เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 7493 พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) และคุณหญิงเชย สิงหเสนี
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 23:31


จาก  หนังสือ "โคลงภาพพระราชพงศาวดาร"
พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ  ปีจอ  พ.ศ. ๒๔๖๕

พระยาอนุชิต  ชาญไชย (สาย) เป็นบุตรที่สองของพระยาเพ็ชรชฎา (ดิศ)  และคุณหญิงนุ่ม

เกิดในรัชกาลที่ ๔ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑๐ พฤษภาคม  ปีเถาะ  พ.ศ. ๒๓๙๘

ได้เล่าเรียนในสำนักของบิดา

เป็นศิษย์ในสำนักของสมเด็จพระวันรัตน(ทับ พุทธศิริ)  วัดโสมนัสวิหาร ในคราวบวชเป็นสามเณรแลคราวบวชเป็นพระภิกษุ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 14 มิ.ย. 11, 23:53


เจ้าพระยาอภัยราชา(ปิ่น)  ผู้เป็นต้นสกุล   เป็นข้าหลวงเดิมในพระองค์พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ได้โดยเสด็จการราชสงครามหลายครั้ง  ถึงเคยต้องอาวุธข้าศึกบาดเจ็บ

เป็นตัวสำคัญช่วยปราบปรามจลาจลในกรุงธนบุรีด้วยคนหนึ่ง


ได้โปรดให้เป็นพระยาพลเทพ  เสนาบดีจัตุสดมภ์กรมนา

ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาอรรคมหาเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหมตลอดรัชกาลที่ ๑

ในรัชกาลที่ ๒  ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาอภัยราขา  รับราชการเป็นตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยาฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล

บุตรที่มีชื่อเสียงคือ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์)

ในรัชกาลที่ ๔  บุตรของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์)  คือ เจ้าพระยามุขมนตรี(เกษ)  ได้ช่วยบิดาทำศึกสงครามมีความชอบ
เจ้าพระยานครราชสีมา(แก้ว) มีชื่อเสียงในการปกครองบ้านเมือง  ได้เป็นเจ้าพระยายมราช

บุตรของเจ้าพระยายมราช(แก้ว) คือ พระยาเพ็ชรชฎา(ดิศ)


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 00:09


ยังมีหนังสือ สกุลสิงห์เสนี และ เครือญาติ  อีก สองสามเล่ม

เล่มที่อยู่ในมือคือ ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ ของ รองเสวกเอก ขุนประทักษ์สุนทรวิท(กระจ่าง  สิงห์เสนี)
ที่ เมรุวัดเทพศิรินทร์ทราวาส   เมื่อวันที่ ๖  สิงหาคม  พ.ศ. ๒๔๘๒   

คงมีโอกาสได้นำมาขยายความต่อไป  เพราะได้เล่าเรื่อง ตำนานอนุสสาวรีย์ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิง) ไว้
มีชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องเอ่ยไว้   ขัดแย้งกับตำนานบางเล่ม

ในที่นี้  ขอ กลับไปที่  พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย)

ตัวสะกดของแต่ละท่าน  รักษาความเดิมตามเอกสาร

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 00:18

สืบเนื่องมาจากกระทู้แฟนพันธุ์แท้ของคุณหลวงเล็ก  ได้ถามเรื่องพระยาอนุชิตชาญไชย

ดิฉันผู้อ่านประวัติขุนนางแล้วก็พยายามเชื่อมโยง เรื่องราวเข้าด้วยกัน

สิ่งที่น่าสนใจ คือ  คุณหญิงเชย  เกิดใน รัชกาลที่ ๔  เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๙ พฤศจิกายน  ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๐๑

เป็นธิดา  พระยาอนุชิตชาญไชย (ผึ้ง  สุวรรณทัต)  และคุณหญิงเกสร


พระยาอนุชิตชาญไชย(สาย  สิงหเสนี)  เป็น บุตรเขยของ พระยาอนุชิตชาญชัย(ผึ้ง  สุวรรณทัต)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 08:23


พระยาอนุชิตชาญไชย(สาย)  เข้ารับราชการในรัชกาลที่ ๕

พอเสร็จการบวชเป็นสามเณรแล้วอายุได้ ๑๕ ปี    บิดาก็นำถวายตัวเป็นมหาดเล็กหลวงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ 
ประจวบเวลาตั้งกรมมหาดเล็ก   พระยาอนุชิตฯ จึงได้เป็นทหารมหาดเล็กตั้งแต่แรกเข้ารับราชการ

ไม่ช้าก็ได้เป็นนายสิบ  แล้วเลื่อนยศขึ้นโดยลำดับจนเป็นนายสิบเอก   

ในชั้นแรกนั้นกำหนดบันดาศักดิ์นายทหารมหาดเล็กที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร

นายร้อยโทเป็นจมื่น

นายร้อยตรีเป็นหลวง

จ่านายสิบ (เกาวริงซายันต์)  เป็นนายมีราชทินนาม   พระยาอนุชิตฯ  แรกได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖
เป็น นายสรพลเรืองเดช  จ่านายสิบทหารราบ  กองร้อยที่ ๔
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 08:29

ดีครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 08:33

ดีครับ ยิงฟันยิ้ม

ดีเหมือนกันครับ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 09:18


หนังสือเล่มที่ใช้ ปกแข็งลายน้ำสีฟ้าอ่อน  มีลายทองเป็นกรอบ

มีรอยแมลงกินเล็กน้อย  เชือกที่เย็บโยง  ขาดปุดหายไปแล้วค่ะ


เล่ม พ.ศ. ๒๔๘๒ ปกอ่อน  มีกรอบเป็นลายสิงห์

มีประโยชน์คือสายสกุลและเครือญาติ


จำได้ว่ายังมีอีกเล่มที่สหายผู้มีอุปการะคุณขอให้ไปถ่ายเอกสารให้

ตอนนี้ยังหาไม่เจอค่ะ


หนังสืออนุสรณ์ก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐  หายากมากแล้วค่ะ  แบ่งเป็นประเภทหายากด้วยแล้ว

เป็นสินค้าปรีเมี่ยมส่งมหาวิทยาลัยต่างประเทศ


ใจหายไม่อยากนึกถึง
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 12:58


ครั้นตั้งทหารม้าขึ้นในกรมมหาดเล็ก   ได้รับเลือกเป็นทหารม้า

พ.ศ. ๒๔๒๖  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ย้ายไปรับราชการในกรมพระตำรวจ  พระราชทานสัญญาบัตร
มีบันดาศักดิ์เป็นจมื่นไชยาภรณ์  ตำแหน่งปลัดกรมพระตำรวจใหญ่ขวา

พ.ศ. ๒๔๒๘  มีโอกาสได้เป็นข้าหลวงพิเศษขึ้นไปไต่สวนคดีเกี่ยวกับคนในบังคับต่างประเทศที่ลพบุรี
คุณวุฒิปรากฎแพร่หลายในครั้งนี้เป็นครั้งแรก

พ.ศ. ๒๔๒๘  โปรดให้ไปราชการทัพกับกองทัพของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

พ.ศ.​๒๔๓๓  เปนผู้บังคับการทหารม้า ได้เป็นนายพันตรีทหารบก

เลื่อนเป็นพระราชวรินทร์  เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา

เลื่อนเป็นราชองครักษ์  เลื่อนยศเป็นนายพันโท  ผู้บังคับกองทหารรักษาพระองค์




พ.ศ. ๒๔๓๖  เมื่อไทยเป็นอริกับฝรั่งเศส  โปรดให้พระยาอนุชิต  เป็นข้าหลวงพิเศษ
ไปรวบรวมกำลังยานพาหนะ  ที่ปราจิณบุรี


เมื่อตกลงจะส่งกองทัพเพิ่มเติมไปเมืองอุบลราชธานี  เลื่อนเป็นพระพิเรนทรเทพ  เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ขวา 
เลื่อนเป็นนายพลจัตวาทหารบก
คุมทัพออกไปเมืองอุบลราชธานี

ครั้งนั้นกองทัพต้องเดินไปในฤดูฝน  ความไข้เจ็บชุกชุม   พระยาอนุชิตฯ ระวังรักษารี้พลที่คุมไปพรักพร้อม 
มิให้เกิดภยันตราย   และรีบเร่งไปทันเวลากำหนด

พ.ศ. ๒๔๓๗  เลื่อนเป็นพระยามหามนตรี  เจ้ากรมพระตำรวจในขวา

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 13:08


ระหว่าง ๒๔๓๗ - ๒๔๔๐     ได้เป็นรัฐมนตรีและองคมนตรี
ได้เลื่อนยศเป็นนายพลตรีทหารบก

ไปช่วยราชการเป็นอธิบดีกรมราชทัณฑ์


พ.ศ.​๒๔๔๓   เลื่อนเป็นพระยาอนุชิตชาญไชย
โปรดให้ไปปราบฮ่อก่อการจลาจลทางลำปาง


พ.ศ.​๒๔๔๙  ได้เป็นองคมนตรีในกรรมการศาลฎีกา

ได้เป็นพระตำรวจเอกและสมุหพระตำรวจ

รับเบี้ยบำนาญเมื่อ พ.ศ.​๒๔๕๘
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 13:15

คุณหญิงเชย  มีพี่น้องรับราชการอยู่ฝ่ายหน้าและฝ่ายในหลายคน

เจ้าจอมลม้ายในรัชกาลที่ ๕   เป็นพี่

มหาอำมาตย์โท พระยาธรรมสาตรนารถประณัย  อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นพี่

ท่านสมรสกับพระยาอนุชิตชาญไชยในปี พ.ศ. ๒๔๑๙  เมื่อสามีเป็น นายสรพลเรืองเดช

มีบุตรธิดาสามคน

คุณหญิงสำลี  ยะมาภัย

นางสาวสำรวล

พระยาบุรีนวราษฎร์(ชวน)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 13:21


คุณหญิงถึงแก่กรรมเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๑      พระยาอนุชิตฯ รักษาศพไว้ที่บ้านเรือน  
รอพระยาบุรีนวราษฎร์  ผู้อยู่ระหว่างการปฎิบัติราชการในต่างประเทศ

สองปีต่อมา  พระยาอนุชิตถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ ๖  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๖๓


ในปี ๒๔๖๕  พระยาบุรีนวราษฎร์  ได้ขอพระราชทานกลับมาจัดงานศพ  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าตามความประสงค์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 13:47



หนังสือโคลงภาพพระราชทาน   เกิดโดยกระแสพระราชดำริห์พระบาทสมเด็จ ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

ทรงเลือกสรรเรื่องในพระราชพงศาวดาร   ให้ช่างเขียนที่มีฝีมือเขียนรูปภาพ

โปรดให้กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจเมื่อยังไม่ได้รับกรม  ทรงคิดแบบทำกรอบกระจกสำหรับรูปภาพทั้งปวงนั้น   

มีโคลงบอกเรื่องราว  รูปขนาดใหญ่ โคลง ๖ บท    ขนาดกลางและเล็ก  จำนวน ๔ บท   
รวมจำนวนโคลง ๓๗๖​โคลง  รูป ๙๒ แผ่น

สร้างสำเร็จเมื่อปีกุน  ๒๔๓๐

นำไปประดับพระเมรุท้องสนามหลวงอวดมหาชนหลายครั้ง
บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 17:46

คุณwandee มาแต่ละครั้ง โดนใจผมเสียนี่กระไร ชอบมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 20:42

คุณหญิงเชย ธิดาพระยาอนุชิตชาญไชย (ผึ้ง สุวรรณทัต) และเป็นหลานปู่ของพระยาราชภักดี (ทองคำ สุวรรณทัต)

พระยาราชภักดีเป็นพี่ชายของเจ้าจอมมารดางิ้ว หรือหม่อมงิ้วในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ  ซึ่งเป็นเจ้าจอมมารดาของสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี
ท่านมีญาติอีกคนหนึ่งคือเจ้าจอมมารดาเขียน(อิเหนา) เจ้าจอมมารดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณ  กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์  

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง