เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 7472 พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) และคุณหญิงเชย สิงหเสนี
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 22:14


ขอบพระคุณคุณเทาชมพูค่ะ

ที่กรุณาเติมความรู้
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 15 มิ.ย. 11, 22:54


คุณฤทธิที่นับถือ

       คุณฤทธิ์คงชอบอะไรที่เหมือน ๆ กันกับดิฉัน  และดิฉันก็ทราบดีว่าคุณฤทธิ์เก็บข้อมูลไว้มากมาย

ตั้งใจไว้ว่าจะถอดประวัติย่อของบุคคลสำคัญ ๆ  มาฝาก  เพราะบางทีก็อ่านข้ามไปบ้าง   เอกสารไม่ได้กล่าวไว้บ้าง

ถ้าค้นหาไม่ทันเวลาต้องการใช้ก็ลืมไปสนิท       

      ประวัติสกุลสิงห์เสนี  (มี ห. การันต์   เขียนตามลายพระหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ที่พระราชทานนามสกุล)

นี้เมื่ออ่านโดยรวม  สังเกตได้ว่า ฝ่ายหญิงได้สมรสและมีบรรดาศักดิ์สูงตามสามีเป็นจำนวนมากทีเดียว  เป็นหลักฐานในสกุลวงศ์ต่อไป

จะขอคัดเลือกท่านผู้เป็นที่รู้จักดี  มาเล่าแบบคุยกัน  เพราะหลายครั้งก็ไม่มีเอกสารอ้างอิงเก่าแก่ที่เป็นที่เชื่อถือ

     ดิฉันพยายามจัดหนังสือให้อยู่เป็นหมวดหมู่   แต่เนื้อที่เก็บรักษามีจำกัด   จึงต้องจัดประเภทลงกล่องพลาสติคมีล้อเข็นไปบ้าง

เวลานี้สามารถจัดประวัตินักประพันธ์ แน่นอน เก่า  ลงกล่องไปได้เกือบหมดแล้ว   เหลือแต่ประวัติบุคคล

หนังสือโบราณปกแข็งและปกทองก็พอมีอยู่บ้าง  ดิฉันเก็บเป็นหนังสือวรรณคดีทั้งหมด   ไม่ได้แยกมาเป็นหนังสืออนุสรณ์เลย

สหายนักอ่านหนังสือเก่ากลุ่มดิฉัน สหายเจ้าของร้านขายหนังสือเก่า  และสหายนักสะสม  แทบทุกคนไม่ว่าจะมีหนังสือมากมายมหาศาล

เกินห้าพันเล่มขึ้นไป  จะพูดว่าพอมีอยู่บ้างทั้งสิ้น   หลายต่อหลายคนก็จะเก็บสองชุด


     จะขอแยกกระทู้เพื่อให้อ่านกันง่าย  ไม่สับสน

     ขอเรียนเชิญท่านผู้อ่านแก้ไขและแนะนำได้ตลอดเวลาค่ะ        คำถามไหนที่ไม่ได้ตอบ  ก็เป็นเพราะตอบไม่ได้นั่นเอง

     น้อมรับไมตรีจิตจากคุณฤทธิ์

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 16 มิ.ย. 11, 05:26

เรื่องพระยาอนุชิตชาญไชยในปลายรัชกาลที่ ๔

เรียนถามคุณหลวงเล็กว่าท่านใดคะ

อ่านมาจากหนังสือจดหมายเหตุ บางกอกรีคอเดอ
เล่ม ๒      จุลศักราช ๑๒๒๘        เดือน เม  วันที่ ๒๙  กฤษศักราช ๑๘๖๖
หน้า ๗๗

คัดลอกมาเพื่อให้ดูภาษาของหมอบรัดเล


"ปลัดกรมโหรพระบวรราชวัง ชื่อ สิง (ขุนโลกพรหมมา  บรรดาศักดิ์ปรากฎใน หน้า ๙๑) ตั้งบ้านเรือนอยู่วัดโมลีโลกย์

เดิมแย้ม มารดากลีบที่เป็นโทษเรื่องทำเสน่ห์นั้น      ก่อนแย้มยังไม่เป็นโทษ   ได้มาวานปลัดกรมสิงดูว่าเคราะห์ดีฤาร้าย

ปลัดกรมสิงทายว่าเคราะห์ร้ายนัก

ครั้นแย้มเป็นโทษก็ซัดว่าปลัดกรมสิงได้ดูว่าเคราะห์ร้าย   แต่จะได้ทำเสน่ห์และรดน้ำมนต์ให้นั้นหามิได้



พระยาอนุชิตชาญไชยให้เกาะเอาตัวปลัดกรมสิงไปขังทิมไว้

ต้องเสียเงินให้พระยาอนุชิตชาญไชยประมาณสักชั่งหนึ่ง  จึ่งออกจากทิมได้   แต่เห็นว่าจะไม่ทรงทราบ



ปลัดกรมสิงออกจากทิมก็เที่ยวพูดว่า  วิชาโหรนี้ให้โทษนัก  ใคร ๆ อย่าได้เรียนเลย

ก็การโหรนี้ในหลวงก็ต้องการอยู่   จึงตั้งเป็นปลัดกรม เจ้ากรมต่อกันมา    วิชานี้คงเสื่อมเป็นแน่

เช่นนี้ในหลวงคิดอ่านอย่าให้ปลัดสิงเสียใจได้

ของสิ่งนี้จะมีคุณต่อแผ่นดินกระมัง     แต่บูราณจึ่งมีต่อ ๆ กันมา   ถ้าจะว่าด้วยความผิดเล่า  ไม่เห็นจะผิดด้วยข้อใด

เหมือนกับพูดกันเล่น  ผิดฤาถูกก็ไม่รู้         ว่าไปตามคัมภีร์โหร"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 16 มิ.ย. 11, 05:59

หนังสือจดหมายเหตุบางกอกรีคอเดอ
เล่ม ๒       เดือนยูน  วันที่ ๑๒  กฤษศักราช ๑๘๖๖  ใบที่ ๘
หน้า ๙๑

(หมอบรัดเลแก้ข่าว)


"บัดนี้ข้าพเจ้าได้ทราบความเป็นแน่ว่า   นายสิงขุนโลกพรหมมาไม่ได้เสียเงินเหมือนคำพูดคนพูดนั้น

เหตุเดิมจะเกิดขึ้นเพราะอีมา  ทาสของกลีบมารดา  ได้ให้การซัดทอดถึงขุนโลกพรหมมา

ว่าได้ดูให้กลีบมารดา



พระยาอนุชิตชาญไชยเป็นผู้ชำระ



จึ่งให้เอาตัวขุนโลกพรหมมามาไต่ถาม      ขุนโลกพรหมมารับว่าได้ดูให้แย้มมารดาของกลีบมารดาจริง

ลูกขุนปฤกษาโทษ  ว่า ขุนโลกพรหมมามีความผิด   ให้ถอดเสียจากที่ปลัดกรมโหร   แล้วให้มูลนายมารับเอาตัวไป



พณะหัวเจ้าท่านอธิบดี  ตัดสินว่าถอดขุนโลกพรหมมาเสียจากที่แล้ว   สักเป็นไพร่  ให้รับราชการคงอยู่ตามกรม



ตุลาการนำความขึ้นกราบทูลพระกรุณา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว

ทรงพระวินิจฉัยเห็นความของสัตว์ผู้ยาก    จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าว่า  

นายสิง ขุนโลกพรหมมา  ดู   ตามตำราโหร  ทายเคราะห์ดีและร้าย

ไม่ได้ว่ากล่าวเหลือเกินในราชการแผ่นดิน

ไม่มีโทษ



อนึ่ง  โปรดเกล้าว่า   เงินค่าฤาชาธรรมเนียมที่ขุนโลกพรหมมา  ได้เสียให้แก่ตุลาการ     ให้ตุลาการคืนให้แก่ขุนโลกพรหมมา


พระยาอนุชิตชาญไชยได้เอาเงิน สามสิบบาทมาเสียให้เป็นค่าธรรมเนียมนั้น  คืนให้แก่ขุนโลกพรหมมาแล้ว  

แต่ ณ วันเสาร์ เดือนหก แรม สิบสามค่ำ   ก่อนวันที่ออกหนังสือพิมพ์  เมื่อ เดือนหกแรมสิบห้าค่ำ  แล เดือนเจ็ดขึ้นสิบห้าคำ่

แต่ข้าพเจ้าไม่ทราบ  ได้ลงหนังสือพิมพ์ผิดไป

ต่อมาภายหลัง   มีผู้มาชี้แจงให้ข้าพเจ้าฟัง  จึ่งได้ทราบการละเอียด

ข้าพเจ้าไว้ใจแน่ว่า  คราวนี้เป็นความจริงทีเดียว



ข้าพเจ้าขอบพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอันมาก   ด้วยเห็นว่า

ทรงพระกรุณาตัดสินนั้นเป็นยุติธรรม  ชอบนัก"

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 16 มิ.ย. 11, 06:25



       หนังสือจดหมายเหตุ บางกอกรีคอเดอ      ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

ให้พิมพ์พระราชทาน    ในงานพระราชทานเพลิงศพ   นายสมหมายฮุนตระกูล ป.จ., ม.ป.ช.,  ม.ว.ม.

วันเสาร์ที่ ๒๕ ธันวาคม  พุทธศักราช ๒๕๓๖

พิมพ์ที่อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง

พิมพ์จำนวน  ๓,๐๐๐  ฉบับ

หนังสือหนา ๓๐๓  หน้า  ปกแข็งเดินทอง

เล่มที่ข้าพเจ้าถืออยู่ ปกสีเทา      สหายกำนัลมา

ยังมีเรื่องราวที่น่านำมาเล่าต่อได้อีกหนึ่งคือเรื่องกงศุลฝรั่งเศสฟ้องหมอบรัดเล  แต่เรื่องนั้นเป็นที่ทราบอยู่ทั่วไป

หนังสือเล่มนี้ในตลาดหนังสือเก่าพอมีปรากฏอยู่บ้างแบบสายฟ้าฟาด   

สหายเจ้าของโรงพิมพ์จิ๋ว(เล็กมาก)ถอนใจว่า  แจกกันที่ไหนหนอ  ทำไมเขาไม่ได้

สหายปัญญาแหลมราวกับเข็มลอบยิ้ม  เพราะมีอยู่หนึ่งเล่ม   

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 16 มิ.ย. 11, 18:02


สารบาญเครือญาติของสกุลสิงห์เสนีนั้น  ลงไว้  ถึงชั้นที่ ๗

จะขอเอ่ยนาม บุคคลสำคัญ  และญาติใกล้ชิดของท่าน  พอเป็นตัวอย่างสักสองสามราย             



หม่อมกอบแก้ว  อาภากร  ชายาพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาอาภากร

คุณแม่  คือ   คุณหญิงเนื่อง  สุรินทรราชา

พี่น้อง

๑.  ญ.  แจ่มศรี  สนิทวงศ์  ภรรยาพระสุวพันธ์พิทยาการ (ม.ล. เป้  สนิทวงศ์)

๒.  ช.  สมบุญ  วิเศษกุล

๓.  ญ. นวลแข  นวราข  ภรรยาพระพหิทธานุกร(ล้วน  นวราช)

๔.  หม่อมกอบแก้ว

บิดาของคุณหญิงเนื่องคือ  พระบริหารหิรัญราช(สาย)


พระบริหารหิรัญราช(สาย)  ยังมีธิดาอีกหนึ่งคน  คือคุณหญิงเรียบ  เพ็ชรพิไสยศรีสวัสดิ์
บุตรธิดาของคุณหญิงเรียบคือ

๑.  ญ. ศิริเลิศ  เทวกุล  หม่อมในหม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ  เทวกุล

๒. ญ.  แม้นวาด  วสันตสิงห

๓.  ญ.  กองกาญจน์   วสันตสิงห

๔.  ช.  เมืองเริง  วสันตสิงห

๕. ช.  ลาภ  วสันตสิงห

๖. ญ.  พวงเพ็ชร์  วสันตสิงห

๗. ญ.  อรอวล  วสันตสิงห

๘.  ช.  สุเทพ  วสันตสิงห

๙.  ช. สุพรหม  วสันตสิงห

๑๐.  ญ.  ใจใส  วสันตสิงห์

บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 16 มิ.ย. 11, 18:39





๗. ญ.  อรอวล  วสันตสิงห






ขอปาดนิดนึงนะครับ


กล่าวถึงนาม อรอวล  วสันตสิงห์ ถ้าผมจำไม่ผิด ท่านคือ ท่านผู้หญิงอรอวล  อิศรางกูร ณ อยุธยา ภริยาของ นายจรูญพันธ์  อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตองคมนตรี และเป็นมารดาของนายจิรายุ  อิศรางกูร ณ อยุธยา ทราบว่า ปัจจุบัน ท่านยังมีชีวิตอยู่
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 17 มิ.ย. 11, 01:35



ไม่เคยสังเกต ลูกผู้น้องของหม่อมกอบแก้วมาก่อน

ถ้าจะบังอาจนับอายุ  ทราบว่าท่านอยู่ในวัยสูงกว่า ๘๕ - ๙๐ ปีเป็นแน่

คุณท่านหม่อมกอบแก้วนั้น  แต่งกายประณีต  ทันสมัย  งดงามหาที่เปรียบได้ยาก

ถ้าใครจะเผลอไปเรียกท่านว่า ซุปเปอร์ไฮโซ  ก็คงจะต่ำกว่าความเป็นจริง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง