผชิญโชค ที่ซัดเซมาสู่สยาม ไม่เป็นที่ทราบของพวกเราเพราะการลอกต่อกันมา
มิชชันนารีบางคนก็ตั้งใจจะไปประเทศจีน เพราะการผจญภัยและสร้างฐานะในอินเดียหมดสมัยเสียแล้ว
ท่านเหล่านั้นพอลงเรือก็วิจารณ์เจ้าของเรือ เจ้าของห้องนอนที่ตัวไปอาศัยซุกหัวว่าป่าเถื่อน จุดธูปไหว้รูปเคารพได้ทุกเช้า
จดหมายเหล่านี้หาอ่านได้โดยง่าย เพราะสมาคมมิชชันนารีเก็บใส่กล่องไว้หลายสิบปี
บางคนก็เป็นกำพร้าเพราะโรคภัยไข้เจ็บของคนชั้นล่างในประเทศที่เจริญแล้วก็มาก เรียนหนังสือไม่จบชั้นมัธยมต้น
เช่นนายน้อกซ์เป็นต้น นักประวัติศาสตร์ไทยก็ยกย่องว่ามาจากสกุลผู้ดีเป็นนักหนา มาทำประโยชน์ให้ประเทศสยาม
ร้อยเอกอิมเป ที่เข้ามาทำงานในเมืองไทย หนึ่งปี นั้น หนีความอับอายที่พม่ามา เพราะกระทำผิดร้ายแรงประเภท
เงิน ๆ ทอง ๆ โดนนายทหารฝรั่งสั่งเฆี่ยนต่อหน้ากองทัพ ซึ่งเป็นเรื่องเสื่อมเกียรติมาก เขาแสร้งทำป่วยโดยให้ภรรยา
ออกหน้าเพื่อถ่วงเวลาการหลบหนีไม่ให้ตามทัน อิมเปมารับจ้างทำงานอยู่ปีหนึ่งแล้วก็เผ่นหายไปไม่รู้ดีร้่าย
น่าจะร้ายมากกว่าดี เพราะใครเล่าจะจ้างคนหนีทัพ แต่ออกข่าวว่าสยามจ่ายเงินเดือนน้อย
ทนไม่ไหว เรื่องมิชชันนารีหลายคนที่ไปโด่งดังในประเทศจีนนั้น วันหน้าคงได้เรียงประวัติแล้วนำมาเล่ากัน
การเฆี่ยนนายทหารชาวอังกฤษนั้น ไม่น่าจะถูกธรรมเนียมเลย จึงสงสัยว่าอิมเปไม่ใช่ชาวอังกฤษ
ที่คิดเช่นนี้เพราะได้ตามประวัติฝรั่งในกองทัพโดยดูจังหวัดที่เกิด ทะเบียนการแต่งงาน ทะเบียนการศพ รายนามที่สุสาน
โลกของนักอ่านนั้นกว้างขวาง ที่ทิ้งเป็น ............. ในหนังสือประวัติส่วนบุคคลของบุคคลสำคัญของไทยนั้น
นักค้นคว้่าค้นหลักฐานต้นฉบับเจอแล้วค่ะ นักอ่านยื่นหน้าเข้ากลุ่มไปที่แถวๆหอสมุดแห่งชาติ เขาก็อ่านให้ฟัง สนุกสนานเป็นกำลัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
kwang satanart
อสุรผัด

ตอบ: 48
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 17 ก.ค. 11, 15:37
|
|
เอ..คุณหญิงพจมาน ไม่ได้มาจาก ดามาพงศ์ หรือคะ หรือว่าทางสายแม่มาจาก ณ ป้อมเพ็ชร คะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
V_Mee
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 17 ก.ค. 11, 18:12
|
|
ในสมุด "ทะเบียฬนามสกุล" ทรงพระราชบันทึกไว้ว่า "ณ ป้อมเพชร์" แต่ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษเป็น "ณ ป้อมเพชร" ครับ
คุณหญิงพจมานนั้น นามสกุลบิดาคือ ดามาพงศ์ ส่วนมารดานั้นสกุลเดิม ณ ป้อมเพชร
ขอบพระคุณคุณวันดีเป็นอย่างสูงครับที่กรุณานำเรื่องฝรั่งพเนจรมาให้อ่านกัน และเพราะฝรั่งพเนจรนี้ละกระมังที่มำให้เราต้องเสียดินแดนไปมากมายก่ายกอง แต่นักวิชาการบ้านเราบางคนก็ยังหลงบูชาฝรั่งกันอยู่มิใช่หรือครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|